JJNY : ชี้! ผู้กองปูเค็ม-ไอโอขโมยรูป│แห่ชื่นชมอแมนด้าร่วมกระจกเงา│ซอฟต์โลนรายใหญ่ได้อานิสงส์│ด.ญ.7ปี เหยื่อกระสุนเมียนมา

ชาวเน็ตชี้! ผู้กองปูเค็ม-ไอโอ อ้างกินเอ็มเค คิวแน่นร้าน ที่แท้แค่ขโมยรูป
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_6188648


  
ชาวเน็ตชี้ ผู้กองปูเค็ม ทวีตภาพ คิวแน่นร้านเอ็มเค แต่กลับเป็นภาพเก่าช่วงร้านเอ็มเคจัดโปรโมชั่น ส่วนไอโอทวีตภาพเป็ดเอ็มเค ที่แท้แค่ขโมยรูป มาใช้เช่นกัน
  
เมื่อวันที่ 23 มี.ค.64 โซเชียลมีเดียการแชร์ภาพเปรียบเทียบ หลังพบว่า ผู้กองปูเค็ม และ ผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนหนึ่ง ได้แชร์ภาพเป็ดย่าง ของร้านอาหารสุกี้เอ็มเค และ รูปผู้คนต่อแถวกันจนแน่นขนัดหน้าร้านเอ็มเค โดยมีชาวเน็ตพบว่า ภาพที่ถูกนำมาใช้นั้น เป็นภาพที่หาได้ตามโซเชียลมีเดีย รวมถึงชาวเน็ตบางคนถูกขโมยรูป ซึ่งการกระทำเหล่านี้ อาจเข้าข่ายผิด พรบ. คอมพิวเตอร์ ข้อหาเผยแพร่ข้อมูลเท็จ
  
โดยผู้กองปูเค็ม ได้ทวิตรูปภาพหน้าร้านเอ็มเค ที่มีผู้คนต่อคิวรอซื้ออาหารจนแน่นขนัดหน้าร้าน พร้อมข้อความดังนี้ 
“ขอกราบงาม ๆ ให้พวกแบนร้าน (ปูเค็ม) -ูที -ูจะได้ลืมตาอ้าปากกะเขามั่ง #สามกีบ” 
  
ขณะที่ไอโอทวิตเตอร์ ได้โพสต์รูปภาพเป็ดย่างเอ็มเค พร้อมข้อความว่า 
“รูปเก่าใหม่ ไม่สำคัญ แต่วันนี้กูกินเป็ด ดิ้นให้ตาย สาวก-----สามกีบ”
  
โดยชาวเน็ตได้นำภาพที่หาได้จากกูเกิ้ลและโซเชียลมีเดียต่าง ๆ มาเปรียบเทียบ และพบว่า รูปภาพผู้คนต่อคิวหน้าร้านเอ็มเคจนแน่นขนัดนั้น เป็นภาพเก่าตั้งแต่ ช่วงต้นปี พ.ศ.2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ร้านเอ็มเค จัดโปรโมชั่น เป็ด 1 แถม 1 ช่วยคนไทยฝ่าโควิด ทำให้มีพนักงานบริการส่งอาหารมาต่อคิวซื้อจนล้นหลามนั่นเอง ขณะที่ภาพเป็ดย่างของไอโอทวิตเตอร์นั้น ชาวเน็ตพบว่า แทบทั้งหมดเป็นภาพที่ขโมยรูปมาจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ
  
ทั้งนี้ ผู้กองปูเค็ม หรือ ร้อยเอก ทรงกลด ชื่นชูผล เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอดีตนายทหารบกชาวไทย ส่วนสาเหตุที่มีฉายาว่า ผู้กองปูเค็ม เนื่องจากผู้ติดตามในโซเชียลมีเดีย เป็นผู้ตั้งชื่อให้ เนื่องจากเขาทำธุรกิจทำปูเค็มขาย ซึ่งเป็นธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัว
  
จากเหตุการณ์จับโป๊ะครั้งนี้ ทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก เช่น “เป็ดทิพย์”, “เข้าข่าย ผิด พรบ. คอมปะ เผยแพร่ข้อมูลเท็จ”, “อิ่มทิพย์ อิ่มแบบระบบ 4D ผ่านเครือข่าย 4G”, “สลิ่มเอาภาพนี้ไปฟินกันใหญ่แสดงถึง ความเชื่อง่าย”, “มีสลิ่มแ-กจริงๆสักคนมั้ย มันก็ไม่ได้แพงอะไรป่าววะ หรือค่าจ้าง IO ไม่ถึง” เป็นต้น
  
https://twitter.com/pookem/status/1373965834557648897
 

 
แห่ชื่นชม อแมนด้า ร่วมมูลนิธิกระจกเงา ลุยช่วยผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน หลังถูกปลดทูตสุขภาพจิต 
https://www.khaosod.co.th/entertainment/news_6190451
 
แห่ชื่นชม อแมนด้า มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ลงพื้นที่ช่วยผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อน เคสแรกหลังถูกปลดทูตสุขภาพจิต 
 
