ไม่ทน! สำนักพิมพ์ ญี่ปุ่น ซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ ด่ารัฐบาลจัดการโควิดห่วยแตก
https://www.amarintv.com/news/detail/79491
วันที่ 11 พ.ค.64 "
ทาคาระจิมาฉะ" สำนักพิมพ์ชื่อดังของ ญี่ปุ่น ซื้อโฆษณา 2 หน้าบน 3 หนังสือพิมพ์หลักของญี่ปุ่น ได้แก่ นิเคอิ อาซาฮีชิมบุน และโยมิอุริชิมบุน ฉบับวันที่ 11 พ.ค. เพื่อตำหนิรัฐบาลในการจัดการโควิด-19
ภาพโฆษณาดังกล่าวเป็นภาพของเด็กชาวญี่ปุ่นในยุคสงครามโลกคครั้งที่ 2 ที่กำลังฝึกต่อสู้ด้วยหอกไม้ไผ่ ทับซ้อนกับรูปไวรัสโคโรนา พร้อมข้อความว่า
"
ไม่มีวัคซีน ไม่มียารักษา เราต้องสู้ด้วยหอกไม้ไผ่หรือไง? หากสิ่งนี้ดำเนินต่อไป นักการเมืองกำลังจะฆ่าเรา"
"
เรากำลังถูกหลอกลวง ปีที่ผ่านมาคืออะไร ต้องกักตัวไปถึงเมื่อไหร่ หยุดได้แล้วกับการแข่งความอดทน ฝืนไปไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปงสักอย่าง"ถึงเวลาที่เราต้องส่งเสียงแห่งความโกรธแค้นออกมาได้แล้ว"
โฆษณาดังกล่าวถูกแชร์ต่อออกไปอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมของญี่ปุ่น ซึ่งหลายคนให้ความเห็นว่า แม้การตรวจสอบหรือตำหนิการทำงานของรัฐบาลจะเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่ด้วยวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงถือว่า ยังเป็นเรื่องที่พบเห็นได้น้อยมาก
ทางสำนักพิมพ์
ทาคาระจิมาฉะ ระบุว่า ได้ลงโฆษณาดังกล่าว เนื่องจากไม่พอใจการจัดการสถานการณ์โควิดของรัฐบาลและการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า โดยเมื่อ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประกาศขยายภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว โอซากา และอีก 4 จังหวัดไปถึง 31 พ.ค.เพื่อควบคุมการระบาดของโควิดระลอกใหม่ โดยล่าสุดญี่ปุ่นฉีดคัซีนไปเพียง 2.6% ของจำนวนประชากรเท่านั้น
ที่มา -
japantimes /
kyodonews
ฮือขอลดค่าเช่าร้าน! โควิดทำลูกค้าหาย ผจก.ตลาดโอดแบงก์ทวงหนี้เหมือนกัน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6394235
กลุ่ม พ่อค้า-แม่ค้า ประตูน้ำขอนแก่น ฮือชุมนุมขอลดค่าเช่า 50 % อย่างน้อย 6 เดือน หลังโควิด ระบาดทำลูกค้าหายเกลี้ยง ขณะที่ ผจก.โอดตลาดก็กู้แบงก์มา เป็นหนี้นับร้อยล้านขอประชุม 3 วัน จะให้คำตอบ
วันที่ 12 พ.ค.2564 ที่หน้าสำนักงานตลาดประตูน้ำ ต.ในเมือง ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นาย
ชาคริต อายุ 45 ปี พร้อมผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดประตูน้ำขอนแก่นกว่า 100 ราย ร่วมชุมนุมประท้วงขอลดค่าเช่า 50 % อย่างน้อย 6 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย หลังได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิดระบาดระลอก 3 โดยมี นายวิรัตน์ ผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น เข้าพูดคุยและรับหนังสือเรียกร้องให้ลดค่าเช่า
นาย
