https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kanichikoong&month=11-2008&date=05&group=17&gblog=1&fbclid=IwAR0VMst1l6iWNIvjZmZwSQGI8yugSE-TZGSlD45_bTVpZEoGyfM62oYcM6E
เนี่ยอะครับ ลิงค์ข้างบน จะเจอข้อความข้างล่างนี้
เลยสงสัยว่า พวกอะไรเกี่ยวกับน้ำๆ เช่น สระว่ายนำ้(มีหลอดไฟผนังสระใต้น้ำ) "จากุซซี่" เครื่องทำน้ำอุ่น พวกนี้เซฟทีคัทตกลงกันไฟดูดได้หรือไม่ถ้าไฟรั่วอะครับ ลงน้ำเลยนะไฟฟ้าอะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้กรณีที่เครื่องป้องกันไม่ได้(ไม่ทริป)
1. กรณีที่คนหรือสัตว์เลี้ยงไปสัมผัสกับสายไฟเส้น Line และ Neutral โดยตรง ซึ่งกรณีนี้จะเป็นอันตรายถึงชีวิต กว่า 98% ของเครื่องตัดไฟที่ใช้กันทั่วไปจะไม่ทำงาน เนื่องจากตัวเครื่องตรวจจับไม่ได้ เพราะว่าร่างกายของเราและสัตว์เลี้ยงมีความต้านทานอยู่ การไปสัมผัสกับสายไฟเส้น L และ N โดยตรง เปรียบเสมือนเป็นการครบวงจรตามปกติ ร่างกายของเราจะกลายสถานะเป็นโหลดเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้า กระแสไฟจะไหลผ่านร่างกาย อาจทำให้เสียชีวิตได้ "งานนี้...ตัดก่อนตายก็ช่วยอะไรมากไม่ได้ อาจกลายเป็นตายก่อนตัด หรือแม้แต่จะเตือนก่อนวายวอด ก็คงทำไม่ได้เพราะวอดวายไปก่อนแล้ว"
2. กรณีที่ประมาทหรือเผลอลืม...เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้ กรณีแบบนี้เมื่อเกิดเรื่องขึ้นแล้ว หากมองย้อนกลับไป ยังพบว่ามีหลายๆคนที่มีความเชื่อที่ผิด ไววางใจเชื่อมันในเครื่ิองตัดไฟมากไปจนทำให้ประมาท มีทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ กรณีแบบที่ตั้งใจก็เช่นเปิดพัดลมให้สัตว์เลี้ยงทิ้งไว้ในขณะที่ไม่มีคนอยู่ ส่วนกรณีที่ไม่ตั้งใจก็อย่างการเผลอลืมเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้นานๆขณะที่ไม่มีคนอยู่ จนเครื่องใช้ไฟฟ้าอันนั้นเกิดร้อนและติดไฟขึ้นมา กรณีนี้เครื่องตัดไฟจะยังไม่ทริปเพื่อตัดไฟแบบทันทีทันใด จะต้องรอให้ไฟไหม้จนส่วนที่เป็นฉนวนเสียหาย แล้วเกิดการลัดวงจรก่อนเครื่องตัดไฟจึงจะทริปเพื่อตัดไฟ แต่เมื่อถึงตอนนั้นแล้วไฟอาจลุกลามไปแล้วก็ได้
3. ใช้เครื่องตัดไฟที่มีขนาดไม่สัมพันธ์กับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า การนำเครื่องตัดไฟที่มีพิกัดกระแสใหญ่เกินกว่าขนาดมิเตอร์มาใช้เป็นเมนสวิทช์ของระบบไฟฟ้าในบ้าน เมื่อเกิดกรณีใช้กระแสไฟฟ้าเกิน Over Load เกินกว่าค่าสูงสุดที่มิเตอร์จะรองรับได้ เครื่องตัดไฟจะไม่ทริปจนกว่ากระแสที่ไหลผ่านจะเกินพิกัดของเครื่องตัดไฟ แต่ขณะนั้นมิเตอร์อาจรับไม่ไหวแล้ว สิ่งที่จะตามมาคือความเสียหายที่จะเกิดกับสายเมนและมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้า
ในกรณีที่ต้องการใช้อุปกรณ์ตัดไฟ เป็นเมนเบรกเกอร์ ควรเลือกแบบที่ออกแบบมาให้ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ได้ โดยสังเกตจากค่าทนกระแสลัดวงจร Interrupting Capacity (IC) ค่าดังกล่าวเป็นพิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรค เกอร์นั้นๆ สำหรับระบบไฟฟ้าในบ้านพักอาศัยทั่วไปซึ่งเป็นระบบเฟสเดียว การไฟฟ้ากำหนดค่า IC ของเมนเบรกเกอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 10 kA.
