จากการที่ลงพื้นที่ทำการสำรวจเรื่องของ การนำอาหารมาถวายพระของญาติโยมในจังหวัดแห่งหนึ่ง เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาโรค NCD ของพระสงฆ์ ที่จะพบว่าเพิ่มมากขึ้นทุกวัน และเหมือนจะไม่ทุเลาลงเลย จึงไปลองค้นหาความจริงในพื้นที่เล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ในจังหวัดหนึ่ง โดยเข้าไปตามวัด และสัมภาษณ์พระสงฆ์หลายวัด ซึ่งผลที่ได้ พบว่าปัญหานั้นเกิดจากความเชื่อ และทัศนคติของคนไทยส่วนหนึ่งที่มองว่า อาหารพระนั้นจะต้องเป็นของอร่อย เต็มไปด้วยอาหารคาวหวานเต็มรูปแบบ ทั้งรสชาติ สีสันที่ชวนให้น่ารับประทาน และการจัดถวายที่มากมายตามแต่ผู้ถวายจะมีกำลังทรัพย์มาถวายพระ
พระอาจารย์ในวัดหนึ่ง ได้ให้รายละเอียดว่า
" อาหารที่ถวายท่านแต่ละวัน ท่านเลือกไม่ได้ ชาวบ้านถวายอะไรก้ต้องฉันสิ่งนั้น ทั้งที่บางอย่างท่านไม่อาจฉันได้แล้วเนื่องจากท่านมีภาวะเบาหวาน และโรคความดัน ไขมันสูง เช่น ขนมในกลุ่มทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หม้อแกง ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ ฟักทองแกวบวช กล้วยบวชชี และขนมหวานที่เป็นขนมไทยที่มีลักษณะสีสวย น่ารับประทาน และคนไทยเชื่อว่า เป็นสิ่งมงคล" พระอาจารย์ยังเล่าให้ฟังอีกว่า
" ในบางวัน ในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ หากเป็นช่วงเทศกาล จะถวายอาหารคล้ายกันก็มี เช่น แกงเขียวหวาน ก็เขียวหวานหลายบ้าน แกงคั่ว แกงกะทิ มัสหมั่น แกงที่มีกระทิ รสหวานมัน เป็นที่นิยม ทำให้บางวัน ในสำรับของท่านมีแต่ของพวกนี้" พระอาจารย์ได้แจ้งว่า เข้าใจในความหวังดีของญาติโยม และความเชื่อในเรื่อง อาหารภวายพระต้องเป็นอาหารเหล่านี้เพราะมีความอร่อย รสชาติดี แต่ ในความเป็นจริงท่านฉันมากก็ไม่ได้ แต่ละท่านมีปัญหาสุขภาพมากมาย
"บางวัน นะ โยม....."ท่านเล่าให้ฟัง" หากวันไหนมี ไข่ต้ม น้ำพริกง่าย ๆ ผักนึ่ง ผัดผัก จะเป็นวันที่พระหลายรูป ฉันได้มาก เพราะไขมันต่ำ ดีต่อระบบขับถ่าย และ รสชาติไม่หวานมันจนเกินไป" แต่หลวงพ่อก็ย้ำว่า ไม่สามารถบอกญาติโยมได้ว่า ควรถวายอะไร เพราะมันผิดวินัย อีกทั้งพระอาจารย์ก็มีเมตตาต่อญาติโยมทั้งหลาย ที่มาถวายอาหารท่านด้วยความศรัทธาและหวังดี
คณะเราจึงสอบถามท่านต่อว่า ญาติโยมรับรู้หรือไม่ว่า พระสงฆ์ท่านมีโรคประจำตัวหลายอย่าง และอาหารที่ควรหรือไม่ควรฉัน นั้น ควรเป็นอย่างไร ท่านก็ตอบว่า
