นับเป็น Anination อีกเรื่องของ Disney ที่ผมเฝ้าจับตารอคอย
ตั้งแต่ประกาศโปรเจคสร้าง ยิ่งได้รู้ว่า เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และมีเนื้แหาเกี่ยวกับประเทศไทย ก็ยิ่งตื่นเต้น
"นี่เรื่องราวของไทย จะไปปรากฏสู่สายตาชาวโลก
ใน Animation ระดับโลกอย่าง Disney แล้วจริงๆ หรอเนี่ย
ซึ่งก็ไม่พลาดครับ เมื่อวานเลิกงานรีบตีตั๋วเข้าเข้าโรงหนังหลังเลิกงานทันที
หนังออกมาดีมาก แต่ก็สงสัยอยู่ว่าทำไมความเป็นไทยถึงได้ปรากฏในหนังออกมา
ถ้าเทียบสัดส่วนแล้วแล้ว คือค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ตัวละครหลักอย่าง
รายา น้อย ทอง บุญ ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่เดินเรื่อง รวมถึงมังกรปราณี
ก็คิดๆในใจแหละว่า มันต้องมีอะไรที่เกี่ยวกับไทยเป็นหลัก
จนท้ายเครดิต ด้วยความที่เป็นคนชอบดู End Credit นั่นก็คือปรากฏชื่อ Credit หลัก
ผู้เขียนเค้าโครงเรื่องคือ
นั่นก็คือ ฝน วีระสุนทร ชาวไทย และที่อึ้งกว่าเพิ่งรู้ว่าฝีมือการวาด Frozen อันโด่งดังเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ก็มาจากเธอเช่นกัน
หลังจากกลับบ้านก็เปิด Google ค้นหาชื่อทันที่
จึงอยากมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับงานสร้าง Raya ที่คุณฝนได้ให้บนบทสัมภาษณ์ของ VOAThai ไว้ครับ
฿่งก็เพิ่งรู้อีกอย่างว่าโครงเรื่องมาจากความเชื่อเรื่อง พญานาค
ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
ในสัปดาห์นี้ ค่ายภาพยนตร์ดิสนีย์ จะนำหนังแอนิเมชั่นค่ายดิสนีย์
'รายากับมังกรตัวสุดท้าย' (Raya and the Last Dragon) ออกฉายในประเทศไทย และ “ขุนพล”
ที่อยู่เบื้องหลังความคิดสร้างสรรค์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ
ฝน ประสานสุข วีระสุนทร คนไทยที่เคยสร้างชื่อในฐานะนักวาดการ์ตูนจากเรื่อง Frozen เมื่อแปดปีก่อน
สำหรับเรื่อง Raya and the Last Dragon
คุณฝนทำหน้าที่นำทีมนักเเต่งเรื่อง
ภายใต้ตำแหน่ง Head of Story เธอบอกเล่าถึงที่มาและเบื้องหลังของการ
ถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรมและความงดงามของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางเรื่องราวและภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้
"เราไม่ได้แค่ใช้กูเกิ้ลค้นหาว่าภาพที่เราทำออกมาจะสวยงามอย่างไร
แต่เราต้องทำความเข้าใจด้วยว่าทำไมสิ่งนี้ถึงออกมาเป็นแบบนี้"
"ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดร่วมกันตรงที่การใช้ชีวิตของเรา
เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นอย่างมาก สภาพภูมิอากาศในแต่ละประเทศก็คล้ายกัน แ
ม้แต่วิธีการทอผ้าก็ยังคล้ายกัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้
สัญลักษณ์ต่างๆ ในเรื่อง ว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุท้องถิ่น
ไปจนถึงต้นไม้ดอกไม้ ท้องถิ่นอย่างไร"
คุณฝนบอกเล่าเรื่องราวระหว่างการสนทนากับสื่อมวลชนผ่าน Zoom ด้วยว่า
"ถึงเมืองคูมันตราจะเป็นเมืองสมมติที่ไม่มีอยู่จริง ในเมืองดังกล่าวอาจไม่มี
ของที่เหมือนกับในโลกจริงทุกประการ แต่เราก็คิดถึงเรื่องพวกนี้
ทุกอย่างผ่านการคิดมาหมด แม้แต่ของประกอบฉากเล็กๆ ที่อยู่ตรงริมจอ
