ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
2 นาที ·
วัคซีนใบยาฝีมือไทย สู้โควิดทุกสายพันธุ์
ไทยรัฐ 11/5/64
“วัคซีนใบยา” ฝีมือคนไทยป้องกันรับมือไวรัสมรณะ “โควิด-19” ตั้งไข่มานานแล้วกำลังจะทดสอบในคนระยะที่ 1 เดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ หลายคนอาจจะ
ตั้งคำถาม...วันนี้โลกมีวัคซีนมากมายหลากหลาย ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีการนำเข้าวัคซีนมาเรื่อยๆ ถึงวันนั้น “คนไทย” คงจะได้รับการฉีดวัคซีนกันถ้วน
ทั่วไปแล้ว วัคซีนใบยา...จะล้าสมัยไหม?
เท่าที่คุยกันเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา “วัคซีนใบยา” จะใช้เป็นวัคซีนเจเนอเรชัน 2 หมายถึงว่า...วัคซีนใบยาจะมีความสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 สาย
พันธุ์ประหลาดๆรุนแรงอย่างสายพันธุ์แอฟริกาได้
ไวรัสปรับตัวมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเราก็สามารถปรับเปลี่ยนวัคซีนใบยาของเราได้ให้เท่าทัน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอดื้อ” คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ในทางเทคนิคถ้าเราเลือกรหัสพันธุกรรมของตัวที่เราต้องการและใส่ผ่านเข้าไปใน
เซลล์พืช
“เสร็จเรียบร้อยแล้วพืชก็จะผลิตโปรตีนมาตามที่เราสั่ง...ก็สามารถที่จะทำเป็นวัคซีนเจเนอเรชันหรือรุ่นที่หนึ่ง...สอง...สาม...สี่...ห้า ได้หมดเลย แล้วต้นไม้
ใบยาก็สามารถที่จะผลิตโปรตีนได้ในเก้าวัน”
ให้เข้าใจตรงกันว่า...เมื่อได้โปรตีนเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะพิสูจน์ทดลอง เอามาฉีดในหนู ว่าสามารถยับยั้งไวรัสตระกูลต่างๆ ได้หรือเปล่า ทั้งหมดนี้ใช้
เวลาอยู่ในช่วง 2–3 สัปดาห์เท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นการที่วัคซีนรุ่นใหม่ใช้ได้ผลยังไงก็สามารถตอบได้เลย วิธีการของวัคซีนใบยาจะไม่เหมือนกับการผลิตวัคซีนชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น
ตัว mRNA...ชนิดสารพันธุกรรม หรือ...ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ
จับตาจุดเปลี่ยน...เดือนสิงหาคม “วัคซีนใบยา” อวดโฉมให้เห็นประสิทธิภาพ
อย่างไรเสีย วัคซีนใบยาถือว่ามีความยืดหยุ่นอยู่มาก สามารถปรับเปลี่ยน พัฒนาล้อไปตามไวรัสที่ปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ไปได้ทุกขณะเรียกว่า...เราสามารถ
พัฒนาวัคซีนได้ทันกาลเสมอ แต่วัคซีนที่ออกมา ณ วันนี้ ต้องเข้าใจว่าเป็นวัคซีนที่ใช้ต่อต้านไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น ต้นปัญหาซึ่งระบาดเมื่อปีที่แล้ว
