กล่องใส่อาหาร หรือ กล่องเก็บอาหาร เป็นภาชนะพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของทุกครัวเรือน นอกจากใช้จัดเก็บของสดหรือของแห้งต่างๆ แล้ว เรายังใช้ กล่องเก็บอาหาร เหล่านี้เก็บอาหารที่รับประทานไม่หมด หรือใช้บรรจุอาหารเพื่อนำไปรับประทานที่ทำงาน ซึ่งโดยปกติ เรามักอุ่นอาหารในกล่องเก็บอาหารด้วย เตาไมโครเวฟ แต่ทราบไหมว่าวัสดุบางชนิดอาจปล่อยสารเคมีอันตรายเมื่อถูกความร้อน ทำให้สารเคมีหลุดไปปนเปื้อนอาหารได้ ดังนั้นการเลือกซื้อกล่องเก็บอาหารที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม
HomeGuru ขอพาคุณไปรู้จักวัสดุต่างๆ และการเลือกซื้อกล่องเก็บอาหารปลอดสารอันตราย เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว
วัสดุใช้ผลิต กล่องใส่อาหาร
หัวใจสำคัญในการเลือกซื้อ กล่องเก็บอาหาร ปลอดสารอันตราย หรือประเภท กล่องเก็บความร้อน คือการทราบถึงวัสดุที่นำมาใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร ปัจจุบันพลาสติกและแก้ว ถือเป็นวัสดุหลักที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร สำหรับพลาสติกนั้น มีการใช้พลาสติกหลากชนิดในการผลิตกล่องเก็บอาหาร และภาชนะใส่อาหารชั่วคราวต่างๆ สำหรับคนทั่วไปแล้ว การดูด้วยตาหรือใช้มือสัมผัสเนื้อพลาสติกอาจไม่สามารถแยกแยะประเภทของพลาสติกได้ ดังนั้นหากมีการนำไปใช้เก็บอาหารหรืออุ่นอาหารโดยไม่ทราบประเภทของพลาสติก อาจมีสารเคมีปนเปื้อนกับอาหารได้ เรามาดูกันว่า พลาสติกและแก้วชนิดต่างๆ ที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหารในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
1. ผลิต กล่องใส่อาหาร ด้วย พลาสติก
พลาสติกที่นิยมนำมาใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องพลาสติกใส่อาหาร และภาชนะใส่อาหารชั่วคราวนั้น มีอยู่ทั้งสิ้น 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต่างกัน หากนำมาใช้งานผิดประเภท พลาสติกมีโอกาสเสียหายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ การสังเกตวัสดุประเภทพลาสติกนั้น ให้มองหาสัญลักษณ์ลูกศรสามแถบในทรงสามเหลี่ยม มีตัวเลขตรงกลาง และอาจมีอักษรระบุชนิดของพลาสติก สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์สากลที่บอกประเภทของพลาสติกในการแยกหมวดหมู่เพื่อการรีไซเคิลนั่นเอง
1.1 พลาสติกโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต – PETE /PET (Polyethylene Terephthalate)
กล่องพลาสติกใส่อาหาร PETE มีความใสของเนื้อพลาสติกที่มองเห็นอาหารหรือส่วนผสมภายในได้ ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวทนทานแต่น้ำหนักเบาและไม่แตกง่าย จึงนิยมใช้ทดแทนแก้วเพื่อบรรจุของเหลว เช่น น้ำดื่ม หรือเครื่องปรุงรสต่างๆ พลาสติก PETE ทนทานต่อความร้อนได้ประมาณ 70 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาใช้เป็น กล่องใส่อาหาร แบบใช้ครั้งเดียว แม้ว่าจะทนความร้อนได้ แต่หากนำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟซึ่งโดยทั่วไปให้ความร้อนในการอุ่นอาหารมากกว่า 90 องศาเซลเซียส จะทำให้พลาสติกบิดตัวหรือละลายได้
