CHAPTER 1
BANGKOK-HALABALA
หลายคนมีเป้าหมายและความฝัน เราก็เป็นหนึ่งในนั้น เราเป็นเด็กในเมืองคนหนึ่งที่เคยเห็นภาพถ่ายที่มีนกเงือกหลายร้อยตัวบินอพยพผ่านหมอกของผืนป่าฮาลา-บาลา ภาพนั่นยังคงติดตาเรามาตลอด และตั้งเป้าไว้ว่า “สักวันฉันจะไปยืนอยู่ที่นั่นให้ได้” จนวันนี้ได้รับโอกาสจากอาและนักวิจัยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ให้เข้าไปดูการทำงานของนักวิจัย เรื่องราวทั้งหมดเราขอเดินเรื่องผ่านกล้องฟิล์มคู่ใจอย่าง CannonGIII QL พ่วงด้วย film KodakUltramax 400 อยากให้ทุกคนเดินทางไปกับเรานะคะ
อ่าวมะนาว
อ่าวมะนาวสำหรับเรานอกจากจะสวยแล้วยังมีไฮไลท์อีกอย่างคือ “แพะ” ตั้งแต่เรามาที่ 3 จังหวัดเราจะเจอสุนัขน้อยมาก จะเจอบ่อยคือ “แมว” แล้วก็แพะนี้ละ แต่ที่พิเศษกว่าคือ แพะที่นี่ชอบขโมยของกิน ทุกคนอาจจะงงว่า ออ!!แพะหรือลิง แพะที่นี่แสบพอๆกับลิง ลพบุรีเลยละ 555 และมักจะเก่งเรื่องของการคุ้ยขยะกินด้วย ใครมาอ่าวมะนาวที่นราก็อย่าลืมแวะถ่ายรูปกับเขานะคะ เขาเป็นนายแบบและนางแบบกันเก่งมาก 5555
สถานีวิจัยสัตว์ป่าป่าพรุ ป่าฮาลา-บาลา
“ฮาลา หรือ บาลา ที่เขาเรียกกัน”
ผืนป่าฮาลา-บาลาครอบคลุมไปถึง 2 จังหวัดด้วยกันคือ นราและยะลา ทางฝั่งนราจะเรียกว่า “บาลาฮาลา” ส่วนฝั่งยะลาจะเรียกว่า “ฮาลาบาลา” โดยฝั่งที่เราไปเป็นฝั่งอ.แว้ง จ.นราธิวาส โดยมีพี่ๆนักวิจัยที่มีจุดมุ่งหมายทำงานเก็บมูลและขน “นกกก” สายพันธุ์หนึ่งของนกเงือก คนชอบนกเงือกอย่างเรามีหรือจะพลาด
ที่บาลามีฝนตกเกือบทุกวัน ทำให้ที่นี่แทบจะชื้นตลอดเวลา นอกจากชื้นแล้วสิ่งที่ตามมาอีกอย่างคือ “ทาก”ทากที่โคตรโหดบอกเลยว่าใส่ถุงกันทากก็ยังมุดมากัดถึงก้นเราได้ 5555 นอกจากทากที่โหดแล้วก็คงมียุงที่โหดกว่า คือไม่ใช่แค่ ฮาลา-บาลา หรอกที่โหด แต่ยุงโหดทั้ง 3 จังหวัดเลยค่ะ กางเกงยีนส์ยังกัดทะลุเนื้อผ้ามาแล้ว แต่ต้องขอบคุณ “น้ำมันเหลืองของแม่สมถวิล” ช่วยได้เยอะมากๆ 555
ทะเลหมอกสองแผ่นดิน
ทะเลหมอกสองแผ่นดินชื่อก็บอกเป็นนัยไว้แล้วว่าสองแผ่นดิน ที่มีทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียโดยมีพื้นที่ป่าที่ติดกับเรา หากใครดูสารคดีที่ถ่ายทำเมืองไทยทุกคนก็ต้องเจอภาพทะเลหมอกที่มีต้นสยาเด่นแตะตา เราเป็นคนหนึ่งที่ดูสารคดีแล้วถามตลอดว่าที่นี่ที่ไหน? จนวันนี้เราได้คำตอบแล้ว “บาลาฮาลา”
น้ำตกสิรินธร
