JJNY : แห่แชร์!ผลงานผู้ช่วยคณบดีวิจิตรศิลป์มช.│‘ทวี’แฉซ้ำจีที 200│คลังเผยรอศก.ดีขึ้นเพิ่มจัดเก็บรายได้│อิสระอัดส.ว.บางคน

แห่แชร์! ผลงานผู้ช่วยคณบดี วิจิตรศิลป์ มช. พบใช้ธงชาติจัดแสดงมีคำด่า ' -ีปู'
https://www.matichon.co.th/politics/news_2640654
 

 
แห่แชร์! ผลงานผู้ช่วยคณบดี วิจิตรศิลป์ มช. พบใช้ธงชาติจัดแสดงมีคำด่า ‘ -ีปู’
 
จากกรณีที่มีผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำการเก็บรื้อถอนงานศิลปะของนักศึกษา ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 น. ที่ผ่านมา จนเกิดวิวาทะดุเดือด เป็นที่ถกเถียงว่าการกระทำของผู้บริหารคณะเป็นการคุกคามเสรีภาพทางศิลปะและนักศึกษาหรือไม่
 
ก่อนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะออกแถลงการณ์ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการใช้สถานที่โดยไม่ได้รับอนุญาติ การกระทำที่ไม่เหมาะสม เข้าข่ายกระทำผิดกฏหมาย ขณะที่กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับฝ่ายนักศึกษาก็แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำธงชาติมาจัดแสดงว่าเป็นสิ่งไม่เหมาะสมด้วยนั้น
 
ล่าสุดโลกออนไลน์ได้เผยแพร่ภาพ ผลงานศิลปะของ กิตติ มาลีพันธุ์ ผู้ช่วยคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในทีมคณะผู้บริหารที่รื้อเก็บผลงานของนักศึกษา ที่เคยจัดแสดงที่คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี 2557 ด้วยโดยตั้งข้อสังเกตว่า ผลงานชิ้นนี้ก็ใช้ธงชาติมาจัดแสดงงานศิลปะ แถมมีคำด่า ‘ -ีปู’ คำที่กลุ่มทางการเมืองบางกลุ่มมักใช้เรียกอดีตนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่บนธงชาติด้วยเช่นกัน จนเกิดเป็นคำถามว่า ทำไมผลงานนี้จึงจัดแสดงได้ แต่ผลงานของนักศึกษาที่ใช้ธงชาติมาจัดแสดงเช่นกันจึงถูกรื้อเก็บ
 
โดยล่าสุดชาวเน็ตได้แชร์ภาพดังกล่าวไปแล้วมากกว่า 500 ครั้งขณะที่โพสต์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก มีชาวเน็ตย้อนไปร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก
 
ข่าวแนะนำ
 
อุ๊ หฤทัย ยกตำราศิลป์ พีระศรี ชี้ มอบความเกลียดชังให้สังคมไม่เรียกศิลปะ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2639963
 

 
‘ทวี’แฉซ้ำไม้ชี้ลวงโลก ‘จีที 200’ ผู้สั่งการลอยนวล บริษัทที่ขายยังได้งานกลาโหม-ตร.
https://www.khaosod.co.th/politics/news_6195665

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ แฉซ้ำไม้ชี้ลวงโลก ‘จีที 200-อัลฟ่า 6’ ผู้สั่งการยังลอยนวล บริษัทที่ขายยังได้งานกลาโหม - ตร.

