JJNY : เสียชีวิต 31 ราย ติดเชื้อ 2,041 ราย │'หมอพร้อม'แจ้งปิดชั่วคราว│ส.ภัตตาคารร้องยุติคำสั่ง│ศาลอินเดียจ่อลงดาบจนท.รัฐ

ตายวิกฤติ! ยอด 'โควิด-19' วันนี้ เสียชีวิตถึง 31 ราย พบติดเชื้อเพิ่ม 2,041 ราย
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/935782
 
 
ยอด 'โควิด-19' วันนี้ การเสียชีวิตยังน่าเป็นห่วง หลังพบเสียชีวิตเพิ่มถึง 31 ราย ขณะที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 2,041 ราย ทำให้สถานการณ์การระบาดสะสมทะลุ 7 หมื่นรายแล้ว และยังคงต้องจับตาผู้ป่วยหนักอย่างใกล้ชิด
 
สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวัน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ล่าสุด วันที่ 3 พ.ค. 64 ภาพรวมของสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วง หลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 2,041 ราย ทำให้มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้วจนถึงวันนี้ 70,425 ราย อีกทั้งยีงมียอดผู้เสียชีวิตสูงอย่างต่อเนื่อง
 
โดยวันนี้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 21 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 นั้นมียอดผู้เสียชีวิตสะสม 182 รายไปแล้ว ขณะที่ภาพรวมของการเสียชีวิตจากสถานการณ์โควิด-19 มีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 276 ราย
 
ทำให้ สิ่งที่ต้องจับตาต่อไปหลังจากนี้อย่างใกล้ชิดคือ กลุ่มคนไข้อาการหนักที่มีรายงานขณะนี้นับพันราย ทั่วประเทศ
 
ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 64 ถึง 3 พ.ค. 64 พบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม 2,041 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 42,162 ราย 
 
ด้าน หมอ ยง - นพ.ยง ภู่วรวรรรณ ระบุว่า โควิด-19 ระลอกใหม่นั้นเป็น "สายพันธุ์อังกฤษ" ทำให้การระบาดรวดเร็วและรุนแรงแตกต่างจากสายพันธุ์เดิมอย่างเห็นได้ชัด 
ขณะที่การลงทะเบียนรับวัคซีนโควิด-19 ผ่าน หมอพร้อม ที่เริ่มเปิดให้ลงทะเบียนมาตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.นั้น สามารถแบ่งช่วงระยะเวลาการฉีดวัคซีนออกเป็น 2 ช่วง คือ 
 
1. เดือน มิ.ย.-ก.ค. สำหรับระยะที่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค
2. เดือน ส.ค.2564 จะเริ่มฉีดวัคซีนระยะที่ 3 ในกลุ่มประชาชนทั่วไปอายุ 18-59 ปี

สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 ศบค. สามารถสรุปได้ดังนี้ คือ จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 1 พ.ค. 2564 รวม 1,484,565 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 : 1,097,862 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 : 386,703 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)

ข้อสังเกตสำคัญของการระบาดระลอกใหม่ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดครั้งนี้ อยู่ที่อาการ และเชื้อโควิด-19 ซึ่งที่ผ่านมา การระบาดครั้งที่ 1 และ2 นั้น ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็น การคัดจมูก เจ็บคอ ไอ และมีไข้ ส่วนบางรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีอาการปอดบวม หรือหายใจลำบากร่วมด้วย

โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด คือ มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง), ไอแห้งๆ, ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย, ไอมีเสมหะ, หายใจลำบาก, เจ็บคอ, ปวดหัว, จมูกไม่ได้กลิ่น, ลิ้นไม่รับรส 

แต่ในรอบนี้พบ "อาการโควิดใหม่" เพิ่มเติม คือ หลายรายมีอาการ "ตาแดง" "น้ำมูกไหล" "ไม่มีไข้" บางรายมี "ผื่นขึ้น"
 


'หมอพร้อม' แจ้งปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว 3 พ.ค.นี้
https://www.matichon.co.th/local/news_2703549

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หมอพร้อม แจ้งปิดปรับปรุงระบบชั่วคราว เพื่อทำการอัพเดทเวอร์ชั่น LINE OA จาก 2.1 เป็น 2.2 ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป “ขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้”

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงทะเบียน “หมอพร้อม” เพื่อจองฉีดวัคซีนโควิด-19 กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ล่าสุดมีประชาชนมียอดจองแล้ว จำนวน 430,588 ราย ส่วนประชาชนทั่วไปให้เริ่มจองวันที่ 1 กรกฎาคมนี้


 
ไม่ไหวแล้ว! ส.ภัตตาคาร ร้องนายกฯ ยุติคำสั่ง "ห้ามนั่งกินข้าว" เสนอออฟชั่นเยียวยา
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6375873
 
