สำนักหอสมุดแห่งชาติจัดกิจกรรมสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสร้างสังคมแห่งการอ่าน NLT Edutainment ปีที่ 4 ครั้งที่ 5 การอภิปรายเรื่อง "ไตรโลกา" วิทยากรโดยกนต์ธร เตโชฬาร , ชาคร ขจรไชยกูล และบุญชัย ศรีกนก เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-15.00 น. ณ โถงกลาง ชั้น 1 อาคาร 1 สำนักหอสมุดแห่งชาติ (ท่าวาสุกรี)
“ไตรโลกา” เป็นเรื่องของงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเขียน งานวรรณกรรม วรรณคดีและภาพเขียนในพระอุโบสถ รวมไปถึงงานจิตรกรรมต่างๆ โดยเน้นไปที่การออกแบบเพื่อสร้างตัวละคร (Character Design) เป็นหลัก โดยเอาตัวละครของไทยโบราณที่มีอยู่ในเรื่อง “ไตรภูมิ” มาออกแบบเพื่อลักษณะและรูปลักษณ์ของตัวละครขึ้นมาใหม่
ความเป็นมาของ “ไตรโลกา” โดยหลักนั้นอิงมาจากเรื่อง “ไตรภูมิ” เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แนวคิดว่าไตรภูมิคือภาพผังของจักรวาล แล้วมนุษย์อาศัยอยู่ในจักรวาลนี้ มนุษย์มีขนาดเล็กแค่ไหนเมื่อเทียบกับจักรวาลนี้ แล้วสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลนี้มีขนาดใหญ่แค่ไหน? เช่น ระยะทางหนึ่งโยชน์เท่ากับกี่กิโลเมตร? , คนเราเมื่อเทียบกับครุฑแล้วคนเราขนาดเท่าไหน?, ต้นปาริชาตินไตรภูมิใหญ่แค่ไหน? , เขาพระสุเมรุสูงเท่าไหร่? ฯลฯ จึงได้แนวคิดในการเปรียบเทียบขนาดนี้มาใช้ในการออกแบบเพื่อสร้างตัวละคร (Character Design) ต่าง ๆ ขึ้นมา
แนวคิดในเรื่อง “ไตรโลกา” นี้เป็นการมองถึงมนุษย์ โดยมองว่ามนุษย์ที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลนี้อันยิ่งใหญ่มาก ๆ แต่มนุษย์มีความสามารถในการเอาตัวรอด และมนุษย์เองเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างจักรวาลนี้ขึ้นมา ซึ่งมนุษย์เองจำเป็นต้องทำสิ่งนี้ต่อไป โดยเราต้องเชื่อในพลังของมนุษย์เองด้วยว่ามนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้ชีวิตต่อไปเองได้ด้วยขาทั้งสองขาของมนุษย์เอง
กนต์ธร เตโชฬาร (ฮ่องเต้)
ชาคร ขจรไชยกูล (ซัน)
บุญชัย ศรีกนก (เบ๊บ)
สำหรับประเด็นหลักของ “ไตรโลกา” คือคาแรคเตอร์ดีไซน์ ที่มุ่งเน้นการออกแบบสร้างตัวละครขึ้นมาใหม่ โดยไม่ให้ซ้ำแบบเดิม และไม่เหมือนกับตัวละครที่คนอื่นเคยสร้างขึ้นมาแล้ว โดยเน้นความต่างแตกและความแปลกใหม่บนพื้นฐานความเป็นจริงเดิมของตัวละครต่าง ๆ ในเรื่อง “ไตรภูมิ” อาทิเช่น การออกแบบอสูร (asura) ขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดในเรื่องรามเกียรติ์ , การออกแบบสัตว์และสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในยุคโบราณ เช่น เสือมีเคี้ยวยาว , ช้างแมมมอธ , ออกแบบเสือ 14 ประเภท เช่น ไกรสรราชสีห์ ติณราชสีห์ บัณฑุราชสีห์ และกาฬราสีห์ , ออกแบบนาคตามแนวคิดใหม่ , ออกแบบครุฑตามแนวคิดใหม่ , ออกแบบตัวเหมวาริน ซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายที่อาศัยอยู่ในน้ำ , ออกแบบตัวกุญชรวารี , ออกแบบตัวอัสดรวิหค , ออกแบบนกทัณฑิมา , ออกแบบตัวไกรสรคาวี ฯลฯ
เพื่อความเข้าใจในเรื่อง “ไตรโลกา” ให้มากขึ้น โปรดชมคลิปบันทึกการอภิปรายเรื่อง “ไตรโลกา” ตามลิงค์ด้านล่างนี้
@@@@@@@@@
การอภิปรายเรื่อง "ไตรโลกา"
@@@@@@@@@@
ภาพประกอบการอภิปราย
(ผมถ่ายจากจอทีวีข้างเวที อาจจะไม่ชัดและเอียงไปบ้าง ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ)
ภาพบรรยากาศในงานฯ
สำหรับท่านใดที่สนใจเรื่อง "ไตรโลกา" นี้ ทางผู้จัดงานแจ้งว่า จะมีงานนิทรรศการเรื่อง "ไตรโลกา" นี้อีกครั้งในเดือนตุลาคม 2564 ที่มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย) ใครเป็นแฟนคลับก็รอติดตามชมกันได้ครับ
สำหรับกระทู้นี้ผมต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ขอให้ท่านมีความสุขมาก ๆ ครับ
ไตรโลกา : การออกแบบสร้างตัวละคร (Character Design) ของคนรุ่นใหม่
ความเป็นมาของ “ไตรโลกา” โดยหลักนั้นอิงมาจากเรื่อง “ไตรภูมิ” เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้แนวคิดว่าไตรภูมิคือภาพผังของจักรวาล แล้วมนุษย์อาศัยอยู่ในจักรวาลนี้ มนุษย์มีขนาดเล็กแค่ไหนเมื่อเทียบกับจักรวาลนี้ แล้วสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาลนี้มีขนาดใหญ่แค่ไหน? เช่น ระยะทางหนึ่งโยชน์เท่ากับกี่กิโลเมตร? , คนเราเมื่อเทียบกับครุฑแล้วคนเราขนาดเท่าไหน?, ต้นปาริชาตินไตรภูมิใหญ่แค่ไหน? , เขาพระสุเมรุสูงเท่าไหร่? ฯลฯ จึงได้แนวคิดในการเปรียบเทียบขนาดนี้มาใช้ในการออกแบบเพื่อสร้างตัวละคร (Character Design) ต่าง ๆ ขึ้นมา
แนวคิดในเรื่อง “ไตรโลกา” นี้เป็นการมองถึงมนุษย์ โดยมองว่ามนุษย์ที่เป็นคนตัวเล็ก ๆ ในจักรวาลนี้อันยิ่งใหญ่มาก ๆ แต่มนุษย์มีความสามารถในการเอาตัวรอด และมนุษย์เองเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมสร้างจักรวาลนี้ขึ้นมา ซึ่งมนุษย์เองจำเป็นต้องทำสิ่งนี้ต่อไป โดยเราต้องเชื่อในพลังของมนุษย์เองด้วยว่ามนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถใช้ชีวิตต่อไปเองได้ด้วยขาทั้งสองขาของมนุษย์เอง
เพื่อความเข้าใจในเรื่อง “ไตรโลกา” ให้มากขึ้น โปรดชมคลิปบันทึกการอภิปรายเรื่อง “ไตรโลกา” ตามลิงค์ด้านล่างนี้