เพื่อช่วยลดขยะพลาสติก เราสามารถนำขวดและ กล่องใส่อาหารพลาสติก PETE แบบใช้ครั้งเดียวมาล้างทำความสะอาดและใช้ซ้ำได้ระยะหนึ่ง แต่การใช้งานและล้างบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ สารเคมีในเนื้อพลาสติกอาจหลุดปนเปื้อนอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะพลาสติกที่เริ่มขุ่นมัวหรือมีรอยแตกร้าว ควรเลิกใช้และนำไปรีไซเคิล
สำหรับกล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องเก็บความร้อน ที่ใช้งานระยะยาวนั้น จะใช้พลาสติก PETE ที่มีความหนามากขึ้น ทนทานและน้ำหนักเบา คงคุณสมบัติความใสช่วยให้มองเห็นอาหารภายในได้ อย่างไรก็ดี ไม่ควรนำ กล่องพลาสติกใส่อาหาร ชนิดนี้ไปอุ่นร้อนด้วยเตาไมโครเวฟ ขวด หรือ กล่องเก็บอาหารพลาสติก PETE จะมีอักษร PETE และหมายเลข 1 อยู่ที่ตัวภาชนะ หรืออาจอยู่ที่ฉลากสินค้า
1.2 พลาสติกโพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง – HDPE (High-Density Polyethylene)
พลาสติกประเภทนี้มีความปลอดภัยในการใช้เก็บอาหารและเครื่องดื่ม ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี มีความเหนียวทนทาน มีความโดดเด่นทนทานต่อความเย็นต่ำถึงติดลบ 40 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาใช้บรรจุอาหารที่แช่เย็น ข้อด้อยของพลาสติก HDPE คือมีสีขาวขุ่นมัว จึงไม่นิยมนำมาผลิต กล่องอาหาร หรือ กล่องใส่ข้าว ที่จำเป็นต้องมองเห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน และยังดูไม่สวยงาม เราจะเห็นพลาสติก HDPE ผลิตเป็นขวดนม แกลลอนบรรจุน้ำ ขวดโหล รวมถึงขวดบรรจุยา และอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งมีการผสมสีลงให้เป็นสีขาวล้วนหรือสีอื่นๆ
ขวดหรือกล่องพลาสติก HDPE หรือ กล่องใส่ข้าว ที่มีความหนาพิเศษจะทนความร้อนได้สูงมากถึง 120 องศาเซลเซียส แต่พลาสติกประเภทนี้ไม่สามารถใช้อุ่นร้อนในเตาไม่โครเวฟได้ อาจอ่อนตัวหรือละลาย พลาสติกประเภทนี้จะตีตราสัญลักษณ์ HDPE และหมายเลข 2
1.3 พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ – LDPE (Low-Density Polyethylene)
พลาสติก LDPE เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม ส่วนใหญ่มักใช้ผลิตถุงใส่อาหารต่างๆ แต่ก็ยังมีการผลิตใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เครื่องปรุงส่วนผสมในรูปแบบของขวดนิ่มชนิดบีบที่นิยมใช้แบ่งปริมาณซอสหรือเครื่องปรุงต่างๆ เพื่อความสะดวกในการประกอบอาหาร พลาสติกชนิดนี้ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี จึงเหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องเก็บรักษาส่วนผสมอาหารเป็นเวลานาน พลาสติก LDPE สามารถอุ่นร้อนในเตาไมโครเวฟได้ แต่ต้องระวังการใช้ความร้อนที่สูงหรือใช้เวลานาน เนื่องจากเนื้อพลาสติกที่มีความบางซึ่งอาจละลายได้ง่าย ภาชนะที่ใช้พลาสติกประเภทนี้ตีตราสัญลักษณ์ LDPE และหมายเลข 4]
1.4 พลาสติกโพลีโพรพิลีน – PP (Polypropylene)