วัคซีนเหล่านี้...จำกัดการป้องกันเฉพาะไวรัสสายพันธุ์เดียวอย่างนั้น ถ้าหากจะเปลี่ยนใหม่ก็เหมือนกับว่าต้องเริ่มต้นใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทดสอบที่ช้า
กว่า ไม่เหมือนวัคซีนใบยาที่ทำ...ปรับได้เร็วกว่ามากเลย ประเด็นที่สำคัญ...เรา (คนไทย) ทำเองได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ
ไหนๆก็คุยกันด้วยเรื่อง “วัคซีน” กันแล้ว ก็คุยกันต่อไปถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนกันอีกสักหน่อย คนไม่น้อยอาจจะมีคำถาม สมมติว่าฉีดวัคซีนไป
แล้วครบโดส ไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซเนกา ซิโนแวค แล้วเกิดว่า...มีวัคซีนตัวใหม่ๆเข้ามา อาจจะเป็นไฟเซอร์ จะสามารถฉีดซ้ำเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันสู้โค
วิด-19 ได้อีกไหม
“ไม่ควรนะครับ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ว่า “เนื่องจากว่าลักษณะวัคซีนสร้างมาจากไวรัสต้นแบบตัวเดียวกัน ถ้าหากว่าเราฉีดซ้ำเข้ามาอีกทีก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์
อะไร ถึงแม้ว่าอาจจะมีเคลมว่าไฟเซอร์ดูจะขึ้นดีกว่า แต่ซิโนแวค...ประสบการณ์ที่เคยฉีดเข็มแรกจะไม่เห็นอะไร ต้องรอประมาณสามสัปดาห์ขึ้นไปแล้วก็
ฉีดเข็มที่สอง”
เมื่อเข็มที่สองถูกฉีดไปแล้ว ภายในระยะเวลา 5 วัน หลายๆคนที่แล็บก็ฉีดซิโนแวค พอเจาะเลือดขึ้นมาเราก็จะเช็กระดับภูมิคุ้มกันที่จะยับยั้งไวรัสได้ขึ้นมา
หมดทุกคนเลย ด้วยเหตุผลนี้เองจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดซ้ำด้วยวัคซีนอีกตัวหนึ่ง
กรณีนี้เป็นความเชื่อมาจากว่า...ยิ่ง “น้ำเหลือง” มีระดับภูมิคุ้มกันเยอะๆยิ่งดี เหมือนกับว่ายิ่งมีมากก็ยิ่งจะหายจากร่างกายไปช้า แต่โดยความจริง
แล้ว...วัคซีนไม่ได้ดูแต่ระดับภูมิคุ้มกันว่าขึ้นสูงเท่าไหร่
แต่เราจะดูว่าการที่ “วัคซีน” จะสามารถ “ป้องกัน” คนจากการติดเชื้อ หรือติดแล้วไม่ “เสียชีวิต” ...ไม่ได้อาศัยน้ำเหลืองหรือแอนติบอดีอย่างเดียว แต่อาศัย
กลไกระบบเซลล์ที่เราเรียกว่า... “ทีเซลล์” แล้วก็ยังมี “บีเซลล์” ที่สร้างแอนติบอดีด้วย
“คนทั่วๆไปเราจะมองที่แอนติบอดีเพราะว่าตรวจสอบง่าย เจาะเลือดปุ๊บสามชั่วโมงก็รู้ผลว่ายับยั้งไหม แต่เรื่องของทีเซลล์ค่อนข้างยากกว่า ด้วยกลไกที่
ซับซ้อนและมีราคาแพง เอาง่ายๆอย่าไปฉีดซ้ำด้วยความเชื่อที่ผิดๆดีกว่า”
ยกเว้นเสียแต่ว่า เราฉีดของเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ามี “ไวรัสยี่ห้อใหม่ (สายพันธุ์ใหม่)” ระบาด วัคซีน (ปัจจุบัน) ที่มีอยู่เอาไม่อยู่เลย อันนั้นก็มีความจำเป็นที่
จะฉีดวัคซีนของใหม่...เพื่อที่จะครอบคลุม ป้องกันใหม่
ถามต่อไปอีกว่าแล้วถ้าฉีดซ้ำจะเกิดโทษ มีผลร้ายต่อร่างกายไหม?