และเลือกพิกัดกระแสให้เหมาะสมกับขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้าน เช่น
มิเตอร์ 5(15) A ขนาดเมนเบรกเกอร์ต้องไม่เกิน 16 A
มิเตอร์ 15(45) A ขนาดเมนเบรกเกอร์ต้องไม่เกิน 45 A (ถ้าไม่มีจริงๆ มาตรฐานการไฟฟ้าฯ อนุโลมให้ใช้สูงสูดไม่เกิน 50 A)
มิเตอร์ 30(100) A ขนาดเมนเบรกเกอร์ต้องไม่เกิน 100 A
หากใครใช้เครื่องตัดไฟแบบที่คุ้นเคยกันดี ที่เป็นตัวเครื่องขนาดใหญ่ ปรับค่าความไว Sensitive ได้ ไม่ว่าจะเป็นของตระกูล Safe XXX หรือตระกูล XXX Cut ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้เขียนไม่แนะนำให้นำมาเป็นเมนของระบบไฟฟ้าโดยตรง เครื่องตัดไฟพวกนี้ ทางที่ดีควรจะต่อใช้งานผ่านเมนสวิทช์ที่เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ธรรมดา หรือเมนที่เป็นสะพานไฟแบบมีฟิวส์ จะดีกว่าการต่อใช้งานเป็นเมนโดยตรง
4. ปรับตั้งตัวตรวจจับกระแสไปที่ตำแหน่ง Direct ซึ่งเป็นการจ่ายไฟโดยไม่ผ่านกลไกลและวงจรที่ทำการตรวจสอบปริมาณที่กระแสไฟฟ้าไหลไปและไหลกลับ ซึ่งวงจรดังกล่าวจะทำการเทียบการไหลออกไปและไหลกลับเข้ามาของกระแสไฟฟ้า หากมีไฟรั่วหรือไฟดูด กระแสไฟฟ้าจะสูญเสียออกไปจากระบบ จำนวนกระแสที่ไหลกลับเข้ามาจะมีน้อยกว่ากระแสที่ไหลออก หากกระแสที่หายออกไป มีปริมาณถึงระดับค่าความไวในการทริป Sensitive ชุดกลไกลภายในจะสั่งการให้เบรกเกอร์ทริปเพื่อตัดไฟ
หากไม่จำเป็นหรือฉุกเฉินจริงๆ อย่าใช้งานในโหมด Direct แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้จริงๆ ก็ต้องระมัดระวังในการใช้ไฟฟ้าให้มากๆ อย่าประมาท เพราะอย่าลืมว่าถ้าไฟรัว เครื่องไม่ตัด
5. ต่อสายไฟเข้าผิดเส้น สินค้าในกลุ่มของอุปกรณ์ป้องกันไฟดูด-ไฟรั่ว ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีปัญหาและข้อบกพร่องที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการต่อสายสลับด้านไฟเข้า ระหว่าง L - N ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาในปัจจุบันบางตัวก็ไม่มีการกำหนดขั้วเอาไว้ ทำให้หลายคนอาจจะสับสนไปบ้าง ซึ่งความจริงแล้วหากผู้ผลิตไม่ระบุมาก็หมายถึงต่อเข้าด้านไหนขั้วไหนก็ได้ ตามแต่จะเห็นสมควร แต่...ในอดีตเครื่องตัดไฟบางรุ่นที่ภายในมีระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเกี่ยวข้อง อาจจะไม่ทำงานหรือทำงานผิดพลาด หากใส่สายไฟเข้าผิดเส้น
6. การติดตั้งเครื่องตัดไฟก่อนเข้าเมนสวิทช์ของบ้านที่มีระบบสายดิน กรณีนี้หากเกิดไฟรั่วแล้วเครื่องอาจจะไม่ตัดกระแส เพราะปริมาณไปที่เข้าและออกจากเครื่องเป็นปกติ การติดตั้งต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟ ถัดจากเมนสวิชต์หรืออุปกรณ์ปลดวงจรหลักของบ้านที่มีระบบสายดิน เท่านั้น
ดูเรื่องราวของเซฟทีคัทในบลอคแก๊งท่านนึงแล้วสงสัยครับ
เนี่ยอะครับ ลิงค์ข้างบน จะเจอข้อความข้างล่างนี้
เลยสงสัยว่า พวกอะไรเกี่ยวกับน้ำๆ เช่น สระว่ายนำ้(มีหลอดไฟผนังสระใต้น้ำ) "จากุซซี่" เครื่องทำน้ำอุ่น พวกนี้เซฟทีคัทตกลงกันไฟดูดได้หรือไม่ถ้าไฟรั่วอะครับ ลงน้ำเลยนะไฟฟ้าอะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้