US สั่งให้ญี่ปุ่นดันไทย และตอนนี้ US กำลังจะไปดันเวียดนาม เหมือนที่เคยดันฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้

แล้วไทยเราจะดันหรือบูสต์ อัป ตัวเองอย่างไรดีคะ มีอะไรที่เราทำเองได้บ้าง หรือจะหยุดอยู่แค่การเกษตรและการท่องเที่ยว นั่งมองเวียดนามแซงหน้าไป ฝึกภาษาเวียดนาม แล้วอพยพเข้าไปทำงานในเวียดนามแทน
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
เท่าที่ทราบ เวียดนาม(และอินโดฯ)ใช้โมเดลคล้ายๆกับไทยเมื่อสามสิบปีก่อน คือการยกเว้นภาษีโรงงานต่างชาติเพื่อดึงดูดการลงทุนให้เข้ามา เพื่อให้คนในประเทศมีงานทำ ซึ่งวิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่ไม่น้อย เพราะการยกเว้นภาษีก็คือต้นทุนของประเทศ(จำนวนมหาศาล)นั่นเอง

ในยุคสามสิบปีก่อนนั้น ไทยยกเว้นภาษีสำหรับบ.ต่างชาติที่ได้BOI 3-8ปี ซึ่งก็หมายความว่า ไทยจะต้องลงทุนสร้างถนน ไฟฟ้า ประปา ท่าเรือ สนามบิน โทรศัพท์ ฯลฯ โดยใช้เงินงบประมาณและเงินกู้ เพื่อให้โรงงานต่างชาติเหล่านี้ได้ใช้ฟรีๆ ต้องอุ้มชูไปนาน3-8ปี จนกระทั่งครบกำหนด จึงจะเริ่มได้เก็บภาษี(โดยหวังว่า เมื่อหมดบีโอไอแล้ว โรงงานเหล่านั้นจะไม่ย้ายไปประเทศอื่น แล้วเริ่มต้นจ่ายภาษี) ซึ่งตอนนั้นก็ทำให้ไทยเจอปัญหาขาดดุลงบประมาณเพื่มขึ้นทุกๆปี แต่โชคดีที่พอจะมีเงิน(ง่ายๆ)จำนวนมากจากการท่องเที่ยว(ยุคเริ่มโปรโมทอเมซิ่งไทยแลนด์) จนพอจะประคับประคองผ่านมาได้ และเงื่อนไขการให้บีโอไอในอดีตของไทย ที่บังคับให้โรงงานต่างชาติต้องเพิ่มชิ้นส่วนในประเทศเป็น%ที่เพิ่มขึ้นทุกๆปี(ถ้าทำไม่ได้ ก็จะยึดสิทธิ์คืน) ทำให้ไทยสามารถผลิตชิ้นส่วนอุตสาหกรรมหลายๆอย่างภายในประเทศได้เกือบทั้งหมด แต่ยังขาดเทคโนโลยี่ขั้นสูง...

    ปัจจุบัน การให้BOIของไทยจึงมีเงื่อนไขพิเศษใหม่คือ จะยกเว้นภาษี 3-5-8-13 ปี สำหรับอุตสาหกรรมไฮเทคฯ 12นิวเอสเคิร์ฟ และบริษัทที่ได้ก็จะต้อง..ทำสัญญาเป็นพันธมิตรในการพัฒนาบุคลากรและร่วมวิจัยกับมหาวิทยาลัยในไทยอย่างน้อย 1แห่ง ซึ่งมันก็คือการบังคับให้ถ่ายทอดเทคโนโลยี่บางส่วนนั่นเอง

