ภาพชนะเลิศในการประกวดภาพถ่ายระดับโลก Olympus' annual photo contest 2020




ภาพที่น่าทึ่งของหนูในครรภ์อายุ 21 วันที่เป็นผู้ชนะการประกวดภาพถ่ายประจำปีของ Olympus' annual photo contest
(Cr.ภาพ: Werner Zuschratter / Olympus Image of the Year Award 2020)


เมื่อเร็ว ๆ นี้ ภาพการส่องสว่างของตัวอ่อนหนูในครรภ์ด้วยดวงตาสีแดงเข้มสดใส ทำให้คณะกรรมการของ Olympus ในการแข่งขันภาพถ่ายระดับนานาชาติหลงใหล และคว้าตำแหน่งภาพชนะเลิศระดับโลก Global Winner ประจำปี 2020 ไปได้
 
Werner Zuschratter นักวิจัยในห้องปฏิบัติการพิเศษสำหรับกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนและเลเซอร์สแกนเนอร์ที่ Leibniz Institute of Neurobiology 
ในเมือง Magdeburg ประเทศเยอรมนี ได้ถ่ายภาพตัวอ่อนในครรภ์ของหนู โดยใช้กล้องจุลทรรศน์แบบ confocal microscopy ซึ่งเป็นเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงที่ถ่ายภาพวัตถุผ่านรูเข็มขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มความใส คมชัดและความชัดเจนในภาพ ตามคำอธิบายของภาพถ่าย บนเว็บไซต์สำหรับการแข่งขันสำหรับ รางวัล Olympus Global Image of the Year Award

ตัวอ่อนในครรภ์นี้อยู่ในวันที่ 21 ของการพัฒนา ที่มีความยาวเพียง 1.2 นิ้ว (3 เซนติเมตร) ซึ่ง Zuschratter ได้กล่าวกับ Live Science ทางอีเมล
โดยก่อนหน้านี้ หนูได้รับสารทางเคมีเพื่อทำให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อโปร่งแสง ดังนั้นในภาพ สีย้อมเรืองแสงและสารเรืองแสงตามธรรมชาติในเนื้อเยื่อของร่างกาย ทำให้โครงกระดูกของตัวอ่อนในครรภ์และโครงสร้างภายในอื่น ๆ สว่างไสวด้วยแสงเรืองรองอย่างน่าประหลาด


การสร้างภาพของตัวอ่อนในครรภ์ของ  Werner Zuschratter (เยอรมนี)
ที่เกี่ยวข้องกับการรวมการสแกนหลาย ๆ ครั้งในช่วงสเปกตรัมที่แตกต่างกัน
(Cr.ภาพ: Werner Zuschratter / Olympus Image of the Year Award 2020)
ครั้งนี้เป็นปีที่ 2 ของการแข่งขันประจำปีของ Olympus ที่เป็นการเฉลิมฉลองกล้องจุลทรรศน์ที่ไม่ธรรมดาของระบบต่างๆในสิ่งมีชีวิต ซึ่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญของภาพ ได้ทำการประเมินผลสำหรับกระทบทางวิทยาศาสตร์และนำเสนอศิลปะของผู้เข้าแข่งขัน ตลอดจนความสามารถของช่างภาพจากการใช้กล้องจุลทรรศน์นำเสนอภาพ 
 
ด้วยการเลเซอร์สแกนตัวอ่อนในครรภ์หลาย ๆ ครั้ง จากนั้น Zuschratter ก็รวมภาพซ้อนกันในช่วงสเปกตรัมที่แตกต่างกัน ผลที่ได้จะเปิดเผยกระดูกและเนื้อเยื่อในรายละเอียดที่ยอดเยี่ยม ทั้งนี้ การสแกนหนูตัวเล็กๆจะใช้เวลาเกือบ 25 ชั่วโมง และหนึ่งในส่วนที่ยากที่สุดคือ การรักษาตัวอ่อนในครรภ์ที่จะต้องไม่ให้สามารถเคลื่อนไหวมากนัก ในระหว่างกระบวนการจับภาพ 
 
