ขายของออนไลน์ - ข้อมูลรายได้ของคุณ จะถูกส่งให้สรรพากร เพื่อเสียภาษี หรือไม่?
แน่นอนว่าข่าวเกี่ยวกับมาตรการการจัดเก็บภาษีพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ของรัฐบาลที่เป็นข่าวดังในช่วงก่อน คงจะทำให้คนที่ขายของออนไลน์อยู่รู้สึกหนาว ๆ ร้อน ๆ ไปตาม ๆ กันว่า สรรพากรจะรู้รายได้หรือไม่ หรือว่าคุณจะเสียภาษีมั้ย?! วันนี้ผมจึงเขียนบทความนี้ขึ้นมาเพื่อตอบคำถามว่า
“ใครที่เข้าเกณฑ์ต้องถูกตรวจสอบที่มาของรายได้ จนนำไปสู่การจัดเก็บภาษีจากการค้าขายสินค้าออนไลน์บ้างนะ”
ซึ่งเราจะรู้ได้อย่างไร แล้วต้องรับมือแบบไหนกันดี…
ในยุคสมัยนี้เหตุผลหลัก ๆ ของผู้ประกอบการหรือคนทั่วไปที่เลือกเปิดร้านขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริมอาชีพแรก นั่นก็เพราะคุณไม่ต้องลงทุนมากเหมือนกับการเปิดร้านแบบออฟไลน์ทั่วไป เช่น ที่ต้องหาที่ทำเล ค่าเช่าสถานที่ ค่าคนงาน ค่าน้ำค่าไฟ ซึ่งตรงข้ามกับการขายของออนไลน์ที่คุณสามารถใช้พื้นที่ Social Media ของคุณขายของได้เลย หรือจะไปฝากขายกับร้านใน Market Place อย่าง Lazada, Shopee ก็ได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอาชีพขายของออนไลน์จึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับใครหลายคน แต่มีสิ่งหนึ่งที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ลืมตระหนักถึงและมักจะมากังวลทีหลังก็คงเป็น เรื่องข้อมูลรายได้ของคุณว่าจะถูกส่งให้สรรพากรเพื่อเสียภาษีหรือไม่ เพราะฉะนั้น คุณควรทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับประเภทของการหาเงินออนไลน์กันก่อน รวมทั้งกฎกติกาใหม่ในการเสียภาษีว่าร้านค้าของคุณอยู่ในประเภทไหนและต้องเสียภาษีได้เมื่อไหร่ นั่นเอง
บางคนอาจไม่รู้ว่า “ผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร” ไม่ได้มีแค่ธนาคารอย่างเดียวนะครับ แต่รวมไปถึงการชำระเงินผ่านระบบร้านค้าออนไลน์อย่าง Lazada และ Shopee ด้วย เพราะถือว่าเป็นแหล่งสะสมเงินในการขายสินค้าและบริการของคุณเช่นกัน อย่างไรก็ตามแต่ละเว็บไซต์ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครเข้าไปขายและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป พ่อค้าแม่ค้าควรศึกษาให้ดีก่อนเริ่มต้นขายด้วยนะครับ และนอกเหนือจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่นของกระเป๋าเงินออนไลน์อย่าง Ture wallet ที่สามารถเติมเงินเข้าไปในแอปพลิเคชั่นนี้ได้และก็สามารถโอนออกมาได้ ไปจนถึงแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องรวมอยู่ในให้บริการทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรเช่นเดียวกัน
แล้วอย่างนี้สรรพากรสามารถตรวจสอบการเก็บภาษีย้อนหลังได้จากอะไร?! คำตอบก็คือ สามารถดูได้จากการที่คุณได้รับเงินหรือมีเงินโอนเข้าบัญชีมากน้อยหรือบ่อยครั้งแค่ไหนซึ่งดูได้ไม่ยาก และจะเน้นแค่รายได้ที่มีเงินโอนเข้ามาในบัญชีของคุณเท่านั้น ซึ่งก็มาจากผู้ให้บริการทางการเงิน อย่าง ธนาคารต่าง ๆ ร้านค้าออนไลน์และแอฟพลิเคชั่นกระเป๋าเงินออนไลน์ เป็นต้น แล้วอย่างนี้ทางธนาคารที่คุณผูกไว้จะส่งเรื่องให้กับสรรพกรว่า ร้านค้าคุณเข้าข่ายที่จะต้องเสียภาษีในกรณีใดบ้าง มาดูกันครับ!!