อันนี้มีปัญหาอยู่อันหนึ่ง ซึ่งจริงๆพวกเราชาววัคซีนที่ทำวัคซีนกันมานาน องค์การอนามัยโลกก็ประกาศมาตั้งแต่ต้นเลยว่า...ถ้าหากว่าวัคซีนที่ฉีดไปแล้วได้
ภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองเยอะๆถ้าเกิดมีไวรัสตัวใหม่ซึ่งมันไม่ฆ่า แต่จะจับไวรัสตัวใหม่ลากเข้าไปในเซลล์แล้วกระตุ้นสารอักเสบขึ้นมา
อันนี้เองที่เรียกว่าวัคซีนทำให้หลง...โควิดอาจจะมีแค่ร้ายกาจระดับหนึ่งคือไม่ตาย แต่ว่าได้ภูมิคุ้มกันมหาศาลขนาดนี้แล้วไปเจอไวรัสตัวใหม่ ก็ยังตอบไม่
ได้ว่าจะยิ่งร้ายแรงขึ้นไปอีกหรือเปล่า
นี่เป็นข้อกริ่งเกรงอย่างยิ่ง...ด้วยว่าเคยเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นมาแล้ว กรณี... “ไวรัสไข้เลือดออก” ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ถ้าหากว่าปีที่แล้วเรา
เจอเบอร์ 1 ของไวรัสไข้เลือดออก ก็คิดว่าเราคงมีภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองขึ้น แต่มาปีนี้เราเกิดไปเจอไวรัสกลุ่ม 3
“ปรากฏว่า...ภูมิคุ้มกันกลุ่ม 1 พอเห็นกลุ่ม 3 ไม่ได้ทำลาย แต่ว่าไปจับมือกับกลุ่ม 3 แล้วถึงเข้าไปในเซลล์แล้วก็ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เพราะฉะนั้นจึง
เกิดเป็นกรณีวัคซีนที่บริษัทไบโอเมริเยอร์ฯซึ่งตื่นเต้นขายไปทั่วโลก ปรากฏว่าเมื่อฉีดไปแล้วไปเจอกับไวรัสอีกตัวซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน ปรากฏว่า...คนตาย
มากขึ้น”
กรณีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แล้ววัคซีนนี้ก็ขายไม่ได้เลยทั่วโลก
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วใน “ไวรัส” โรคไข้เลือดออก แต่กับโคโรนาไวรัส “โควิด-19” ยังไม่ทราบ ฉะนั้นเองก็ต้องระวังในเรื่องของวัคซีน กระนั้นก็ยังเป็น
เรื่องที่ไม่อยากจะพูดเพราะกลัวว่าพูดไปแล้วคนจะไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน ณ วันนี้เอาที่สบายใจ ฉีดแค่ครบโดสก็น่าจะเพียงพอแล้ว
คำถามต่อเนื่อง...หากเดือนสิงหาคมที่จะถึง “วัคซีนใบยา” สัญชาติไทยสู้โควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ทดสอบผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จะฉีดซ้ำได้ไหม?
“วัคซีนใบยาสามารถครอบคลุมป้องกันไวรัสได้กว้างขวางกว่าก็ควรฉีดซ้ำได้...ถ้าครอบคลุมตัวใหม่ เหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีที่แล้วเราฉีด ปีนี้เราก็ฉีด
อีกเพราะวัคซีนครอบคลุมตัวใหม่แล้ว”
“วัคซีนใบยา” ที่จะออกมาครอบคลุมป้องกันไวรัสเยอะกว่าแน่ อาจจะเป็นอีกหนึ่งความหวังสำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะมองเรื่อง “ต้นทุน” ก็ถูก เพราะผลิต
จากใบพืช ยิ่งปลูกเยอะพื้นที่เยอะ ถ้าถามเรื่องปริมาณการผลิตก็สามารถที่จะผลิตได้เป็นสิบล้านโดสภายในระยะเวลาอันสั้น...“ข้อน่าดีใจ โปรตีนที่นำมา
ผลิตวัคซีนหนึ่งโดสนั้น ไม่ต้องใช้เยอะ...ใส่นิดเดียวก็สามารถกระตุ้นภูมิได้เต็มเลย”
เอาล่ะครับ “วัคซีนใบยา” ของคนไทย ของประเทศไทย...คุมได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่สำคัญปรับเปลี่ยนพัฒนาไปได้เรื่อยๆ ตามพัฒนาการสายพันธุ์
ไวรัส ร่วมด้วยช่วยกัน...“วัคซีนใบยา” เป็นอีกความหวังสำคัญยิ่งสำหรับสารพัดโรคร้ายในอนาคต ที่ไม่เฉพาะไวรัสโควิด-19 เท่านั้น.
