ท่องเที่ยวสุดทนธุรกิจอยู่ไม่ไหว บริษัทใหญ่รวมพลังร้องรัฐเลิกกักตัว 1 ก.ค.นี้
https://www.prachachat.net/tourism/news-625039
ธุรกิจท่องเที่ยวลั่นอยู่ไม่ไหว ! นักท่องเที่ยวไม่มา รายได้ไม่มี 15 บริษัทใหญ่ดิ้นผนึกกำลังเรียกร้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัว 1 กรกฎาคมนี้ ส่งแคมเปญ #OpenThailandSafely ลงชื่อแสดงพลังส่งเสียงถึงนายกฯบิ๊กตู่-รมว.ท่องเที่ยวฯ-ผู้ว่าการ ททท.พิจารณา ยันทั่วโลกได้รับการฉีดวัคซีนครอบคลุมภายในกลางปีนี้ ด้านสมาคมแอตต้าเผยเตรียมร่อนหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ วอนทยอยยกเลิกมาตรการกักตัวตั้งแต่มิถุนายนเป็นต้นไปภายในสัปดาห์นี้
แหล่งข่าวในธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการในส่วนของเอกชนท่องเที่ยวจำนวนมากประสบปัญหาสภาพคล่อง และมีจำนวนมากที่เริ่มประคองธุรกิจกันไม่ได้ ทั้งธุรกิจสายการบิน, โรงแรม รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว เนื่องจากรัฐบาลยังคงมาตรการเปิดรับต่างชาติแบบกักตัว 14 วัน (quarantine) ทำให้ชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปยังไม่เดินทาง
ลั่นธุรกิจอยู่ไม่ไหวแล้ว
ทั้งนี้ มีเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้นที่มีความจำเป็นในการเดินทาง และยอมเข้ามากักตัวตามมาตรการสาธารณสุข ซึ่งก็มีจำนวนน้อยมากไม่ถึง 10,000 คนต่อเดือน ซัพพลายในภาคธุรกิจท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ทุกฝ่ายเริ่มออกมาเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศนโยบายสำหรับเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวให้ชัดเจน
“
ภาคเอกชนท่องเที่ยวเรารอฟังความชัดเจนจากรัฐบาลมานานแล้ว และก็ได้นำเสนอแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ปล่อยเราอยู่ท่ามกลางวิกฤตมานานถึง 1 ปีเต็ม ๆ ตอนนี้ทุกคนกำลังจะตายกันหมดแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ขาใหญ่ 15 บริษัทนำทัพร้องรัฐ
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า จากความไม่ชัดเจนดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำนวน 15 บริษัทชั้นนำ อาทิ ยานาเวนเจอร์ส, ไมเนอร์ กรุ๊ป, เอเชียน เทรลส์, คาเพลลา โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท, เอ็กซ์โซ ทราเวล, เดสติเนชั่น เอเชีย, เคป แอนด์ แคนทารี่ โฮเทล ฯลฯ ได้รวมพลังกันออกแคมเปญ #OpenThailandSafely ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกร่วมลงชื่อแสดงพลังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยข้อมูลที่ได้จากแคมเปญ Open Thailand Safely จะถูกส่งถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ มีเป้าหมายผู้สนับสนุนจำนวน 100,000 ราย
ยันวัคซีนครอบคลุมทั่วโลก
นาย
วิลเลียม นีเมเยอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มยานา เวนเจอร์ส และคีรี ทราเวล บริษัทบริหารจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว (destination management) หรือ DMC เปิดเผยว่า เหตุผลที่ต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐประกาศนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวนั้น เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิดกันแล้ว ทำให้พลเมืองส่วนใหญ่ในตลาดต่างประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายภายในกลางปี
ประกอบกับสาธารณสุขของประเทศไทยก็กำลังดำเนินการฉีดวัคซีนให้บุคลากรแนวหน้าทั้งในภาคบริการต้อนรับและประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งคาดว่าจะสามารถฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนไทยได้อย่างครอบคลุมภายในกลางปีนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การประกาศเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว 1 กรกฎาคม 2564 จะสร้างความมั่นใจให้นักเดินทางท่องเที่ยวและสามารถวางแผนเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสเชิงกลยุทธ์สำหรับประเทศไทยในการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำในอาเซียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงในปี 2565 อีกด้วย
ฟื้นท่องเที่ยว-ฟื้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ในฟากของผู้ประกอบการท่องเที่ยวตลาดอินบาวนด์เองก็จะสามารถเริ่มวางแผนธุรกิจ วางแผนจัดหาพนักงานและฝึกอบรม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะมีการเดินทางท่องเที่ยวกันอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังนี้ได้อย่างเหมาะสม
“
ภาคการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักที่จะนำเศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นฟูได้เร็วที่สุด จึงจำเป็นต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเพื่อให้แน่ใจว่าการเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัวจะมีความปลอดภัย ทางรัฐบาลไทยสามารถขอให้นักท่องเที่ยวต่างชาติปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่รัฐบาลไทยกำหนดได้ เช่น การแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างเป็นทางการจากประเทศต้นทาง การซื้อประกันสุขภาพ การแสดงหลักฐานการตรวจเชื้อโควิด-19 เชิงลบภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง เป็นต้น”
นาย
วิลเลียมยังกล่าวด้วยว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาระบุว่า ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาคการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศมูลค่ากว่า 2.9 ล้านล้านบาท ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 39.7 ล้านคน และสร้างการจ้างงานกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 แต่ในปี 2563 ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยมีเพียงแค่ 6.7 ล้านคน ทำให้แรงงานในภาคการท่องเที่ยวต้องตกงานมากกว่า 2 ล้านคน จากแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่ามีรวมกันประมาณ 4 ล้านคน
ขณะเดียวกัน การกระจายวัคซีนโควิดที่กำลังประสบความสำเร็จในหลายประเทศที่เป็นตลาดท่องเที่ยว เป็นโอกาสให้ประเทศมีจุดหมายปลายทาง เช่น เซเชลส์ มัลดีฟส์ กรีซ และศรีลังกา ได้เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อีกครั้ง
ส.แอตต้าหนุนเต็มที่
ด้านนาย
วิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในฐานะที่สมาคมดูแลตลาดอินบาวนด์ หรือนักท่องเที่ยวขาเข้าเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเอกชนท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากคาดการณ์ว่าภายในครึ่งปีแรกนี้ทั่วโลกจะมีคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านคน ในจำนวนนี้น่าจะมีประมาณ 20% หรือประมาณ 200 ล้านคนที่พร้อมออกเดินทางไปต่างประเทศแล้ว สมาคมจึงคาดการณ์ว่าภายในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกจะเริ่มประกาศนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัว และจะเริ่มเห็นทั่วโลกทยอยออกเดินทางท่องเที่ยวแล้ว
“
รัฐบาลควรเร่งประกาศไทม์ไลน์การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่กักตัวโดยเร็วหรือภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ และจะทยอยเปิดรับในเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าก็ไม่ควรเกินเดือนกรกฎาคมนี้ ไม่ใช่ไตรมาสสุดท้ายตามที่เป็นข่าว” นายวิชิตกล่าว