กรณีที่ 1 มีเงินโอนเข้าบัญชี 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปีและต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน
ยกตัวอย่าง
- คุณมีเงินเข้าจากธนาคารกสิกร 2,900 ครั้งต่อปี เฉลี่ยการโอนเงินเข้าต่อวันก็อาจจะอยู่ที่ 8-9 ครั้ง ซึ่งในการโอนเงินเข้าไม่ว่าจะกี่บาทก็ไม่เกี่ยว แต่นับจำนวนครั้งที่โอนเป็นหลัก นอกเหนือจากนี้คุณยังผูกการเงินกับธนนาคารกรุงศรีไว้อีกบัญชีหนึ่งและได้มีการโอนเข้ามาเป็นจำนวน 1,000 ครั้งต่อปี เมื่อนำมารวมกันก็จะเป็น 3,000 ครั้งพอดี แต่กติกาในการเก็บภาษีนั้น ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า การโอนเข้าบัญชีจะต้องถึง 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปีและต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน ดังนั้น ทั้ง 2 ธนาคารนี้จึงไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร
- แต่ถ้าหากคุณมีบัญชีไทยพาณิชย์อีกหนึ่งบัญชีหนึ่งแล้วบัญชีนี้มีการโอนเงินเข้ามาเกินเป็น 3,100 ครั้งต่อปี กรณีนี้แหละครับ คุณเตรียมตัวเสียภาษีให้กับสรรพากรได้เลยครับ ถึงแม้ว่าคุณจะมีบัญชีไทยพาณิชย์กี่บัญชีก็ตาม ทางสรรพากรถือว่าคุณมีผู้บริการด้านการเงินที่เดียวกันนั่นเอง
กรณีที่ 2 มีเงินเข้าในบัญชี 400 ครั้งขึ้นไปต่อปีและต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน แต่ต้องมียอดรวมเงินเข้า 2,000,000 บาทขึ้นไป
ยกตัวอย่าง
- คุณมียอดรวมการโอนเงินเข้าจากธนาคารไทยพาณิชย์ 200 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) และได้มียอดธุรกิจเข้ามาที่ 5,000,000 บาท ก็แสดงว่าธนาคารนี้ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร เพราะเงื่อนไขที่ว่าต้องมีการโอนให้ครบหรือเกิน 400 ครั้งต่อผู้ให้บริการด้านการเงินก่อนถึงจะส่งให้ตรวจสอบได้
- คุณมียอดรวมการโอนเงินเข้ามาจากธนาคารกรุงศรี 500 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) แต่มียอดธุรกิจเข้ามาเพียง 1,500,000 บาท ฉะนั้น ถือว่าไม่เข้าข่ายที่สรรพากรได้ตั้งไว้เช่นกัน เพราะเงื่อนไขที่ว่าต้องมียอดรวมเงินเข้า 2,000,000 บาทขึ้นไป ดังนั้น ธนาคารกรุงศรีก็ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรเช่นกัน
- แต่ถ้าคุณมียอดรวมการโอนเงินเข้ามาจากธนาคารกสิกร 500 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) และได้มียอดธุรกิจเข้ามาที่ 2,500,000 บาท แบบนี้แหละครับทางธนาคารถึงจะส่งข้อมูลของคุณให้กับสรรพากร นั่นเอง
ซึ่งการขายออนไลน์ให้กับลูกค้าใน Social Media ไม่ว่าคุณจะใช้งานบนแพลตฟอร์มใดในการขาย เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น การเก็บเงินก็ถือว่าชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องโอนเข้าให้กับธนาคารของผู้ประกอบการโดยตรง ทีนี้ถ้าเป็น การขายของผ่านเว็บไซต์ที่เป็น Marketplace ล่ะ ที่Marketplace จะรวบรวมอย่างไร?! ก็อาจจะขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ อีกที แต่ถ้าเป็นระบบของ Lazada เมื่อคุณได้รับออเดอร์จากลูกค้าทาง Lazada ก็จะบันทึกละรวบยอดไว้ > เมื่อครบ 1 สัปดาห์ทาง Lazada จะโอนเงินเข้าบัญชีของคุณ > ซึ่งก็อาจจะเป็นการลดทอนจำนวนการนับครั้งในการโอนเงินเข้าบัญชีของคุณได้ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงทุกออร์เดอร์ย่อมมีการโอนเงินเข้ามาใน Marketplace ทุกออเดอร์อยู่แล้ว ซึ่งตรงข้ามกับแอปพลิเคชั่น Shopee ที่ไม่ว่ามีออเดอร์เข้ามากี่ออเดอร์ทาง