วัคซีนใบยา ของไทย กำลังจะทดลองกับคน
2 นาที ·
วัคซีนใบยาฝีมือไทย สู้โควิดทุกสายพันธุ์
ไทยรัฐ 11/5/64
“วัคซีนใบยา” ฝีมือคนไทยป้องกันรับมือไวรัสมรณะ “โควิด-19” ตั้งไข่มานานแล้วกำลังจะทดสอบในคนระยะที่ 1 เดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ หลายคนอาจจะ
ตั้งคำถาม...วันนี้โลกมีวัคซีนมากมายหลากหลาย ขณะที่ประเทศไทยเองก็มีการนำเข้าวัคซีนมาเรื่อยๆ ถึงวันนั้น “คนไทย” คงจะได้รับการฉีดวัคซีนกันถ้วน
ทั่วไปแล้ว วัคซีนใบยา...จะล้าสมัยไหม?
เท่าที่คุยกันเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา “วัคซีนใบยา” จะใช้เป็นวัคซีนเจเนอเรชัน 2 หมายถึงว่า...วัคซีนใบยาจะมีความสามารถป้องกันไวรัสโควิด-19 สาย
พันธุ์ประหลาดๆรุนแรงอย่างสายพันธุ์แอฟริกาได้
ไวรัสปรับตัวมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันเราก็สามารถปรับเปลี่ยนวัคซีนใบยาของเราได้ให้เท่าทัน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หรือ “หมอดื้อ” คณะ
แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า ในทางเทคนิคถ้าเราเลือกรหัสพันธุกรรมของตัวที่เราต้องการและใส่ผ่านเข้าไปใน
เซลล์พืช
“เสร็จเรียบร้อยแล้วพืชก็จะผลิตโปรตีนมาตามที่เราสั่ง...ก็สามารถที่จะทำเป็นวัคซีนเจเนอเรชันหรือรุ่นที่หนึ่ง...สอง...สาม...สี่...ห้า ได้หมดเลย แล้วต้นไม้
ใบยาก็สามารถที่จะผลิตโปรตีนได้ในเก้าวัน”
ให้เข้าใจตรงกันว่า...เมื่อได้โปรตีนเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะพิสูจน์ทดลอง เอามาฉีดในหนู ว่าสามารถยับยั้งไวรัสตระกูลต่างๆ ได้หรือเปล่า ทั้งหมดนี้ใช้
เวลาอยู่ในช่วง 2–3 สัปดาห์เท่านั้นเอง
เพราะฉะนั้นการที่วัคซีนรุ่นใหม่ใช้ได้ผลยังไงก็สามารถตอบได้เลย วิธีการของวัคซีนใบยาจะไม่เหมือนกับการผลิตวัคซีนชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็น
ตัว mRNA...ชนิดสารพันธุกรรม หรือ...ชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ
จับตาจุดเปลี่ยน...เดือนสิงหาคม “วัคซีนใบยา” อวดโฉมให้เห็นประสิทธิภาพ
อย่างไรเสีย วัคซีนใบยาถือว่ามีความยืดหยุ่นอยู่มาก สามารถปรับเปลี่ยน พัฒนาล้อไปตามไวรัสที่ปรับเปลี่ยนสายพันธุ์ไปได้ทุกขณะเรียกว่า...เราสามารถ
พัฒนาวัคซีนได้ทันกาลเสมอ แต่วัคซีนที่ออกมา ณ วันนี้ ต้องเข้าใจว่าเป็นวัคซีนที่ใช้ต่อต้านไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อู่ฮั่น ต้นปัญหาซึ่งระบาดเมื่อปีที่แล้ว
วัคซีนเหล่านี้...จำกัดการป้องกันเฉพาะไวรัสสายพันธุ์เดียวอย่างนั้น ถ้าหากจะเปลี่ยนใหม่ก็เหมือนกับว่าต้องเริ่มต้นใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลาในการทดสอบที่ช้า
