ประธานภาค กทม.เพื่อไทย เสนอ 5 ทางแก้โควิด เตือนล่าช้า ไม่บูรณาการทำงาน เสี่ยงระบาดหนัก
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2709612
ประธานภาค กทม.เพื่อไทย เสนอ 5 ทางแก้โควิด เตือน ถ้า รบ.-กทม. ล่าช้า ไม่บูรณาการทำงาน เสี่ยงระบาดหนัก
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นาย
วิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้บุคลากรของพรรค พท. ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง พบปัญหาและช่องโหว่ในการบริหารจัดการสถานการณ์ของรัฐบาลและ กทม.อยู่มาก โดยขณะนี้ตามชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ กทม. มีการพบผู้ติดเชื้อแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องการตรวจเชื้อ และการรักษาพยาบาล หลายพื้นที่มีผู้ป่วยตกค้างและผู้ที่ต้องกักตัวอยู่เป็นจำนวนมาก และอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ซ้ำรอยคลองเตยได้ตลอดเวลา จนดูเหมือนว่ากรุงเทพฯ กำลังกลายเป็นพื้นที่ที่อมโรคอยู่ ล่าสุดได้รับแจ้งว่าในพื้นที่ดอนเมือง และบริเวณเคหะทุ่งสองห้องก็พบผู้ติดเชื้อ และผู้ที่ต้องกักตัวอยู่จำนวนมาก ซึ่งภาครัฐควรเร่งเข้าไปดูแลประชาชน ตรวจเชื้อและคัดแยกกลุ่มเสี่ยง และผู้ติดเชื้อออกจากประชาชนทั่วไป เพื่อป้องกันการระบาดโดยด่วน
นาย
วิชาญกล่าวว่า สถานการณ์ใน กทม.ขณะนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก ดังนั้นภาครัฐ และ กทม.จะต้องแก้ปัญหา โดย
1.ต้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง หาผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนในแต่ละส่วนงานที่ทำ โดยเฉพาะขั้นตอนการรับส่งและตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาทับซ้อนอยู่ จนไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้
2. ต้องเร่งแยกกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อออกจากประชาชนและชุมชน เพราะขณะนี้ยังพบว่าตกค้างอยู่ตามชุมชนต่างๆ จำนวนมาก
3. เร่งการคัดกรองผู้ติดเชื้อในชุมชนใหญ่ๆ เพราะที่ผ่านมามีบทเรียนแล้วจากปัญหาการระบาดที่ชุมชนคลองเตยที่ดำเนินการล่าช้าจนเกิดการระบาด และกลายเป็นปัญหาใหญ่ รวมทั้งเร่งรับตัวผู้ติดเชื้อไปรักษาเพื่อแยกออกจากชุมชน พร้อมทั้งดำเนินการฉีดพ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดในชุมชนทันที
4. ต้องเปิดใจกว้างให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการนำส่งผู้ติดเชื้อ ซึ่งภาครัฐอาจอยู่ในฐานะของผู้สนับสนุนในด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ควรพิจารณานำงบประมาณ 1,500 ล้านบาท ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช.มาใช้ในส่วนนี้ รวมถึงประสานและสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่มีอยู่ทุกพื้นที่ให้มากกว่านี้
และ 5. ควรประสานงานกับคลินิกอบอุ่น (คลินิกหลักประกันสุขภาพ 30 บาท) ซึ่งขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ที่มีอยู่เกือบ 200 แห่งทั่วกรุงเทพฯ รวมไปถึงศูนย์สาธารณสุข กทม. ให้เป็นสถานที่สำหรับตรวจเชื้อและฉีดวัคซีน เพราะคลินิกเหล่านี้มีรายชื่อประชาชนที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว เพื่อการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดการกระจุกตัวที่โรงพยาบาล
“ม.หอการค้า” เผยโควิด ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ 22 ปี 7 เดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2709119
“ม.หอการค้า” เผยโควิด ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ 22 ปี 7 เดือน