" ญาติโยมรับรู้ แทบทุกหลังคาเรือน แต่สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำรายการอาหารถวายพระก็คือ ความรู้สึกอับอายที่ต้องถวายท่านด้วยอาหารที่ดูราคาถูก" พระท่านเสริมต่อว่า "บางทีในคลองหนึ่งเนี่ย มีการคุยกันว่า บ้านโน้นถวายอะไร บ้านนี้ถวายอะไร แล้วก็ทำให้แต่ละคนไม่กล้าถวายไข่ต้ม น้ำพริก เพราะกลัวคนจะไปว่าลับหลังว่าถวายอาหารพื้นๆ ให้พระ" พระท่านจึงแนะว่า "ไม่ต้องรู้สึกอย่างนั้นหรอก มีน้อยก็ถวายตามที่มี อาหารพื้น ๆ เช่น ไข่ต้ม ผักนึ่ง นี่แหละดีที่สุด..อย่าไปอาย หรือ เกทับกัน เพราะการทำบุญมันขึ้นกับศรัทธา และความตั้งใจไม่ใช่มูลค่าของของที่ทำหรอก" เมื่อฟังเช่นนี้เราก็เข้าใจบริบทสังคมต่างจังหวัดมากขึ้น ญาติโยมที่ถวายอาหารพระท่าน คงมีทัศนคติ ความเชื่อแตกต่างกัน และบางครั้งอาจไม่ทันนึกถึงสุขภาพของพระท่าน แต่ทั้งนี้ไม่ใช่สิ่งผิดมากมาย ไม่ได้ตำหนิท่านใดที่ถวายอาหารดีดี เพียงแต่หากลองปรับเปลี่ยนดูบ้าง คงจะช่วยให้พระสงฆ์โดยเฉพาะพระที่จำพรรษานาน ๆ อายุมาก ๆ ได้ฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพบ้าง
อาหารที่พระท่านไม่สามารถฉันหมดนั้น ก็จะแจกจ่ายไปยังคนที่ไม่มี คนที่ขาดแคลนอาหาร แต่ส่วนใหญ่เหลือทิ้ง เนื่องจากพระท่านฉันได้ไม่มากเนื่องจากเมนูอาหารท่านไม่สามารถฉันได้เลยสักอย่าง เช่น ขนมไทยรสหวานจัด ส่วนข้าวที่นำมาถวายควรเป็นข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี และควรงดข้าวเหนียว เนื่องจากข้าวเหนียวทำให้น้ำตาลขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทานอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ภายในวัดแต่ละแห่งมีปัญหาเรื่องมูลฝอยที่เป็นเศษอาหาร และมูลฝอยจากงานศพ โดยเฉพาะพวงหรีดที่เหลือทิ้งกองเป็นภูเขา บางวัดต้องหาสถานที่เผาเศษพวงหรีดดอกไม้ บางวัดให้เด็กวัดนำแกนกลางที่เป็นฟางมัดเพื่อเสียบดอกไม้ไปขายต่อ โดยได้อันละ 10 บาท แต่กระนั้น ก็ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้หมดเพราะเด็กวัดไม่ได้ว่างมาคัดแยกมูลฝอยทุกวัน ดังนั้นหากจะให้ดี การนำพวงหรีดดอกไม้มาวัดนั้นสร้างมูลฝอยโดยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง หากเป็นไปได้เมื่อต้องการแสดงความเสียใจต่อผูวายชนม์ ควรใช้หรีดแบบใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้ เช่น พัดลม เก้าอี้ นาฬิกา และผ้าขนหนู ซึ่งในขณะนี้ก็เห็นหลายๆวัดได้มีการใช้หรีดแบบนี้ทดแทนมากมายขึ้น
อยากฝากทุกท่านที่เข้ามาอ่าน หากเป็นไปได้ อาหารใส่บาตรถวายพระนั้นควรเน้นอาหารเพื่อสุขภาพดีกว่า อาหารง่าย ๆ ไม่แพง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี เช่น ไข่ต้ม น้ำพริก ผักสด ผักนึ่ง ปลานึ่ง ผัดผัก แกงที่ไม่ใช่แกงกะทิ และเน้นผักใบเขียว หรือผักพื้นบ้าน พระท่านควรได้ฉันอาหารไขมันต่ำ อาหารที่ปรุงแต่งน้อย ผลไม้ไม่หวาน เช่น ฝรั่ง แตงโม กล้วยน้ำว้า ชมพู่ ขนมหวานควรงด เน้นเครื่องดื่มสมุนไพรไม่มีน้ำตาล เช่น ชาสมุนไพรแบบซองไว้ชง เพื่อช่วยกันฟื้นฟูสุขภาพพระสงฆ์ให้แข็งแรง และมีพลานัยที่ดี
หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างค่ะ ช่วยกันดูแลสุขภาพพระสงฆ์กันเถอะค่ะ
ใส่ใจอาหารใส่บาตรกันเถอะ....พระสงฆ์ท่านมีปัญหาสุขภาพ
พระอาจารย์ในวัดหนึ่ง ได้ให้รายละเอียดว่า
" อาหารที่ถวายท่านแต่ละวัน ท่านเลือกไม่ได้ ชาวบ้านถวายอะไรก้ต้องฉันสิ่งนั้น ทั้งที่บางอย่างท่านไม่อาจฉันได้แล้วเนื่องจากท่านมีภาวะเบาหวาน และโรคความดัน ไขมันสูง เช่น ขนมในกลุ่มทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หม้อแกง ข้าวเหนียวหน้าต่าง ๆ ฟักทองแกวบวช กล้วยบวชชี และขนมหวานที่เป็นขนมไทยที่มีลักษณะสีสวย น่ารับประทาน และคนไทยเชื่อว่า เป็นสิ่งมงคล" พระอาจารย์ยังเล่าให้ฟังอีกว่า
" ในบางวัน ในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ หากเป็นช่วงเทศกาล จะถวายอาหารคล้ายกันก็มี เช่น แกงเขียวหวาน ก็เขียวหวานหลายบ้าน แกงคั่ว แกงกะทิ มัสหมั่น แกงที่มีกระทิ รสหวานมัน เป็นที่นิยม ทำให้บางวัน ในสำรับของท่านมีแต่ของพวกนี้" พระอาจารย์ได้แจ้งว่า เข้าใจในความหวังดีของญาติโยม และความเชื่อในเรื่อง อาหารภวายพระต้องเป็นอาหารเหล่านี้เพราะมีความอร่อย รสชาติดี แต่ ในความเป็นจริงท่านฉันมากก็ไม่ได้ แต่ละท่านมีปัญหาสุขภาพมากมาย
"บางวัน นะ โยม....."ท่านเล่าให้ฟัง" หากวันไหนมี ไข่ต้ม น้ำพริกง่าย ๆ ผักนึ่ง ผัดผัก จะเป็นวันที่พระหลายรูป ฉันได้มาก เพราะไขมันต่ำ ดีต่อระบบขับถ่าย และ รสชาติไม่หวานมันจนเกินไป" แต่หลวงพ่อก็ย้ำว่า ไม่สามารถบอกญาติโยมได้ว่า ควรถวายอะไร เพราะมันผิดวินัย อีกทั้งพระอาจารย์ก็มีเมตตาต่อญาติโยมทั้งหลาย ที่มาถวายอาหารท่านด้วยความศรัทธาและหวังดี
คณะเราจึงสอบถามท่านต่อว่า ญาติโยมรับรู้หรือไม่ว่า พระสงฆ์ท่านมีโรคประจำตัวหลายอย่าง และอาหารที่ควรหรือไม่ควรฉัน นั้น ควรเป็นอย่างไร ท่านก็ตอบว่า
" ญาติโยมรับรู้ แทบทุกหลังคาเรือน แต่สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำรายการอาหารถวายพระก็คือ ความรู้สึกอับอายที่ต้องถวายท่านด้วยอาหารที่ดูราคาถูก" พระท่านเสริมต่อว่า "บางทีในคลองหนึ่งเนี่ย มีการคุยกันว่า บ้านโน้นถวายอะไร บ้านนี้ถวายอะไร แล้วก็ทำให้แต่ละคนไม่กล้าถวายไข่ต้ม น้ำพริก เพราะกลัวคนจะไปว่าลับหลังว่าถวายอาหารพื้นๆ ให้พระ" พระท่านจึงแนะว่า "ไม่ต้องรู้สึกอย่างนั้นหรอก มีน้อยก็ถวายตามที่มี อาหารพื้น ๆ เช่น ไข่ต้ม ผักนึ่ง นี่แหละดีที่สุด..