กว่า ไม่เหมือนวัคซีนใบยาที่ทำ...ปรับได้เร็วกว่ามากเลย ประเด็นที่สำคัญ...เรา (คนไทย) ทำเองได้ตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำ ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ
ไหนๆก็คุยกันด้วยเรื่อง “วัคซีน” กันแล้ว ก็คุยกันต่อไปถึงเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนกันอีกสักหน่อย คนไม่น้อยอาจจะมีคำถาม สมมติว่าฉีดวัคซีนไป
แล้วครบโดส ไม่ว่าจะเป็นแอสตราเซเนกา ซิโนแวค แล้วเกิดว่า...มีวัคซีนตัวใหม่ๆเข้ามา อาจจะเป็นไฟเซอร์ จะสามารถฉีดซ้ำเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันสู้โค
วิด-19 ได้อีกไหม
“ไม่ควรนะครับ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ว่า “เนื่องจากว่าลักษณะวัคซีนสร้างมาจากไวรัสต้นแบบตัวเดียวกัน ถ้าหากว่าเราฉีดซ้ำเข้ามาอีกทีก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์
อะไร ถึงแม้ว่าอาจจะมีเคลมว่าไฟเซอร์ดูจะขึ้นดีกว่า แต่ซิโนแวค...ประสบการณ์ที่เคยฉีดเข็มแรกจะไม่เห็นอะไร ต้องรอประมาณสามสัปดาห์ขึ้นไปแล้วก็
ฉีดเข็มที่สอง”
เมื่อเข็มที่สองถูกฉีดไปแล้ว ภายในระยะเวลา 5 วัน หลายๆคนที่แล็บก็ฉีดซิโนแวค พอเจาะเลือดขึ้นมาเราก็จะเช็กระดับภูมิคุ้มกันที่จะยับยั้งไวรัสได้ขึ้นมา
หมดทุกคนเลย ด้วยเหตุผลนี้เองจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฉีดซ้ำด้วยวัคซีนอีกตัวหนึ่ง
กรณีนี้เป็นความเชื่อมาจากว่า...ยิ่ง “น้ำเหลือง” มีระดับภูมิคุ้มกันเยอะๆยิ่งดี เหมือนกับว่ายิ่งมีมากก็ยิ่งจะหายจากร่างกายไปช้า แต่โดยความจริง
แล้ว...วัคซีนไม่ได้ดูแต่ระดับภูมิคุ้มกันว่าขึ้นสูงเท่าไหร่
แต่เราจะดูว่าการที่ “วัคซีน” จะสามารถ “ป้องกัน” คนจากการติดเชื้อ หรือติดแล้วไม่ “เสียชีวิต” ...ไม่ได้อาศัยน้ำเหลืองหรือแอนติบอดีอย่างเดียว แต่อาศัย
กลไกระบบเซลล์ที่เราเรียกว่า... “ทีเซลล์” แล้วก็ยังมี “บีเซลล์” ที่สร้างแอนติบอดีด้วย
“คนทั่วๆไปเราจะมองที่แอนติบอดีเพราะว่าตรวจสอบง่าย เจาะเลือดปุ๊บสามชั่วโมงก็รู้ผลว่ายับยั้งไหม แต่เรื่องของทีเซลล์ค่อนข้างยากกว่า ด้วยกลไกที่
ซับซ้อนและมีราคาแพง เอาง่ายๆอย่าไปฉีดซ้ำด้วยความเชื่อที่ผิดๆดีกว่า”
ยกเว้นเสียแต่ว่า เราฉีดของเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ถ้ามี “ไวรัสยี่ห้อใหม่ (สายพันธุ์ใหม่)” ระบาด วัคซีน (ปัจจุบัน) ที่มีอยู่เอาไม่อยู่เลย อันนั้นก็มีความจำเป็นที่
จะฉีดวัคซีนของใหม่...เพื่อที่จะครอบคลุม ป้องกันใหม่
ถามต่อไปอีกว่าแล้วถ้าฉีดซ้ำจะเกิดโทษ มีผลร้ายต่อร่างกายไหม?