และว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ทางสมาคมได้เตรียมทำหนังสือถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ฯลฯ เพื่อพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ เพื่อให้คนทั่วโลกที่ฉีดวัคซีนแล้วรู้ว่าสามารถเดินทางมาประเทศไทยแบบไม่กักตัวได้
ในช่วงครึ่งปีหลัง และศึกษาข้อมูลเที่ยวประเทศไทยล่วงหน้า รวมถึงให้ผู้ประกอบการมีเวลาเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาให้บริการอีกครั้ง และเตรียมพร้อมสำหรับการทำการตลาดล่วงหน้าด้วย
ICJ ประณามการสังหารผู้ประท้วงในพม่า เสนอให้สืบสวน 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ'
https://prachatai.com/journal/2021/03/92004
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ (ICJ) ออกแถลงการณ์ประณามจากสังหารผู้ชุมนุมประท้วงในพม่าและเสนอว่าควรจะมีการสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้ในฐานะอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยมีการพูดถึงเรื่องการใช้ "เขตอำนาจศาลตามหลักสากล" เพื่อดำเนินคดีต่อเผด็จการในพม่าที่ก่อเหตุร้ายแรงต่อพลเรือน
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ (ICJ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ผลักดันเรื่องความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนแถลงเมื่อวันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าการยกระดับการสังหารผู้ชุมนุมโดยกองกำลังความมั่นคงของพม่านั้นควรจะได้รับการสืบสวนสอบสวนโดยทันทีในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แถลงการณ์นี้ออกมาในวันเดียวกับที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมหารือแบบไม่เปิดเผยข้อมูลต่อคนนอกเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า
ICJ ระบุว่าพวกเขาได้รับข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือทำให้ทราบว่ากองกำลังฝ่ายความมั่นคงสังหารผู้คนไร้อาวุธไปอย่างผิดกฎหมายประมาณ 50 ราย ในนั้นมีที่เป็นเด็กอยู่อย่างน้อย 5 ราย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในมากกว่า 10 เมืองในช่วงเวลาหลายวันนับตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนโดยกองทัพในวันที่ 1 ก.พ. 2564 โดยที่ในวันที่ 3 มี.ค. เพียงวันเดียวก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสังหารประชาชนไปอย่างน้อย 38 ราย
นอกจากจะมีประชาชนผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บแล้ว เจ้าหน้าที่ทางการยังจับกุมประชาชนอย่างน้อยรวม 1,498 ราย มีการตั้งข้อหาและลงโทษในเรื่องที่เกี่ยวกับการต่อต้านรัฐประหาร จากข้อมูลของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า
คิงสลีย์ แอบบอตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตรวจสอบความรับผิดชอบและความยุติธรรมนานาชาติของ ICJ กล่าวว่า จากการที่ความรุนแรงในพม่าทวีเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งดูเหมือนจะมาจากนโยบายการรวมศูนย์อำนาจอย่างเป็นระบบในการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่ประท้วงอย่างสันติ ทำให้กองกำลังความมั่นคงพม่าน่าจะเข้าข่ายารเป็นผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
แอบบอตต์กล่าวอีกว่าความรุนแรงจากเผด็จการทหารพม่ายังเน้นย้ำให้ทุกประเทศรวมถึงกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรเห็นความสำคัญเร่งด่วนในการเลิกปกป้องเผด็จการทหารพม่าและทำงานร่วมกันเพื่อเปิดให้มีการใช้ความยุติธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า
แอบบอตต์เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรจะยื่นเรื่องประเด็นของพม่าต่อศาลอาญาระหว่างประเทศให้มีการสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้อย่างอิสระและอย่างมีประสิทธิภาพโดยทันที
