ไม่มีเงินจ่ายหนี้ทำยังไง? บอกเคล็ดลับประนอมหนี้อย่างไรให้ได้ผล
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาวพันทิป วันนี้ CondoNewb มาพร้อมกับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการเงินที่นำมาฝากเพื่อน ๆ กัน ซึ่งเรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องของ “การประนอมหนี้” สำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังเครียดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ที่รายได้ลดลงจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หลาย ๆ คนมักจะอยู่เฉย ๆ หรือหนีหนี้ ซึ่งการทำแบบนั้นจะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ไขปัญหาแล้ว ยังทำให้มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ตั้งแต่ดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมจากการจ่ายหนี้ล่าช้า และที่เลวร้ายที่สุด อาจจะไปถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยทีเดียว
เตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปประนอมหนี้
นิวบ์เข้าใจดีเลยแหละว่าการจะเดินเข้าไปหาเจ้าหนี้เพื่อจะขอประนอมนี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แน่นอนว่าลูกหนี้ทั้งหลายจะเกิดอาการหนักใจ เสียใจ และอับอาย ที่จะต้องเดินไปบอกเจ้าหนี้ว่าเราไม่มีเงินที่จะชำระหนี้ให้ในช่วงนี้ สิ่งที่เราอยากจะบอกเพื่อน ๆ ก็คือว่าการเดินเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหนี้นั้น ให้คิดเสียว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความจริงใจว่าเราไม่ได้จะหนีหนี้นะ และเรายังมีความต้องการที่จะชำระหนี้ให้คุณเหมือนเดิม แต่อยากจะขอเปลี่ยนวิธีการ หรือจำนวนเงิน ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เราต้องเจอ ซึ่งจุดนี้เอง เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย เจ้าหนี้จะต้องเข้าใจ และช่วยเราแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างแน่นอน เพราะเจ้าหนี้เองก็ต้องการเงินของเขาคืนเช่นกัน
1. ไม่หนี
นี่คือสิ่งแรกที่เราอยากให้เพื่อน ๆ ทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะการหนีหนี้นั้น นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการติดตามหนี้แล้ว ยังทำให้เจ้าหนี้เห็นถึงความไม่จริงใจในการชำระหนี้คืนของเรา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องได้ และแน่นอนแหละว่าคงไม่มีใครอยากจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลหรอกจริงไหม?
การไม่หนีหนี้ ยังคงติดต่อกับเจ้าหนี้อยู่ตลอด จะทำให้เจ้าหนี้เห็นความจริงใจของเราในการชำระหนี้สิน และจะทำให้เจ้าหนี้เต็มใจที่จะช่วยเราหาทางออกมาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ที่เป็นบุคคล หรือธนาคารก็ตาม
2. พูดความจริง
สิ่งต่อไปที่เราต้องแจ้งกับเจ้าหนี้ก็คือ การพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา จนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานในกรณีที่ถูกนายจ้างเลิกจ้าง หรือถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน เพื่อเป็นหลักฐานกับเจ้าหนี้ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะช่วยยืนยันสิ่งที่เราพูดว่าเป็นความจริง หรือหากเพื่อน ๆ ที่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวแล้วได้รับผลกระทบ ก็สามารถยื่นเอกสาร หรือประกาศข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของเราได้เช่นกัน
