ต้องยอมรับว่าผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกผิดหวังสุดๆ กับภาพยนตร์เรื่อง Star Wars : Rise of Skywalker ซึ่งเป็น Episode IX ของ Walt Disney ผมรู้สึกว่าการดำเนินเรื่องของภาคนี้ค่อนข้างมั่วๆ พยายามยัด Easter Egg หลายอย่างมาเอาใจแฟนๆ แต่การดำเนินเรื่องและเนื้อหากลับไม่สนุกเอาซะเลย
และด้วยความผิดหวังนี้เอง ผมจึงเริ่มสนใจที่จะหานิยาย Star Wars ชุด Thrawn Trilogy มาอ่านดู เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้ยินเสียงร่ำลือมานานพอสมควรว่า นิยายชุดนี้เป็นไตรภาค Sequel ที่แท้จริงซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ George Lucas ทำไตรภาค Prequel ของตัวเองขึ้นมา หากแต่กลับถูก Disney ลดฐานะไปเป็น Non-Canon อย่างน่าเสียดาย ไม่เพียงเท่านั้น Grand Admiral Thrawn ซึ่งเป็นผู้ร้ายประจำซีรี่ย์นั้น ก็นับเป็นตัวละครที่น่าจดจำมากจน Disney ต้องเพิ่มเรื่องราวของ Thrawn เข้าไปในเนื้อเรื่องส่วนของ Canon ที่ ในผลงานอื่นๆ ที่ Disney ทำขึ้นในเวลาต่อมา
หลังจากที่ได้อ่าน Heir to the Empire ซึ่งเป็นนิยายตอนแรกของ Thrawn Trilogy ผมขอรีวิวหนังสือดังนี้ครับ
เนื้อเรื่องย่อ
เหตุการณ์ใน Heir to the Empire จะเกิดขึ้นหลังจากที่ Return of the Jedi จบลงไปเป็นเวลา 5 ปี ฝ่ายจักรวรรดิได้อ่อนแอลงไปมาก เพราะในยุทธการ Endor บรรดานายทหารที่มากประสบการณ์ส่วนใหญ่จะประจำการอยู่บนยานรบ Executor ซึ่งถูกทำลายไม่เหลือซากจากเข้าไปชนกับ Death Star II พื้นที่ในครอบครองของจักรวาลลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกองกำลังที่เหลืออยู่ถอยไปอยู่แถบบริเวณชายขอบของกาแล็คซี่
ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม สถานการณ์ทางฝั่งสาธารณรัฐใหม่ ก็ใช่ว่าจะราบรื่นมากนัก Leia ที่กำลังตั้งท้องลูกแฝดอยู่ ต้องปวดหัวกับเกมการเมืองในสภาที่มีการขับเคี่ยวกันระหว่างฝ่ายของนายพล Akhbar และฝ่ายของ Borsk Fey'lya, นักการเมืองชาว Bothan ซึ่งมีอิทธิพลขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในฐานะที่เป็นผู้นำของเผ่าพันธุ์ที่ขโมยแผนผังของ Death Star II มา ในขณะเดียวกัน Han ก็ออกเดินทางเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยานขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทางสาธารณรัฐกาแล็คติกกำลังเผชิญอยู่
เนื้อเรื่องของ Heir to the Empire จะเริ่มขึ้นด้วยการเปิดตัว Grand Admiral Thrawn ซึ่งเป็นผู้นำคนใหม่ของฝ่ายจักรวรรดิ เดิมทีเขาถูกจักรพรรดิส่งไปสำรวจพื้นที่ Unknown Regions ของกาแล็คซี่ ส่งผลให้เขาเป็นผู้บัญชาการระดับสูงที่รอดชีวิตจากยุทธการ Endor เขาผู้นี้ กำลังดำเนินแผนการบางอย่างในการทวงคืนความยิ่งใหญ่กลับคืนมาสู่จักรวรรดิ และทำลายล้างสาธารณรัฐของฝ่าบกบฏในที่สุด
สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับนิยายเรื่องนี้
1. ผู้ร้าย
หลังจากที่ได้อ่านนิยาย ก็ต้องยอมรับว่าผู้ร้ายหลังของเรื่องนี้อย่าง Grand Admiral Thrawn เป็นตัวละครที่มีความสดใหม่และน่าจดจำในระดับที่ไม่น้อยหน้าคู่นายบ่าว Palpatine – Vader ทีเดียว (ส่วนตัวร้ายของไตรภาค Disney อย่าง Kylo Ren และ Snoke จะให้อารมณ์ว่าเป็น Vader – Palpatine ในฉบับที่ขลังน้อยกว่า )
ในขณะที่ Palpatine เป็นจอมบงการในความมืด Vader เป็นยอดฝีมือฝ่ายบู๊ด้านมืด ตัว Grand Admiral Thrawn นั้นจะเป็นผู้ร้ายสายบุ๋นใช้สมอง Timothy Zahn ซึ่งเป็นผู้แต่งนิยาย สามารถเลือกใช้คำพูดและบรรยายวิธีคิดของจอมพลผู้นี้ได้อย่างแยบยล จนคนอ่านสามารถรู้สึกคล้อยตามได้ว่าเขาคนนี้เป็นคนฉลาดจริงๆ และอาจคิดเช่นเดียวกับที่ตัวละครฝ่ายจักรวรรดิคนหนึ่งนึกสงสัยว่า ถ้าคนที่บัญชาการกองทัพฝ่ายจักรวรรดิในยุทธการ Endor เป็น Thrawn แทนที่จะเป็น Vader ผลลัพธ์ของสงครามจะเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยความที่เป็นสายบุ๋นนี้ Thrawn จะไม่ใช้อำนาจเข้าข่มขู่แบบ Vader หากแต่จะรู้จักพูดจาสุภาพ มีการสั่งสอนลูกน้อง และรู้จักที่จะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถอยเพื่อรักษากำลังรบฝ่ายตัวเองไว้ อย่างไรก็ดี หากลูกน้องทำงานผิดพลาดร้ายแรง เขาก็สั่งฆ่าได้โดยไม่กะพริบตา
หากเทียบกับตัวละครผู้ร้ายใน Star Wars ทั้ง 3 ไตรภาค+ Rogue One แล้ว ผู้ร้ายที่ไร้ Force ส่วนใหญ่มักจะอยู่เป็นเบี้ยล่างของผู้ร้ายที่มี Force (อาจจะมีเพียง Tarkin ที่เป็นข้อยกเว้น แต่เขาก็ตายไปพร้อมกับ Death Star ในยุทธการ Yavin) แต่ Thrawn นั้นจะสามารถรับมือตัวร้ายที่มี Force ในเรื่องอย่าง C'Baoth ได้แบบเหนือกว่านิดๆ
2. การใช้สมอง
ภายในนิยาย ทั้งฝ่ายพระเอกและผู้ร้าย (หรือแม้แต่ตัวละครลำดับรองอย่าง Wedge) จะแสดงการใช้ปัญญาตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรอง การใช้กลลวง การสังเกตและวิเคราะห์อ่านเกมฝ่ายตรงข้าม ถึงแม้ฝ่ายผู้ร้ายในเรื่องจะฉลาด แต่ฝ่ายพระเอกก็สามารถใช้ความช่างสังเกตและอ่านสถานการณ์จนรอดจากภาวะคับขันได้ในที่สุด
การหักเหลี่ยมเฉือนคมนี้ นับเป็นคุณค่าใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน Thrawn Trilogy (ถ้าเทียบกับฉบับหนังฉายโรงทั้ง 9 ภาคแล้ว ตัวละครฝ่ายพระเอกมักจะเน้นการใช้ปัญญาไปในเรื่อการขับยานมากกว่า)
3. แผนการในเรื่องที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็น War จริงๆ