    ด้วยเงื่อนไขบังคับให้ถ่ายทอดเทคโนโลยี่นี้ จึงอย่าได้แปลกใจที่บริษัทเบอร์1ของโลก อย่าง เทสล่าหรือแอปเปิ้ล จะไม่เลือกไทย เพราะเค้ามีตัวเลือกมากมายที่จะมาเชิญ โดยไม่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ แต่พวกโรงงานเหล่านี้ซึ่งถ้ามาไทย ก็ใช้ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ จ้างงาน้อยมากๆๆๆ ถ้าไม่คิดจะถ่ายทอดเทคโนโลยี่ให้ไทยเราเลย เราจะเอาเข้ามาเพื่ออะไร??? ค่าแรงก็แทบไม่ได้ ภาษีก็ไม่ต้องเสีย  ผิดกับบริษัทที่ยอมตามเงือนไขของไทย อย่างเช่น หัวเว่ย(ร่วมวิจัยกับจุฬาฯ พระจอมเกล้าฯ) หรือเกรทวอลล์(ถ้าจำไม่ผิด ร่วมวิจัยกับพระจอมเกล้าฯ) หรือแม้แต่บ.พลังงานบริสุททธิ์(EA)ของไทยเราเอง ก็ต้องร่วมวิจัยกับจุฬาฯ(แบตเตอรี่ลิเธียม)

     เท่าที่ทราบ ทั้งเวียดนาม อินโดฯ อินเดีย ยังคงยอมให้โรงงานต่างชาติที่เข้ามา สามารถสั่งชิ้นส่วนจากต่างประเทศ 100%เข้ามาประกอบได้(ซึ่งในไทย ทำแบบนี้ไม่ได้เลย ในทุกๆอุตสาหกรรม)  เพราะว่าตอนนี้เค้ายังต้องการโรงงานเข้ามาเพียงเพื่อให้คนในประเทศมีงานทำ (แต่ไทยนั้น ถ้าโรงงานเหล่านี้ที่เทคโนโลยี่ต่ำๆ เข้ามา เราไม่มีแรงงาน ก็ต้องนำเข้าแรงงานจากเพื่อนบ้านเข้ามาเพิ่มอีกหลายๆล้านคน แล้วจะทำเพื่อ?)  ซึ่งประเทศเหล่านี้ก็ต้องเจอปัญหาแบบเดียวกับที่ไทยเคยเจอ นั่นคือปัญหาคอขวดของสาธารณูปโภค ไฟฟ้า-ประปา ถนน ท่าเรือ แออัด สร้างไม่ทัน ต้องกู้เงินมาสร้าง เพื่อไปอุ้มชูโรงงานเหล่านี้ให้ใช้ฟรีโดยไม่ต้องเสียภาษีไปอีก 5-15ปี ตามจำนวนปีที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อย่างเช่นเวียดนาม ก้เห็นอยู่ว่า บริษัทโรงไฟฟ้าของไทยเข้าไปลงทุนตั้งโรงไฟฟ้ากันเป็นหมื่นเมกกะวัตต์ เพราะเวียดนามเองไม่มีเงินลงทุนมากพอ โดยโรงงานไทยพวกนี้ทำสัญญาขายไฟฟ้าให้เวียดนามเป็นเงินดอลล่า(เพื่อความปลอดภัย) ขณะที่ค่าเงินด่องอ่อนค่ามากๆทุกๆปี(ทั้งอ่อนจริง และจงใจให้อ่อน) สงสัยว่าคนเวียดนามและโรงงานเวียดนามคงจะต้องใช้ไฟฟ้าแพงขึ้นเรื่อยๆ (แต่ถ้าวันไหน เวียดนามหาเงินดอลล่ามาจ่ายไม่พอ โรงไฟฟ้าไทยเหล่านี้จะเป็นไง? มีหุ้นอยู่ในตลาดหุ้นไทยกันทุกบริษัทเลยอะ)  ปัญหานี้จึงเป็นปัญหาระยะยาว ซึ่งเวียดนาม(และประเทศที่ใช้โมเดลแบบนี้)จะต้องบริหารการเงินทั้งมหภาคและจุลภาคให้ดีเยี่ยม (เคยบอกแล้วว่า ไทยโชคดีที่มีเงินจากการท่องเที่ยวมาช่วยไว้ได้ส่วนหนึ่ง ส่วนประเทศเหล่านี้จะมีเงินง่ายๆจากทางไหนมาช่วย..ต้องติดตามกันต่อไป)