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิบการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหัวหน้าศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.อยู่ที่ 46.0 ลดลงจากเดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 48.5 โดยลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 7 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 40.3 จาก 42.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ อยู่ที่ 42.9 จาก 45.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 54.7 จาก 57.7
นาย
ธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการระบาดอยู่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการต่างๆ, รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการระบาดของโรคให้เข้มข้นและมาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่ ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การปิดสถานบันเทิง ควบคุมเวลาการเปิดปิดห้างสรรพสินค้า/ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เป็นต้น พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดออกนอกเคหสถานในยามค่ำคืน, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยเหลือโต 2.3% จากเดิมคาด 2.8%
นาย
ธนวรรธน์กล่าวว่า ขณะที่ปัจจัยบวก ได้แก่ ภาครัฐดำเนินการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย โครงการ
“เราชนะ” “ม33เรารักกัน” “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับดีขึ้นทั่วประเทศ, การส่งออกเดือนมี.ค. ขยายตัว 8.47% ทำให้ช่วง 3 เดือนแรกส่งออกโต 2.27%, ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น หรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าวและยางพารา ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
“
การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงอีกครั้งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ แสดงว่าผู้บริโภคยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในประเทศไทยและในโลกว่าจะส่งผละกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการแพร่กระจายของโควิดรอบใหม่ว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน รุนแรงเพียงใด และรัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างไร รวมถึงจะมีการ Lockdown ในจังหวัดต่างๆ มากน้อยเพียงใด จะคลี่คลายลงเมื่อไร และจะมีการฉีดวัคซีนได้รวดเร็วแค่ไหน จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้ และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัว 0.0-1.5% ได้” นาย
ธนวรรธน์กล่าว
อดีตพุทธะอิสระเปิดวอร์'พระมหาไพรวัลย์' ปมพระรับเงิน
https://www.dailynews.co.th/regional/841704
อดีตพุทธะอิสระเปิดวอร์'พระมหาไพรวัลย์' ปมพระรับเงิน
วอร์เดือด“
อดีตพุทธะอิสระ”เปิดวอร์“
พระมหาไพรวัลย์”ปมพระรับเงิน เหน็บถาม“
มีเงินในบัญชีเท่าไหร่แล้ว รวยนักเอามาแจกชาวบ้าน”ด้าน“
พระมหาไพรวัลย์” สวนกลับ “
กล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลยแม้แต่แดงเดียว”
กลายเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาทันที หลัง พระมหา
ไพรวัลย์ วรวณฺโณ เข้าแจ้งความเอาผิด เพจเฟซบุ๊ก และสหกรณ์แห่งหนึ่ง ที่นำเอาเอกสารออกมาเผยแพร่ว่า พระมหาไพรวัลย์รับเงินค่าวิทยากรบรรยายธรรมเป็นเงินถึง 40,000 บาท โดยเจ้าตัวยืนยันว่า ไม่เคยรับเงินปัจจัยมากขนาดนั้น และไม่เคยเรียกรับเงินแม้แต่บาทเดียว ไม่ว่ารับกิจนิมนต์ที่ไหนก็แล้วแต่ญาติโยมจะให้ตามศรัทธาเท่านั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. เพจ “