พลาสติกชนิดนี้จัดเป็นพลาสติกยอดนิยมในการใช้ทำกล่องเก็บอาหารปลอดสารพิษ ความโดดเด่นของพลาสติกประเภทนี้คือมีความเหนียว ทนทาน ไม่เปราะแตกร้าวได้ง่าย มีคุณสมบัติทนความร้อนมากถึง 140 องศาเซลเซียส ซึ่งสำหรับเตาไมโครเวฟทั่วไปแล้วจะทำความร้อนไม่เกิน 125 องศาเซลเซียส จึงสามารถใช้อุ่นอาหารด้วย ไมโครเวฟ ได้ และเนื้อพลาสติกจะไม่ร้อนอีกด้วย กล่องพลาสติก PP เหมาะสำหรับใช้เก็บอาหารเปียกและแห้ง เหมาะสำหรับกล่องที่ใช้อุ่นอาหารบ่อยครั้งสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีการใช้พลาสติกประเภทนี้ทำ กล่องใส่อาหาร แบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งตัวกล่องมีความหนาของพลาสติกน้อยกว่ากล่องเก็บอาหารทั่วไป เช่น กล่องใส่อาหารสำเร็จรูป หรือ กล่องใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ที่สามารถนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
อย่างไรก็ดี พลาสติก PP นี้อาจเสื่อมสภาพหลังการใช้งานยาวนาน หากพื้นผิวเนื้อพลาสติกมีการหลุดร่อน หรือมีการขูดข่วนจากการล้างทำความสะอาด ใครหลีกเลี่ยงการใช้งานต่อ เพราะสารเคมีในเนื้อพลาสติกอาจออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ กล่องเก็บอาหารที่ผลิตจากพลาสติกประเภทนี้ จะมีตราตราสัญลักษณ์ PP และหมายเลข 5
1.5 พลาสติกประเภทอื่นๆ
สำหรับพลาสติกในกลุ่มนี้ที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร โดยส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกประเภท โพลีคาร์บอเนต (PC) อะคริลิค และไทรทัน (Tritan) พลาสติกประเภทที่กล่าวมานี้มีความโดดเด่นเรื่องความใสมันวาวคล้ายแก้วแลดูสวยงาม และช่วยให้มองเห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายใน เป็นพลาสติกเนื้อแข็งคงรูปผิวเรียบ จึงทำความสะอาดได้หมดจรด มีคุณสมบัติแข็งทนทาน ทนความร้อนได้สูง และทนต่อความเย็นได้ดี จึงนิยมใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร แต่หากนำไปใช้อุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟแล้ว พลาสติกอาจอ่อนตัวเสียทรงหรือละลายได้
สำหรับพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนตที่ในอดีตนั้นมักมีส่วนผสมของสารเคมี Bisphenol A หรือ BPA ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันสามารถผลิตกล่องเก็บอาหารปลอดสาร BPA หากคุณคิดว่าจะเลือกใช้กล่องเก็บอาหารโพลีคาร์บอเนต ให้ตรวจหาสัญลักษณ์ BPA free บนตัวกล่องหรือฉลาก และควรเลือกซื้อเฉพาะแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ภาชนะพลาสติกในกลุ่มนี้มีตราสัญลักษณ์ OTHER และหมายเลข 7
2. ผลิต กล่องใส่อาหาร ด้วย แก้ว
แก้วจัดเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการจัดเก็บอาหาร เพราะคุณสมบัติที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี ทนต่อความร้อนและความเย็นได้ดี กล่องเก็บความร้อน มีผิวที่เรียบเงาวาว ทำความสะอาดได้ง่ายและหมดจรด เทคโนโลยีการผลิตแก้วที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แก้วที่ใช้เป็นภาชนะหรือกล่องเก็บอาหารที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันได้ เราสามารถแช่ภาชนะแก้วในช่องแข็งแล้วนำไปอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟได้ทันทีโดยไม่แตกร้าว