3. มีเมื่อไหร่ต้องจ่าย
อย่าผิดนัดซ้ำซ้อน นี่คืออีกหนึ่งในหลักที่เราต้องตั้งใจเอาไว้ว่าเมื่อเหตุการณ์กลับมาสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เราจะต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้ในอัตราเดิม ก่อนที่จะเกิดการประนอมหนี้ หรือหากได้รับการประนอมหนี้แล้วนั้นก็ต้องจ่ายหนี้ตามอัตราที่ได้ทำการตกลงกันไว้ ไม่ผิดนัด
หลังจากที่เราได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเข้าประนอมหนี้แล้ว สิ่งต่อไปที่เราจะมาพูดถึงกันก็คือกระบวนการ และขั้นตอนในการประนอมหนี้นั่นเอง จะมีขั้นตอนยังไงบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ
1. เดินหน้าเข้าเจรจา
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการจะเข้าไปประนอมหนี้สิ่งแรกที่ต้องทำคือติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อขอเข้าพบทำการสอบถามวิธีเจรจาประนอมหนี้ สำหรับเพื่อน ๆ ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถกับธนาคาร ก็ให้ติดต่อกับธนาคารที่เรากู้สินเชื่อด้วย โดยระบุไปเลยว่าเราจะขอทำการประนอมหนี้ และสอบถามถึงเอกสารที่จะต้องใช้ ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง เพื่อไม่ให้เดินทางไปเสียเที่ยว
2. เตรียมเอกสาร
ในการประนอมหนี้นั้น ไม่ใช่แค่การเดินเข้าไปคุยเฉย ๆ แต่นั่นหมายถึงการวางแผนชำระหนี้ใหม่ ซึ่งต้องใช้เอกสารในการยืนยันแผนการชำระหนี้ใหม่ด้วย ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้นั้นก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการเงิน แต่ส่วนของเอกสารต้องใช้ที่เรารวบรวมมาให้ในวันนี้เป็นเพียงไกด์ไลน์เท่านั้นว่าส่วนใหญ่แล้วต้องใช้เอกสารส่วนใดบ้าง เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เตรียมตัวกันก่อนเข้าไปสอบถามกับธนาคารนะคะ
ซึ่งเอกสารที่เราจะใช้นั้นจะมีสามส่วนด้วยกัน คือส่วนของเอกสารส่วนตัว, เอกสารรายได้ และสุดท้ายคือเอกสารแสดงภาระหนี้สิน
1. เอกสารส่วนตัว
– บัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณะบัตร (หากมี)
2. เอกสารรายได้ (เพื่อให้ธนาคารพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้)
2.1 สำหรับผู้ประกอบอาชีพประจำ, พนักงานรับเงินเดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือนตัวจริง สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
2.2 สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ ค้าขาย
- หนังสือจดทะเบียนบริคณห์สนธิ
- หนังสือจดทะเบียนการค้า
- บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน หรือ เอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น สัญญาเช่าแผง เช่าร้าน ตัวอย่างใบสั่งสินค้า
3. เอกสารแสดงภาระหนี้ต่าง ๆ
- ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สัญญากู้เงินต่าง ๆ
- เอกสารเลิกจ้าง, เอกสารแจ้งการลดเงินเดือน (ถ้ามี)
3. แผนชำระหนี้