หลังจากที่เราไปสำรวจโพรงรังนกเงือกกับพี่นักวิจัยที่เก็บมูลและขนนกเงือกเรียบร้อย ระหว่างทางกลับ พี่ๆก็เลยพากันแวะที่น้ำตกสิรินธรก่อนกลับที่พัก น้ำตกที่นี่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของชาวอ.แว้งเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะฤดูไหน จะมีน้ำตลอดทุกฤดู ใครไปนราก็อย่าลืมแวะไปเยี่ยมเขาได้นะคะ ช่วยกันรักษาและดูแลเขาให้อยู่กับเราไปนานๆด้วยนะคะ
สถานีสุไหงโก-ลก
เด็กๆเวลาเราขึ้นรถไฟมักจะเจอป้ายเขียนว่า “สุไหงโก-ลก” เป็นป้ายสุดท้ายของรถไฟสายใต้ ใครจะไปคิดว่าในชีวิตนี้จะได้ไปเหยียบป้ายสถานีสุดท้ายอย่างสุไหงโก-ลก 555 ที่ห่างจากกรุงเทพฯ ตั้ง 1,142 กม.แหนะ 0_0
ป่าพรุโต๊ะแดง
“ป่าพรุที่ไม่ใช่...ป่าชายเลน”
ป่าพรุเป็นป่าดิบที่มีน้ำขังตลอดเวลา ที่นี่ถือว่าเป็นป่าพรุที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบ “นกเงือกดำ”ที่หาได้ยากและแทบจะเหลือน้อยเต็มที ที่นี่มีการสร้างรังเทียมให้นกเงือกดำได้อยู่ด้วยใครไปก็สามารถดูได้นะคะ แต่ต้องเสียงเบาเบากันหน่อยเพราะ นกเงือกเขาตกใจง่าย ;)
วัดชลธาราสิงเห
“ทำไมต้องชื่อ วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”
วัดนี้มีประวัติศาสตร์ คำเล่าจาก “พี่ปุ๊ก” ผู้เชี่ยวชาญด้านนกเงือกและพันธุ์ไม้ต่างๆ พี่ปุ๊กยังคงพูดต่อไปว่า ที่นี่เมื่อสมัยรัชกาลที่ 5 สหภาพมาลายา (มาเลเซียในปัจจุบัน) ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ อังกฤษต้องการรวมนราธิวาสให้เป็นของสหภาพมาลายาด้วย โดยอ้างการปักเขตรัฐกลันตันยาวไปถึงเขตอำเภอเมืองตากใบในปัจจุบัน แต่เนื่องจากร.5 ท่านยึดถือเอาพระพุทธศาสนาและประติมากรรมบ้านทรงไทยของวัดชลธาราสิงเหที่เป็นมรดกคู่บ้านคู่เมืองมานาน ทำให้อังกฤษยอมจำนนต่อเหตุผล ไม่สามารถรวมนราธิวาสเข้ากับสหภาพมาลายาได้ และยังคงเป็นจังหวัดนราธิวาสในประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อฟังเรื่องที่พี่ปุ๊กเล่าจบ โคตรขนลุก เหมือนเราได้มาในที่ที่มีประวัติศาสตร์มานาน ดีใจที่มีโอกาสและมาเห็นด้วยตัวเอง
คุณลุงดูแลพิพิธภัณฑ์บ้านทรงไทยที่มีอายุเกือบ 100 กว่าปี คุณลุงเล่าให้ฟังว่า “ที่นี่ซ่อมมาหลายรอบแล้ว” เล่าพร้อมยิ้มให้กับเรา เมื่อก่อนเป็นกุฏิเจ้าอาวาสแต่ตอนนี้ท่านให้มาทำเป็นพิพิธภัณฑ์แล้ว คุณลุงยังเล่าต่อไปเรื่อยๆ พร้อมรอยยิ้มให้เราตลอด เราเลยขออนุญาตคุณลุงถ่ายรูป หากใครไปวัดอย่าลืมไปคุยกับคุณลุงนะคะคุณลุงคุยสนุกและมีเรื่องเล่าให้ฟังตลอด
