จิตอยู่โดยไม่ต้องอาศัยมหาภูตรูป4ได้ด้วยหรือ?

[๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่
จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น
 ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม
 เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
 แม้ฉันใด 
ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ 
ที่ตถาคตเรียกว่า 
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
 จิตเป็นต้นนั้น
ดวงหนึ่งเกิดขึ้น 
ดวงหนึ่งดับไป
 ในกลางคืนและกลางวัน
 ก็ฉันนั้นแล ฯ

[๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 อริยสาวกผู้สดับ 
ย่อมใส่ใจโดยแยบคายด้วยดีถึง
ปฏิจจสมุปบาทธรรม
 ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมา
(ว่าร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้
ที่ตถาคตเรียกว่า 
จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง-จขกท)

นั้นว่า
 เพราะเหตุดังนี้
 เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี 
เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
 เมื่อสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี
 เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ

(จิตเกิดอวิชชา-จขกท)
 เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ 
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
 เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
 เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
 เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
 เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน 
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
 เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ 
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
 โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
 ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้

อนึ่ง (จิต อวิชชดับ เกิดวิชชา-จขกท)
เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ
 เพราะสังขารดับวิญญาณจึงดับ ฯลฯ
 ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

[๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
 อริยสาวกผู้ได้สดับ
 มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ 
(จิตย่อมหน่ายในขันธ์5-จขกท)
ย่อมหน่ายแม้ในรูป 
ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา 
ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา
 ย่อมหน่ายแม้ในสังขารทั้งหลาย
ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ
 เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้นเมื่อหลุดพ้นแล้ว
 ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้วย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว
 พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
 กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อ
 ความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่