นอกจากกรณีการสังหารประชาชนแล้วแถลงการณ์ ICJ ยังได้ระบุถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพพม่าจะมีความผิดจากกรณีอื่นๆ ที่เป็นการก่อเหตุในวงกว้างและอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะนับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอีกกรณี เช่น การคุมขังผู้คน การทารุณกรรม และการบังคับให้สูญหาย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดกลายเป็นการเกื้อหนุนให้มีการโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อไป
แอบบอตต์ระบุในถ้อยแถลงว่าการสังหารและอาชญากรรมอื่นๆ ที่รัฐบาลพม่าก่อภายใต้กฎหมายนานาชาตินั้นเป็นผลลัพธ์โดยตรงมาจากวัฒนธรรมการลอยนวลไม่ต้องรับผิดของเผด็จการในพม่าที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี จึงควรจะมีกลไกการเข้าไปสืบสวนอย่างออิสระและเก็บหลักฐานการกระทำผิดที่เกิดขึ้นในพม่าเหล่านี้ และควรจะมีการนำตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมาตั้งนานแล้วไม่ว่าจะในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือกลไกการดำเนินคดีอื่นๆ ที่อยู่ในเขตอำนาจศาลตามหลักสากล
ในมาตราที่ 7 ของ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่าการปฏิบัติการโจมตีพลเรือนในวงกว้าง อย่างเป็นระบบ และรับรู้การกระทำเหล่านั้นนับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถึงแม้ว่าคำว่า "ในวงกว้าง" ของธรรมนูญนี้จะเน้นระบุถึงลักษณะภูมิศาสตร์ประชากรหรือจำนวนตัวเลขของเหยื่อ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในนิยามนี้เสมอไป
โดยที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นก็เคยลงพื้นที่ตรวจสอบอิสระเมื่อปี 2561 กรณีการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาและเรียกร้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศนำตัวกองทัพพม่าเข้าสู่กระบวนการไต่สวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ที่กองทัพพม่ากระทำต่อชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน, คะฉิ่น และยะไข่ รวมถึงที่อื่นๆ ของประเทศ
JJNY : ท่องเที่ยวสุดทน│ICJประณามการสังหารผู้ชุมนุมในพม่า│‘พีมูฟ-ภาคีเซฟบางกลอย’ปักหลักชุมนุมยาว│ชูศักดิ์แกะ5ด่านแก้ รธน.
https://www.prachachat.net/tourism/news-625039
แหล่งข่าวในธุรกิจท่องเที่ยวรายหนึ่งกล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการในส่วนของเอกชนท่องเที่ยวจำนวนมากประสบปัญหาสภาพคล่อง และมีจำนวนมากที่เริ่มประคองธุรกิจกันไม่ได้ ทั้งธุรกิจสายการบิน, โรงแรม รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยว เนื่องจากรัฐบาลยังคงมาตรการเปิดรับต่างชาติแบบกักตัว 14 วัน (quarantine) ทำให้ชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวทั่วไปยังไม่เดินทาง
ลั่นธุรกิจอยู่ไม่ไหวแล้ว
ทั้งนี้ มีเพียงแค่บางกลุ่มเท่านั้นที่มีความจำเป็นในการเดินทาง และยอมเข้ามากักตัวตามมาตรการสาธารณสุข ซึ่งก็มีจำนวนน้อยมากไม่ถึง 10,000 คนต่อเดือน ซัพพลายในภาคธุรกิจท่องเที่ยวยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทำให้ทุกฝ่ายเริ่มออกมาเคลื่อนไหวและเรียกร้องให้รัฐบาลประกาศนโยบายสำหรับเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวให้ชัดเจน
“ภาคเอกชนท่องเที่ยวเรารอฟังความชัดเจนจากรัฐบาลมานานแล้ว และก็ได้นำเสนอแนวทางการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบต่าง ๆ มาโดยตลอด แต่สุดท้ายก็ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด ปล่อยเราอยู่ท่ามกลางวิกฤตมานานถึง 1 ปีเต็ม ๆ ตอนนี้ทุกคนกำลังจะตายกันหมดแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ขาใหญ่ 15 บริษัทนำทัพร้องรัฐ
แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า จากความไม่ชัดเจนดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำนวน 15 บริษัทชั้นนำ อาทิ ยานาเวนเจอร์ส, ไมเนอร์ กรุ๊ป, เอเชียน เทรลส์, คาเพลลา โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท, เอ็กซ์โซ ทราเวล, เดสติเนชั่น เอเชีย, เคป แอนด์ แคนทารี่ โฮเทล ฯลฯ ได้รวมพลังกันออกแคมเปญ #OpenThailandSafely ขอเชิญชวนทุกภาคส่วนทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกร่วมลงชื่อแสดงพลังเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว ซึ่งเปิดตัวไปเมื่อวันที่ 2 มีนาคมที่ผ่านมา
โดยข้อมูลที่ได้จากแคมเปญ Open Thailand Safely จะถูกส่งถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณา ทั้งนี้ มีเป้าหมายผู้สนับสนุนจำนวน 100,000 ราย
ยันวัคซีนครอบคลุมทั่วโลก
นายวิลเลียม นีเมเยอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มยานา เวนเจอร์ส และคีรี ทราเวล บริษัทบริหารจุดหมายปลายทางท่องเที่ยว (destination management) หรือ DMC เปิดเผยว่า เหตุผลที่ต้องออกมาเรียกร้องให้รัฐประกาศนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัวนั้น เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกเริ่มทยอยฉีดวัคซีนโควิดกันแล้ว ทำให้พลเมืองส่วนใหญ่ในตลาดต่างประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างแพร่หลายภายในกลางปี
ประกอบกับสาธารณสุขของประเทศไทยก็กำลังดำเนินการฉีดวัคซีนให้บุคลากรแนวหน้าทั้งในภาคบริการต้อนรับและประชาชนกลุ่มเปราะบาง ซึ่งคาดว่าจะสามารถฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชนไทยได้อย่างครอบคลุมภายในกลางปีนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น การประกาศเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว 1 กรกฎาคม 2564 จะสร้างความมั่นใจให้นักเดินทางท่องเที่ยวและสามารถวางแผนเดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทยได้ อีกทั้งยังเป็นโอกาสเชิงกลยุทธ์สำหรับประเทศไทยในการแสดงบทบาทความเป็นผู้นำในอาเซียนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยอย่างมั่นคงในปี 2565 อีกด้วย
ฟื้นท่องเที่ยว-ฟื้นเศรษฐกิจ
ขณะที่ในฟากของผู้ประกอบการท่องเที่ยวตลาดอินบาวนด์เองก็จะสามารถเริ่มวางแผนธุรกิจ วางแผนจัดหาพนักงานและฝึกอบรม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะมีการเดินทางท่องเที่ยวกันอีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลังนี้ได้อย่างเหมาะสม
“ภาคการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหลักที่จะนำเศรษฐกิจประเทศไทยฟื้นฟูได้เร็วที่สุด จึงจำเป็นต้องเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และเพื่อให้แน่ใจว่าการเปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัวจะมีความปลอดภัย ทางรัฐบาลไทยสามารถขอให้นักท่องเที่ยวต่างชาติปฏิบัติตามมาตรการป้องกันที่รัฐบาลไทยกำหนดได้ เช่น การแสดงหลักฐานการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างเป็นทางการจากประเทศต้นทาง การซื้อประกันสุขภาพ การแสดงหลักฐานการตรวจเชื้อโควิด-19 เชิงลบภายใน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง เป็นต้น”
นายวิลเลียมยังกล่าวด้วยว่า จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาระบุว่า ก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภาคการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับประเทศมูลค่ากว่า 2.9 ล้านล้านบาท ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 39.7 ล้านคน และสร้างการจ้างงานกว่า 8.3 ล้านตำแหน่งในปี 2562 แต่ในปี 2563 ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยมีเพียงแค่ 6.7 ล้านคน ทำให้แรงงานในภาคการท่องเที่ยวต้องตกงานมากกว่า 2 ล้านคน จากแรงงานในภาคการท่องเที่ยวที่คาดว่ามีรวมกันประมาณ 4 ล้านคน