ใน Star Wars ฉบับภาพยนตร์ทั้ง 9 ภาค การรบในสมรภูมิส่วนใหญ่จะให้ความรู้สึกถึงการใช้กำลังเข้าบวกกันแบบตรงๆ มากกว่า อย่างฝ่ายจักรวรรดิ หรือ First Order ก็จะเน้นสร้างอาวุธมหาประลัยขึ้นมาไล่ถล่มฐานฝ่ายศัตรู ส่วนฝ่ายกบฏก็จะพยายามบุกเข้าไปทำลายอาวุธมหาประลัยของฝ่ายตรงข้าม (ที่จริงแล้ว การรบในสมรภูมิสำคัญๆ ที่มีในภาพยนตร์หลายแห่งนั้น เช่นยุทธการที่ Corsuscant, Hoth, Endor, Scarif จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกระบวนทัพของแต่ละฝ่ายอยู่ด้วย และแฟนพันธุ์แท้บางคนก็จะทำคลิป Youtube ออกมาวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คนที่รับชมภาพยนตร์จะไม่สามารถจับรายละเอียดที่ว่ามาได้ภายในเวลาฉายที่จำกัด)
Thrawn ใน Heir to the Empire นั้น จะเป็นขั้นเป็นตอนมากกว่า มีทั้งการออกเก็บไอเทมและยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น โจมตีตอดเล็กตอดน้อย โห่ร้อมบูรพาโจมตีประจิม ล่อศัตรูให้เข้าทางตัวเอง จนทุกอย่างมาปะติดปะต่อกันในศึกสุดท้าย แถมยังมีมาตรการรองรับยามเสียท่าอีกต่างหาก
4. มีการอธิบายถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายอย่างและรูปแบบการใช้ Force ที่หลากหลาย
ผมขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการใช้ Force แบบใหม่ที่มีใน Heir to the Empire มาเป็นน้ำจิ้มสักเล็กน้อย
- Spacetrooper: ทหาร Stormtrooper รุ่นพิเศษที่ไม่ได้มีดีแค่การเปลี่ยน Design เหมือนอย่าง Stormtrooper ในฉบับภาพยนตร์ (ยกเว้น Jump Trooper ใน Episode IX) Spacetrooper จะสวมชุดเกราะสำหรับบินต่อสู้ในภาวะไร้แรงดึงดูด และติดตั้งอาวุธหนักอย่างเช่น Photon Torpedo ไว้ทำลายยานอวกาศ ภายในเรื่อง Spacetrooper เหล่านี้มีความสามารถในการรบในระดับที่ไม่เลวเลย
- Force บัญชาการ : ในนิยายจะมีการขยายความว่า ในสมรภูมิ Palpatine จะใช้ Force ในการบัญชาการทัพฝ่ายจักรวรรดิทั้งกองทัพ ซึ่งจะส่งผลให้ทหารทุกคนมีขวัญกำลังใจ ประสานงานกันได้อย่างลื่นไหล แต่พอ Palpatine ถูก Vader ฆ่าตายอย่างคาดไม่ถึง ฝ่ายจักรวรรดิก็เสียกระบวนอย่างฉับพลันจนโดนฝ่ายกบฎโจมตีจนแตกพ่ายในที่สุด
สิ่งที่อาจไม่ถูกใจแฟน Star Wars ฉบับภาพยนตร์บางส่วน
1.(ยัง)ไม่มี Jedi Fight
ถึงแม้ในเรื่อง Heir to the Empire จะมี Jedi ฝ่ายร้าย (ตอนที่นิยายวางขาย ยังไม่มีการเรียกผู้ใช้ Force ด้านมืดว่า Sith แต่จะเรียกว่า Dark Jedi) ที่ชื่อว่า C'Baoth แต่เขากับ Luke จะยังไม่ได้เจอหน้ากันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ภายในเรื่องจะมีฉากต่อสู้ที่ Luke ใช้ lightsaber สู้กับศัตรูที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ Force อยู่เหมือนกัน
2. โครงสร้างเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยอำนวยต่อการทำเป็นภาพยนตร์เท่าไรนัก
หากพิจารณาโครงสร้างเนื้อเรื่องของ Star Wars ฉบับภาพยนตร์ในภาคต่างๆ แล้ว เราจะเห็นได้ว่าในภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะมีจำนวนฉากหลัก (ดาว) เพียงไม่กี่ฉาก ยกตัวอย่างเช่น