หลวงปู่พุทธะอิสระ” หรือเพจนาย
สุวิทย์ ทองประเสริฐ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวว่า
ไหนว่า ท่านมหาเป็นพระดี พระแท้ พระรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดไงล่ะ 6 พฤษภาคม 2564 แล้วพระวินัยข้อนี้มหาว่าไง โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 8 ว่าด้วยภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทำไมเรื่องนี้มหาคนดีที่ 1 ไม่เคยพูดเลยล่ะ ถึงวันนี้เงินในบัญชีมีเท่าไหร่แล้วล่ะรวยนักก็เอาออกมาแจกชาวบ้านหรือกองเชียร์ที่เขาประสบภัยโควิดดูบ้าง เผื่อจะรู้ว่า คำว่า โลกธรรมที่ควรจะต้องละ เขาทำกันอย่างไร
ขณะที่ พระ
มหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระภิกษุวัดสร้อยทอง ได้โพสต์ข้อความโต้กลับทันทีว่า
ไม่มีปัญหาเลยนะโยมสุวิทย์ ให้มหาเถรสมาคมออกมติมาเลยว่า นิตยภัต (เงินเดือน) ตั้งแต่ระดับพระสังฆราชลงมาถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาสนั้นขัดพระธรรมวินัย ให้ยกเลิกถวายเสีย และนับตั้งแต่นี้ไป ห้ามมิให้พระเณรรับธนบัตร (รวมไปถึงใบปวารณา ที่มักแอบไปขึ้นเงินกันทีหลัง) อีก อนึ่ง ในสมัยที่โยมสุวิทย์เป็นพระ กล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลยแม้แต่แดงเดียว ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น จะเล่นลิ้นเล่นคำ อาตมาไม่มีปัญหานะ แต่ช่วยส่องกระจกดูตัวเองด้วย จะดีมาก
#ขายขำเก่งนะเรา
https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/178168247508786
https://www.facebook.com/paivan01/posts/1270460413386301
JJNY : 4in1 พท.เสนอ5ทางแก้โควิด│เชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดรอบ22ปี│อดีตพุทธะอิสระเปิดวอร์พระมหาไพรวัลย์│เปิดราคาโมเดอร์นา
https://www.matichon.co.th/covid19/news_2709612
ประธานภาค กทม.เพื่อไทย เสนอ 5 ทางแก้โควิด เตือน ถ้า รบ.-กทม. ล่าช้า ไม่บูรณาการทำงาน เสี่ยงระบาดหนัก
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ประธานภาค กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงการระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ว่า ขณะนี้บุคลากรของพรรค พท. ลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง พบปัญหาและช่องโหว่ในการบริหารจัดการสถานการณ์ของรัฐบาลและ กทม.อยู่มาก โดยขณะนี้ตามชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ กทม. มีการพบผู้ติดเชื้อแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องการตรวจเชื้อ และการรักษาพยาบาล หลายพื้นที่มีผู้ป่วยตกค้างและผู้ที่ต้องกักตัวอยู่เป็นจำนวนมาก และอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ซ้ำรอยคลองเตยได้ตลอดเวลา จนดูเหมือนว่ากรุงเทพฯ กำลังกลายเป็นพื้นที่ที่อมโรคอยู่ ล่าสุดได้รับแจ้งว่าในพื้นที่ดอนเมือง และบริเวณเคหะทุ่งสองห้องก็พบผู้ติดเชื้อ และผู้ที่ต้องกักตัวอยู่จำนวนมาก ซึ่งภาครัฐควรเร่งเข้าไปดูแลประชาชน ตรวจเชื้อและคัดแยกกลุ่มเสี่ยง และผู้ติดเชื้อออกจากประชาชนทั่วไป เพื่อป้องกันการระบาดโดยด่วน
นายวิชาญกล่าวว่า สถานการณ์ใน กทม.ขณะนี้น่าเป็นห่วงอย่างมาก ดังนั้นภาครัฐ และ กทม.จะต้องแก้ปัญหา โดย
1.ต้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง หาผู้รับผิดชอบให้ชัดเจนในแต่ละส่วนงานที่ทำ โดยเฉพาะขั้นตอนการรับส่งและตรวจวินิจฉัยกลุ่มเสี่ยงทั้งระบบ ซึ่งขณะนี้เป็นปัญหาทับซ้อนอยู่ จนไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้
2. ต้องเร่งแยกกลุ่มเสี่ยงและผู้ติดเชื้อออกจากประชาชนและชุมชน เพราะขณะนี้ยังพบว่าตกค้างอยู่ตามชุมชนต่างๆ จำนวนมาก