แผนชำระหนี้ คือกำหนดการการชำระหนี้ ที่เรานำเข้าไปปรึกษากับทางธนาคารในตอนที่เข้าไปขอประนอมหนี้ ซึ่งในส่วนของแผนชำระหนี้นั้น เราจะต้องประเมิณความสามารถของตัวเองก่อนที่จะวางแผนชำระหนี้ โดยจะต้องคำนึงถึงความสามารถของตัวเองตามจริง และต้องมีการระบุว่าจะเปลี่ยนจำนวนการชำระหนี้ต่อเดือนเหลือเดือนละเท่าไหร่? จะขอยืดระยะการชำระหนี้ไปอีกกี่ปี ซึ่งต้องขอย้ำว่า “ต้องวางแผนตามความสามารถจริง” เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดชำระหนี้ในระหว่างการประนอมหนี้อีกอาจจะทำให้เราเจรจาอีกครั้งได้ลำบาก และอาจจะเสียคำธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ด้วย
สำหรับแผนชำระหนี้นั้น มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมแผนชำระหนี้มาไว้ให้แล้ว เพื่อน ๆ สามารถอ่านประกอบการตัดสินใจว่าแผนชำระหนี้ในรูปแบบไหนจะเหมาะกับเราและสถานการณ์ที่เราต้องเจอมากที่สุด
o ขอลดดอกเบี้ย
การขอลดดอกเบี้ย เป็นอีกหนึ่งในแผนการชำระหนี้ ที่หลาย ๆ คนใช้ในการประนอมหนี้ ซึ่งจะเหมาะกับคนที่เป็นหนี้ที่มีเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยสูง
o ขอลดค่างวด
แผนชำระหนี้ในแบบนี้คือการขอลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือนให้ลดลง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน ให้สัมพันธ์กับรายได้ที่ลดลง เช่น หากปกติต้องชำระอยู่ที่ 6,000 บาทต่อเดือน ก็อาจจะขอลดค่างวดลง โดยมีกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะชำระในยอดนี้เป็นระยะเวลากี่ปีกี่เดือน ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ถูกลดเงินเดือน โดยอาจจะขอลดค่างวดลง ตามสัดส่วนของเงินเดือนที่ถูกลดลงไปก็ได้
o ขอขยายเวลาชำระหนี้
การขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปจะช่วยให้ภาระการชำระหนี้ต่องวดของเราน้อยลง เพราะระยะเวลาของหนี้จะนานขึ้น ซึ่งแผนชำระหนี้ในรูปแบบนี้จะเหมาะกับคนที่ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เพราะสามารถขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เหมาะกับคนที่กำลังประสบกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ารายได้จะกลับมาเป็นปกติได้ตอนไหน
o ขอชำระเฉพาะดอกเบี้ย
หากผ่อนชำระต่อเดือนไม่ไหวแล้ว การขอชำระเฉพาะดอกเบี้ยก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แม้เงินต้นจะไม่ได้ลดลงแต่เราก็ลดภาระการชำระหนี้ต่อเดือนไปได้มากพอสมควร แล้วถ้าสถานการณ์กลับมาปกติเท่าไหร่ก็เข้าไปเจรจากับธนาคารขอชำระหนี้ในรูปแบบเดิมทั้งต้นทั้งดอกได้เหมือนเดิม
o ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติ (กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้)
แผนชำระหนี้ในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีการผิดนัดชำระหนี้ก่อนที่จะมีการขอเข้าประนอมหนี้ เพราะคงรู้กันดีว่าเมื่อเราผิดนัดชำระหนี้ 1 ครั้ง ดอกเบี้ยที่ทางธนาคารจะคิดกับเรานั้นจะเปลี่ยนไปทันที ซึ่งแน่นอนว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งยิ่งเราผิดนัด ดอกเบี้ยก็ยิ่งบานขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะกลายเป็นปัญหาก้อนโตที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ การขอประนอมหนี้โดยการขอให้ธนาคาร หรือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติก็เป็นอีกทางเลือกนึง โดยอาจจะโชว์เอกสารหรือหลักฐานที่ทำให้ธนาคารเห็นว่าเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้
o ขอลดค่าปรับผิดนัดชำระหนี้
นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเราผิดนัดชำระหนี้แล้ว ส่วนของค่าปรับในการผิดนัดชำระหนี้เองก็มีเช่นกัน สำหรับเพื่อน ๆ ที่ผิดนัดชำระหนี้ไว้หลายเดือน อาจจะเกิดหนี้เพิ่มเติมในส่วนของค่าปรับผิดชำระหนี้ได้ ในกรณีที่เพื่อน ๆ เจอสถานการณ์ที่แย่จริง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ผิดนัดชำระหนี้ไป แล้วสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ก็อาจจะสามารถขอธนาคารลดค่าปรับผิดชำระหนี้ลง
o ขอรวมหนี้
การมีหนี้หลายก้อน จะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยหลายต่อ ซึ่งหลาย ๆ คนไม่รู้ว่าเราสามารถตัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ด้วยวิธีการรวมหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ยกตัวอย่าง เช่น หากเพื่อน ๆ เป็นทั้งหนี้บัตรเครดิต และหนี้ผ่อนรถ กับธนาคาร A ทั้งสองก้อน และดอกเบี้ยของทั้งสองก้อนก็ไม่ใช่น้อย ๆ แถมยังมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน และแน่นอนว่าจะเกินความสามารถในการชำระหนี้ของเราแน่นอน ดังนั้นการขอรวมหนี้อาจจะเป็นวิธีการขอประนอมหนี้ที่เหมาะกับเพื่อน ๆ
ซึ่งวิธีการจริง ๆ แล้วก็คือการกู้เงินจากธนาคารมา 1 ก้อน ในวงเงินที่ครอบคลุมจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เรามีกับธนาคาร A เพื่อเสียดอกเบี้ยทางเดียว ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยจากภาระหนี้สินทั้งสองก้อนที่เราจ่ายมาตลอด ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องทำแผนชำระหนี้นี้ในการประนอมหนี้ นั่นก็เป็นเพราะว่าถ้าเราเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ทางธนาคารอาจจะคิดดอกเบี้ยเงินก้อนที่เรากู้มาโปะหนี้ทั้ง 2 ก้อนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการที่เราขอกู้เอง (แถมถ้าลงมือยื่นกู้เองโดยไม่ผ่านกระบวนการ อาจจะมีสิทธิ์กู้ไม่ผ่าน เพราะยังมีภาระหนี้สินทั้งบัตรเครดิต และหนี้ผ่อนรถอยู่ด้วย)
นอกเหนือจากการรวมหนี้จากธนาคารเดียวกันแล้ว บางธนาคารก็รับการรวมหนี้จากที่อื่นด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบที่เรามีกับธนาคารอื่น หรือแม้กระทั่งหนี้นอกระบบก็สามารถนำเข้ามาประนอมหนี้รูปแบบของการรวมหนี้ได้เช่นกัน
o ขอโอนบ้าน/คอนโด ให้เป็นของธนาคาร แล้วค่อยซื้อคืน (เหมือนเช่าอยู่ โดยค่าเช่าคิดอยู่ที่ 0.4 – 0.6% ของราคาบ้านและคอนโด)
ข้อนี้เหมาะสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเกี่ยวกับการผ่อนบ้าน หรือผ่อนคอนโด ซึ่งถึงว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ และค่อนข้างสำคัญ ซึ่งไม่ควรจะผิดนัดเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าเพื่อน ๆ กำลังประสบปัญหาและประเมินแล้วว่าไม่มีความสามารถพอในการจะชำระค่างวดผ่อนบ้าน หรือผ่อนคอนโด ควรเดินหน้าเข้าขอประนอมหนี้กับทางธนาคารไว้ก่อนเลย เพื่อป้องกันเรื่องดอกเบี้ยที่จะทวีคูณ จนทำให้มีหนี้เพิ่มเสียเปล่า ๆ
ซึ่งวิธีการโอนบ้าน / โอนคอนโด ให้เป็นของธนาคารก่อน แล้วค่อยซื้อคืนนั้น คือการเจรจาขอเซ็นสัญญาโอนบ้าน โอนคอนโด ให้เป็นชื่อของธนาคารที่เรากำลังผ่อนอยู่ แล้วเซ็นสัญญาขึ้นมาอีก 1 ฉบับคือฉบับการขอเช่าบ้านของเรา ซึ่งในวันที่เรามาขอซื้อคืนบ้านและคอนโด ธนาคารจะคิดราคาจากยอดที่คงเหลือจากยอดที่เราผ่อนชำระค้างไว้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็คือเรื่องของประนอมหนี้ที่เราเอามาฝากเพื่อน ๆ ที่กำลังมีปัญหาเรื่องภาระหนี้สิน และความสามารถในการผ่อนชำระที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่าทุกปัญหามีทางออก แล้วพบกันใหม่กระทู้หน้าค่ะ