Empire Strikes Back Hoth/ อวกาศ/ Degobah/Bespin
Return of the Jedi - Tattooine/ Degobah (สั้นๆ)/ Endor (บนดาว) / ห้วงอวกาศ เหนือ Endor
ฉากต่อสู้ภายในหนังก็จะมีการไล่ระดับทั้งความตื่นเต้นขึ้นตามฉากที่เปลี่ยนไปในรูปแบบดังนี้
เล็ก -> กลาง->ใหญ่ (Episode II,IV, VII)
ใหญ่->กลาง->ใหญ่ (Episode I, III,V,VI, VIII)
ส่วนเนื้อเรื่องใน Heir to the Empire จะมีจำนวนฉากเยอะ เพราะแผนการของ Thrawn มีอยู่หลายขั้น มีประเด็นในเรื่องเยอะ การนำเสนอเนื้อเรื่องในรูปแบบภาพยนตร์จึงอาจจะให้ความรู้สึกที่ไม่กระชับเท่าไรนัก
ในเรื่องการไล่ระดับฉากต่อสู้ของ Heir to the Empire นั้นจะมีรูปแบบดังนี้
เล็ก->เล็ก->เล็ก->เล็ก->เล็ก->ใหญ่
รูปแบบดังกล่าวจะให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับกรณี Episode IX ซึ่งให้ความรู้สึกว่าเนื้อเรื่องอัดๆ ไม่สนุก ดูแล้วไม่ลุ้น
3. บทบรรยายฉากต่อสู้
ความสนุกของ Heir to the Empire จะเน้นไปที่ความฉลาดที่สะท้อนอยู่ในบทสนทนามากกว่า แต่บทบรรยายในฉากต่อสู้หรือฉากสงครามนั้นจะให้ความรู้สึกว่าสั้นและรวบรัดเกินไปหน่อย แม้แต่ฉากสงครามที่เป็น Climax ของนิยายตอนท้ายเล่ม ก็มีความยาวเพียงแค่ 1 บท ซึ่งมีอยู่ 20 หน้าเท่านั้น
ทั้งหมดนี้ก็คือความเห็นที่ผมมีต่อนิยายเรื่อง Heir to the Empire ครับ โดยรวมแล้ว ก็ยอมรับว่า นิยายเรื่องนี้เป็นภาคต่อของไตรภาคหลักที่มีทั้งความสดใหม่ อีกทั้งความดีงามในแบบฉบับของตัวเองและไม่น้อยหน้าไตรภาคหลักเลย หลังจากนี้ หากผมได้อ่าน Dark Force Rising ซึ่งเป็นภาค 2 ของ Thrawn Trilogy จนจบแล้วเมื่อไร ก็จะมารีวิวให้ทุกท่านได้อ่านกันต่อไปครับ
[รีวิวนิยาย] Heir to the Empire นิยายที่แฟนพันธุ์แท้ Star Wars ยกย่องให้เป็น “Episode VII ที่แท้จริง”
และด้วยความผิดหวังนี้เอง ผมจึงเริ่มสนใจที่จะหานิยาย Star Wars ชุด Thrawn Trilogy มาอ่านดู เพราะก่อนหน้านี้ก็ได้ยินเสียงร่ำลือมานานพอสมควรว่า นิยายชุดนี้เป็นไตรภาค Sequel ที่แท้จริงซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ George Lucas ทำไตรภาค Prequel ของตัวเองขึ้นมา หากแต่กลับถูก Disney ลดฐานะไปเป็น Non-Canon อย่างน่าเสียดาย ไม่เพียงเท่านั้น Grand Admiral Thrawn ซึ่งเป็นผู้ร้ายประจำซีรี่ย์นั้น ก็นับเป็นตัวละครที่น่าจดจำมากจน Disney ต้องเพิ่มเรื่องราวของ Thrawn เข้าไปในเนื้อเรื่องส่วนของ Canon ที่ ในผลงานอื่นๆ ที่ Disney ทำขึ้นในเวลาต่อมา
หลังจากที่ได้อ่าน Heir to the Empire ซึ่งเป็นนิยายตอนแรกของ Thrawn Trilogy ผมขอรีวิวหนังสือดังนี้ครับ
เนื้อเรื่องย่อ