อย่าไปอาย หรือ เกทับกัน เพราะการทำบุญมันขึ้นกับศรัทธา และความตั้งใจไม่ใช่มูลค่าของของที่ทำหรอก" เมื่อฟังเช่นนี้เราก็เข้าใจบริบทสังคมต่างจังหวัดมากขึ้น ญาติโยมที่ถวายอาหารพระท่าน คงมีทัศนคติ ความเชื่อแตกต่างกัน และบางครั้งอาจไม่ทันนึกถึงสุขภาพของพระท่าน แต่ทั้งนี้ไม่ใช่สิ่งผิดมากมาย ไม่ได้ตำหนิท่านใดที่ถวายอาหารดีดี เพียงแต่หากลองปรับเปลี่ยนดูบ้าง คงจะช่วยให้พระสงฆ์โดยเฉพาะพระที่จำพรรษานาน ๆ อายุมาก ๆ ได้ฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพบ้าง
อาหารที่พระท่านไม่สามารถฉันหมดนั้น ก็จะแจกจ่ายไปยังคนที่ไม่มี คนที่ขาดแคลนอาหาร แต่ส่วนใหญ่เหลือทิ้ง เนื่องจากพระท่านฉันได้ไม่มากเนื่องจากเมนูอาหารท่านไม่สามารถฉันได้เลยสักอย่าง เช่น ขนมไทยรสหวานจัด ส่วนข้าวที่นำมาถวายควรเป็นข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี และควรงดข้าวเหนียว เนื่องจากข้าวเหนียวทำให้น้ำตาลขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรรับประทานอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ภายในวัดแต่ละแห่งมีปัญหาเรื่องมูลฝอยที่เป็นเศษอาหาร และมูลฝอยจากงานศพ โดยเฉพาะพวงหรีดที่เหลือทิ้งกองเป็นภูเขา บางวัดต้องหาสถานที่เผาเศษพวงหรีดดอกไม้ บางวัดให้เด็กวัดนำแกนกลางที่เป็นฟางมัดเพื่อเสียบดอกไม้ไปขายต่อ โดยได้อันละ 10 บาท แต่กระนั้น ก็ไม่สามารถนำไปใช้ต่อได้หมดเพราะเด็กวัดไม่ได้ว่างมาคัดแยกมูลฝอยทุกวัน ดังนั้นหากจะให้ดี การนำพวงหรีดดอกไม้มาวัดนั้นสร้างมูลฝอยโดยที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง หากเป็นไปได้เมื่อต้องการแสดงความเสียใจต่อผูวายชนม์ ควรใช้หรีดแบบใหม่ที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้ เช่น พัดลม เก้าอี้ นาฬิกา และผ้าขนหนู ซึ่งในขณะนี้ก็เห็นหลายๆวัดได้มีการใช้หรีดแบบนี้ทดแทนมากมายขึ้น
อยากฝากทุกท่านที่เข้ามาอ่าน หากเป็นไปได้ อาหารใส่บาตรถวายพระนั้นควรเน้นอาหารเพื่อสุขภาพดีกว่า อาหารง่าย ๆ ไม่แพง แต่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี เช่น ไข่ต้ม น้ำพริก ผักสด ผักนึ่ง ปลานึ่ง ผัดผัก แกงที่ไม่ใช่แกงกะทิ และเน้นผักใบเขียว หรือผักพื้นบ้าน พระท่านควรได้ฉันอาหารไขมันต่ำ อาหารที่ปรุงแต่งน้อย ผลไม้ไม่หวาน เช่น ฝรั่ง แตงโม กล้วยน้ำว้า ชมพู่ ขนมหวานควรงด เน้นเครื่องดื่มสมุนไพรไม่มีน้ำตาล เช่น ชาสมุนไพรแบบซองไว้ชง เพื่อช่วยกันฟื้นฟูสุขภาพพระสงฆ์ให้แข็งแรง และมีพลานัยที่ดี
หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างค่ะ ช่วยกันดูแลสุขภาพพระสงฆ์กันเถอะค่ะ