ปัจจุบันมีการออกแบบกล่องเก็บอาหารปลอดสารที่ทำจากแก้ว โดยฝาปิดทำจากพลาสติกไร้สารพิษเพื่อให้ปิดได้แนบสนิท กล่องเก็บอาหารแก้วช่วยลดโอกาสที่อาหารสัมผัสพลาสติกได้มากกว่าการใช้กล่องพลาสติก อย่างไรก็ดี ข้อด้อยของกล่องเก็บอาหารแก้วก็มี แก้วมีน้ำหนักมากกว่าพลาสติก และมีโอกาสแตกเสียหายได้หากตกหล่น หรือถูกกระแทกรุนแรง สำหรับผู้ที่ห่วงใยสุขภาพจริงจังแล้ว ถือเป็นทางเลือกที่ลงตัวทั้งในด้านความปลอดภัยจากสารพิษ และความสะดวกสบายในการใช้งาน
ท้ายสุดนี้ แม้ว่าพลาสติกหลายชนิดมีความทนทานต่อความร้อน แต่หากผ่านการใช้งานอุ่นร้อนเป็นประจำ โครงสร้างทางเคมีของพลาสติกมีโอกาสเสื่อมสภาพได้ โดยที่ยังดูมีสภาพดี ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ หากคุณอุ่นอาหารใน กล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องใส่อาหาร หรือ กล่องอาหาร พลาสติกเป็นประจำทุกวัน
HomeGuru ขอแนะนำว่าให้เปลี่ยนใบใหม่ทุกๆ 1 ปี สำหรับกล่องเก็บอาหารใบเก่าที่ยังคงมีสภาพดีนั้นก็ไม่ต้องทิ้ง สามารถนำไปใช้งานเก็บอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย หากต้องการยืดอายุกล่องเก็บอาหารพลาสติกทุกชนิดแล้ว ให้ถ่ายอาหารที่เก็บในกล่องใส่ภาชนะแก้วหรือเซรามิก แล้วจึงอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ ถือเป็นการอุ่นอาหารที่แน่ใจว่าปลอดภัยที่สุด
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง
http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง
https://bit.ly/3dQm4XE
กล่องใส่อาหาร หรือ กล่องเก็บอาหาร เลือกอย่างไรให้ปลอดภัย
กล่องใส่อาหาร หรือ กล่องเก็บอาหาร เป็นภาชนะพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันของทุกครัวเรือน นอกจากใช้จัดเก็บของสดหรือของแห้งต่างๆ แล้ว เรายังใช้ กล่องเก็บอาหาร เหล่านี้เก็บอาหารที่รับประทานไม่หมด หรือใช้บรรจุอาหารเพื่อนำไปรับประทานที่ทำงาน ซึ่งโดยปกติ เรามักอุ่นอาหารในกล่องเก็บอาหารด้วย เตาไมโครเวฟ แต่ทราบไหมว่าวัสดุบางชนิดอาจปล่อยสารเคมีอันตรายเมื่อถูกความร้อน ทำให้สารเคมีหลุดไปปนเปื้อนอาหารได้ ดังนั้นการเลือกซื้อกล่องเก็บอาหารที่ถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม HomeGuru ขอพาคุณไปรู้จักวัสดุต่างๆ และการเลือกซื้อกล่องเก็บอาหารปลอดสารอันตราย เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว
วัสดุใช้ผลิต กล่องใส่อาหาร
หัวใจสำคัญในการเลือกซื้อ กล่องเก็บอาหาร ปลอดสารอันตราย หรือประเภท กล่องเก็บความร้อน คือการทราบถึงวัสดุที่นำมาใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร ปัจจุบันพลาสติกและแก้ว ถือเป็นวัสดุหลักที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร สำหรับพลาสติกนั้น มีการใช้พลาสติกหลากชนิดในการผลิตกล่องเก็บอาหาร และภาชนะใส่อาหารชั่วคราวต่างๆ สำหรับคนทั่วไปแล้ว การดูด้วยตาหรือใช้มือสัมผัสเนื้อพลาสติกอาจไม่สามารถแยกแยะประเภทของพลาสติกได้ ดังนั้นหากมีการนำไปใช้เก็บอาหารหรืออุ่นอาหารโดยไม่ทราบประเภทของพลาสติก อาจมีสารเคมีปนเปื้อนกับอาหารได้ เรามาดูกันว่า พลาสติกและแก้วชนิดต่างๆ ที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหารในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