เหตุการณ์ใน Heir to the Empire จะเกิดขึ้นหลังจากที่ Return of the Jedi จบลงไปเป็นเวลา 5 ปี ฝ่ายจักรวรรดิได้อ่อนแอลงไปมาก เพราะในยุทธการ Endor บรรดานายทหารที่มากประสบการณ์ส่วนใหญ่จะประจำการอยู่บนยานรบ Executor ซึ่งถูกทำลายไม่เหลือซากจากเข้าไปชนกับ Death Star II พื้นที่ในครอบครองของจักรวาลลดน้อยลงเรื่อยๆ จนกองกำลังที่เหลืออยู่ถอยไปอยู่แถบบริเวณชายขอบของกาแล็คซี่
ถึงจะเป็นอย่างนั้นก็ตาม สถานการณ์ทางฝั่งสาธารณรัฐใหม่ ก็ใช่ว่าจะราบรื่นมากนัก Leia ที่กำลังตั้งท้องลูกแฝดอยู่ ต้องปวดหัวกับเกมการเมืองในสภาที่มีการขับเคี่ยวกันระหว่างฝ่ายของนายพล Akhbar และฝ่ายของ Borsk Fey'lya, นักการเมืองชาว Bothan ซึ่งมีอิทธิพลขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในฐานะที่เป็นผู้นำของเผ่าพันธุ์ที่ขโมยแผนผังของ Death Star II มา ในขณะเดียวกัน Han ก็ออกเดินทางเพื่อพยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยานขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ทางสาธารณรัฐกาแล็คติกกำลังเผชิญอยู่
เนื้อเรื่องของ Heir to the Empire จะเริ่มขึ้นด้วยการเปิดตัว Grand Admiral Thrawn ซึ่งเป็นผู้นำคนใหม่ของฝ่ายจักรวรรดิ เดิมทีเขาถูกจักรพรรดิส่งไปสำรวจพื้นที่ Unknown Regions ของกาแล็คซี่ ส่งผลให้เขาเป็นผู้บัญชาการระดับสูงที่รอดชีวิตจากยุทธการ Endor เขาผู้นี้ กำลังดำเนินแผนการบางอย่างในการทวงคืนความยิ่งใหญ่กลับคืนมาสู่จักรวรรดิ และทำลายล้างสาธารณรัฐของฝ่าบกบฏในที่สุด
สิ่งที่ผมชอบเกี่ยวกับนิยายเรื่องนี้
1. ผู้ร้าย
หลังจากที่ได้อ่านนิยาย ก็ต้องยอมรับว่าผู้ร้ายหลังของเรื่องนี้อย่าง Grand Admiral Thrawn เป็นตัวละครที่มีความสดใหม่และน่าจดจำในระดับที่ไม่น้อยหน้าคู่นายบ่าว Palpatine – Vader ทีเดียว (ส่วนตัวร้ายของไตรภาค Disney อย่าง Kylo Ren และ Snoke จะให้อารมณ์ว่าเป็น Vader – Palpatine ในฉบับที่ขลังน้อยกว่า )
ในขณะที่ Palpatine เป็นจอมบงการในความมืด Vader เป็นยอดฝีมือฝ่ายบู๊ด้านมืด ตัว Grand Admiral Thrawn นั้นจะเป็นผู้ร้ายสายบุ๋นใช้สมอง Timothy Zahn ซึ่งเป็นผู้แต่งนิยาย สามารถเลือกใช้คำพูดและบรรยายวิธีคิดของจอมพลผู้นี้ได้อย่างแยบยล จนคนอ่านสามารถรู้สึกคล้อยตามได้ว่าเขาคนนี้เป็นคนฉลาดจริงๆ และอาจคิดเช่นเดียวกับที่ตัวละครฝ่ายจักรวรรดิคนหนึ่งนึกสงสัยว่า ถ้าคนที่บัญชาการกองทัพฝ่ายจักรวรรดิในยุทธการ Endor เป็น Thrawn แทนที่จะเป็น Vader ผลลัพธ์ของสงครามจะเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยความที่เป็นสายบุ๋นนี้ Thrawn จะไม่ใช้อำนาจเข้าข่มขู่แบบ Vader หากแต่จะรู้จักพูดจาสุภาพ มีการสั่งสอนลูกน้อง และรู้จักที่จะสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถอยเพื่อรักษากำลังรบฝ่ายตัวเองไว้ อย่างไรก็ดี หากลูกน้องทำงานผิดพลาดร้ายแรง เขาก็สั่งฆ่าได้โดยไม่กะพริบตา