ที่จริงเรื่องเล่าของผืนป่าฮาลา-บาลายาวจนแทบจะเล่าไม่หมด ที่นี่สวยและมีเสน่ห์มากๆ พอเราได้มาสัมผัสถึงรู้และเข้าใจถึงความสมบูรณ์ของป่าผืนนี้ มีเรื่องราวเยอะมากจนเราแทบจะไม่ได้จับโทรศัพท์มาเล่นเลย (ไม่มีสัญญาณด้วยมั้ง 555) ได้ทำอะไรหลายอย่าง ได้รู้จักนกเงือกมากขึ้นและรักเขามากกว่าเดิม ได้เดินป่าที่เราฝันมานาน ได้เห็นนกเงือกคู่หนึ่งบินผ่านหน้าไป เขาสวยมากเมื่ออยู่ในบ้านของเขาเอง สำหรับเราคงถึงเวลาบอกลาฮาลา-บาลาและถึงเวลาเดินทางต่อ ขอบคุณหัวหน้าสุเนตร การพันธุ์, หัวหน้าบัง ขอบคุณเจ้าหน้าที่ฮาลา-บาลาทุกคน รักเธอนะฮาลา-บาลา
ที่สุดนราธิวาส
ที่รักฮาลา-บาลา
-สุนทร โต๊ะดำ-
CHAPTER 2
HALABALA-BUDO
“บุหรง ออรัง”
บุหรง แปลว่า นก
ออรัง แปลว่า คน
อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี
“ถ้าเปรียบกรุงเทพฯเป็นบ้านเกิด บูโดก็คงเป็นเมืองนอน”
หลายๆคนคงคุ้นชื่อ “น้ำตกปาโจ” แต่นอกจากที่บูโดจะมีน้ำตกที่สวยแล้ว ที่นี่มีสิ่งมีชีวิตที่มาแล้วต้องเจอ “บุหรง ออรัง ภาษายาวี แปลว่า นกเงือก” คำพูดพร้อมรอยยิ้มของ “พี่ปรีดา บูโด” นักวิจัยโครงการศึกษานิเวศวิทยาของนกเงือก เทือกเขาบูโด ที่ทำงานร่วมกับชาวบ้านที่อดีตเคยเป็นนายพรานขโมยลูกนกเงือกมาก่อน และผันตัวเป็นผู้ช่วยนักวิจัยนกเงือก เราเป็นเด็กในเมืองคนหนึ่งที่เห็นนกเงือกจากในหนังสือและทีวี และไม่มีโอกาสได้เห็นเขาจริงๆเลยสักที แต่ครั้งนี้ได้รับโอกาสตามพี่ๆนักวิจัยเข้าป่าไปดูโพรงรังนกเงือกในธรรมชาติ เรื่องราวของนกเงือกจากเราคงเริ่มต้นจากตรงนี้
เช้าวันที่สองของบูโด วันนี้เราเริ่มเดินป่าสำรวจเก็บมูลและขนนกเงือกกับพี่ๆนักวิจัย โดยจะมีพี่ๆเจ้าของรังที่คอยดูแลและเก็บข้อมูลของนกเงือกมาเดินนำทาง โดยรังที่เราเข้าไปดูเป็น “รังนกกก” ที่มีแม่นกเข้าไปอยู่ในรังเรียบร้อยแล้ว ในระหว่างเดินทางก็จะได้ฟังเรื่องเล่าจากพี่ปรีดา พี่กัญญา และพี่ๆนักวิจัยตลอดทาง ระหว่างทางมีเรื่องราวให้ได้พูดถึงตลอดเวลา มีบ้างช่วงที่ทุกคนเงียบ เงียบจนเราได้ยินเสียงของธรรมชาติ ฟังแล้วโคตรสบายใจเลย
“เหมือนพัดจีนของขงจื๊อมั้ย” คำถามจากพี่ปรีดา “เหมือนค่ะ” เนี่ยเราเอาไปพัดตอนเดินป่าก็ได้นะ ต้องเอาใบที่แข็งๆหน่อยจะได้พัดดี 555 เรารอดตายมาก็เพราะใบพัดจากพี่ปรีดานี้ละ