ดิฉันก็วาดจากสิ่งที่ดิฉันพบเห็นจากเมื่อตอนเด็กๆ และเมื่อเราทบทวน
งานของเราอีกรอบ เราจะต้องทบทวนเพื่อให้มั่นใจว่าเรื่องราว สิ่งของต่างๆ
ในเนื้อเรื่องประกอบไปด้วยห้าส่วน ห้าด้าน เพราะในโลกของภาพยนตร์เรื่องนี้
ผู้คนมีความเชื่อในเลขห้า ในดินแดนห้าแห่งที่เคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน"
เมืองสมมติ "คูมันตรา" นี้ เป็นเมืองที่มนุษย์และมังกรเคยอาศัยอยู่ร่วมกัน
ซึ่งคุณฝนเล่าว่า มังกรที่อาศัยอยู่ในน้ำในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีที่มาจาก "นาค"
สัตว์ในตำนานตามความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง
"นาคเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดฝนตก ฝนก็เปรียบเสมือนชีวิตของคนในภูมิภาคนี้
ที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก นาคยังเป็นสัตว์คุ้มครองในตำนานหลายเรื่องด้วย
ตามบันไดของวัดต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีนาคประดับ
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนบันไดเชื่อมต่อโลกมนุษย์และสวรรค์"
เธอกล่าวว่า การตัดสินใจใช้มังกรที่มีแรงบันดาลใจจาก "นาค" สัตว์ในตำนาน
ที่ผูกพันกับผู้คนในแถบภูมิภาคนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแก่นเนื้อหาของเรื่องที่ว่าด้วย
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันผ่านการสร้างความเชื่อใจ
"เราถึงมองหาสิ่งที่จะเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้"
ตัวเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นหญิงสาวนักรบอย่าง "รายา"
ซึ่งคุณฝนบอกเล่าเคล็ดลับถึงการสร้างตัวละครหญิงที่น่าดึงดูด แข็งแกร่ง
แต่ก็ดูไม่ "แตกไปจากกรอบ" จากความเป็นหญิงมากเกินไปว่า
"ทีมงานของเราชอบเจาะลึกลงไปถึงตัวละครแต่ละตัว ในฐานะที่ดิฉันก็เป็นผู้หญิง
ฉันรู้ว่าฉันไม่สมบูรณ์แบบ ทีมงานของเราก็พูดประมาณว่า
'ตัวละครตัวนี้ก็มีจุดบกพร่อง เหมือนคุณนั่นแหละ' ทำให้เรามองตัวละครตัวนี้
แบบเชื่อมโยงกับเราได้ ความแข็งแกร่งของตัวละครนี้ยังมาจากการที่เธอเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้
ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้สึกเชื่อมโยง เรียนรู้จากเธอ และได้รับแรงบันดาลใจจากเธอได้"
คุณฝนกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ "ได้ใจ" ผู้ชมก็คือ "ต้องให้เวลา" กับเนื้อหา
"เราอาจบอกเล่าเรื่องบางอย่างได้ภายในประโยคเดียว แต่ความพิเศษของการเล่าเรื่องก็คือ
บางครั้งเราอาจเล่าเรื่องได้โดยไม่ต้องแสดงอะไร เช่นตัวละครบางตัวที่อาจไม่แสดงอารมณ์มาก
แต่เมื่อเราเจาะลงไปดูที่ภาษากายของเขาแล้ว เราก็อาจบอกอะไรเกี่ยวกับตัวละครนั้นได้เป็นอย่างมาก
มีวิธีให้ถ่ายทอดเรื่องราวได้มากมายค่ะ"
หนึ่งในความท้าทายที่สุดของเบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในระหว่างที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
ก็คือ การที่ทีมงานต้องทำงานเป็นทีมกัน ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างทำจากบ้าน ซึ่งคุณฝนยอมรับว่าในช่วงแรก
การทำงานจากบ้านเป็นสิ่งที่ "น่ากลัวมาก" สำหรับเธอ"