ขณะเดียวกัน การกระจายวัคซีนโควิดที่กำลังประสบความสำเร็จในหลายประเทศที่เป็นตลาดท่องเที่ยว เป็นโอกาสให้ประเทศมีจุดหมายปลายทาง เช่น เซเชลส์ มัลดีฟส์ กรีซ และศรีลังกา ได้เปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อีกครั้ง
ส.แอตต้าหนุนเต็มที่
ด้านนายวิชิต ประกอบโกศล นายกสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (แอตต้า) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในฐานะที่สมาคมดูแลตลาดอินบาวนด์ หรือนักท่องเที่ยวขาเข้าเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเอกชนท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าวอย่างมาก เนื่องจากคาดการณ์ว่าภายในครึ่งปีแรกนี้ทั่วโลกจะมีคนที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านคน ในจำนวนนี้น่าจะมีประมาณ 20% หรือประมาณ 200 ล้านคนที่พร้อมออกเดินทางไปต่างประเทศแล้ว สมาคมจึงคาดการณ์ว่าภายในเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกจะเริ่มประกาศนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวโดยไม่มีการกักตัว และจะเริ่มเห็นทั่วโลกทยอยออกเดินทางท่องเที่ยวแล้ว
“รัฐบาลควรเร่งประกาศไทม์ไลน์การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่กักตัวโดยเร็วหรือภายในเดือนมีนาคม-เมษายนนี้ และจะทยอยเปิดรับในเดือนมิถุนายน หรืออย่างช้าก็ไม่ควรเกินเดือนกรกฎาคมนี้ ไม่ใช่ไตรมาสสุดท้ายตามที่เป็นข่าว” นายวิชิตกล่าว
และว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ทางสมาคมได้เตรียมทำหนังสือถึงหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ฯลฯ เพื่อพิจารณาภายในสัปดาห์นี้ เพื่อให้คนทั่วโลกที่ฉีดวัคซีนแล้วรู้ว่าสามารถเดินทางมาประเทศไทยแบบไม่กักตัวได้ ในช่วงครึ่งปีหลัง และศึกษาข้อมูลเที่ยวประเทศไทยล่วงหน้า รวมถึงให้ผู้ประกอบการมีเวลาเตรียมความพร้อมสำหรับการกลับมาให้บริการอีกครั้ง และเตรียมพร้อมสำหรับการทำการตลาดล่วงหน้าด้วย
ICJ ประณามการสังหารผู้ประท้วงในพม่า เสนอให้สืบสวน 'อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ'
https://prachatai.com/journal/2021/03/92004
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ (ICJ) ออกแถลงการณ์ประณามจากสังหารผู้ชุมนุมประท้วงในพม่าและเสนอว่าควรจะมีการสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้ในฐานะอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ โดยมีการพูดถึงเรื่องการใช้ "เขตอำนาจศาลตามหลักสากล" เพื่อดำเนินคดีต่อเผด็จการในพม่าที่ก่อเหตุร้ายแรงต่อพลเรือน
คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล หรือไอซีเจ (ICJ) ซึ่งเป็นองค์กรที่ผลักดันเรื่องความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนแถลงเมื่อวันที่ 4 มี.ค. ที่ผ่านมา ระบุว่าการยกระดับการสังหารผู้ชุมนุมโดยกองกำลังความมั่นคงของพม่านั้นควรจะได้รับการสืบสวนสอบสวนโดยทันทีในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ แถลงการณ์นี้ออกมาในวันเดียวกับที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประชุมหารือแบบไม่เปิดเผยข้อมูลต่อคนนอกเกี่ยวกับสถานการณ์ในพม่า