ชาคริต เปิดเผยว่า ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และเกิดการระบาดโรคโควิดรอบที่ 3 ทำให้กลุ่มลูกค้าขายปลีกและขายส่ง ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักไม่มาใช้บริการภายในศูนย์ค้าส่งประตูน้ำขอนแก่น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยอดขายและบริการของร้านค้าภายในศูนย์ค้าส่งประตูน้ำขอนแก่นทั้งหมด ผู้ค้าไม่สามารถแบกรับภาระค่าเช่าเต็มจำนวนตามสัญญาได้อีกต่อไป กลุ่มผู้ค้าจึงขอความอนุเคราะห์ผู้บริหารช่วยแบ่งเบาภาระผู้ค้า ด้วยการลดค่าเช่า 50 % ของค่าเช่าเต็มจำนวนเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และยกเลิกค่าปรับ สำหรับผู้ค้าที่จ่ายค่าเช่าล่าช้าในรอบเดือนที่ผ่านๆมา
“
ตอนนี้เราประสบปัญหาขายของกันไม่ได้เลย ซึ่งปกติเราสามารถขายของได้อยู่ที่หลักหมื่นถึงหลักแสน แต่ทุกวันนี้ขายไม่ได้เลยเดือดร้อนจริงๆ อยากให้ผู้ประกอบการตลาดประตูน้ำขอนแก่น เมตตาช่วยผู้เช่าด้วยโดยขอลดค่าเช่า 50% อย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งแต่ละล็อกเราเช่าถัวเฉลี่ย 8,000 ถึง 10,000 บาท ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่าจะมีความเมตตาต่อเรามากน้อยขนาดไหน”
ส่วนผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น ระบุว่า สถานการณ์โควิดรอบแรกตลาดประตูน้ำขอนแก่นได้ช่วยเหลือไม่เก็บค่าเช่า และยังให้บางรายสามารถเข้ามาเอาสินค้าเอาไปไลฟ์สดขายที่บ้านเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงจุนเจือครอบครัว ส่วนโควิดรอบสองเราช่วยขยายเวลาจ่ายค่าเช่าที่ออกไป จากที่เคยเก็บต้นเดือนประมาณวันที่ 5 ก็เลื่อนไปให้จ่ายประมาณวันที่ 15 – 20 ของทุกเดือน เพื่อให้ผู้เช่ามีระยะเวลาหาเงินจ่ายค่าเช่า บริษัทเองก็มีภาระผูกพันธ์กับแบงก์เป็นหนี้แบงก์ค่อนข้างเยอะหลายร้อยล้านเราก็กู้เงินมา ทำตลาดเช่นเดียวกัน
“
ดังนั้นผู้ประกอบการเรียกร้องลดค่าเช่า 50% อาจจะไม่ได้ แต่จะมีแนวทางช่วยเหลืออย่างอื่น เราไม่ได้ปฏิเสธช่วยเหลือแต่อยากให้มองภาพเป็นกลาง สำหรับผู้เช่าและผู้ให้เช่าซึ่งนี่เป็นเรื่องการเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ผมเองก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่ด้วยสถานการณ์แบบนี้เกิดเหมือนกันทั่วประเทศ อยากให้ผู้ประกอบการรับฟังเหตุผลเราบ้าง
ต่างคนต่างช่วยกันเราจะไปรอดได้ เพราะตอนนี้ตลาดเองแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมากค่าไฟตกเดือนละล้านกว่าบาท ค่าพนักงานไม่ต่ำกว่า 6 แสนบาท สำหรับรายรับช่วงโควิดรอบ 3 นี้บริษัทติดลบทุกเดือนทางแบงก์ก็ยื่นโนติสมาแล้ว เรายังไม่รู้ว่าจะเสียส่วนไหนของประตูน้ำไปจึงขอประชุมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดใช้เวลา 3 วัน ถึงจะให้คำตอบกับผู้ประกอบการร้านค้าประตูน้ำขอนแก่นได้ ”
จากนั้นกลุ่มผู้ค้าได้แยกย้ายกันกลับ ก่อนนัดมาฟังคำตอบการเรียกร้องให้ลดค่าเช่า 50 % จาก ผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น อีก 3 วันที่จะถึงนี้
ผู้ว่าฯ ภูเก็ตหวั่น “เปิดเกาะ” ไม่ได้ 1 ก.ค.นี้ พบโควิดจากแหล่งอบายมุขเพิ่มทุกวัน
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-667314
ผู้ว่าฯ ภูเก็ตหวั่น “เปิดเกาะ” ไม่ได้ 1 ก.ค.นี้ พบโควิดจากแหล่งอบายมุขเพิ่มทุกวัน
วันที่ 12 พฤษภาคม นาย
ณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต พบว่าปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตยังพบผู้ติดเชื้อรายวัน 10-15 ราย ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การเตรียมแผนจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจยังไปไม่ถึง โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่พบมาจากการมั่วสุม ในแหล่งอบายมุข จึงได้ตั้งเป้าไว้จากวันนี้ไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ตัวเลขผู้ติดเชื้อควรลดลง