1. ผลิต กล่องใส่อาหาร ด้วย พลาสติก
พลาสติกที่นิยมนำมาใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องพลาสติกใส่อาหาร และภาชนะใส่อาหารชั่วคราวนั้น มีอยู่ทั้งสิ้น 5 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต่างกัน หากนำมาใช้งานผิดประเภท พลาสติกมีโอกาสเสียหายและส่งผลเสียต่อสุขภาพ การสังเกตวัสดุประเภทพลาสติกนั้น ให้มองหาสัญลักษณ์ลูกศรสามแถบในทรงสามเหลี่ยม มีตัวเลขตรงกลาง และอาจมีอักษรระบุชนิดของพลาสติก สัญลักษณ์นี้เป็นสัญลักษณ์สากลที่บอกประเภทของพลาสติกในการแยกหมวดหมู่เพื่อการรีไซเคิลนั่นเอง
1.1 พลาสติกโพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต – PETE /PET (Polyethylene Terephthalate)
กล่องพลาสติกใส่อาหาร PETE มีความใสของเนื้อพลาสติกที่มองเห็นอาหารหรือส่วนผสมภายในได้ ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวทนทานแต่น้ำหนักเบาและไม่แตกง่าย จึงนิยมใช้ทดแทนแก้วเพื่อบรรจุของเหลว เช่น น้ำดื่ม หรือเครื่องปรุงรสต่างๆ พลาสติก PETE ทนทานต่อความร้อนได้ประมาณ 70 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาใช้เป็น กล่องใส่อาหาร แบบใช้ครั้งเดียว แม้ว่าจะทนความร้อนได้ แต่หากนำไปอุ่นในเตาไมโครเวฟซึ่งโดยทั่วไปให้ความร้อนในการอุ่นอาหารมากกว่า 90 องศาเซลเซียส จะทำให้พลาสติกบิดตัวหรือละลายได้
เพื่อช่วยลดขยะพลาสติก เราสามารถนำขวดและ กล่องใส่อาหารพลาสติก PETE แบบใช้ครั้งเดียวมาล้างทำความสะอาดและใช้ซ้ำได้ระยะหนึ่ง แต่การใช้งานและล้างบ่อยครั้งอาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ สารเคมีในเนื้อพลาสติกอาจหลุดปนเปื้อนอาหารได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะพลาสติกที่เริ่มขุ่นมัวหรือมีรอยแตกร้าว ควรเลิกใช้และนำไปรีไซเคิล
สำหรับกล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องเก็บความร้อน ที่ใช้งานระยะยาวนั้น จะใช้พลาสติก PETE ที่มีความหนามากขึ้น ทนทานและน้ำหนักเบา คงคุณสมบัติความใสช่วยให้มองเห็นอาหารภายในได้ อย่างไรก็ดี ไม่ควรนำ กล่องพลาสติกใส่อาหาร ชนิดนี้ไปอุ่นร้อนด้วยเตาไมโครเวฟ ขวด หรือ กล่องเก็บอาหารพลาสติก PETE จะมีอักษร PETE และหมายเลข 1 อยู่ที่ตัวภาชนะ หรืออาจอยู่ที่ฉลากสินค้า
1.2 พลาสติกโพลีเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง – HDPE (High-Density Polyethylene)
พลาสติกประเภทนี้มีความปลอดภัยในการใช้เก็บอาหารและเครื่องดื่ม ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี มีความเหนียวทนทาน มีความโดดเด่นทนทานต่อความเย็นต่ำถึงติดลบ 40 องศาเซลเซียส จึงนิยมนำมาใช้บรรจุอาหารที่แช่เย็น ข้อด้อยของพลาสติก HDPE คือมีสีขาวขุ่นมัว จึงไม่นิยมนำมาผลิต กล่องอาหาร หรือ กล่องใส่ข้าว ที่จำเป็นต้องมองเห็นสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน และยังดูไม่สวยงาม เราจะเห็นพลาสติก HDPE ผลิตเป็นขวดนม แกลลอนบรรจุน้ำ ขวดโหล รวมถึงขวดบรรจุยา และอาหารเสริมต่างๆ ซึ่งมีการผสมสีลงให้เป็นสีขาวล้วนหรือสีอื่นๆ