ICJ ระบุว่าพวกเขาได้รับข้อมูลจากแหล่งที่น่าเชื่อถือทำให้ทราบว่ากองกำลังฝ่ายความมั่นคงสังหารผู้คนไร้อาวุธไปอย่างผิดกฎหมายประมาณ 50 ราย ในนั้นมีที่เป็นเด็กอยู่อย่างน้อย 5 ราย เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในมากกว่า 10 เมืองในช่วงเวลาหลายวันนับตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือนโดยกองทัพในวันที่ 1 ก.พ. 2564 โดยที่ในวันที่ 3 มี.ค. เพียงวันเดียวก็มีกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงสังหารประชาชนไปอย่างน้อย 38 ราย
นอกจากจะมีประชาชนผู้ประท้วงได้รับบาดเจ็บแล้ว เจ้าหน้าที่ทางการยังจับกุมประชาชนอย่างน้อยรวม 1,498 ราย มีการตั้งข้อหาและลงโทษในเรื่องที่เกี่ยวกับการต่อต้านรัฐประหาร จากข้อมูลของสมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมืองพม่า
คิงสลีย์ แอบบอตต์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตรวจสอบความรับผิดชอบและความยุติธรรมนานาชาติของ ICJ กล่าวว่า จากการที่ความรุนแรงในพม่าทวีเพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งดูเหมือนจะมาจากนโยบายการรวมศูนย์อำนาจอย่างเป็นระบบในการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุมที่ประท้วงอย่างสันติ ทำให้กองกำลังความมั่นคงพม่าน่าจะเข้าข่ายารเป็นผู้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ
แอบบอตต์กล่าวอีกว่าความรุนแรงจากเผด็จการทหารพม่ายังเน้นย้ำให้ทุกประเทศรวมถึงกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรเห็นความสำคัญเร่งด่วนในการเลิกปกป้องเผด็จการทหารพม่าและทำงานร่วมกันเพื่อเปิดให้มีการใช้ความยุติธรรมแก่ประชาชนชาวพม่า
แอบบอตต์เสนอให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติควรจะยื่นเรื่องประเด็นของพม่าต่อศาลอาญาระหว่างประเทศให้มีการสืบสวนสอบสวนในเรื่องนี้อย่างอิสระและอย่างมีประสิทธิภาพโดยทันที
นอกจากกรณีการสังหารประชาชนแล้วแถลงการณ์ ICJ ยังได้ระบุถึงความเป็นไปได้ที่กองทัพพม่าจะมีความผิดจากกรณีอื่นๆ ที่เป็นการก่อเหตุในวงกว้างและอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจจะนับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติอีกกรณี เช่น การคุมขังผู้คน การทารุณกรรม และการบังคับให้สูญหาย สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดกลายเป็นการเกื้อหนุนให้มีการโจมตีกลุ่มผู้ชุมนุมต่อไป
แอบบอตต์ระบุในถ้อยแถลงว่าการสังหารและอาชญากรรมอื่นๆ ที่รัฐบาลพม่าก่อภายใต้กฎหมายนานาชาตินั้นเป็นผลลัพธ์โดยตรงมาจากวัฒนธรรมการลอยนวลไม่ต้องรับผิดของเผด็จการในพม่าที่ดำเนินมายาวนานหลายสิบปี จึงควรจะมีกลไกการเข้าไปสืบสวนอย่างออิสระและเก็บหลักฐานการกระทำผิดที่เกิดขึ้นในพม่าเหล่านี้ และควรจะมีการนำตัวผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่ามาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมมาตั้งนานแล้วไม่ว่าจะในศาลอาญาระหว่างประเทศหรือกลไกการดำเนินคดีอื่นๆ ที่อยู่ในเขตอำนาจศาลตามหลักสากล
ในมาตราที่ 7 ของ ธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศระบุว่าการปฏิบัติการโจมตีพลเรือนในวงกว้าง อย่างเป็นระบบ และรับรู้การกระทำเหล่านั้นนับเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ถึงแม้ว่าคำว่า "ในวงกว้าง" ของธรรมนูญนี้จะเน้นระบุถึงลักษณะภูมิศาสตร์ประชากรหรือจำนวนตัวเลขของเหยื่อ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในนิยามนี้เสมอไป
โดยที่ก่อนหน้านี้คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นก็เคยลงพื้นที่ตรวจสอบอิสระเมื่อปี 2561 กรณีการสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาและเรียกร้องให้ศาลอาญาระหว่างประเทศนำตัวกองทัพพม่าเข้าสู่กระบวนการไต่สวนและดำเนินคดีเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ที่กองทัพพม่ากระทำต่อชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน, คะฉิ่น และยะไข่ รวมถึงที่อื่นๆ ของประเทศ