ส.ภัตตาคาร ร่อนหนังสือ ถึงนายกฯ ทบทวนคำสั่งห้ามนั่งทานในร้าน 14 วัน ขอวันที่ 7 พ.ค. กลับมานั่งทานในร้านได้ และขอเยียวยาจ่ายค่าจ้างพนักงาน 50%
 
นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2564 ได้ทำหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เพื่อให้ทบทวนคำสั่ง ศบค. ที่ไม่อนุญาตให้นั่งรับประทานอาหารในร้านอาหาร โดยส่งหนังสือผ่านไปทางพล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) แล้ว
 
ทางสมาคมภัตตาคารไทยได้รับข้อร้องเรียน ปรับทุกข์ จากผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบของการระบาดโรค โควิด-19 และจากมาตรการควบคุม ใน 2 ระยะการระบาดที่ผ่านมา ร้านจำนวนไม่น้อยต้องเลิกกิจการพร้อมกับหนี้สิน และจำนวนมากสุ่มเสี่ยงต้องปิดกิจการ มูลค่าความเสียหายจากคำสั่งล่าสุดนี้อยู่ที่ 1,400 ล้านบาทต่อวัน
 
สมาคมภัตตาคารไทยจึงมีข้อเรียกร้องมายังนายกรัฐมนตรี พิจารณา 2 ข้อ ดังนี้ 1.อนุญาตให้ร้านอาหารสามารถนั่งรับประทาน ในร้านได้ไม่เกิน 21.00 น. และงดนั่งดื่มแอลกอฮอล์ ขอให้พิจารณาอนุญาต ในวันที่ 7 พ.ค. 2564 ทั้งนี้ในช่วงการระบาดของโรคโควิด -19 ที่ผ่านมา ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ร่วมกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขจัดทำมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety & Health Administration) ขึ้นมา เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
 
ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่า มีมาตรฐานป้องกันการติดเชื้อ มีความปลอดภัย สามารถเปิดให้บริการให้นั่งรับประทานได้ ในช่วงที่เปิดหน้ากากรับประทานอาหาร สามารถเว้นระยะของโต๊ะ การเว้นให้ลูกค้าในโต๊ะนั่งห่างกัน มีฉากพลาสติกกั้น และการจำกัดจำนวนลูกค้าเทียบกับพื้นที่ สำหรับร้านอาหารที่ยังไม่ได้ตราสัญลักษณ์SHA ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีในการเชิญชวนให้เข้าร่วมมาตรฐาน SHA เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศ
 
ส่วนอาหารที่เป็นอาหารจานเดียวริมทางหรือร้านเล็ก ๆ ที่เป็นตึกแถว ขอให้พิจารณาอนุญาตกลับมาให้นั่งทานในร้านได้เช่นกันในวันที่ 7 พ.ค. 2564 โดยมีข้อกำหนดบังคับให้ร้านอาหารประเภทดังกล่าว ต้องลดที่ลงอย่างน้อย 50% ของที่นั่งเดิม ต้องมีการเว้นระยะห่างระหว่างโต๊ะไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ไม่อนุญาตให้ลูกค้าที่ไม่ได้มาด้วยกันนั่งรวมโต๊ะเดียวกันเด็ดขาด ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของสาธารณสุขก่อนเข้าร้านอย่างเคร่งครัด
 
ด้านร้านอาหารประเภทปิ้งย่าง ชาบู บุฟเฟ่ต์ ไม่อนุญาตในนั่งโต๊ะเดียวกันเกิน 4 คน และต้องเว้นระยะห่างโต๊ะไม่ต่ำกว่า 2 เมตร หรือ 1 เมตร แต่มีฉากกั้น รวมทั้งไม่อนุญาตให้ตักอาหารบุฟเฟ่ต์เอง หากไม่มีมาตรการดูแลป้องกันอย่างถูกวิธี เช่น ลูกค้าต้องใส่แมสปิดปากปิดจมูกทุกครั้งที่ไปรับอาหารหรือตักอาหาร และร้านต้องให้ลูกค้าใส่ถุงมือพลาสติกส่วนตัวด้วยทุกครั้ง รวมทั้งจำกัดจำนวนคนในการเดินตักอาหารให้เหมาะสมด้วย
 
ข้อเรียกร้องที่ 2 ประกอบด้วย มาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการร้านอาหาร ขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีได้กรุณาพิจารณาเยียวยา ค่าจ้าง เงินเดือนพนักงาน 50% งดการจัดเก็บภาษีในรอบระยะเวลาบัญชี 1 ปีที่ผ่านมา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผ่อนผันการชำระดอกเบี้ย เป็นเวลา 6 เดือน และพักการชำระเงินต้นเป็นเวลา 1 ปี อีกทั้งขอความกรุณารัฐบาลโดย ศบค.ประสานเจ้าของห้างสรรพสินค้าลดค่าเช่าอย่างน้อย 50% โดยเจ้าของพื้นที่ที่ให้ส่วนลดสามารถนำไปลดหย่อนภาษีจากรัฐบาลในรอบบัญชีถัดไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่