พวกเราถึงรังนกกกตอนประมาณ 09.00 น. ทุกคนต้องรีบเข้ากำบังเพื่อไม่ให้นกเงือกเห็นเพราะเขาเป็นนกที่สายตาดีและได้ยินเสียงดีมาก พี่ฮันเล่าว่า พ่อนกจะมาป้อนอาหารแม่นกเวลาเดิมเสมอ ทีแรกเราก็แอบหวั่นว่าพ่อนกจะมาหรือเปล่า แต่เรารอไปได้ 1 ชม. พ่อนกก็มาจริงแต่เขาเหมือนได้ยินเสียงจากเราทำให้เขาระวังตัวเองเป็นพิเศษและไม่ยอมป้อนอาหารที่ตัวเองหามา พยายามชะโงกมองหาต้นตอจากเสียงที่ได้ยิน พี่ฮันยังคงเล่าต่อว่า บางทีเขาอาจจะระแวงจนไม่ป้อนอาหารเลย หรือบางทีเขาอาจจะทิ้งรังไปทั้งคู่เลยก็ได้ ถ้าไม่ได้กกไข่ แต่สุดท้ายเขาก็ยอมป้อนอาหารให้แม่นก “เคยเห็นพ่อนกป้อนอาหารแม่นกมั้ย ถ้าเห็นแล้วจะประทับใจ เขาจะคอยๆป้อนทีละเมล็ด” คำพูดทิ้งทายของพี่กัญญาก่อนจะไปเดินดูรังนกเงือก ก็จริงตามที่พี่กัญญาพูด เราได้เห็นแล้วโคตรรู้สึกประทับใจมันทั้งดีใจ มันทั้งภูมิใจ เราได้เห็นเขาอยู่ในบ้านของเขาจริง ไม่รู้สิเราอาจจะบรรยายไม่เห็นภาพ ถ้าคุณมีโอกาสได้เห็นคุณก็จะรู้สึกและสัมผัสมันได้
หลังจากที่พ่อนกป้อนแม่นกเรียบร้อยและบินไปหาอาหารต่อ พี่ฮันและพี่ฟา พาออกมาเก็บมูลและขนนกใต้รังที่ตัวเมียอยู่ ขณะที่ทุกคนกำลังหาๆอยู่ ก็มีมูลประทานจากฟ้า ตกลงมาเกือบโดนหัวพี่แก้ว ที่ทำโปรเจ็คนี้เข้าให้ 5555 พี่แก้วก็เลยได้มูลนกกกกลับไปทำงานวิจัยสบายใจตามระเบียบ
พี่ฟาเจ้าของรังนกกกที่เก่งและชำนาญในการเฝ้าดูนกเงือกเป็นไหนๆ ส่วนพี่ฮัน หญิงแกร่งแห่งบูโด ผู้ที่ปืนรังนกเงือกที่สูงเกือบเท่าตึก 10 ชั้นเพื่อซ่อมรังและติดตั้งรังนกเงือกมาแล้ว ถ้าไม่มีพวกเขา เราเองก็คงไม่ได้เห็นนกเงือกสวยๆแบบนี้ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ
[CR] ค้นหาหัวใจที่ นรา ยะลา ตานี
หลายคนมีเป้าหมายและความฝัน เราก็เป็นหนึ่งในนั้น เราเป็นเด็กในเมืองคนหนึ่งที่เคยเห็นภาพถ่ายที่มีนกเงือกหลายร้อยตัวบินอพยพผ่านหมอกของผืนป่าฮาลา-บาลา ภาพนั่นยังคงติดตาเรามาตลอด และตั้งเป้าไว้ว่า “สักวันฉันจะไปยืนอยู่ที่นั่นให้ได้” จนวันนี้ได้รับโอกาสจากอาและนักวิจัยมูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก ให้เข้าไปดูการทำงานของนักวิจัย เรื่องราวทั้งหมดเราขอเดินเรื่องผ่านกล้องฟิล์มคู่ใจอย่าง CannonGIII QL พ่วงด้วย film KodakUltramax 400 อยากให้ทุกคนเดินทางไปกับเรานะคะ
ทะเลหมอกสองแผ่นดินชื่อก็บอกเป็นนัยไว้แล้วว่าสองแผ่นดิน ที่มีทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียโดยมีพื้นที่ป่าที่ติดกับเรา หากใครดูสารคดีที่ถ่ายทำเมืองไทยทุกคนก็ต้องเจอภาพทะเลหมอกที่มีต้นสยาเด่นแตะตา เราเป็นคนหนึ่งที่ดูสารคดีแล้วถามตลอดว่าที่นี่ที่ไหน? จนวันนี้เราได้คำตอบแล้ว “บาลาฮาลา”
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้