[CR] 8 วัน 7 คืน เที่ยวกับเพื่อน เพชรบุรี ประจวบฯ ชุมพร (ตอน 4)

กระทู้รีวิว
วันที่ 23/03/2564 วันที่ 4 ของการเดินทาง
ชมพระอาทิตย์ขึ้น ณ หาดบ้านกรูด
ก่อนทานอาหารเช้าและเช็คเอาท์ คีรีวารี ซีไซด์ วิลลา



ปลายทางวันนี้ จ.ชุมพร
ระหว่างทางแวะ วัดบ่อทองหลาง 
ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์
อ่าวบ่อทองหลาง ชมทะเลแหวก เกาะหัวพิน
อยู่กันแค่แถวโขดหินหลังโบสถ์ ไม่ได้เดินไปบริเวณทะเลแหวกเลย
 


ออกจาก อ่าวบ่อทองหลาง
มาต่อกันที่ ผาฝั่งแดง หรือ หาดผาแดง
ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่บ้านฝั่งแดง อ.บางสะพานน้อย
จ.ประจวบคีรีขันธ์



ออกจากผาฝั่งแดง
มาต่อกันที่วัดแก้วประเสริฐ หรือ วัดเจ้าแม่กวนอิม
ตั้งอยู่ ต.ปากคลอง อ.ประทิว จ.ชุมพร
จากวัด จะเห็นวิวทุ่งมหา


ก่อนออกจากวัดแก้วประเสริฐ ก็โทรหาเจ้าหน้าที่อุทยานหมู่เกาะชุมพร เพื่อจองเรือออกเที่ยวหมู่เกาะชุมพรพรุ่งนี้ 
ได้รับแจ้งว่าเรือออกไม่ได้ถึง 27/03/2564 ทำให้เกิดอาการเซ็ง หมดกันทริปดำน้ำของฉัน 
และ โทรหาน้องที่ดูแลบ้านไอทะเลชุมพรที่พักคืนนี้ เพื่อจองเรือ ชมอุโมงค์โกงกาง
ก็ได้ความว่า เย็นนี้เรือคงออกไม่ได้ เพราะอากาศไม่ดี ตอนนี้มีฝนตกด้วย เกิดอาการเซ็งซ้ำซ้อน 555
แวะหาร้านทานมื้อกลางวันกันก่อน หลังทานมื้อกลางวันเสร็จ เริ่มมีแดด ฟ้าเปิด เริ่มมีความหวังว่าเย็นจะไปชมป่าโกงกางได้
เลยตัดโปรแกรมแวะชมสะพานไม้เคี่ยม และ สะพานชมกวาง หนองใหญ่ ออกก่อน
ตรงไปจุดชมวิวเขามัทรี ต.ปากน้ำ อ.เมืองชุมพร



ออกจากจุดชมวิวเขามัทรี มาต่อกันที่ ศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ต.หาดทรายรี อ.เมืองชุมพร
สักการะรูปปั้นกรมหลวงชุมพร พลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ผู้ทรงสถาปนากองทัพเรือสมัยใหม่ให้กับประเทศไทย หรือ เสด็จเตี่ยของชาวเรือ
ตัวศาลสร้างอยู่บนเรือรบหลวงพระร่วงจำลอง
หันหน้าออกสู่ทะเล หน้าหาดทรายรี



ออกจากศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
แวะเช็คอินบ้านไอทะเลชุมพร อ่าวทุ่งมะขามน้อย
มาถึงน้องที่ดูแลบอก เห็นพี่จะเข้าเย็นๆ
เลยบอกน้องเขาว่า เห็นแดดดี เลยเข้ามาไว เผื่อไปอุโมงค์โกงกางได้
น้องบอก ออกเรือไม่ได้พี่ ลมแรง
เซ็งอีกรอบ 555
ไปไหนไม่ได้ ก็เก็บตกที่ข้ามมา สะพานไม้เคี่ยม และ สะพานชมกวาง

ช่วงเย็น ขับรถย้อนไป สะพานชมกวาง ในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ 
ต.บางลึก อ.เมือง จ.ชุมพร
จุดเช็คอินแห่งใหม่ของชุมพร



