ค่าธรรมเนียมการถอนอายัดเงินเดือน เจ้าหนี้ หรือ ลูกหนี้ ต้องจ่าย? (ถ้าอ้างอิงตามกฎหมาย - ไม่ได้มีการตกลงหรือทำสัญญาใดๆ)

เบื้องต้นได้รับหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาล แล้วเราก็โอนปิดบัญชีหนี้ในเดือนที่แล้ว
หลังจากนั้น, วันนี้เจ้าหน้าที่โทรมาแจ้งให้ไปถอนอายัดเงินเดือน และ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม (พูดจาแย่มากๆ)
ซึ่งเราไม่ทราบมาก่อนว่าจะโดนอายัดเงินเดือน และ จากการค้นหากฎหมายด้านล่าง เราเข้าใจว่า เจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ไปถอนอายัด และ จ่ายค่าธรรมเนียม
รบกวนผู้รู้กฎหมายช่วยบอกหน่อยนะคะ ค่าธรรมเนียมการถอนอายัดเงินเดือน เจ้าหนี้ หรือ ลูกหนี้ ต้องจ่าย? (ถ้าอ้างอิงตามกฎหมาย - ไม่ได้มีการตกลงหรือทำสัญญาใดๆ ก่อนหน้านี้นะคะ)

----------------------------------------------------------------------------------------------------
ตาม ม.169/2 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจะบัญญัติให้ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี นอกจากตามมาตรา 295(1) ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดีก็ตาม ก็เป็นบทบัญญัติทั่วไปในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากมาตรา 295(1) เท่านั้น แต่ไม่ตัดสิทธิคู่ความที่จะตกลงกันให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชำระไม่มีข้อห้ามแต่อย่างใด
สรุปก็คือ...มันขึ้นอยู่กับข้อตกลงกันเองระหว่าง "เจ้าหนี้" กับ "ลูกหนี้" ว่าจะให้ใครเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมในการถอนการยึดทรัพย์ ถ้าหากมีข้อตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้นๆ (ต้องทำเป็นหนังสือยืนยันข้อตกลงเท่านั้น จึงจะสามารถใช้บังคับได้ตามกฏหมาย ไม่ใช่ตกลงกันด้วย "ลมปาก" เพียงอย่างเดียว)
แต่ถ้าไม่มีการทำข้อตกลงกันมาก่อน...ทางฝ่ายเจ้าหนี้ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าฤชาธรรมเนียมในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดี โดยต้องให้ฝ่ายเจ้าหนี้เป็นผู้มาแถลงขอถอนการยึดทรัพย์และถอนการบังคับคดีออกไป ตามมาตรา 169/2...แต่ถ้าหากฝ่ายเจ้าหนี้เพิกเฉย ลูกหนี้มีสิทธิ์ฟ้องร้องต่อศาล ให้ศาลมีคำสั่งบังคับให้เจ้าหนี้ต้องเป็นผู้ดำเนินการ ตามมาตรา 295(1) ที่กฏหมายกำหนดไว้

อ้างอิง: http://debtclub.consumerthai.org/forum.html?view=topic&catid=5&id=17995
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่