3. เร่งการคัดกรองผู้ติดเชื้อในชุมชนใหญ่ๆ เพราะที่ผ่านมามีบทเรียนแล้วจากปัญหาการระบาดที่ชุมชนคลองเตยที่ดำเนินการล่าช้าจนเกิดการระบาด และกลายเป็นปัญหาใหญ่ รวมทั้งเร่งรับตัวผู้ติดเชื้อไปรักษาเพื่อแยกออกจากชุมชน พร้อมทั้งดำเนินการฉีดพ่นฆ่าเชื้อทำความสะอาดในชุมชนทันที
4. ต้องเปิดใจกว้างให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อมเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการนำส่งผู้ติดเชื้อ ซึ่งภาครัฐอาจอยู่ในฐานะของผู้สนับสนุนในด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จำเป็น ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ควรพิจารณานำงบประมาณ 1,500 ล้านบาท ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สปสช.มาใช้ในส่วนนี้ รวมถึงประสานและสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ที่มีอยู่ทุกพื้นที่ให้มากกว่านี้
และ 5. ควรประสานงานกับคลินิกอบอุ่น (คลินิกหลักประกันสุขภาพ 30 บาท) ซึ่งขึ้นทะเบียนกับ สปสช.ที่มีอยู่เกือบ 200 แห่งทั่วกรุงเทพฯ รวมไปถึงศูนย์สาธารณสุข กทม. ให้เป็นสถานที่สำหรับตรวจเชื้อและฉีดวัคซีน เพราะคลินิกเหล่านี้มีรายชื่อประชาชนที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว เพื่อการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และลดการกระจุกตัวที่โรงพยาบาล
“ม.หอการค้า” เผยโควิด ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ 22 ปี 7 เดือน
https://www.matichon.co.th/economy/news_2709119
“ม.หอการค้า” เผยโควิด ฉุดดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคต่ำสุดในรอบ 22 ปี 7 เดือน
เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2564 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิบการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และหัวหน้าศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน เม.ย.อยู่ที่ 46.0 ลดลงจากเดือนมี.ค.64 ซึ่งอยู่ที่ 48.5 โดยลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ในรอบ 22 ปี 7 เดือน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ 40.3 จาก 42.5 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสหางานทำ อยู่ที่ 42.9 จาก 45.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 54.7 จาก 57.7
นายธนวรรธน์กล่าวว่า สำหรับปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่ ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการระบาดอยู่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจและภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวและบริการต่างๆ, รัฐบาลออกมาตรการควบคุมการระบาดของโรคให้เข้มข้นและมาตรการควบคุมแบบบูรณาการจำแนกตามเขตพื้นที่ ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การปิดสถานบันเทิง ควบคุมเวลาการเปิดปิดห้างสรรพสินค้า/ร้านสะดวกซื้อ ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม เป็นต้น พร้อมขอความร่วมมือประชาชนงดออกนอกเคหสถานในยามค่ำคืน, สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยเหลือโต 2.3% จากเดิมคาด 2.8%
นายธนวรรธน์กล่าวว่า ขณะที่ปัจจัยบวก ได้แก่ ภาครัฐดำเนินการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ประกอบด้วย โครงการ “เราชนะ” “ม33เรารักกัน” “คนละครึ่ง” “เราเที่ยวด้วยกัน” ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อให้ปรับดีขึ้นทั่วประเทศ, การส่งออกเดือนมี.ค. ขยายตัว 8.47% ทำให้ช่วง 3 เดือนแรกส่งออกโต 2.27%, ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น หรือทรงตัวในระดับที่ดี โดยเฉพาะข้าวและยางพารา ส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น ทำให้กำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