ประนอมหนี้อย่างไรให้ได้ผล? ทางออกสำหรับคนผ่อนหนี้ไม่ไหว
สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชาวพันทิป วันนี้ CondoNewb มาพร้อมกับความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการเงินที่นำมาฝากเพื่อน ๆ กัน ซึ่งเรื่องราวในวันนี้เป็นเรื่องของ “การประนอมหนี้” สำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังเครียดว่าในสถานการณ์แบบนี้ ที่รายได้ลดลงจนไม่สามารถชำระหนี้ได้ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพราะโดยปกติแล้ว เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด หลาย ๆ คนมักจะอยู่เฉย ๆ หรือหนีหนี้ ซึ่งการทำแบบนั้นจะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ไขปัญหาแล้ว ยังทำให้มีปัญหาตามมาอีกมากมาย ตั้งแต่ดอกเบี้ยในอัตราผิดนัดชำระหนี้ ค่าธรรมเนียมจากการจ่ายหนี้ล่าช้า และที่เลวร้ายที่สุด อาจจะไปถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาลกันเลยทีเดียว
เตรียมตัวเตรียมใจก่อนไปประนอมหนี้
นิวบ์เข้าใจดีเลยแหละว่าการจะเดินเข้าไปหาเจ้าหนี้เพื่อจะขอประนอมนี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แน่นอนว่าลูกหนี้ทั้งหลายจะเกิดอาการหนักใจ เสียใจ และอับอาย ที่จะต้องเดินไปบอกเจ้าหนี้ว่าเราไม่มีเงินที่จะชำระหนี้ให้ในช่วงนี้ สิ่งที่เราอยากจะบอกเพื่อน ๆ ก็คือว่าการเดินเข้าไปพูดคุยกับเจ้าหนี้นั้น ให้คิดเสียว่ามันคือจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ยังเป็นการแสดงความจริงใจว่าเราไม่ได้จะหนีหนี้นะ และเรายังมีความต้องการที่จะชำระหนี้ให้คุณเหมือนเดิม แต่อยากจะขอเปลี่ยนวิธีการ หรือจำนวนเงิน ให้เข้ากับสถานการณ์ที่เราต้องเจอ ซึ่งจุดนี้เอง เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย เจ้าหนี้จะต้องเข้าใจ และช่วยเราแก้ไขสถานการณ์นี้อย่างแน่นอน เพราะเจ้าหนี้เองก็ต้องการเงินของเขาคืนเช่นกัน
1. ไม่หนี
นี่คือสิ่งแรกที่เราอยากให้เพื่อน ๆ ทำเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เราไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะการหนีหนี้นั้น นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาเรื่องการติดตามหนี้แล้ว ยังทำให้เจ้าหนี้เห็นถึงความไม่จริงใจในการชำระหนี้คืนของเรา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการฟ้องร้องได้ และแน่นอนแหละว่าคงไม่มีใครอยากจะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลหรอกจริงไหม?
การไม่หนีหนี้ ยังคงติดต่อกับเจ้าหนี้อยู่ตลอด จะทำให้เจ้าหนี้เห็นความจริงใจของเราในการชำระหนี้สิน และจะทำให้เจ้าหนี้เต็มใจที่จะช่วยเราหาทางออกมาขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ที่เป็นบุคคล หรือธนาคารก็ตาม
2. พูดความจริง
สิ่งต่อไปที่เราต้องแจ้งกับเจ้าหนี้ก็คือ การพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับเรา จนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ พร้อมทั้งนำเอกสารหลักฐานในกรณีที่ถูกนายจ้างเลิกจ้าง หรือถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือน เพื่อเป็นหลักฐานกับเจ้าหนี้ ว่าเกิดเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เราต้องผิดนัดชำระหนี้ ซึ่งส่วนนี้ก็จะช่วยยืนยันสิ่งที่เราพูดว่าเป็นความจริง หรือหากเพื่อน ๆ ที่ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวแล้วได้รับผลกระทบ ก็สามารถยื่นเอกสาร หรือประกาศข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพของเราได้เช่นกัน
