ลองมาวิเคราะห์กันว่า แสดงอย่างไร ถึงจะให้คนดูเชื่อว่า นักแสดงเป็นคนที่มีตัวตนในบทบาทนั้นจริงๆ

ยกตัวอย่างหนังเรื่อง cast away  ทอม แฮ้งค์ ทำให้คนดูเชื่อได้ว่า เขาติดเกาะจริงๆ  

ตอนแรก คิดว่า การโอเวอร์แอค คือจุดสำคัญที่ทำให้หนังไม่สมจริง แต่พอมานึกดู ไม่น่าใช่

อย่าง อีเรียมซิ่ง  เบลล่า โอเวอร์แอคสุดๆ  แต่ดูแล้วปรากฏว่า คนดูเชื่อว่า เบลล่า เป็นอีเรียมเฉยเลย

หรือในเรื่อง พี่มากพระโขนง  ซึ่งเนื้อเรื่องก็รู้ๆกันอยู่ว่าเว่อร์มาก แต่ปรากฏว่า นางเอกสามารถทำให้คนดูเชื่อว่า เธอคือแม่นากจริง (ส่วนนักแสดงคนอื่นทำไม่ได้ แต่แม่นากสามารถแบกหนังได้ทั้งเรื่อง )

ในขณะที่ ไบค์แมน ศักกรินทร์ ตูดหมึก ทุกคนในเรื่องไม่สามารถทำให้คนดูเชื่อว่า เขาอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริง ต่างจากเหมยลี่ ในรถไฟฟ้ามาหานะเธอ ที่ทำให้คนดูเชื่อว่า เธอคือผู้โดยสารรถไฟฟ้าจริง 

อีกเรื่องที่นักแสดงทุกคนสามารถแสดงบทบาทได้สมจริงมากจนเชื่อเลย คือ ละครบุพเพสันนิวาส

หนังของ GDH ยุคก่อน  คนดูเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่ภาพยนตร์นั้นสร้างขึ้น ไม่ว่า เรื่องเพื่อนสนิท แฟนฉัน  รถไฟฟ้ามาหานะเธอ  ฉลาดเกมโกง ฯลฯ 

แต่หลังจากนั้น ความสามารถนี้กลับลดหายลงไปเรื่อยๆในหนังเรื่องต่อๆมาเช่น  ฝากไว้ในกายเธอ  น้องพี่ที่รัก   เฟรนโซน  อ้ายคนหล่อลวง 

จุดนี้เป็นจุดสำคัญมาก ในการสร้างภาพยนตร์  น่าจะมาวิเคราะห์กันว่าเพราะอะไร 

ส่วนตัวของเสนอ  1. สายตา    เพราะดวงตาคือหน้าต่างของดวงใจ ถ้านักแสดงสามารถแสดงออกทางสายตาได้ตามความรู้สึกของบทบาทในภาพยนตร์ จะทำให้คนดูเชื่อ

2. น้ำเสียง  เพราะ คนทั่วไปจะสามารถแยกจากน้ำเสียงได้ว่า คนนี้พูดจริง หรือแกล้งพูด

3. รูปร่าง หน้าตา ที่สอดคล้องกับบทบาท  (อย่างเรื่อง cast away ทอมแฮ้งค์ ยอมอดอาหารถึงหกเดือน เพื่อทำให้ผอมกระหร่อง เหมือนติดเกาะจริงๆ )
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่