เมื่อวันที่ 24 มี.ค.64 พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ส.ส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ โพสต์เฟซบุ๊กถึงการตรวจสอบจีที 200 โดยระบุว่า “ไม้ชี้ลวงโลก จีที 200 และอัลฟ่า 6” อย่าลอยนวลผู้สั่งการ
 
เมื่อระหว่างปี 2550-2552 มีหน่วยงานราชการของรัฐที่ถูกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบพบกว่า 16 หน่วยงาน ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด รุ่น จีที 200 และอัลฟ่า 6 จากบริษัทเอกชน รวมกันกว่า 1,300 เครื่อง มูลค่าเกินกว่า 1,500 ล้านบาท
กองทัพบก ในช่วงสมัย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็น ผบ.ทบ. และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเสธทบ. และ รอง ผบ.ทบ. เป็นหน่วยงานที่ขออนุมัติจัดซื้อเครื่องจีที 200 มากที่สุดจำนวน 12 สัญญา จำนวน 757 เครื่อง วงเงิน 682.60 ล้านบาท

กระทรวงมหาดไทยช่วงนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นรมว.มหาดไทย มีการซื้อรวมจำนวนทั้งหมด 568 เครื่อง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 422,943,300 บาท หน่วยงานสังกัดกระทรวงได้จัดซื้อ เช่น กรมการปกครอง ซื้อเครื่อง 542 เครื่อง วงเงิน 382,880,500 บาท หรือจังหวัดยะลา สั่งซื้อจำนวน 17 เครื่องวงเงิน 31,460,000 บาท เป็นต้น ยังไม่รวมหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดซื้อเครื่อง จีที 200 และอัลฟา 6 อีกจำนวนมาก
 
ความลับแตกเมื่อศาลโอลด์ เบลีย์ ของอังกฤษ ตัดสินยึดทรัพย์สินจากนักธุรกิจชาวอังกฤษ ผู้ต้องหาในคดีจำหน่ายเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดปลอม จีที 200 เป็นการหลอกลวงซึ่งปรากฏข่าวเผยแพร่ไปทั่วโลก ต่อมาปรากฏว่ารัฐบาลไทยมีมติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ทดสอบเครื่องจีที 200 และอัลฟา 6
ผลปรากฏว่า ไม่มีประสิทธิภาพใช้งานไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง จึงดำเนินคดีกับบริษัทเอกชนผู้ขายเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินคดีแล้ว 22 คดี ในความผิดฐานฉ้อโกง กับ ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ หรือ “ฮั้วการประมูล” และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการส่งฟ้องต่อศาลแขวงดอนเมือง จนศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกามีคำพิพากษา
 
ส่วนการกระทำผิดของข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐ คณะกรรมการป.ป.ช เป็นผู้ดำเนินคดี ซึ่งเร็วๆ นี้ได้เสนอข่าวจากสำนักข่าวอิศราว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนฯคดีดังกล่าว ที่มีนายสุชาติ ตระกูลเกษมสุข กรรมการป.ป.ช.เป็นประธาน ได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหากับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนในการจัดซื้อจัดจ้างเครื่องจีที 200 ไปแล้วกว่า 200 ราย คดียังอยู่ระหว่างการไต่สวนของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่เหตุเกิดมาแล้วประมาณ 10 ปีเศษ

จากผลคำพิพากษาในคดีบริษัทผู้ขายเป็นจำเลยของศาล ทำให้บริษัทที่ขายเครื่องจีที 200 และอัลฟ่า 6 และกรรมการถูกลงโทษจำคุกและปรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเนื้อหาตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่บริษัท แจ๊คสัน อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นจำเลยดังปรากฎตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2563 ลง 16 มกราคม 2563 ความผิดฐานฉ้อโกง ที่บริษัทจำหน่ายเครื่องตรวจวัตถุระเบิดอัลฟ่า 6 รุ่นคอมแทร็ค ให้กับศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.) สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย 8 เครื่อง ราคาเครื่องละ 1.3 ล้านบาท รวม 10,400,000 บาท ศาลฎีกาพิพากษาบริษัทมีความผิดฉ้อโกง ลงโทษปรับ และให้บริษัทคืนเงิน 10,400,000 บาทแก่ศูนย์รักษาความปลอดภัย (ศรภ.)ฯ ผู้เสียหาย

ปรากฏความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน กับระบบยุติธรรมที่ไม่อาจประเมินค่าได้ จากการเสียชีวิตและการบาดเจ็บของประชาชนจำนวนมาก ที่ปรากฏในศาล เช่น คดีระหว่างปี 2551-2552 เจ้าหน้าที่ขณะปฏิบัติหน้าที่ได้รับแจ้งว่าเกิดเหตุระเบิดที่หน้า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสาขาสุไหง-โกลก จึงรีบเดินทางเข้าไปดูสถานที่เกิดเหตุ เวลาต่อมามีหน่วยชุดกู้และเก็บวัตถุระเบิดของตชด. ได้นำเครื่องมือตรวจค้นวัตถุระเบิด จำไม่ได้ว่าเป็นเครื่องจีที 200 หรือ อัลฟ่า 6 (ตามคำให้การพยาน) ตรวจรถยนต์คันที่จอดอยู่เดินอยู่ประมาณ 4 รอบปรากฏไม่พบสิ่งผิดปกติและได้นำมาเดินตรวจอีกครั้ง ปรากฏว่าเกิดระเบิดขึ้น ทำให้นักข่าวเสียชีวิตในที่เกิดเหตุและมีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน
 
หรืออีกคดี เจ้าหน้าที่ทหารใช้เครื่อง จีที 200 และอัลฟ่า 6 ในคดีลอบยิงปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลครองมานิง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ทหารแจ้งว่า ไม่มีระเบิด ตำรวจจึงเข้าตรวจสถานที่เกิดเหตุปรากฏว่าเกิดเหตุระเบิดขึ้นทันที เป็นต้น จึงเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้
 
นอกจากความเสียหายดังกล่าวแล้วยังเกิดความเสียหายต่องบประมาณทางราชการเนื่องจากหน่วยงานรัฐจัดซื้อเครื่องอัลฟ่า 6 และ จีที 200 มีราคาที่แตกต่างกันอย่างมากกำหนดราคาซื้อขายตามอำเภอใจ ไม่ได้สนใจตามระเบียบของทางราชการ ดังนี้
 
กรณี “เครื่องจีที 200” พบว่าบริษัทเอวีเอแซมคอม ขายเครื่องจีที 200 มีราคาต่ำสุด เครื่องละ 550,000 บาท และขายสูงสุดเครื่องละ 1,200,000 บาท ต่างกันประมาณ 965,000 บาท เช่น ขายให้สถานีตำรวจภูธรชัยนาท เครื่องละ 550,000 บาท, ขายให้กองทัพบกเครื่องละ 900,000 บาท (จำนวน 757 เครื่อง ปี 50 จำนวน 2 เครื่อง,ปี 51 จำนวน 208 เครื่อง และปี 53 จำนวน 547 เครื่อง) ขายให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เครื่องละ 1,160,000 บาท ( จำนวน 2 เครื่อง) และ 1,120,000 บาท( จำนวน 4 เครื่อง) และขายให้กรมราชองครักษ์ เครื่องละ 900,000 บาท (จำนวน 2 เครื่อง) และ 120,000 บาท (จำนวน 6 เครื่อง) ส่วนบริษัท โกลเบิล เทคนิคอน จำกัด ขายให้กองทัพเรือเครื่องละ 1,380,000 บาท (จำนวน 12 เครื่อง) 930,000 บาท (จำนวน 2 เครื่อง) และ 1,020,000 บาท (จำนวน 24 เครื่อง) เป็นต้น

กรณี “เครื่องอัลฟา 6 “ มีการขายราคาต่ำสุด เครื่องละ 400,000 บาท และขายสูงสุดเครื่องละ 1,850,000 บาท ต่างกันประมาณ 1,450,000 บาท คือ
-บริษัท กัญจน์ณพัฒน์ จำกัด บริษัท ยูจีซี เอ็นจิเนียร์ริ่ง จำกัด ขายให้จังหวัดยะลา เครื่องละ 1,850,588 บาท (จำนวน 17 เครื่อง เป็นเงิน 31,460,000 บาท)