ขวดหรือกล่องพลาสติก HDPE หรือ กล่องใส่ข้าว ที่มีความหนาพิเศษจะทนความร้อนได้สูงมากถึง 120 องศาเซลเซียส แต่พลาสติกประเภทนี้ไม่สามารถใช้อุ่นร้อนในเตาไม่โครเวฟได้ อาจอ่อนตัวหรือละลาย พลาสติกประเภทนี้จะตีตราสัญลักษณ์ HDPE และหมายเลข 2
1.3 พลาสติกโพลีเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ – LDPE (Low-Density Polyethylene)
พลาสติก LDPE เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม ส่วนใหญ่มักใช้ผลิตถุงใส่อาหารต่างๆ แต่ก็ยังมีการผลิตใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับใส่เครื่องปรุงส่วนผสมในรูปแบบของขวดนิ่มชนิดบีบที่นิยมใช้แบ่งปริมาณซอสหรือเครื่องปรุงต่างๆ เพื่อความสะดวกในการประกอบอาหาร พลาสติกชนิดนี้ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี จึงเหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องเก็บรักษาส่วนผสมอาหารเป็นเวลานาน พลาสติก LDPE สามารถอุ่นร้อนในเตาไมโครเวฟได้ แต่ต้องระวังการใช้ความร้อนที่สูงหรือใช้เวลานาน เนื่องจากเนื้อพลาสติกที่มีความบางซึ่งอาจละลายได้ง่าย ภาชนะที่ใช้พลาสติกประเภทนี้ตีตราสัญลักษณ์ LDPE และหมายเลข 4]
1.4 พลาสติกโพลีโพรพิลีน – PP (Polypropylene)
พลาสติกชนิดนี้จัดเป็นพลาสติกยอดนิยมในการใช้ทำกล่องเก็บอาหารปลอดสารพิษ ความโดดเด่นของพลาสติกประเภทนี้คือมีความเหนียว ทนทาน ไม่เปราะแตกร้าวได้ง่าย มีคุณสมบัติทนความร้อนมากถึง 140 องศาเซลเซียส ซึ่งสำหรับเตาไมโครเวฟทั่วไปแล้วจะทำความร้อนไม่เกิน 125 องศาเซลเซียส จึงสามารถใช้อุ่นอาหารด้วย ไมโครเวฟ ได้ และเนื้อพลาสติกจะไม่ร้อนอีกด้วย กล่องพลาสติก PP เหมาะสำหรับใช้เก็บอาหารเปียกและแห้ง เหมาะสำหรับกล่องที่ใช้อุ่นอาหารบ่อยครั้งสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ยังมีการใช้พลาสติกประเภทนี้ทำ กล่องใส่อาหาร แบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งตัวกล่องมีความหนาของพลาสติกน้อยกว่ากล่องเก็บอาหารทั่วไป เช่น กล่องใส่อาหารสำเร็จรูป หรือ กล่องใส่อาหารแบบเดลิเวอรี่ ที่สามารถนำไปอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
อย่างไรก็ดี พลาสติก PP นี้อาจเสื่อมสภาพหลังการใช้งานยาวนาน หากพื้นผิวเนื้อพลาสติกมีการหลุดร่อน หรือมีการขูดข่วนจากการล้างทำความสะอาด ใครหลีกเลี่ยงการใช้งานต่อ เพราะสารเคมีในเนื้อพลาสติกอาจออกมาปนเปื้อนกับอาหารได้ กล่องเก็บอาหารที่ผลิตจากพลาสติกประเภทนี้ จะมีตราตราสัญลักษณ์ PP และหมายเลข 5
1.5 พลาสติกประเภทอื่นๆ
