หลายๆ บ้านอาจจะเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับประตูเปิด-ปิดเสียงดัง ประตูปิดกระแทกแรงเพราะโดนลมพัด หรืออุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ ทั้งกับเด็กๆและคนชราในบ้าน ขอแนะนำตัวช่วยคลายปัญหาเหล่านี้ให้หมดไป ด้วย โข๊คประตู Door Closer หรือ อุปกรณ์ดึงประตู เป็นอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยชลอเวลาการปิดประตู กำหนดจังหวะการเปิดปิด และช่วยลดการกระแทกที่เกิดจากการเปิดปิดประตู
โช๊คประตู Door Closer เป็นอุปกรณ์ช่วยการเปิด-ปิด ที่แบ่งได้หลักๆ เป็น 2 ประเภท คือ โช้คประตูแบบติดลอย พร้อมแขนสไลด์หรือแบบฝัง และ โช้คประตูแบบฝังพื้น ซึ่งการติดตั้งในแต่ละแบบก็ขึ้นอยู่กับว่าประตูนั้นต้องการเน้นการใช้งานแบบใด
โช๊คประตูแบบลอย นิยมติดตั้งที่ขอบประตูด้านบานพับ ซึ่งสามารถแบ่งการติดตั้งได้หลายแบบ ทั้งแบบมาตรฐานติดตั้งที่ประตูวงกบ หรือการติดตั้งแบบแขนขนาน โช๊คประตูแบบนี้จะเหมาะกับลักษณะประตูบานพับภายในบ้านทั่วไป ซึ่งมีการเปิดปิดเพียงด้านเดียว
โช๊คประตูแบบฝังพื้น มีทั้งแบบเปิดทางเดียวและบานเปิดสองทาง มักนิยมใช้กับประตูภายในอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่มีการดึงเข้าหรือผลักออกได้ทั้งสองด้าน
ติดตั้งโช้คประตูในบ้านแล้วดีอย่างไร
- ช่วยชลอระยะเวลาประตูปิด
- ช่วยให้ประตูมีจังหวะปิดได้นุ่มนวลขึ้น
- ลดความเสียหายที่อาจเกิดกับประตูและผนังบ้านเมื่อมีการเปิดปิดประตูอย่างรุนแรง (โดยมือหรือลมกระโชก)
- สามารถกำหนดระยะเวลาปิดประตูได้ ให้ประตูปิดช้าลงในบ้านมีผู้สูงอายุ หรือมีเด็ก
ข้อควรรู้ก่อนเลือกโช๊คประตู
- กำลังการปิดต้องสามารถเลือกได้จากตำแหน่งการติดตั้งโช๊คประตู โดยมีหน่วยวัดตามมาตรฐาน EN ตั้งแต่ 1-6 ระดับ
- สามารถปรับจังหวะการปิดด้วยวาล์วไฮดรอลิคได้
- สามารถปรับความเร็วการปิดได้
- มีระบบ backcheck ฟังก์ชันลดแรงในการเปิดประตู ป้องกันไม่ให้ประตูกระแทกจนเกิดความเสียหาย
- มีฟังก์ชันตั้งค้างภายในแขน
- สามารถติดตั้งได้ทั้งบานขวาและบานซ้าย
- กำลังการปิดเป็นไปตามมาตรฐาน
- ใช้แรงเปิดน้อย
การเลือกโช้คประตูที่เหมาะสมกับประตูบ้านและการใช้งาน ต้องคำนึงถึงขนาดและน้ำหนักของประตูเป็นสำคัญ เพื่อการเลือกขนาดโช้คที่ตรงกับความต้องการ และ ควรจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งโช๊คประตูเพื่อความอุ่นใจอีกระดับด้วย
โช๊คประตู Door Closer เลือกอย่างไรให้เหมาะกับบ้าน
โช๊คประตู Door Closer เป็นอุปกรณ์ช่วยการเปิด-ปิด ที่แบ่งได้หลักๆ เป็น 2 ประเภท คือ โช้คประตูแบบติดลอย พร้อมแขนสไลด์หรือแบบฝัง และ โช้คประตูแบบฝังพื้น ซึ่งการติดตั้งในแต่ละแบบก็ขึ้นอยู่กับว่าประตูนั้นต้องการเน้นการใช้งานแบบใด
โช๊คประตูแบบลอย นิยมติดตั้งที่ขอบประตูด้านบานพับ ซึ่งสามารถแบ่งการติดตั้งได้หลายแบบ ทั้งแบบมาตรฐานติดตั้งที่ประตูวงกบ หรือการติดตั้งแบบแขนขนาน โช๊คประตูแบบนี้จะเหมาะกับลักษณะประตูบานพับภายในบ้านทั่วไป ซึ่งมีการเปิดปิดเพียงด้านเดียว
โช๊คประตูแบบฝังพื้น มีทั้งแบบเปิดทางเดียวและบานเปิดสองทาง มักนิยมใช้กับประตูภายในอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า ที่มีการดึงเข้าหรือผลักออกได้ทั้งสองด้าน
ติดตั้งโช้คประตูในบ้านแล้วดีอย่างไร
- ช่วยชลอระยะเวลาประตูปิด
- ช่วยให้ประตูมีจังหวะปิดได้นุ่มนวลขึ้น
- ลดความเสียหายที่อาจเกิดกับประตูและผนังบ้านเมื่อมีการเปิดปิดประตูอย่างรุนแรง (โดยมือหรือลมกระโชก)
- สามารถกำหนดระยะเวลาปิดประตูได้ ให้ประตูปิดช้าลงในบ้านมีผู้สูงอายุ หรือมีเด็ก
ข้อควรรู้ก่อนเลือกโช๊คประตู
- กำลังการปิดต้องสามารถเลือกได้จากตำแหน่งการติดตั้งโช๊คประตู โดยมีหน่วยวัดตามมาตรฐาน EN ตั้งแต่ 1-6 ระดับ
- สามารถปรับจังหวะการปิดด้วยวาล์วไฮดรอลิคได้
- สามารถปรับความเร็วการปิดได้
- มีระบบ backcheck ฟังก์ชันลดแรงในการเปิดประตู ป้องกันไม่ให้ประตูกระแทกจนเกิดความเสียหาย
- มีฟังก์ชันตั้งค้างภายในแขน
- สามารถติดตั้งได้ทั้งบานขวาและบานซ้าย
- กำลังการปิดเป็นไปตามมาตรฐาน
- ใช้แรงเปิดน้อย
การเลือกโช้คประตูที่เหมาะสมกับประตูบ้านและการใช้งาน ต้องคำนึงถึงขนาดและน้ำหนักของประตูเป็นสำคัญ เพื่อการเลือกขนาดโช้คที่ตรงกับความต้องการ และ ควรจะปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญในการติดตั้งโช๊คประตูเพื่อความอุ่นใจอีกระดับด้วย