หากเทียบกับตัวละครผู้ร้ายใน Star Wars ทั้ง 3 ไตรภาค+ Rogue One แล้ว ผู้ร้ายที่ไร้ Force ส่วนใหญ่มักจะอยู่เป็นเบี้ยล่างของผู้ร้ายที่มี Force (อาจจะมีเพียง Tarkin ที่เป็นข้อยกเว้น แต่เขาก็ตายไปพร้อมกับ Death Star ในยุทธการ Yavin) แต่ Thrawn นั้นจะสามารถรับมือตัวร้ายที่มี Force ในเรื่องอย่าง C'Baoth ได้แบบเหนือกว่านิดๆ
2. การใช้สมอง
ภายในนิยาย ทั้งฝ่ายพระเอกและผู้ร้าย (หรือแม้แต่ตัวละครลำดับรองอย่าง Wedge) จะแสดงการใช้ปัญญาตลอดทั้งเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาต่อรอง การใช้กลลวง การสังเกตและวิเคราะห์อ่านเกมฝ่ายตรงข้าม ถึงแม้ฝ่ายผู้ร้ายในเรื่องจะฉลาด แต่ฝ่ายพระเอกก็สามารถใช้ความช่างสังเกตและอ่านสถานการณ์จนรอดจากภาวะคับขันได้ในที่สุด
การหักเหลี่ยมเฉือนคมนี้ นับเป็นคุณค่าใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน Thrawn Trilogy (ถ้าเทียบกับฉบับหนังฉายโรงทั้ง 9 ภาคแล้ว ตัวละครฝ่ายพระเอกมักจะเน้นการใช้ปัญญาไปในเรื่อการขับยานมากกว่า)
3. แผนการในเรื่องที่ให้ความรู้สึกถึงความเป็น War จริงๆ
ใน Star Wars ฉบับภาพยนตร์ทั้ง 9 ภาค การรบในสมรภูมิส่วนใหญ่จะให้ความรู้สึกถึงการใช้กำลังเข้าบวกกันแบบตรงๆ มากกว่า อย่างฝ่ายจักรวรรดิ หรือ First Order ก็จะเน้นสร้างอาวุธมหาประลัยขึ้นมาไล่ถล่มฐานฝ่ายศัตรู ส่วนฝ่ายกบฏก็จะพยายามบุกเข้าไปทำลายอาวุธมหาประลัยของฝ่ายตรงข้าม (ที่จริงแล้ว การรบในสมรภูมิสำคัญๆ ที่มีในภาพยนตร์หลายแห่งนั้น เช่นยุทธการที่ Corsuscant, Hoth, Endor, Scarif จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกระบวนทัพของแต่ละฝ่ายอยู่ด้วย และแฟนพันธุ์แท้บางคนก็จะทำคลิป Youtube ออกมาวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม คนที่รับชมภาพยนตร์จะไม่สามารถจับรายละเอียดที่ว่ามาได้ภายในเวลาฉายที่จำกัด)
Thrawn ใน Heir to the Empire นั้น จะเป็นขั้นเป็นตอนมากกว่า มีทั้งการออกเก็บไอเทมและยุทโธปกรณ์ที่จำเป็น โจมตีตอดเล็กตอดน้อย โห่ร้อมบูรพาโจมตีประจิม ล่อศัตรูให้เข้าทางตัวเอง จนทุกอย่างมาปะติดปะต่อกันในศึกสุดท้าย แถมยังมีมาตรการรองรับยามเสียท่าอีกต่างหาก
4. มีการอธิบายถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ หลายอย่างและรูปแบบการใช้ Force ที่หลากหลาย
ผมขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการใช้ Force แบบใหม่ที่มีใน Heir to the Empire มาเป็นน้ำจิ้มสักเล็กน้อย
- Spacetrooper: ทหาร Stormtrooper รุ่นพิเศษที่ไม่ได้มีดีแค่การเปลี่ยน Design เหมือนอย่าง Stormtrooper ในฉบับภาพยนตร์ (ยกเว้น Jump Trooper ใน Episode IX) Spacetrooper จะสวมชุดเกราะสำหรับบินต่อสู้ในภาวะไร้แรงดึงดูด และติดตั้งอาวุธหนักอย่างเช่น Photon Torpedo ไว้ทำลายยานอวกาศ ภายในเรื่อง Spacetrooper เหล่านี้มีความสามารถในการรบในระดับที่ไม่เลวเลย