     ปัจจุบัน รัฐฯไทยมองว่า โมเดลการโตด้วยการส่งออกนั้น ใกล้จะถึงทางตันแล้ว เพราะคนสหรัฐและยุโรป คงจะบริโภคสินค้ามากไปกว่านี้ไม่ได้มากแล้ว(ใครมันจะซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆเดือน) แถมหนี้บุคคลและหนี้สาธารณะของสหรัฐและยุโรปก็ล้นเกินจนการใช้หนี้(ให้หมด)แทบจะเป็นไปไม่ได้แล้ว  รัฐฯไทยจึงเน้นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี่ เห็นข่าวว่า คาดว่าปีนี้2564 งบวิจัยฯของไทยจะขึ้นไปถึง 1.5%ของจีดีพีแล้ว (ซึ่งในทางทฤษฎี ถือว่าไทยได้เริ่มต้นเข้าสู่การเป็นประเทศผู้ผลิตนวัตกรรมใหม่แล้ว) และอีกราวๆ4ปี ก็น่าจะถึง2%ของจีดีพี(เท่าๆกับ ค่าเฉลี่ยของประเทศต่างๆในยุโรป แต่ยังห่างจาก สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น(2.5-3%) เกาหลี-อิสราเอล(3.7-4% สูงสุดในโลก)

     ไทยเราต้องการโตจากตลาดภายในมากกว่า จึงได้มีการเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอย่างมโหฬารในช่วงห้าหกปีที่ผ่านมา (ไทยมีถนนลาดยางแล้ว 97% ตัวเลขจากเวิร์ลแบงค์ปี2019 มาเลเซียแค่84%) และคาดกันว่า หลังจากไฮสปรีด3สนามบินเสร็จ จะเกิดเมืองในแนวแกน กรุงเทพฯ-ระยอง ขึ้น และในอีก10ปีข้างหน้า แนวแกนนี้จะมีประชากรรวมกันมากกว่า 30ล้านคน (และรัฐพยายามจะเชื่อมแนวแกนนี้ ให้เข้ากับ สามเหลี่ยม ฮ่องกง-จูไห่-เซี่ยงไฮ้ ของจีน โดยผ่านทางฮ่องกง-ซึ่งได้เข้ามาตั้งสำนักงานฯใหญ่ในไทย และทำแชมเบอร์สตาร์ทอัพ ไทย-ฮ่องกงขึ้นแล้ว)  หลังจากนี้ จีดีพีของไทย จะโตจากการพัฒนาเมืองสมาร์ทซิตี้ การอพยพจากชนบทสู่เมือง การพัฒนาสินค้าใหม่ๆ เพื่อการบริโภค(ส่วนใหญ่ในประเทศ) เช่น การแพทย์(คนป่วยต่างชาติต้องบินมารักษาในไทย) การเข้ามาตั้งบริษัทวิจัยในไทย คนรวยๆทั่วโลกเข้ามาพำนักถาวรในสมาร์ทซิตี้ในไทย(และทำงานหรือลงทุน จากในไทย ด้วยระบบโครงสร้างพื้นฐานทุกๆด้านของไทยที่มีมาตรฐานระดับโลก)ฯลฯ ไม่ได้เน้นด้านการส่งออก (ตัวเลขการพึ่งพิงการส่งออก เป็น%เทียบกับจีดีพีของไทย จะค่อยๆลดลง )

       อีกอย่างหนึ่ง การพัฒนาระบบเงินดีจิตอลของไทยนี้ ไปได้เร็วในระดับต้นๆของโลกเลยทีเดียวในตอนนี้ (แอ็ปเป๋าตังนี่ระดับโลกเลยนะ เน็ตบ้านของไทยตอนนี้ก็เร็วที่สุดในโลก ที่2-3 เป็น ฮ่องกงกับสิงคโปร์ เน็ตบ้านไทยมีค่าเฉลี่ยทั้งประเทศเร็วกว่าเกาะเล็กๆนี่..แบบว่า คนทำเก่งมาก)
    