Shopee ก็จะโอนเงินเข้าเป็นรายการให้คุณทุกออเดอร์ ซึ่งแต่ละ Marketplace ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ถึงแม้ Lazada หรือ Shopee จะมีการโอนเงินให้คุณเป็นรายสัปดาห์หรือรายวันแต่ถ้ายอดเงินและจำนวนการโอนต่อปีหรือต่อให้บริการด้านการเงินถึงตามที่สรรพกรได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรอยู่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนใดที่มียอดการโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าที่ไม่ถึง 3,000 บาท ครั้งต่อปี หรือยอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษีเรียกเก็บอีกต่อไป เพียงแค่คุณยื่นภาษีรายปีแสดงรายได้ของตัวเองเท่านั้น ก็ปลอดภัยหายห่วงและไม่โดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังได้แล้ว เพราะสิ่งสำคัญที่ร้านค้าออนไลน์บ้างร้านถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่รู้ถึงข้อมูลการขายของตัวเอง ฉะนั้น ผมอยากจะฝากไว้ว่าที่จริงแล้วเรื่องของ “การเสียภาษี” ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวถ้าหากคุณใส่ใจและศึกษาควบคู่กับการทำธุรกิจออนไลน์ สุดท้ายนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกคนด้วยนะครับ หรือถ้าหากใครมีข้อสงสัยหรือมีความคิดเห็นใดสามารถคอมเมนต์มาได้ตามด้านล่างนี้เลยนะครับ
===========================================================
สำหรับใครที่อยากได้รับอรรถรสเพิ่มมากขึ้น สามารถคลิกวีดีโอได้ตามด้านล่างนี้นะครับ
ขายของออนไลน์ - ข้อมูลรายได้ของคุณ จะถูกส่งให้สรรพากร เพื่อเสียภาษี หรือไม่?
บางคนอาจไม่รู้ว่า “ผู้ให้บริการทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร” ไม่ได้มีแค่ธนาคารอย่างเดียวนะครับ แต่รวมไปถึงการชำระเงินผ่านระบบร้านค้าออนไลน์อย่าง Lazada และ Shopee ด้วย เพราะถือว่าเป็นแหล่งสะสมเงินในการขายสินค้าและบริการของคุณเช่นกัน อย่างไรก็ตามแต่ละเว็บไซต์ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครเข้าไปขายและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป พ่อค้าแม่ค้าควรศึกษาให้ดีก่อนเริ่มต้นขายด้วยนะครับ และนอกเหนือจากนี้ยังมีแอปพลิเคชั่นของกระเป๋าเงินออนไลน์อย่าง Ture wallet ที่สามารถเติมเงินเข้าไปในแอปพลิเคชั่นนี้ได้และก็สามารถโอนออกมาได้ ไปจนถึงแอปพลิเคชั่นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องรวมอยู่ในให้บริการทางการเงินจะต้องส่งข้อมูลให้ทางสรรพากรเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่าง
- คุณมีเงินเข้าจากธนาคารกสิกร 2,900 ครั้งต่อปี เฉลี่ยการโอนเงินเข้าต่อวันก็อาจจะอยู่ที่ 8-9 ครั้ง ซึ่งในการโอนเงินเข้าไม่ว่าจะกี่บาทก็ไม่เกี่ยว แต่นับจำนวนครั้งที่โอนเป็นหลัก นอกเหนือจากนี้คุณยังผูกการเงินกับธนนาคารกรุงศรีไว้อีกบัญชีหนึ่งและได้มีการโอนเข้ามาเป็นจำนวน 1,000 ครั้งต่อปี เมื่อนำมารวมกันก็จะเป็น 3,000 ครั้งพอดี แต่กติกาในการเก็บภาษีนั้น ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนแล้วว่า การโอนเข้าบัญชีจะต้องถึง 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปีและต่อผู้ให้บริการด้านการเงิน ดังนั้น ทั้ง 2 ธนาคารนี้จึงไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร
- แต่ถ้าหากคุณมีบัญชีไทยพาณิชย์อีกหนึ่งบัญชีหนึ่งแล้วบัญชีนี้มีการโอนเงินเข้ามาเกินเป็น 3,100 ครั้งต่อปี กรณีนี้แหละครับ คุณเตรียมตัวเสียภาษีให้กับสรรพากรได้เลยครับ ถึงแม้ว่าคุณจะมีบัญชีไทยพาณิชย์กี่บัญชีก็ตาม ทางสรรพากรถือว่าคุณมีผู้บริการด้านการเงินที่เดียวกันนั่นเอง