“
จึงขอให้ทุกคนช่วยกันทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงให้มากที่สุด เพื่อไปให้ถึงวันเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ให้ได้” นายณรงค์กล่าว
ด้าน นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต ยังน่าเป็นห่วง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน จากกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ที่อยู่ใน LQ และ จากการตรวจคัดกรองเชิงรุก พบว่ามีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากประชาชนยังรวมตัวกันทำกิจกรรม สังสรรค์ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจังหวัดภูเก็ต
“ประเมินสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ตแล้วยังทรงตัว ยังมีเชื้อกระจายอยู่ในพื้นที่ ต้องค้นหาเชิงรุกอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ยังมี ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ร่วมกันค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่ง ภูเก็ต ถ้าไม่มีคลัสเตอร์ใหม่ จะมีตัวเลขในแต่ละวันอยู่ที่เลขตัวเดียว ต้องมีมาตรการควบคุมที่เข้มข้นโดยเฉพาะการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อควบคุมเชื้อภายในจังหวัด” นายแพทย์
กู้ศักดิ์ กล่าว
ด้าน นายแพทย์
เลอศักดิ์ ลีนะนิธิกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เสียชีวิต 1 ราย อายุ 72 ปี เพศชาย เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์ตกปลา เริ่มเข้ารักษาตัวเมื่อวันที่ 13 เมษายน จากนั้นเข้าห้องไอซียูเมื่อวันที่ 17 เมษายน ด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาวันที่ 19 เมษายน ใส่ท่อช่วยหายใจ และต้องล้างไต 24 ชั่วโมง เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เสียชีวิตเมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นเวลา 29 วัน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต
นายแพทย์
เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตจะได้รับการจัดสรรวัคซีน 2 แสนโดสในรอบนี้จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องวางแผนการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน จะมีวัคซีนซิโนแวกเข้ามาฉีดเป็นเข็มที่สอง และมีวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเข้ามาฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มี 7 โรคเรื้อรัง อีก 140,000 โดส
“
เราตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้เสร็จก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน ในจำนวน 460,000 คน จะต้องได้รับวัคซีนตามเป้าที่ตั้งไว้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แก่ประชาชนก่อนเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ” นายแพทย์
เฉลิมพงษ์ กล่าว และว่า