- Force บัญชาการ : ในนิยายจะมีการขยายความว่า ในสมรภูมิ Palpatine จะใช้ Force ในการบัญชาการทัพฝ่ายจักรวรรดิทั้งกองทัพ ซึ่งจะส่งผลให้ทหารทุกคนมีขวัญกำลังใจ ประสานงานกันได้อย่างลื่นไหล แต่พอ Palpatine ถูก Vader ฆ่าตายอย่างคาดไม่ถึง ฝ่ายจักรวรรดิก็เสียกระบวนอย่างฉับพลันจนโดนฝ่ายกบฎโจมตีจนแตกพ่ายในที่สุด
สิ่งที่อาจไม่ถูกใจแฟน Star Wars ฉบับภาพยนตร์บางส่วน
1.(ยัง)ไม่มี Jedi Fight
ถึงแม้ในเรื่อง Heir to the Empire จะมี Jedi ฝ่ายร้าย (ตอนที่นิยายวางขาย ยังไม่มีการเรียกผู้ใช้ Force ด้านมืดว่า Sith แต่จะเรียกว่า Dark Jedi) ที่ชื่อว่า C'Baoth แต่เขากับ Luke จะยังไม่ได้เจอหน้ากันแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ภายในเรื่องจะมีฉากต่อสู้ที่ Luke ใช้ lightsaber สู้กับศัตรูที่ไม่ได้เป็นผู้ใช้ Force อยู่เหมือนกัน
2. โครงสร้างเนื้อเรื่องที่ไม่ค่อยอำนวยต่อการทำเป็นภาพยนตร์เท่าไรนัก
หากพิจารณาโครงสร้างเนื้อเรื่องของ Star Wars ฉบับภาพยนตร์ในภาคต่างๆ แล้ว เราจะเห็นได้ว่าในภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะมีจำนวนฉากหลัก (ดาว) เพียงไม่กี่ฉาก ยกตัวอย่างเช่น
Empire Strikes Back Hoth/ อวกาศ/ Degobah/Bespin
Return of the Jedi - Tattooine/ Degobah (สั้นๆ)/ Endor (บนดาว) / ห้วงอวกาศ เหนือ Endor
ฉากต่อสู้ภายในหนังก็จะมีการไล่ระดับทั้งความตื่นเต้นขึ้นตามฉากที่เปลี่ยนไปในรูปแบบดังนี้
เล็ก -> กลาง->ใหญ่ (Episode II,IV, VII)
ใหญ่->กลาง->ใหญ่ (Episode I, III,V,VI, VIII)
ส่วนเนื้อเรื่องใน Heir to the Empire จะมีจำนวนฉากเยอะ เพราะแผนการของ Thrawn มีอยู่หลายขั้น มีประเด็นในเรื่องเยอะ การนำเสนอเนื้อเรื่องในรูปแบบภาพยนตร์จึงอาจจะให้ความรู้สึกที่ไม่กระชับเท่าไรนัก
ในเรื่องการไล่ระดับฉากต่อสู้ของ Heir to the Empire นั้นจะมีรูปแบบดังนี้
เล็ก->เล็ก->เล็ก->เล็ก->เล็ก->ใหญ่
รูปแบบดังกล่าวจะให้ความรู้สึกคล้ายๆ กับกรณี Episode IX ซึ่งให้ความรู้สึกว่าเนื้อเรื่องอัดๆ ไม่สนุก ดูแล้วไม่ลุ้น
3. บทบรรยายฉากต่อสู้
ความสนุกของ Heir to the Empire จะเน้นไปที่ความฉลาดที่สะท้อนอยู่ในบทสนทนามากกว่า แต่บทบรรยายในฉากต่อสู้หรือฉากสงครามนั้นจะให้ความรู้สึกว่าสั้นและรวบรัดเกินไปหน่อย แม้แต่ฉากสงครามที่เป็น Climax ของนิยายตอนท้ายเล่ม ก็มีความยาวเพียงแค่ 1 บท ซึ่งมีอยู่ 20 หน้าเท่านั้น
ทั้งหมดนี้ก็คือความเห็นที่ผมมีต่อนิยายเรื่อง Heir to the Empire ครับ โดยรวมแล้ว ก็ยอมรับว่า นิยายเรื่องนี้เป็นภาคต่อของไตรภาคหลักที่มีทั้งความสดใหม่ อีกทั้งความดีงามในแบบฉบับของตัวเองและไม่น้อยหน้าไตรภาคหลักเลย หลังจากนี้ หากผมได้อ่าน Dark Force Rising ซึ่งเป็นภาค 2 ของ Thrawn Trilogy จนจบแล้วเมื่อไร ก็จะมารีวิวให้ทุกท่านได้อ่านกันต่อไปครับ