3. มีเมื่อไหร่ต้องจ่าย
อย่าผิดนัดซ้ำซ้อน นี่คืออีกหนึ่งในหลักที่เราต้องตั้งใจเอาไว้ว่าเมื่อเหตุการณ์กลับมาสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เราจะต้องจ่ายหนี้ให้เจ้าหนี้ในอัตราเดิม ก่อนที่จะเกิดการประนอมหนี้ หรือหากได้รับการประนอมหนี้แล้วนั้นก็ต้องจ่ายหนี้ตามอัตราที่ได้ทำการตกลงกันไว้ ไม่ผิดนัด
หลังจากที่เราได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติเกี่ยวกับการเข้าประนอมหนี้แล้ว สิ่งต่อไปที่เราจะมาพูดถึงกันก็คือกระบวนการ และขั้นตอนในการประนอมหนี้นั่นเอง จะมีขั้นตอนยังไงบ้างไปติดตามกันเลยค่ะ
1. เดินหน้าเข้าเจรจา
สำหรับเพื่อน ๆ ที่ต้องการจะเข้าไปประนอมหนี้สิ่งแรกที่ต้องทำคือติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อขอเข้าพบทำการสอบถามวิธีเจรจาประนอมหนี้ สำหรับเพื่อน ๆ ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนบ้าน หนี้ผ่อนรถกับธนาคาร ก็ให้ติดต่อกับธนาคารที่เรากู้สินเชื่อด้วย โดยระบุไปเลยว่าเราจะขอทำการประนอมหนี้ และสอบถามถึงเอกสารที่จะต้องใช้ ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง เพื่อไม่ให้เดินทางไปเสียเที่ยว
2. เตรียมเอกสาร
ในการประนอมหนี้นั้น ไม่ใช่แค่การเดินเข้าไปคุยเฉย ๆ แต่นั่นหมายถึงการวางแผนชำระหนี้ใหม่ ซึ่งต้องใช้เอกสารในการยืนยันแผนการชำระหนี้ใหม่ด้วย ซึ่งเอกสารที่ต้องใช้นั้นก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละสถาบันการเงิน แต่ส่วนของเอกสารต้องใช้ที่เรารวบรวมมาให้ในวันนี้เป็นเพียงไกด์ไลน์เท่านั้นว่าส่วนใหญ่แล้วต้องใช้เอกสารส่วนใดบ้าง เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้เตรียมตัวกันก่อนเข้าไปสอบถามกับธนาคารนะคะ
ซึ่งเอกสารที่เราจะใช้นั้นจะมีสามส่วนด้วยกัน คือส่วนของเอกสารส่วนตัว, เอกสารรายได้ และสุดท้ายคือเอกสารแสดงภาระหนี้สิน
1. เอกสารส่วนตัว
– บัตรประชาชน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส ใบหย่า ใบมรณะบัตร (หากมี)
2. เอกสารรายได้ (เพื่อให้ธนาคารพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้)
2.1 สำหรับผู้ประกอบอาชีพประจำ, พนักงานรับเงินเดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือนตัวจริง สลิปเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
2.2 สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ เจ้าของกิจการ หรือ ค้าขาย
- หนังสือจดทะเบียนบริคณห์สนธิ
- หนังสือจดทะเบียนการค้า
- บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน หรือ เอกสารที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ เช่น สัญญาเช่าแผง เช่าร้าน ตัวอย่างใบสั่งสินค้า
3. เอกสารแสดงภาระหนี้ต่าง ๆ
- ใบแจ้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สัญญากู้เงินต่าง ๆ
- เอกสารเลิกจ้าง, เอกสารแจ้งการลดเงินเดือน (ถ้ามี)
3. แผนชำระหนี้