ยกตัวอย่าง
- คุณมียอดรวมการโอนเงินเข้าจากธนาคารไทยพาณิชย์ 200 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) และได้มียอดธุรกิจเข้ามาที่ 5,000,000 บาท ก็แสดงว่าธนาคารนี้ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากร เพราะเงื่อนไขที่ว่าต้องมีการโอนให้ครบหรือเกิน 400 ครั้งต่อผู้ให้บริการด้านการเงินก่อนถึงจะส่งให้ตรวจสอบได้
- คุณมียอดรวมการโอนเงินเข้ามาจากธนาคารกรุงศรี 500 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) แต่มียอดธุรกิจเข้ามาเพียง 1,500,000 บาท ฉะนั้น ถือว่าไม่เข้าข่ายที่สรรพากรได้ตั้งไว้เช่นกัน เพราะเงื่อนไขที่ว่าต้องมียอดรวมเงินเข้า 2,000,000 บาทขึ้นไป ดังนั้น ธนาคารกรุงศรีก็ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรเช่นกัน
- แต่ถ้าคุณมียอดรวมการโอนเงินเข้ามาจากธนาคารกสิกร 500 ครั้ง (รวมบัญชีทุกเล่มที่เป็นชื่อของคุณ) และได้มียอดธุรกิจเข้ามาที่ 2,500,000 บาท แบบนี้แหละครับทางธนาคารถึงจะส่งข้อมูลของคุณให้กับสรรพากร นั่นเอง
ซึ่งการขายออนไลน์ให้กับลูกค้าใน Social Media ไม่ว่าคุณจะใช้งานบนแพลตฟอร์มใดในการขาย เช่น Facebook, Instagram, Line เป็นต้น การเก็บเงินก็ถือว่าชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องโอนเข้าให้กับธนาคารของผู้ประกอบการโดยตรง ทีนี้ถ้าเป็น การขายของผ่านเว็บไซต์ที่เป็น Marketplace ล่ะ ที่Marketplace จะรวบรวมอย่างไร?! ก็อาจจะขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นนั้น ๆ อีกที แต่ถ้าเป็นระบบของ Lazada เมื่อคุณได้รับออเดอร์จากลูกค้าทาง Lazada ก็จะบันทึกละรวบยอดไว้ > เมื่อครบ 1 สัปดาห์ทาง Lazada จะโอนเงินเข้าบัญชีของคุณ > ซึ่งก็อาจจะเป็นการลดทอนจำนวนการนับครั้งในการโอนเงินเข้าบัญชีของคุณได้ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงทุกออร์เดอร์ย่อมมีการโอนเงินเข้ามาใน Marketplace ทุกออเดอร์อยู่แล้ว ซึ่งตรงข้ามกับแอปพลิเคชั่น Shopee ที่ไม่ว่ามีออเดอร์เข้ามากี่ออเดอร์ทาง Shopee ก็จะโอนเงินเข้าเป็นรายการให้คุณทุกออเดอร์ ซึ่งแต่ละ Marketplace ก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน ถึงแม้ Lazada หรือ Shopee จะมีการโอนเงินให้คุณเป็นรายสัปดาห์หรือรายวันแต่ถ้ายอดเงินและจำนวนการโอนต่อปีหรือต่อให้บริการด้านการเงินถึงตามที่สรรพกรได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรอยู่ดี
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คนใดที่มียอดการโอนเงินเพื่อซื้อสินค้าที่ไม่ถึง 3,000 บาท ครั้งต่อปี หรือยอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษีเรียกเก็บอีกต่อไป เพียงแค่คุณยื่นภาษีรายปีแสดงรายได้ของตัวเองเท่านั้น ก็ปลอดภัยหายห่วงและไม่โดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังได้แล้ว เพราะสิ่งสำคัญที่ร้านค้าออนไลน์บ้างร้านถูกตรวจสอบภาษีย้อนหลัง นั่นเป็นเพราะว่าคุณไม่รู้ถึงข้อมูลการขายของตัวเอง ฉะนั้น ผมอยากจะฝากไว้ว่าที่จริงแล้วเรื่องของ “การเสียภาษี” ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัวถ้าหากคุณใส่ใจและศึกษาควบคู่กับการทำธุรกิจออนไลน์ สุดท้ายนี้ผมขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกอบการทุกคนด้วยนะครับ หรือถ้าหากใครมีข้อสงสัยหรือมีความคิดเห็นใดสามารถคอมเมนต์มาได้ตามด้านล่างนี้เลยนะครับ