ในส่วนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต อัตราการครองเตียง ยังวิกฤตพอสมควร ห้องไอซียูต้องเฝ้าระวัง ส่วนอัตราความรุนแรงของโรคเป็นมากขึ้น ตอนนี้มีผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 192 ราย มีอาการน้อยมาก 119 ราย มีอาการบ้าง 28 ราย เริ่มมีอาการปานกลาง 11 ราย ปอดบวม 22 ราย ปอดอักเสบรุนแรง 12 ราย รวม 34 รายที่เชื้อลงปอด ส่วนผู้ป่วยรักษาห้องไอซียูจาก 5 ราย เหลือ 3 ราย หายไป 2 ราย คือ รายแรก ญาติย้ายผู้ป่วยอายุ 61 ปี ไปรักษาที่ ม.อ. และอีกราย ผู้ป่วยเสียชีวิต
ขณะนี้ผู้ป่วยในห้องไอซียูที่ยังต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำนวน 3 ราย คือ 1.คุณยาย อายุ 91 ปี ติดโควิดจากบุตรชาย 2.คุณยาย อายุ 71 ปี ติดโควิดจากหลานที่มาเยี่ยมช่วงสงกรานต์ 3.คุณตา อายุ 73 ปี เป็นพี่ชายของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิด-19
ล่าสุด เช้านี้ 12 พ.ค.64 รับผู้ป่วยชาวออสเตรเลีย เป็นปอดอักเสบ เข้ามา มีโรคประจำตัว มะเร็งต่อมลูกหมาก มีติดเชื้อในกระแสโลหิต จะรายงานผลอาการของรายนี้ให้ทราบอีกครั้ง
รายงานข่าวจากสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต แจ้งว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น. สถานการณ์การติดเชื้อโควิดจังหวัดภูเก็ตพบ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18 ราย ผู้ติดเชื้อรับจากต่างจังหวัด 6 ราย ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 556 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 192 ราย ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต 1 ราย ผู้ติดเชื้อส่งตัวรักษาต่างจังหวัด 2 ราย รักษาหายกลับบ้าน 367 ราย
JJNY : 4in1 สนพ.ญี่ปุ่นซื้อโฆษณาด่ารบ.│ฮือขอลดค่าเช่า ผจก.ตลาดโอด│ภูเก็ตหวั่น“เปิดเกาะ”ไม่ได้│ยอดขายต่อสาขาเซเว่นร่วง
https://www.amarintv.com/news/detail/79491
วันที่ 11 พ.ค.64 "ทาคาระจิมาฉะ" สำนักพิมพ์ชื่อดังของ ญี่ปุ่น ซื้อโฆษณา 2 หน้าบน 3 หนังสือพิมพ์หลักของญี่ปุ่น ได้แก่ นิเคอิ อาซาฮีชิมบุน และโยมิอุริชิมบุน ฉบับวันที่ 11 พ.ค. เพื่อตำหนิรัฐบาลในการจัดการโควิด-19
ภาพโฆษณาดังกล่าวเป็นภาพของเด็กชาวญี่ปุ่นในยุคสงครามโลกคครั้งที่ 2 ที่กำลังฝึกต่อสู้ด้วยหอกไม้ไผ่ ทับซ้อนกับรูปไวรัสโคโรนา พร้อมข้อความว่า
"ไม่มีวัคซีน ไม่มียารักษา เราต้องสู้ด้วยหอกไม้ไผ่หรือไง? หากสิ่งนี้ดำเนินต่อไป นักการเมืองกำลังจะฆ่าเรา"
"เรากำลังถูกหลอกลวง ปีที่ผ่านมาคืออะไร ต้องกักตัวไปถึงเมื่อไหร่ หยุดได้แล้วกับการแข่งความอดทน ฝืนไปไม่เห็นมีอะไรเปลี่ยนแปงสักอย่าง"ถึงเวลาที่เราต้องส่งเสียงแห่งความโกรธแค้นออกมาได้แล้ว"
โฆษณาดังกล่าวถูกแชร์ต่อออกไปอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะทวิตเตอร์ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยมของญี่ปุ่น ซึ่งหลายคนให้ความเห็นว่า แม้การตรวจสอบหรือตำหนิการทำงานของรัฐบาลจะเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่ด้วยวัฒนธรรมญี่ปุ่นจึงถือว่า ยังเป็นเรื่องที่พบเห็นได้น้อยมาก
ทางสำนักพิมพ์ ทาคาระจิมาฉะ ระบุว่า ได้ลงโฆษณาดังกล่าว เนื่องจากไม่พอใจการจัดการสถานการณ์โควิดของรัฐบาลและการฉีดวัคซีนที่ล่าช้า โดยเมื่อ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นประกาศขยายภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว โอซากา และอีก 4 จังหวัดไปถึง 31 พ.ค.เพื่อควบคุมการระบาดของโควิดระลอกใหม่ โดยล่าสุดญี่ปุ่นฉีดคัซีนไปเพียง 2.6% ของจำนวนประชากรเท่านั้น