    เชื่อกันว่า ระบบเศรษฐกิจมืดของไทย(พวก ร้านเล็กๆ หาบเร่ ตลาดนัด ฯลฯ) มีขนาดใหญ่ถึง 50%ของจีดีพีเลยทีเดียว ซึ่งถ้าโครงการดึงคนเข้ามาใช้ระบบดิจิตอลได้ทั้งหมด(ด้วย เป๋าตัง คนละครึ่ง เราชนะ ฯลฯ) ก็จะทำให้ขนาดจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็น 150%ในทันที และทำให้ รายได้ต่อหัวของไทย จาก 8000เหรียญ/คน/ปี เพิ่มเป็น 12000 เหรียญ/คน/ปี กลายเป็นประเทศรายได้สูงไปในทันทีเลยทีเดียว และการเก็บภาษีก็จะเพิ่มขึ้นอีกมาก (แต่เห็นเค้าว่า รัฐฯจะไม่เน้นเกบภาษีพวกหาบเร่หรือตลาดนัด แต่จะช่วยปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้ด้วย เพื่อแก้ปัญหากู้หนี้นอกระบบ)

   ดังนั้น ตอนนี้ โมเดลการพัฒนาประเทศของไทย และเวียดนาม จึงแตกต่างกันไปแล้ว เอามาเปรียบเทียบกันแบบวิธีเก่าๆ คงจะไม่ค่อยตรงจุดเท่าไหร่นัก ก็ลองดูกันต่อไปครับ
ความคิดเห็นที่ 8
ขรรมแพร๊พ info ของพวกติ่งจีนทั้งนั้นแหละเจ้าค่ะ มั่วลวงโลกไม่มีใครเกินติ่งจีน

ยุคนี้สมัยนี้ มันไม่มีใครสั่งดันใครหรอกเจ้าค่ะ มันเป็นเรื่องผลประโยชน์ และความฉลาดเชิงนโยบายของแต่ละประเทศ
ของไทย หลับตาดูก็เห็นภาพ ทุนจีนคุมนโยบายเศรษฐกิจไทยไปเรียบร้อย เห็นได้จากการอวยเจ้าพระยาค้าหมู
เจ้าพระยาค้าหมู หลับหูหลับตาเอาแต่ทุนจีนเจ้าค่ะ และปูทางให้ทุนจีนเสร็จสรรพ มันไม่ใช่เรื่องประเทศนั้นสั่งดันประเทศนี้
แต่เป็นที่ประเทศเราเองเจ้าค่ะ เมื่อระดับนโยบายไม่เห็นความสำคัญ ทุนดังเดิมจากญี่ปุ่นจะอยู่ทำไม อยู่ไปก็ไม่รุ่ง เพราะรัฐหนุน
ทุนจีนสุดตัวอยู่แบบนี้ ปล่อยให้สินค้าจีนเข้ามาตีตลาดรัว ๆ ปล่อยให้จีนทุ่มตลาดแบบไม่อายใคร โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์

เพราะหวังอยากได้ทุนมหาศาลจากจีน แต่มันก็ไม่เป็นไปตามเป้า ถ้าไม่ปล่อยให้จีนมันกัดจนถึงกระดูก จีนมันก็ไม่โง่โยกทุนมาหรอกเจ้าค่ะ
ไอ้ประเทศนี้ หากเทียบความยั่งยืน และผลประโยชน์ที่ไทยได้รับในระยะยาวสู้ญี่ปุ่นไม่ได้แม้แต่ขี้เล็บ จีนจ้องแต่จะขูดเลือดให้ฝูงตั๊กแตนของมันก็เท่านั้น

นั่งมองเวียดนามเจริญพรวด ๆ ได้เลยเจ้าค่ะ เจริญกว่าไทยแน่นอน ถ้านโยบายไทยยังอวยจีนแบบนี้ ประเทศที่มีแต่คนรังเกียจ
ไปอวยเค้า ตัวเองก็เสียเครดิตไปด้วย สมน้ำหน้าเจ้าค่ะ
ความคิดเห็นที่ 15
คุณพระ ขนาดอ้างถึง หัวเว่ย เกรทวอลล์ เจ๊บอกแล้วติ่งจีนนี่น้ำท่วมทุ่งเจ้าค่ะ ข้อมูลแบบนี้หาได้ง่ายเจ้าค่ะสำหรับเมืองไทย เพราะขอ้มุลเปิดเผย อาจจะลืมติดนิสัยมาจากเมืองจีน วันดีคืนดีนักธุรกิจใหญ่หายตัวไปเป็นเดือน ๆ โฮ๊ะๆๆๆๆๆ