อันนี้มีปัญหาอยู่อันหนึ่ง ซึ่งจริงๆพวกเราชาววัคซีนที่ทำวัคซีนกันมานาน องค์การอนามัยโลกก็ประกาศมาตั้งแต่ต้นเลยว่า...ถ้าหากว่าวัคซีนที่ฉีดไปแล้วได้
ภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองเยอะๆถ้าเกิดมีไวรัสตัวใหม่ซึ่งมันไม่ฆ่า แต่จะจับไวรัสตัวใหม่ลากเข้าไปในเซลล์แล้วกระตุ้นสารอักเสบขึ้นมา
อันนี้เองที่เรียกว่าวัคซีนทำให้หลง...โควิดอาจจะมีแค่ร้ายกาจระดับหนึ่งคือไม่ตาย แต่ว่าได้ภูมิคุ้มกันมหาศาลขนาดนี้แล้วไปเจอไวรัสตัวใหม่ ก็ยังตอบไม่
ได้ว่าจะยิ่งร้ายแรงขึ้นไปอีกหรือเปล่า
นี่เป็นข้อกริ่งเกรงอย่างยิ่ง...ด้วยว่าเคยเกิดปรากฏการณ์นี้ขึ้นมาแล้ว กรณี... “ไวรัสไข้เลือดออก” ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ถ้าหากว่าปีที่แล้วเรา
เจอเบอร์ 1 ของไวรัสไข้เลือดออก ก็คิดว่าเราคงมีภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองขึ้น แต่มาปีนี้เราเกิดไปเจอไวรัสกลุ่ม 3
“ปรากฏว่า...ภูมิคุ้มกันกลุ่ม 1 พอเห็นกลุ่ม 3 ไม่ได้ทำลาย แต่ว่าไปจับมือกับกลุ่ม 3 แล้วถึงเข้าไปในเซลล์แล้วก็ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เพราะฉะนั้นจึง
เกิดเป็นกรณีวัคซีนที่บริษัทไบโอเมริเยอร์ฯซึ่งตื่นเต้นขายไปทั่วโลก ปรากฏว่าเมื่อฉีดไปแล้วไปเจอกับไวรัสอีกตัวซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน ปรากฏว่า...คนตาย
มากขึ้น”
กรณีนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจ แล้ววัคซีนนี้ก็ขายไม่ได้เลยทั่วโลก
ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วใน “ไวรัส” โรคไข้เลือดออก แต่กับโคโรนาไวรัส “โควิด-19” ยังไม่ทราบ ฉะนั้นเองก็ต้องระวังในเรื่องของวัคซีน กระนั้นก็ยังเป็น
เรื่องที่ไม่อยากจะพูดเพราะกลัวว่าพูดไปแล้วคนจะไม่ยอมรับการฉีดวัคซีน ณ วันนี้เอาที่สบายใจ ฉีดแค่ครบโดสก็น่าจะเพียงพอแล้ว
คำถามต่อเนื่อง...หากเดือนสิงหาคมที่จะถึง “วัคซีนใบยา” สัญชาติไทยสู้โควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ทดสอบผ่านพ้นไปได้ด้วยดี จะฉีดซ้ำได้ไหม?
“วัคซีนใบยาสามารถครอบคลุมป้องกันไวรัสได้กว้างขวางกว่าก็ควรฉีดซ้ำได้...ถ้าครอบคลุมตัวใหม่ เหมือนกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีที่แล้วเราฉีด ปีนี้เราก็ฉีด
อีกเพราะวัคซีนครอบคลุมตัวใหม่แล้ว”
“วัคซีนใบยา” ที่จะออกมาครอบคลุมป้องกันไวรัสเยอะกว่าแน่ อาจจะเป็นอีกหนึ่งความหวังสำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะมองเรื่อง “ต้นทุน” ก็ถูก เพราะผลิต
จากใบพืช ยิ่งปลูกเยอะพื้นที่เยอะ ถ้าถามเรื่องปริมาณการผลิตก็สามารถที่จะผลิตได้เป็นสิบล้านโดสภายในระยะเวลาอันสั้น...“ข้อน่าดีใจ โปรตีนที่นำมา
ผลิตวัคซีนหนึ่งโดสนั้น ไม่ต้องใช้เยอะ...ใส่นิดเดียวก็สามารถกระตุ้นภูมิได้เต็มเลย”
เอาล่ะครับ “วัคซีนใบยา” ของคนไทย ของประเทศไทย...คุมได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำที่สำคัญปรับเปลี่ยนพัฒนาไปได้เรื่อยๆ ตามพัฒนาการสายพันธุ์
ไวรัส ร่วมด้วยช่วยกัน...“วัคซีนใบยา” เป็นอีกความหวังสำคัญยิ่งสำหรับสารพัดโรคร้ายในอนาคต ที่ไม่เฉพาะไวรัสโควิด-19 เท่านั้น.