ที่มา - japantimes / kyodonews
ฮือขอลดค่าเช่าร้าน! โควิดทำลูกค้าหาย ผจก.ตลาดโอดแบงก์ทวงหนี้เหมือนกัน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6394235
กลุ่ม พ่อค้า-แม่ค้า ประตูน้ำขอนแก่น ฮือชุมนุมขอลดค่าเช่า 50 % อย่างน้อย 6 เดือน หลังโควิด ระบาดทำลูกค้าหายเกลี้ยง ขณะที่ ผจก.โอดตลาดก็กู้แบงก์มา เป็นหนี้นับร้อยล้านขอประชุม 3 วัน จะให้คำตอบ
วันที่ 12 พ.ค.2564 ที่หน้าสำนักงานตลาดประตูน้ำ ต.ในเมือง ถนนมิตรภาพ อ.เมือง จ.ขอนแก่น นายชาคริต อายุ 45 ปี พร้อมผู้ประกอบการร้านค้าในตลาดประตูน้ำขอนแก่นกว่า 100 ราย ร่วมชุมนุมประท้วงขอลดค่าเช่า 50 % อย่างน้อย 6 เดือน หรือจนกว่าสถานการณ์โควิดจะคลี่คลาย หลังได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์โควิดระบาดระลอก 3 โดยมี นายวิรัตน์ ผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น เข้าพูดคุยและรับหนังสือเรียกร้องให้ลดค่าเช่า
นายชาคริต เปิดเผยว่า ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และเกิดการระบาดโรคโควิดรอบที่ 3 ทำให้กลุ่มลูกค้าขายปลีกและขายส่ง ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักไม่มาใช้บริการภายในศูนย์ค้าส่งประตูน้ำขอนแก่น ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อยอดขายและบริการของร้านค้าภายในศูนย์ค้าส่งประตูน้ำขอนแก่นทั้งหมด ผู้ค้าไม่สามารถแบกรับภาระค่าเช่าเต็มจำนวนตามสัญญาได้อีกต่อไป กลุ่มผู้ค้าจึงขอความอนุเคราะห์ผู้บริหารช่วยแบ่งเบาภาระผู้ค้า ด้วยการลดค่าเช่า 50 % ของค่าเช่าเต็มจำนวนเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนพ.ค.2564 เป็นต้นไป หรือจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย และยกเลิกค่าปรับ สำหรับผู้ค้าที่จ่ายค่าเช่าล่าช้าในรอบเดือนที่ผ่านๆมา
“ตอนนี้เราประสบปัญหาขายของกันไม่ได้เลย ซึ่งปกติเราสามารถขายของได้อยู่ที่หลักหมื่นถึงหลักแสน แต่ทุกวันนี้ขายไม่ได้เลยเดือดร้อนจริงๆ อยากให้ผู้ประกอบการตลาดประตูน้ำขอนแก่น เมตตาช่วยผู้เช่าด้วยโดยขอลดค่าเช่า 50% อย่างน้อย 6 เดือน ซึ่งแต่ละล็อกเราเช่าถัวเฉลี่ย 8,000 ถึง 10,000 บาท ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่าจะมีความเมตตาต่อเรามากน้อยขนาดไหน”
ส่วนผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น ระบุว่า สถานการณ์โควิดรอบแรกตลาดประตูน้ำขอนแก่นได้ช่วยเหลือไม่เก็บค่าเช่า และยังให้บางรายสามารถเข้ามาเอาสินค้าเอาไปไลฟ์สดขายที่บ้านเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงจุนเจือครอบครัว ส่วนโควิดรอบสองเราช่วยขยายเวลาจ่ายค่าเช่าที่ออกไป จากที่เคยเก็บต้นเดือนประมาณวันที่ 5 ก็เลื่อนไปให้จ่ายประมาณวันที่ 15 – 20 ของทุกเดือน เพื่อให้ผู้เช่ามีระยะเวลาหาเงินจ่ายค่าเช่า บริษัทเองก็มีภาระผูกพันธ์กับแบงก์เป็นหนี้แบงก์ค่อนข้างเยอะหลายร้อยล้านเราก็กู้เงินมา ทำตลาดเช่นเดียวกัน