แผนชำระหนี้ คือกำหนดการการชำระหนี้ ที่เรานำเข้าไปปรึกษากับทางธนาคารในตอนที่เข้าไปขอประนอมหนี้ ซึ่งในส่วนของแผนชำระหนี้นั้น เราจะต้องประเมิณความสามารถของตัวเองก่อนที่จะวางแผนชำระหนี้ โดยจะต้องคำนึงถึงความสามารถของตัวเองตามจริง และต้องมีการระบุว่าจะเปลี่ยนจำนวนการชำระหนี้ต่อเดือนเหลือเดือนละเท่าไหร่? จะขอยืดระยะการชำระหนี้ไปอีกกี่ปี ซึ่งต้องขอย้ำว่า “ต้องวางแผนตามความสามารถจริง” เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ผิดชำระหนี้ในระหว่างการประนอมหนี้อีกอาจจะทำให้เราเจรจาอีกครั้งได้ลำบาก และอาจจะเสียคำธรรมเนียมผิดนัดชำระหนี้ด้วย
สำหรับแผนชำระหนี้นั้น มีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมแผนชำระหนี้มาไว้ให้แล้ว เพื่อน ๆ สามารถอ่านประกอบการตัดสินใจว่าแผนชำระหนี้ในรูปแบบไหนจะเหมาะกับเราและสถานการณ์ที่เราต้องเจอมากที่สุด
o ขอลดดอกเบี้ย
การขอลดดอกเบี้ย เป็นอีกหนึ่งในแผนการชำระหนี้ ที่หลาย ๆ คนใช้ในการประนอมหนี้ ซึ่งจะเหมาะกับคนที่เป็นหนี้ที่มีเงินต้นและอัตราดอกเบี้ยสูง
o ขอลดค่างวด
แผนชำระหนี้ในแบบนี้คือการขอลดจำนวนการผ่อนชำระต่อเดือนให้ลดลง เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายรายเดือน ให้สัมพันธ์กับรายได้ที่ลดลง เช่น หากปกติต้องชำระอยู่ที่ 6,000 บาทต่อเดือน ก็อาจจะขอลดค่างวดลง โดยมีกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะชำระในยอดนี้เป็นระยะเวลากี่ปีกี่เดือน ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ถูกลดเงินเดือน โดยอาจจะขอลดค่างวดลง ตามสัดส่วนของเงินเดือนที่ถูกลดลงไปก็ได้
o ขอขยายเวลาชำระหนี้
การขอขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปจะช่วยให้ภาระการชำระหนี้ต่องวดของเราน้อยลง เพราะระยะเวลาของหนี้จะนานขึ้น ซึ่งแผนชำระหนี้ในรูปแบบนี้จะเหมาะกับคนที่ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เพราะสามารถขอยืดระยะเวลาชำระหนี้ได้เป็นปี เหมาะกับคนที่กำลังประสบกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่ารายได้จะกลับมาเป็นปกติได้ตอนไหน
o ขอชำระเฉพาะดอกเบี้ย
หากผ่อนชำระต่อเดือนไม่ไหวแล้ว การขอชำระเฉพาะดอกเบี้ยก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ แม้เงินต้นจะไม่ได้ลดลงแต่เราก็ลดภาระการชำระหนี้ต่อเดือนไปได้มากพอสมควร แล้วถ้าสถานการณ์กลับมาปกติเท่าไหร่ก็เข้าไปเจรจากับธนาคารขอชำระหนี้ในรูปแบบเดิมทั้งต้นทั้งดอกได้เหมือนเดิม
o ขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติ (กรณีที่ผิดนัดชำระหนี้)
แผนชำระหนี้ในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับเพื่อน ๆ ที่มีการผิดนัดชำระหนี้ก่อนที่จะมีการขอเข้าประนอมหนี้ เพราะคงรู้กันดีว่าเมื่อเราผิดนัดชำระหนี้ 1 ครั้ง ดอกเบี้ยที่ทางธนาคารจะคิดกับเรานั้นจะเปลี่ยนไปทันที ซึ่งแน่นอนว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งยิ่งเราผิดนัด ดอกเบี้ยก็ยิ่งบานขึ้นเรื่อย ๆ จนอาจจะกลายเป็นปัญหาก้อนโตที่เราไม่สามารถแก้ไขได้ การขอประนอมหนี้โดยการขอให้ธนาคาร หรือเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยในอัตราปกติก็เป็นอีกทางเลือกนึง โดยอาจจะโชว์เอกสารหรือหลักฐานที่ทำให้ธนาคารเห็นว่าเราไม่มีความสามารถมากพอที่จะชำระหนี้ในอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้
o ขอลดค่าปรับผิดนัดชำระหนี้