จากกรณี อแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2020 ถูกกรมสุขภาพจิตยุติบทบาท “ทูตสุขภาพจิต” หลังแต่งตั้งได้เพียง 5 วัน เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2564 เนื่องจากกลัวจะเกิดความขัดแย้งในสังคม ต่อมา “มูลนิธิกระจกเงา” ได้เชิญอแมนด้ามาร่วมงานใน “โครงการผู้ป่วยข้างถนน” เนื่องจากอแมนด้าได้ทำโครงการ “Have You Listened” ของตัวเอง ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดรับฟังผู้มีปัญหาด้านสภาพจิตใจ
 
ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564 มูลนิธิกระจกเงา ได้เผยแพร่ภาพของ อแมนด้า ที่ร่วมลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนรายหนึ่ง ซึ่งเป็นเคสแรกหลังจากถูกปลดจากการเป็นทูตสุขภาพจิต โดยระบุว่า “วันนี้ทางทีมโครงการผู้ป่วยข้างถนนได้ร่วมกับทางคุณอแมนด้า ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนคนหนึ่งเข้ารับการรักษา เป็นคนหนึ่งที่ต้องอยู่ในสภาพผู้ป่วยจิตเวชมานานเป็น 10ปี อยู่ในสภาพชีวิตที่ย่ำแย่มาเป็น 10 ปี
 
อแมนด้า เปิดใจว่า “ด้าเองรู้สึกว่าทำไมต้องรอถึง 10 ปีเลย ทำไมมันต้องใช้เวลานานขนาดนั้น และยิ่งถ้าเป็นผู้ป่วยจิตเภท ถ้าเขาได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มันจะดีขึ้นกว่านี้ไหม ทั้งอาการจิตเวช และสภาพชีวิต ทำไมคนแถวนั้นไม่เห็นเขาเลย ทำไมไม่มีใครร้องขอความช่วยเหลือให้เขา นั่นคือความรู้สึกของด้านะคะ เค้าเหมือนมนุษย์ล่องหนเลยไม่มีใครเห็นคุณค่าเขาเลย”
 
อแมนด้า กล่าวอีกว่า เราเป็นมนุษย์ด้วยกันน่ะ แล้วเราเห็นเขาอยู่ข้างถนน ทำไมเราปล่อยให้เขาอยู่ในสภาพแบบนี้ได้ ทำไมไม่มีใครเรียกร้องสิทธิความเป็นมนุษย์ให้กับเขา เรารู้สึกว่าเราเป็นคนหนึ่งในสังคมเราพลาดอะไรไปเยอะมาก ไม่ใช่แค่เรา แต่หลายๆ หน่วยงานด้วย ไม่มีใครเห็นเขากันเลย
 
“แล้วคิดดูว่าถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับคนรอบข้าง หรือตัวเราเอง เราจะรู้สึกอย่างไร คนที่เรารักอยู่ตรงนี้แบบนี้มา 10 ปี โดยที่ไม่มีใครขอความช่วยเหลือให้กับเขา แล้วมันเป็นเรื่องไม่ไกลตัวด้วยนะคะ เรื่องจิตเวช เรื่องสุขภาพจิต แล้วถ้ามันเกิดขึ้นกับเราล่ะ ถ้าเราต้องตกไปอยู่ในสภาพแบบนั้น แล้วไม่มีใครช่วยเหลือเราเลย”
 
“พอผู้ป่วยได้รับความช่วยเหลือแล้ว เราก็รู้สึกโล่งใจค่ะ ตอนได้เห็นคุณลุงนั่งรอแพทย์ตรวจ ก็รู้สึกว่าเขาจะได้รับการรักษาแล้ว เขาควรที่จะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสักที ควรอยู่ในมือแพทย์พยาบาล และหน่วยงานที่จะทำให้ชีวิตเขาดีขึ้น การรักษาอย่างถูกต้อง จะให้ความเป็นมนุษย์ของเขากลับคืนมา ด้ารู้สึกโล่งใจ แล้วเราก็มองไปที่ผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนคนอื่นๆ ว่าไม่มีใครควรตกอยู่ในสภาพชีวิตที่แย่ที่สุดแบบนี้อีกเหมือนกัน” อแมนด้า ทิ้งท้าย
 
มูลนิธิกระจกเงา ระบุอีกว่า ผู้ป่วยจิตเวชเร่ร่อนมากกว่า 10 ปีได้เข้ารับการรักษาแล้ว ขอขอบคุณ อแมนด้า มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ ที่ได้มาทำงานร่วมกับทางโครงการผู้ป่วยข้างถนน ในฐานะอาสาสมัครและเป็นเสียงสำคัญที่จะส่งต่อเรื่องผู้ป่วยข้างถนนไปได้อีกกว้างไกล แจ้งพบผู้ป่วยข้างถนนได้ที่เฟซบุ๊ก โครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา สนับสนุน​การช่วยเหลือผู้ป่วยข้างถนน ได้ที่​โครงการผู้ป่วยข้างถนน โดยมูลนิธิกระจกเงา ธนาคารไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 202-2-58289-4
 
โดยภายหลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ทำให้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กจำนวนมากเข้ามาชื่นชม และขอบคุณ อแมนด้า และมูลนิธิกระจกเงา ที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
 

 
ครม.เคาะเกณฑ์ใหม่ ซอฟต์โลน 3.5 แสนล้าน รายใหญ่ได้อานิสงส์
https://www.prachachat.net/finance/news-634618
 
ครม.อนุมัติ พ.ร.ก.สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 3.5 แสนล้าน
 
วันที่ 23 มี.ค. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาล ว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุม เห็นชอบ อนุมัติ พ.ร.ก.สินเชื่อฉบับใหม่ 3.5 แสนล้าน
 
มี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาวน์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และนายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมแถลงข่าวมาตรการบรรเทาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
 
แก้ พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 3.5 แสนล้าน
 
นายอาคมกล่าวว่า ครม.เห็นชอบการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่
 
1. มาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจขนาดใหญ่และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หรือ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท โดยสถาบันการเงินจะคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี ในช่วง 2 ปีแรกของสัญญา และเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี 6 เดือนแรกรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ โดยสิ่งที่เพิ่มเข้ามา คือ ให้ บยส.ค้ำสินเชื่อธุรกิจที่เป็นเอสเอ็มอีและไม่ใช่เอสเอ็มอีชั่วคราว
 
2. มาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้โดยให้ผู้ประกอบการมีสิทธิ์ซื้อทรัพย์สินนั้นคืนในภายหลัง หรือ มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท สำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบและต้องใช้เวลาฟื้นตัว เป็นธุรกิจที่ไม่สามารถประกอบธุรกิจปกติต่อไปได้ และเป็นหนี้กับสถาบันการเงิน สามารถนำทรัพย์สินมาวางกับสถาบันการเงินเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่เดิม และหากต้องการดำเนินธุรกิจต่อสามารถขอเช่าทรัพย์สินไปดำเนินธุรกิจได้ โดยการนำไปขอสินเชื่อเพิ่มเติมได้ และสามารถซื้อคืนทรัพย์ได้ตามราคาที่ตกลงกัน โดยสถาบันการเงินไม่เอากำไร
 
สิ่งที่เพิ่ม คือ การชดเชยจากภาครัฐกรณีหนี้เสียเพื่อเป็นหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ตลอดระยะเวลา 5 ปี 2 ปีแรก คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี รัฐชดเชยดอกเบี้ยให้ 6 เดือนแรก (ไม่คิดดอกเบี้ย)
 
ยกเว้น-ลดหย่อนภาษีบุคคลธรรมดา-นิติบุคคล
 
นายอาคมกล่าวว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการปรับปรุง พ.ร.ก.ซอฟต์โลน 8 ข้อจำกัด อาทิ 1.คุณสมบัติผู้ประกอบธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการ เรื่องการเป็นลูกหนี้เดิมและเป็นลูกหนี้ใหม่ 2.ระยะเวลา 2 ปี สั้นเกินไป 3.อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ไม่จูงใจสถาบันการเงิน 4.การชดเชยจากภาครัฐ 5.กลไกรับความเสี่ยง 6.ความไม่ครอบคลุมการแก้ปัญหาหนี้
 
นายอาคมกล่าวว่า กระทรวงการคลังเป็นห่วงธุรกิจที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ปกติ โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยว มีการบังคับซื้อโรงแรมในราคาบังคับขาย และเป็นห่วงการขอสินเชื่อใหม่ของธุรกิจที่ใหญ่กว่าเอสเอ็มอี ซึ่งทำให้ระบบการให้ สินเชื่อหดตัว ทั้งนี้ ภาคการท่องเที่ยวและบริการได้รับผลกระทบมากที่สุด ซึ่งเป็นสัดส่วน 11.5% ต่อจีดีพี
 
ทั้งนี้เป็นการเสนอร่าง พ.ร.ก.ฉบับใหม่  เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนหลักการและสาระสำคัญจากฉบับเดิม เพราะซอฟต์โลนภาค 1 ถูกออกแบบภายใต้สมมุติฐานโควิด-19 จบเร็ว แต่ปรากฏว่าการระบาดของโควิด-19 ลากยาว ปัญหายืดเยื้อ ทำให้เงื่อนไขที่ดีไซน์ไว้ไม่สอดคล้องกับปัญหา รวมถึงข้อจำกัด และการชดเชยความเสียหายต่ำ ทำให้แบงก์ก็ไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ
 
สำหรับโครงการซอฟต์โลน 5 แสนล้านบาทของ ธปท. จนถึง (15 มี.ค. 2564) มีการอนุมัติสินเชื่อไปเพียง 1.33 แสนล้านบาท ผู้ได้รับซอฟต์โลน 7.67 หมื่นราย เฉลี่ยวงเงินรายละ 1.73 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่าผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือจะเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีขนาดเล็กมาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่