“การที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงอีกครั้งท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิดรอบใหม่ แสดงว่าผู้บริโภคยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในประเทศไทยและในโลกว่าจะส่งผละกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้ผู้บริโภคจะระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยในช่วงนี้ อย่างไรก็ตาม ต้องติดตามการแพร่กระจายของโควิดรอบใหม่ว่าจะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน รุนแรงเพียงใด และรัฐบาลจะมีมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างไร รวมถึงจะมีการ Lockdown ในจังหวัดต่างๆ มากน้อยเพียงใด จะคลี่คลายลงเมื่อไร และจะมีการฉีดวัคซีนได้รวดเร็วแค่ไหน จะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในอนาคตได้ และอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ขยายตัว 0.0-1.5% ได้” นายธนวรรธน์กล่าว
อดีตพุทธะอิสระเปิดวอร์'พระมหาไพรวัลย์' ปมพระรับเงิน
https://www.dailynews.co.th/regional/841704
อดีตพุทธะอิสระเปิดวอร์'พระมหาไพรวัลย์' ปมพระรับเงิน
วอร์เดือด“อดีตพุทธะอิสระ”เปิดวอร์“พระมหาไพรวัลย์”ปมพระรับเงิน เหน็บถาม“มีเงินในบัญชีเท่าไหร่แล้ว รวยนักเอามาแจกชาวบ้าน”ด้าน“พระมหาไพรวัลย์” สวนกลับ “กล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลยแม้แต่แดงเดียว”
กลายเป็นประเด็นดราม่าขึ้นมาทันที หลัง พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ เข้าแจ้งความเอาผิด เพจเฟซบุ๊ก และสหกรณ์แห่งหนึ่ง ที่นำเอาเอกสารออกมาเผยแพร่ว่า พระมหาไพรวัลย์รับเงินค่าวิทยากรบรรยายธรรมเป็นเงินถึง 40,000 บาท โดยเจ้าตัวยืนยันว่า ไม่เคยรับเงินปัจจัยมากขนาดนั้น และไม่เคยเรียกรับเงินแม้แต่บาทเดียว ไม่ว่ารับกิจนิมนต์ที่ไหนก็แล้วแต่ญาติโยมจะให้ตามศรัทธาเท่านั้น
ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 พ.ค. เพจ “หลวงปู่พุทธะอิสระ” หรือเพจนายสุวิทย์ ทองประเสริฐ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวว่า
ไหนว่า ท่านมหาเป็นพระดี พระแท้ พระรักษาพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดไงล่ะ 6 พฤษภาคม 2564 แล้วพระวินัยข้อนี้มหาว่าไง โกสิยวรรคที่ 2 สิกขาบทที่ 8 ว่าด้วยภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทำไมเรื่องนี้มหาคนดีที่ 1 ไม่เคยพูดเลยล่ะ ถึงวันนี้เงินในบัญชีมีเท่าไหร่แล้วล่ะรวยนักก็เอาออกมาแจกชาวบ้านหรือกองเชียร์ที่เขาประสบภัยโควิดดูบ้าง เผื่อจะรู้ว่า คำว่า โลกธรรมที่ควรจะต้องละ เขาทำกันอย่างไร
ขณะที่ พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ พระภิกษุวัดสร้อยทอง ได้โพสต์ข้อความโต้กลับทันทีว่า
ไม่มีปัญหาเลยนะโยมสุวิทย์ ให้มหาเถรสมาคมออกมติมาเลยว่า นิตยภัต (เงินเดือน) ตั้งแต่ระดับพระสังฆราชลงมาถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาสนั้นขัดพระธรรมวินัย ให้ยกเลิกถวายเสีย และนับตั้งแต่นี้ไป ห้ามมิให้พระเณรรับธนบัตร (รวมไปถึงใบปวารณา ที่มักแอบไปขึ้นเงินกันทีหลัง) อีก อนึ่ง ในสมัยที่โยมสุวิทย์เป็นพระ กล้าพูดด้วยคำสัตย์ไหมว่าไม่เคยรับปัจจัยเงินทองเลยแม้แต่แดงเดียว ไม่ว่าจะเพื่อตัวเองหรือเพื่อคนอื่น จะเล่นลิ้นเล่นคำ อาตมาไม่มีปัญหานะ แต่ช่วยส่องกระจกดูตัวเองด้วย จะดีมาก
#ขายขำเก่งนะเรา
https://www.facebook.com/buddha.isara/posts/178168247508786
https://www.facebook.com/paivan01/posts/1270460413386301