https://www.boi.go.th/upload/section2_th_wt_link.pdf

เป็นคู่มือจาก BOI เกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง   เค้าไม่บังคับเลยนะเจ้าคะ ว่าต้องเป็น partner กับสถาบันการศึกษาไทยก่อน อันนี้ไม่รู้เอามาจากไหน ถ้าทุกบริษัทต้อเป็น partner กับสถาบันการศึกษาไทยจริง ๆ พูดตามตรง บุคคลากรเรารองรับเพียงพอหรอเจ้าคะ ? เป็นอะไรที่มโนมาก ๆ

อย่างมากคือบังคับให้ research หรืองบ research ห้ามต่ำกว่าร้อยล้านต่อปีก็เท่านั้น  ไอ้ที่ tesla apple ไม่มาลงทุนน่ะ เรื่องพวกนี้อยู่ที่ประชากรและนโยบายล้วน ๆ เจ้าค่ะ โครงสร้างประชากรไทยวิกฤติเจ้าค่ะ คนรุ่นใหม่ไฟแรง วัยทำงาน หดลงเรื่อย ๆ นานวันยิ่งหาแรงงานฝีมือดียาก wording อวย ๆ ที่ว่าแรงงานไทยฝีมือชั้นเยี่ยมมันคือนิยายเจ้าค่ะ ผิดกับเวียดนาม อินเดีย อินโดนีเซีย ประเทศพวกนี้โครงสร้างประชากรวัยแรงงาน ไม่มีปัญหา มีให้เลือกมากมายในตลาด ส่วนไทยนอกจากโครงสร้างประชากรมีปัญหา นโยบายการศึกษาก็พังเละเทะเป็นโจ๊ก ปกติ polytechnic นี่ถือว่าเป็นแรงงานคุณภาพด่านแรก ๆ เลย ที่ประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางอุตสาหกรรมต้องมี  แต่ไทยเราทำให้ประชากรเยาวชนส่วนใหญ่คิดว่าใครเรียนสถาบันพวกนี้คือกุ๊ย เกรดตลาดล่าง อันตรายสำหรับการเรียนรู้  อย่าเถียงนะเจ้าคะว่าไม่จริง มันคือเรื่องจริงเจ้าค่ะ พวกอาชีวะ บัญชี การตลาด นี่พอแล้วเจ้าค่ะ มากมายเหลือเฟือ แต่พวกเทคโนโลยี พวกช่าง พวกกลไก ที่ระดับต่ำกว่าปริญาตรี ไทยโครตจะวิกฤติ นักลงทุนส่วนใหญ่ชี้ไปที่ประเด็นนี้เลย ว่าเค้าต้องการแรงพงานกลุ่มนี้เป็นหลัก แต่เราให้เค้าไม่ได้ และระดับนโยบายก็ทำมึน ไม่รู้ไม่ชี้เสียด้วย

หันไปสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสอนวิศวเป็นหลักแทน ตอนนี้มหาวิทยลัยชุมชนก็มีวิศวสอนเป็นคุ้งเป็นแคว เพียบไปหมด จบมาน่าจะหลักเฉียดแสนคนต่อปี อย่างที่บอกคือมันไร้คุณภาพซะเป็นส่วนใหญ่ แต่มีดีกรีปริญา ต้องจ่ายค่าแรงแพงกว่า ปวส ปวช ที่จบจาก polytechnic ทั้งที่แรงงานพวกนี้ตอบโจทย์มาก ๆ ให้กับนักลงทุนได้

คุณจะลงทุน infra เพื่อดึงคนให้มาเป็นสังคมเมือง แล้วให้คนในสังคมเมืองหารายได้จากไหนเจ้าคะ ถ้าไม่ใช่จากภาคการลงทุน ? เช่นอุตสาหกรรมใหม่ ๆ จะเอาเงินมาเติมสังคมเมืองใหม่ ๆ พวกนี้อย่างไร ?  การบริโภคภายในประเทศพอหรอเจ้าคะ ในขณะที่การเติบโตประชากรของไทยถดถอยอยู่อย่างทุกวันนี้ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่