สำหรับพลาสติกในกลุ่มนี้ที่ใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร โดยส่วนใหญ่จะเป็นพลาสติกประเภท โพลีคาร์บอเนต (PC) อะคริลิค และไทรทัน (Tritan) พลาสติกประเภทที่กล่าวมานี้มีความโดดเด่นเรื่องความใสมันวาวคล้ายแก้วแลดูสวยงาม และช่วยให้มองเห็นสิ่งของที่บรรจุอยู่ภายใน เป็นพลาสติกเนื้อแข็งคงรูปผิวเรียบ จึงทำความสะอาดได้หมดจรด มีคุณสมบัติแข็งทนทาน ทนความร้อนได้สูง และทนต่อความเย็นได้ดี จึงนิยมใช้ผลิตกล่องเก็บอาหาร แต่หากนำไปใช้อุ่นร้อนด้วยไมโครเวฟแล้ว พลาสติกอาจอ่อนตัวเสียทรงหรือละลายได้
สำหรับพลาสติกประเภทโพลีคาร์บอเนตที่ในอดีตนั้นมักมีส่วนผสมของสารเคมี Bisphenol A หรือ BPA ซึ่งเป็นสารอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันสามารถผลิตกล่องเก็บอาหารปลอดสาร BPA หากคุณคิดว่าจะเลือกใช้กล่องเก็บอาหารโพลีคาร์บอเนต ให้ตรวจหาสัญลักษณ์ BPA free บนตัวกล่องหรือฉลาก และควรเลือกซื้อเฉพาะแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ ภาชนะพลาสติกในกลุ่มนี้มีตราสัญลักษณ์ OTHER และหมายเลข 7
2. ผลิต กล่องใส่อาหาร ด้วย แก้ว
แก้วจัดเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับการจัดเก็บอาหาร เพราะคุณสมบัติที่ไม่เกิดปฏิกิริยาเมื่อสัมผัสสารเคมี ทนต่อความร้อนและความเย็นได้ดี กล่องเก็บความร้อน มีผิวที่เรียบเงาวาว ทำความสะอาดได้ง่ายและหมดจรด เทคโนโลยีการผลิตแก้วที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้แก้วที่ใช้เป็นภาชนะหรือกล่องเก็บอาหารที่มีความแข็งแกร่งมากขึ้น ทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันได้ เราสามารถแช่ภาชนะแก้วในช่องแข็งแล้วนำไปอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟได้ทันทีโดยไม่แตกร้าว
ปัจจุบันมีการออกแบบกล่องเก็บอาหารปลอดสารที่ทำจากแก้ว โดยฝาปิดทำจากพลาสติกไร้สารพิษเพื่อให้ปิดได้แนบสนิท กล่องเก็บอาหารแก้วช่วยลดโอกาสที่อาหารสัมผัสพลาสติกได้มากกว่าการใช้กล่องพลาสติก อย่างไรก็ดี ข้อด้อยของกล่องเก็บอาหารแก้วก็มี แก้วมีน้ำหนักมากกว่าพลาสติก และมีโอกาสแตกเสียหายได้หากตกหล่น หรือถูกกระแทกรุนแรง สำหรับผู้ที่ห่วงใยสุขภาพจริงจังแล้ว ถือเป็นทางเลือกที่ลงตัวทั้งในด้านความปลอดภัยจากสารพิษ และความสะดวกสบายในการใช้งาน
ท้ายสุดนี้ แม้ว่าพลาสติกหลายชนิดมีความทนทานต่อความร้อน แต่หากผ่านการใช้งานอุ่นร้อนเป็นประจำ โครงสร้างทางเคมีของพลาสติกมีโอกาสเสื่อมสภาพได้ โดยที่ยังดูมีสภาพดี ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ หากคุณอุ่นอาหารใน กล่องเก็บอาหาร หรือ กล่องใส่อาหาร หรือ กล่องอาหาร พลาสติกเป็นประจำทุกวัน HomeGuru ขอแนะนำว่าให้เปลี่ยนใบใหม่ทุกๆ 1 ปี สำหรับกล่องเก็บอาหารใบเก่าที่ยังคงมีสภาพดีนั้นก็ไม่ต้องทิ้ง สามารถนำไปใช้งานเก็บอาหารทั่วไปได้อย่างปลอดภัย หากต้องการยืดอายุกล่องเก็บอาหารพลาสติกทุกชนิดแล้ว ให้ถ่ายอาหารที่เก็บในกล่องใส่ภาชนะแก้วหรือเซรามิก แล้วจึงอุ่นด้วยเตาไมโครเวฟ ถือเป็นการอุ่นอาหารที่แน่ใจว่าปลอดภัยที่สุด
HomeGuru by HomePro
อุ่นใจทุกเรื่องบ้านไปกับโฮมโปร และติดตามเคล็ดลับดีๆ เพื่อบ้านได้ทาง http://bit.ly/HomeGuru_Homepro
และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาเรื่องบ้านกับ HomeGuru เพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/3dQm4XE