ทำไมไม่มีความเข้มข้นเป็น ปริมาตร/มวล

สงสัยตอนเรียนวิชาเคมี เรื่องความเข้มข้นของสารละลาย(ตัวถูกละลาย/สารละลาย) ว่า ทำไมมีแต่ มวล/มวล , มวล/ปริมาตร  , ปริมาตร/ปริมาตร แต่ทำไมไม่มี ปริมาตร/มวลอ่ะ ไม่เข้าใจจริงๆ หรือคนเค้าไม่นิยมใช้กัน
อมยิ้ม19
นานางงในงง
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เพราะว่า นิยาม การเรียกตัวถูกละลาย หรือตัวทำละลาย จะนิยาม ให้ตัวทำละลายเป็นตัวที่มีสัดส่วนมากกว่าหรือมีเฟสเดียวกันกับสารละลายที่เกิดขึ้น ซึ่งการวัดของแข็งนิยมวัดด้วย มวล ส่วนของเหลวหรือแก๊สนิยมวัดด้วย ปริมาตร ดังนั้น
ของแข็งละลายในของเหลว = สลล ของเหลว --> w/v หรือชั่ง มวลรวม w/w ก็ย่อมได้
ของเหลวละลายในของเหลว = สลล ของเหลว --> v/v
แก๊สละลายในของเหลว = สลล ของเหลว --> w/v
ของแข็งละลายในของแข็ง = สลล ของแข็ง --> w/w
แก๊สละลายในแก๊ส = สลล แก๊ส --> v/v

นอกจากนี้ โดยปกติ เรามักจะสนใจ ตัวถูกละลาย มากกว่า ตัวทำละลาย เพื่อเอาไปคำนวณต่อในปริมาณสารสัมพันธ์ การที่บอกปริมาตรของตัวถูกละลายนั้น ทำให้ยากต่อการแปลงกลับมาเป็น mol ตัวอย่างเช่น หากเป็นแก๊ส ละลายในน้ำ นิยมใช้เป็น mg/L เพราะมีเรื่องของความดันและอุณหภูมิที่มารบกวนสมดุลการละลายได้ การบอกเป็นปริมาตรจึงไม่เวิร์ค แต่น้ำหนักของสารไม่เปลี่ยนแปลงตามความดันและอุณหภูมิ แค่ทราบมวลโมเลกุลก็หาโมล เพื่อไปคำนวณต่อได้เลยครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่