ขั้นตอนหลังการผลิตงานก็เป็นความท้าทายเช่นกัน โดย Zuschratter ใช้ซอฟต์แวร์ในการต่อภาพแต่ละภาพเข้าด้วยกันแบบดิจิทัล เพื่อสร้างภาพที่ได้รับรางวัลนี้ รวมทั้งชิ้นส่วนตัวอย่างเมื่อกว่า 25 ปีก่อน ที่ทีมวิจัยอีกทีมหนึ่งเตรียมไว้เพื่อสำรวจผลกระทบของยา ต่อการพัฒนาของตัวอ่อนในครรภ์
ซึ่ง Zuschratter กล่าวว่า สำหรับการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจให้ตัวอ่อนในครรภ์โปร่งใส และทำให้โครงกระดูกเป็นสีแดง 
 

ในการผลิตวงล้อสีที่สะกดจิตนี้ XinPei Zhang ผู้ชนะรางวัลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้ประกอบภาพปีกจากผีเสื้อหลายสิบชนิด 
(Cr.ภาพ: XinPei Zhang / Olympus Image of the Year Award 2020)
“ เนื้อเยื่ออ่อนอื่น ๆ ทั้งหมดไม่ได้ถูกเสริมแต่งและส่วใหญ่จะโปร่งใส ” Zuschratter อธิบาย และนำตัวอย่างออกจากที่เก็บเพื่อทดสอบเทคนิคใหม่ ๆ
ในการล้างเนื้อเยื่อที่เก็บรักษาไว้ เพื่อเตรียมใช้กับกล้องจุลทรรศน์ และเพื่อตรวจสอบลักษณะของการเรืองแสงตามธรรมชาติของเนื้อเยื่อในร่างกาย
ที่แตกต่างกันในสเปกตรัม เมื่อเวลาผ่านไป

มีอีกหนึ่งภาพที่โดดเด่น ซึ่งเป็นวงล้อที่มีสีสันสดใสชวนให้หลงใหล ที่ทำให้ช่างภาพ XinPei Zhang ได้รับรางวัลระดับภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกจากการประกวด  โดย Zhang สร้างภาพตัดปะที่สดใสจากภาพปีกของผีเสื้อที่มากกว่า 40 ชนิด จากถ่ายภาพปีกที่หลากสีทีละชิ้นแล้วประกอบเป็นวงกลม

สำหรับการแข่งขันในปี 2020 นี้ช่างภาพจาก 61 ประเทศส่งภาพถ่ายกล้องจุลทรรศน์มากกว่า 700 ภาพ โดยภาพถูกนำเสนอไเในระหว่างวันที่
15 ก.ย.2020 ถึงวันที่ 10 ม.ค.2021 (ผู้ชนะจะได้รับแจ้งในเดือน มี.ค.)

ผลงานที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมีเกียรติได้นำเสนอสิ่งมหัศจรรย์เล็ก ๆ มากมายเช่น ผลึกกรดอะมิโนที่ส่องสว่างด้วยแสงโพลาไรซ์ โครงสร้างการผลิตละอองเรณูที่ละเอียดอ่อนในดอกไม้ เส้นใยคอลลาเจนแบบเกลียวในหนังงู และกล้ามเนื้อของหอยเม่น ซึ่งผู้โชคดีเหล่านี้และอื่น ๆ มีให้ดูในเว็บไซต์ของการประกวด




ภาพของ Grigorii Timin (สวิตเซอร์แลนด์) ได้รับรางวัลระดับภูมิภาค EMEA
เส้นใยคอลลาเจนและเซลล์เม็ดสีผิวหนัง ในผิวหนังตัวอ่อนงูบ้านแอฟริกา 



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่