นอกเหนือจากอัตราดอกเบี้ยที่จะเพิ่มขึ้นเมื่อเราผิดนัดชำระหนี้แล้ว ส่วนของค่าปรับในการผิดนัดชำระหนี้เองก็มีเช่นกัน สำหรับเพื่อน ๆ ที่ผิดนัดชำระหนี้ไว้หลายเดือน อาจจะเกิดหนี้เพิ่มเติมในส่วนของค่าปรับผิดชำระหนี้ได้ ในกรณีที่เพื่อน ๆ เจอสถานการณ์ที่แย่จริง ๆ ในช่วงระยะเวลาที่ผิดนัดชำระหนี้ไป แล้วสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ ก็อาจจะสามารถขอธนาคารลดค่าปรับผิดชำระหนี้ลง
o ขอรวมหนี้
การมีหนี้หลายก้อน จะทำให้เราต้องจ่ายดอกเบี้ยหลายต่อ ซึ่งหลาย ๆ คนไม่รู้ว่าเราสามารถตัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้ด้วยวิธีการรวมหนี้ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ยกตัวอย่าง เช่น หากเพื่อน ๆ เป็นทั้งหนี้บัตรเครดิต และหนี้ผ่อนรถ กับธนาคาร A ทั้งสองก้อน และดอกเบี้ยของทั้งสองก้อนก็ไม่ใช่น้อย ๆ แถมยังมีอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เท่ากัน และแน่นอนว่าจะเกินความสามารถในการชำระหนี้ของเราแน่นอน ดังนั้นการขอรวมหนี้อาจจะเป็นวิธีการขอประนอมหนี้ที่เหมาะกับเพื่อน ๆ
ซึ่งวิธีการจริง ๆ แล้วก็คือการกู้เงินจากธนาคารมา 1 ก้อน ในวงเงินที่ครอบคลุมจำนวนหนี้ทั้งหมดที่เรามีกับธนาคาร A เพื่อเสียดอกเบี้ยทางเดียว ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยจากภาระหนี้สินทั้งสองก้อนที่เราจ่ายมาตลอด ซึ่งเพื่อน ๆ อาจจะสงสัยว่า ทำไมเราถึงต้องทำแผนชำระหนี้นี้ในการประนอมหนี้ นั่นก็เป็นเพราะว่าถ้าเราเข้าสู่กระบวนการประนอมหนี้ ทางธนาคารอาจจะคิดดอกเบี้ยเงินก้อนที่เรากู้มาโปะหนี้ทั้ง 2 ก้อนในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการที่เราขอกู้เอง (แถมถ้าลงมือยื่นกู้เองโดยไม่ผ่านกระบวนการ อาจจะมีสิทธิ์กู้ไม่ผ่าน เพราะยังมีภาระหนี้สินทั้งบัตรเครดิต และหนี้ผ่อนรถอยู่ด้วย)
นอกเหนือจากการรวมหนี้จากธนาคารเดียวกันแล้ว บางธนาคารก็รับการรวมหนี้จากที่อื่นด้วยนะคะ ไม่ว่าจะเป็นหนี้ในระบบที่เรามีกับธนาคารอื่น หรือแม้กระทั่งหนี้นอกระบบก็สามารถนำเข้ามาประนอมหนี้รูปแบบของการรวมหนี้ได้เช่นกัน
o ขอโอนบ้าน/คอนโด ให้เป็นของธนาคาร แล้วค่อยซื้อคืน (เหมือนเช่าอยู่ โดยค่าเช่าคิดอยู่ที่ 0.4 – 0.6% ของราคาบ้านและคอนโด)
ข้อนี้เหมาะสำหรับคนที่มีภาระหนี้สินเกี่ยวกับการผ่อนบ้าน หรือผ่อนคอนโด ซึ่งถึงว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ และค่อนข้างสำคัญ ซึ่งไม่ควรจะผิดนัดเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นถ้าเพื่อน ๆ กำลังประสบปัญหาและประเมินแล้วว่าไม่มีความสามารถพอในการจะชำระค่างวดผ่อนบ้าน หรือผ่อนคอนโด ควรเดินหน้าเข้าขอประนอมหนี้กับทางธนาคารไว้ก่อนเลย เพื่อป้องกันเรื่องดอกเบี้ยที่จะทวีคูณ จนทำให้มีหนี้เพิ่มเสียเปล่า ๆ
ซึ่งวิธีการโอนบ้าน / โอนคอนโด ให้เป็นของธนาคารก่อน แล้วค่อยซื้อคืนนั้น คือการเจรจาขอเซ็นสัญญาโอนบ้าน โอนคอนโด ให้เป็นชื่อของธนาคารที่เรากำลังผ่อนอยู่ แล้วเซ็นสัญญาขึ้นมาอีก 1 ฉบับคือฉบับการขอเช่าบ้านของเรา ซึ่งในวันที่เรามาขอซื้อคืนบ้านและคอนโด ธนาคารจะคิดราคาจากยอดที่คงเหลือจากยอดที่เราผ่อนชำระค้างไว้
ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก็คือเรื่องของประนอมหนี้ที่เราเอามาฝากเพื่อน ๆ ที่กำลังมีปัญหาเรื่องภาระหนี้สิน และความสามารถในการผ่อนชำระที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเราก็จะเห็นได้ว่าทุกปัญหามีทางออก แล้วพบกันใหม่กระทู้หน้าค่ะ