ออกจากสะพานชมกวาง แวะมาที่ สะพานไม้เคี่ยม
ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ ตามพระราชดำริ เช่นกัน
หลายคนเรียกพื้นที่นี้ว่า “แก้มลิงหนองใหญ่”
ที่มาของชื่อนี้เกิดจากแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 
ที่ทรงให้สร้างเส้นทางเดินน้ำ เพื่อพักน้ำไว้ในแก้มลิง ไม่ให้เกิดน้ำท่วมใหญ่อย่างที่ จ.ชุมพรเคยประสบมาโดยตลอด
สะพานไม้ยาวประมาณ 290 เมตร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.2554
จากกลุ่มจิตอาสาจากภูผาสู่มหานที จิตอาสากลุ่มหนึ่งในยุคแรกๆ จำนวน 7 คน
โดยมีลักษณะการก่อสร้างใช้ไม้เคี่ยม ไม้เนื้อแข็งที่มีมากในภาคใต้
ปักลงในน้ำโดยการใช้ภูมิปัญญาของคนดั้งเดิม สร้างโดยไม่ใช้เครื่องจักรแม้แต่น้อย
ซึ่งใช้เวลาในการทำประมาณ 45 วัน

สะพานไม้ออกแบบได้สวยงามมากและมีความหมาย
จิตอาสากลุ่มนี้ ได้จินตนาการที่ต้องการสร้างสะพานเพื่อสื่อถึง เมื่อมองเห็นแล้วต้องการไปถึง
เห็นแล้วต้องสัมผัสได้ เสมือนกับสะพานไปสู่ดวงดาว
โดยสะพานจะมีลักษณะคดโค้งเป็นรูปตัว “เอส” เพื่อเป็นภาพเส้นนำสายตา
ส่วนที่โค้งสูงขึ้นทำเพื่อให้เรือลอดได้

สะพานไม้เคี่ยมก็เปรียบเสมือนการเดินทางของชีวิตที่มีระยะยาวไกล
บางครั้งคดเคี้ยว บางครั้งทางตรงบ้าง จนกว่าจะถึงจุดหมาย
หลายครั้งจำต้องยืนหยัดสู้แรงพายุฝน
เสมือนกับคนที่ต้องยืนหยัดต่อสู่ชีวิต

อ่านข้อมูลและเรื่องราวของสะพานเพิ่มได้จาก Link
https://www.banmuang.co.th/news/region/122139
ขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้



สะพานทอดยาว ไปเชื่อมต่อกับเกาะขนาดเล็กตรงกลางบ่อน้ำ
บนเกาะมีเลี้ยงไก่ บางตัว ขนสวยมากๆ
อยู่กันจนดวงอาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำ



ออกจากสะพานไม้เคี่ยม ก็หาร้านอาหารมื้อเย็น แถวตัวเมืองชุมพร
หลังอาหาร ก็ขับรถมาเดินเล่นแถวแยกโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
ได้ผลไม้ ขนมติดมือมาเล็กน้อยก่อนกลับที่พัก



กลับเข้าที่พัก ต้องไปหาข้อมูลวางแผนเที่ยวพรุ่งนี้ใหม่
เพราะเดิมว่าจะออกเรือเที่ยวหมู่เกาะชุมพร ตอนนี้ไม่ได้ไปแล้ว
ราตรีสวัสดิ์

ขอบคุณภาพสวยๆ บางภาพ จาก เพื่อน https://www.facebook.com/spornkas
ขอจบตอน 4 ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ
วันนี้ถือว่าทำได้เกือบครบตามโปรแกรมที่วางไว้
ขาดแค่ ช่วงเย็นลงเรือ ชมอุโมงค์โกงกาง คลองอีเล็ต ถูกยกเลิก เพราะคลื่นลมแรง  
ขอบคุณมากครับผม
ชื่อสินค้า:   ประจวบฯ ชุมพร
คะแนน:     

CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้

  • - จ่ายเงินซื้อเอง หรือได้รับจากคนรู้จักที่ไม่ใช่เจ้าของสินค้า เช่น เพื่อนซื้อให้
  • - ไม่ได้รับค่าจ้างและผลประโยชน์ใดๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่