“ดังนั้นผู้ประกอบการเรียกร้องลดค่าเช่า 50% อาจจะไม่ได้ แต่จะมีแนวทางช่วยเหลืออย่างอื่น เราไม่ได้ปฏิเสธช่วยเหลือแต่อยากให้มองภาพเป็นกลาง สำหรับผู้เช่าและผู้ให้เช่าซึ่งนี่เป็นเรื่องการเกิดขึ้นระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่า ผมเองก็ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ แต่ด้วยสถานการณ์แบบนี้เกิดเหมือนกันทั่วประเทศ อยากให้ผู้ประกอบการรับฟังเหตุผลเราบ้าง
ต่างคนต่างช่วยกันเราจะไปรอดได้ เพราะตอนนี้ตลาดเองแบกรับค่าใช้จ่ายจำนวนมากค่าไฟตกเดือนละล้านกว่าบาท ค่าพนักงานไม่ต่ำกว่า 6 แสนบาท สำหรับรายรับช่วงโควิดรอบ 3 นี้บริษัทติดลบทุกเดือนทางแบงก์ก็ยื่นโนติสมาแล้ว เรายังไม่รู้ว่าจะเสียส่วนไหนของประตูน้ำไปจึงขอประชุมกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดใช้เวลา 3 วัน ถึงจะให้คำตอบกับผู้ประกอบการร้านค้าประตูน้ำขอนแก่นได้ ”
จากนั้นกลุ่มผู้ค้าได้แยกย้ายกันกลับ ก่อนนัดมาฟังคำตอบการเรียกร้องให้ลดค่าเช่า 50 % จาก ผจก.ตลาดประตูน้ำขอนแก่น อีก 3 วันที่จะถึงนี้
ผู้ว่าฯ ภูเก็ตหวั่น “เปิดเกาะ” ไม่ได้ 1 ก.ค.นี้ พบโควิดจากแหล่งอบายมุขเพิ่มทุกวัน
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-667314
ผู้ว่าฯ ภูเก็ตหวั่น “เปิดเกาะ” ไม่ได้ 1 ก.ค.นี้ พบโควิดจากแหล่งอบายมุขเพิ่มทุกวัน
วันที่ 12 พฤษภาคม นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า การติดเชื้อโควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต พบว่าปัจจุบันจังหวัดภูเก็ตยังพบผู้ติดเชื้อรายวัน 10-15 ราย ไปเรื่อย ๆ ดังนั้น การเตรียมแผนจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจยังไปไม่ถึง โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่พบมาจากการมั่วสุม ในแหล่งอบายมุข จึงได้ตั้งเป้าไว้จากวันนี้ไปจนถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2564 ตัวเลขผู้ติดเชื้อควรลดลง
“จึงขอให้ทุกคนช่วยกันทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลงให้มากที่สุด เพื่อไปให้ถึงวันเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ วันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ให้ได้” นายณรงค์กล่าว
ด้าน นายแพทย์กู้ศักดิ์ กู้เกียรติกูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต ยังน่าเป็นห่วง ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกวัน จากกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ที่อยู่ใน LQ และ จากการตรวจคัดกรองเชิงรุก พบว่ามีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากประชาชนยังรวมตัวกันทำกิจกรรม สังสรรค์ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจังหวัดภูเก็ต
“ประเมินสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ตแล้วยังทรงตัว ยังมีเชื้อกระจายอยู่ในพื้นที่ ต้องค้นหาเชิงรุกอย่างต่อเนื่องร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ยังมี ฝ่ายปกครอง ตำรวจ ร่วมกันค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่ง ภูเก็ต ถ้าไม่มีคลัสเตอร์ใหม่ จะมีตัวเลขในแต่ละวันอยู่ที่เลขตัวเดียว ต้องมีมาตรการควบคุมที่เข้มข้นโดยเฉพาะการรวมกลุ่มทำกิจกรรมเพื่อควบคุมเชื้อภายในจังหวัด” นายแพทย์กู้ศักดิ์ กล่าว