-บริษัทแจ๊คสัน อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด ขายให้กองบัญชาการกองทัพไทย เครื่องละ 1,300,000 บาท แต่ขายให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เครื่องละ 424,848 บาท

-บริษัทเอ็ม-แลนดาร์ช จำกัด ขายให้จังหวัดพิษณุโลกเครื่องละ 1,647,800 บาท เป็นต้น
 
จึงเป็นที่สงสัยว่า เมื่อเครื่องดังกล่าวเมื่อดูจากลักษณะภายนอกเห็นได้ว่าไม่มีประสิทธิภาพ
 
https://www.facebook.com/TaweeSodsongOfficial/posts/4564208793594727



รมว.คลังเผยรัฐใช้มาตรการภาษีช่วยเหลือช่วงโควิดระบาด รอศก.ดีขึ้น เตรียมเพิ่มจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ

https://www.matichon.co.th/politics/news_2640659
 
รมว.คลังเผยรัฐใช้มาตรการภาษีช่วยเหลือช่วงโควิดระบาด รอศก.ดีขึ้น เตรียมเพิ่มจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวกรณีมาตรการ “พักทรัพย์ พักหนี้” วงเงิน 100,000 ล้านบาท ที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยกระทรวงการคลังจะยกเว้นภาษีอากรที่เกิดขึ้นจากการตีโอนทรัพย์อาจกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ภาครัฐนั้น
 
มองว่าที่ผ่านมา กระทรวงการคลังออกมาตรการลดภาษีให้ทุกภาคส่วนอยู่แล้ว ขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐก็ใช้เท่าที่จำเป็น และเมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ภาครัฐก็มีแผนในการขยายฐานภาษีเพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้เข้ารัฐ
 
การลดภาษีเราทำอยู่แล้ว และมีเรื่องการประหยัด รายได้มีเท่าไหร่ก็ใช้จ่ายเท่านั้น เมื่อเศรษฐกิจดีขึ้น ก็มีแผนจะขยายฐานภาษีให้คนเข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น” นายอาคม กล่าว
 
นายอาคม กล่าวว่า เห็นด้วยกับกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวไทยจะใช้เวลา 5 ปี จึงจะฟื้นตัวเต็มที่ เนื่องจากก่อนเกิดโควิด-19 ไทยมีนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ 40 ล้านคน แต่ปลายปี 2564 ไทยยังไม่สามารถเปิดประเทศได้เต็มที่ จึงคาดว่าในปี 2565 ตัวเลขนักนักท่องเที่ยวจะเริ่มขยับขึ้น และเห็นตัวเลขเป็นบวกมากขึ้นในปี 2566 ดังนั้นการฟื้นตัวต้องใช้เวลา และจะทำให้รายได้ภาษีที่ส่งเข้ารัฐมากขึ้นด้วย ขณะที่การอนุมัติโครงการใช้จ่ายก็จะมีความเข้มงวดและจะอนุมัติเฉพาะโครงการที่มีจำเป็น และรัฐบาลยังมีพื้นที่ในการกู้เงิน ทั้งในส่วนของกู้เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล
 
นายอาคม กล่าวว่า ส่วนโครงการคนละครึ่งเฟส 3 อยู่ระหว่างการพิจารณา ขอให้รอหลังจากจบ โครงการเราชนะและ ม33 เรารักกัน ที่สิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ รวมทั้งขอเวลาประเมินโครงการต่างๆ และหาวิธีป้องกันเรื่องการทุจริตในโครงการก่อน ส่วนโครงการคนละครึ่ง เฟส 2 ที่สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2564 นี้ ผู้ที่ใช้เงินในโครงการคนละครึ่งไม่หมด ก็จะโดนตัดสิทธิ ทันทีเมื่อสิ้นสุดโครงการ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่