ด้าน นายแพทย์เลอศักดิ์ ลีนะนิธิกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เสียชีวิต 1 ราย อายุ 72 ปี เพศชาย เป็นเจ้าของร้านจำหน่ายอุปกรณ์ตกปลา เริ่มเข้ารักษาตัวเมื่อวันที่ 13 เมษายน จากนั้นเข้าห้องไอซียูเมื่อวันที่ 17 เมษายน ด้วยอาการปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาวันที่ 19 เมษายน ใส่ท่อช่วยหายใจ และต้องล้างไต 24 ชั่วโมง เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน เสียชีวิตเมื่อเวลา 05.30 น. วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 รวมรักษาตัวในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็นเวลา 29 วัน โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิต
นายแพทย์เฉลิมพงษ์ สุคนธผล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวว่า จังหวัดภูเก็ตจะได้รับการจัดสรรวัคซีน 2 แสนโดสในรอบนี้จากกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต้องวางแผนการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป จากนั้นปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน จะมีวัคซีนซิโนแวกเข้ามาฉีดเป็นเข็มที่สอง และมีวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้าเข้ามาฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ที่มี 7 โรคเรื้อรัง อีก 140,000 โดส
“เราตั้งเป้าฉีดวัคซีนให้เสร็จก่อนสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิถุนายน ในจำนวน 460,000 คน จะต้องได้รับวัคซีนตามเป้าที่ตั้งไว้ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แก่ประชาชนก่อนเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ” นายแพทย์เฉลิมพงษ์ กล่าว และว่า
ในส่วนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต อัตราการครองเตียง ยังวิกฤตพอสมควร ห้องไอซียูต้องเฝ้าระวัง ส่วนอัตราความรุนแรงของโรคเป็นมากขึ้น ตอนนี้มีผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาลจำนวน 192 ราย มีอาการน้อยมาก 119 ราย มีอาการบ้าง 28 ราย เริ่มมีอาการปานกลาง 11 ราย ปอดบวม 22 ราย ปอดอักเสบรุนแรง 12 ราย รวม 34 รายที่เชื้อลงปอด ส่วนผู้ป่วยรักษาห้องไอซียูจาก 5 ราย เหลือ 3 ราย หายไป 2 ราย คือ รายแรก ญาติย้ายผู้ป่วยอายุ 61 ปี ไปรักษาที่ ม.อ. และอีกราย ผู้ป่วยเสียชีวิต
ขณะนี้ผู้ป่วยในห้องไอซียูที่ยังต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จำนวน 3 ราย คือ 1.คุณยาย อายุ 91 ปี ติดโควิดจากบุตรชาย 2.คุณยาย อายุ 71 ปี ติดโควิดจากหลานที่มาเยี่ยมช่วงสงกรานต์ 3.คุณตา อายุ 73 ปี เป็นพี่ชายของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโควิด-19
ล่าสุด เช้านี้ 12 พ.ค.64 รับผู้ป่วยชาวออสเตรเลีย เป็นปอดอักเสบ เข้ามา มีโรคประจำตัว มะเร็งต่อมลูกหมาก มีติดเชื้อในกระแสโลหิต จะรายงานผลอาการของรายนี้ให้ทราบอีกครั้ง
รายงานข่าวจากสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต แจ้งว่า วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ข้อมูล ณ เวลา 18.00 น. สถานการณ์การติดเชื้อโควิดจังหวัดภูเก็ตพบ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18 ราย ผู้ติดเชื้อรับจากต่างจังหวัด 6 ราย ผู้ติดเชื้อยืนยันสะสม 556 ราย รักษาตัวในโรงพยาบาล 192 ราย ผู้ติดเชื้อเสียชีวิต 1 ราย ผู้ติดเชื้อส่งตัวรักษาต่างจังหวัด 2 ราย รักษาหายกลับบ้าน 367 ราย