คุณฝนบอกด้วยว่า ตอนแรกเธอคิดว่าเราคงทำงานจากบ้านน่าจะแค่ราวสองสัปดาห์
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน ทีมงานไม่สามารถระดมความคิดสร้างสรรค์
จากการเจอหน้ากันและคุยเล่นกัน เช่น จากบทสนทนาขณะเดินไปซื้อกาแฟแบบเดิมได้
ดังนั้นเธอกล่าวว่า ในบรรยากาศใหม่ช่วงโควิด-19 นี้ เธอพยายามทำให้ทีมยังคงสื่อสารกัน
และยังรู้สึกตื่นตัวต่อการทำงาน และทำให้มั่นใจว่าทุกคนเข้าใจงานไปพร้อมๆ กัน
“มันเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจมาก ดิฉันภูมิใจกับทีมงานของเรามาก
ที่ทำงานกันจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าพวกเขาทำกันได้อย่างไรค่ะ"
แม้การทำงานจากบ้านจะเป็นหนึ่งในความท้าทายครั้งใหญ่ต่อการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้
แต่คุณฝนบอกว่า ข้อดีอย่างหนึ่งของการทำงานจากบ้านคือ เธอได้อยู่กับลูกสาววัยสี่ขวบของเธอทั้งวัน ทุกวัน
"เธอเห็นมาหมดแล้วทุกฉากค่ะ เวลาที่เราทำงานบนสตอรี่บอร์ดของเรา ใส่ดนตรี ใส่เสียงประกอบ
เธอจะหัวเราะ รู้สึกอารมณ์ดีไปด้วย นั่นทำให้ฉันรู้ว่า ภาพยนตร์ของเราแม้จะอยู่ในขั้นตอนการผลิต
อย่างหยาบก็ทำให้ผู้ชมมีความสุขได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเต็มขั้นแล้ว มันจะต้องดียิ่งขึ้นไปอีก"
เรียกได้ว่าลูกสาวของเธอได้เห็นงาน Raya and the Last Dragon ทุกขั้นตอน
ก่อนที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ จะเข้าฉายในประเทศไทยวันนี้ และเข้าฉายในสหรัฐฯ วันศุกร์นี้
ในโรงภาพยนตร์เช่นเดียวกับระบบสตรีมหนัง “ดิสนีย์พลัส”
ท้ายสุด คุณฝนบอกว่า การได้ทำงาน "เนรมิตรเรื่องราว" ในโลกของวอลต์ ดิสนีย์ นั้น
อาจเป็นงานในฝันสำหรับใครหลายคน ซึ่งคุณฝนตบท้ายถึงเคล็ดลับสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานตรงนี้ว่า
เธอแนะนำให้ "แข่งกับตัวเอง ไม่ต้องแข่งกับคนอื่น"
"ในช่วงที่ดิฉันเริ่มทำงานแรกๆ ฉันทำแฟ้มสะสมงานทุกหกเดือนเลยค่ะ
อาจจะฟังดูเยอะนะ แต่การทำแบบนั้นมันช่วยให้ดิฉันได้มองกลับไปว่า
ดิฉันเรียนรู้อะไรมาบ้าง แลัเอาชนะอะไรมาบ้าง มันทำให้ดิฉันรู้ถึงความก้าวหน้า
ของตัวเองโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ทำให้รู้สึกดีกับตัวเองไปพร้อมๆ
กับสนับสนุนผู้อื่นได้ ไม่ต้องเปรียบเทียบตัวเรากับใคร แล้วทำให้เรารู้สึกว่า
'คนอื่นเก่งจัง ทำไมตัวเราไม่มีค่าเลย'"
ขอบคุณข้อมูลและบทสัมภาษณ์
เครดิต VOAThai ครับ
https://www.voathai.com/a/fawn-veerasunthorn-raya-and-the-last-dragon-disney-animation-movie/5800622.html
สำหรับตัวผมเอง ต้องบอกว่าเย็นนี้
รอบสอง กับพากย์ไทย ครั้งแรกในชีวิต ในรอบ 30 กว่าปีที่ผ่านมา
'ฝน วีระสุนทร' ชาวไทยผู้อยู่ เบื้องหลังบทหนังแอนิเมชั่นค่ายดิสนีย์ 'รายากับมังกรตัวสุดท้าย'
นับเป็น Anination อีกเรื่องของ Disney ที่ผมเฝ้าจับตารอคอย
ตั้งแต่ประกาศโปรเจคสร้าง ยิ่งได้รู้ว่า เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และมีเนื้แหาเกี่ยวกับประเทศไทย ก็ยิ่งตื่นเต้น
"นี่เรื่องราวของไทย จะไปปรากฏสู่สายตาชาวโลก
ใน Animation ระดับโลกอย่าง Disney แล้วจริงๆ หรอเนี่ย
ซึ่งก็ไม่พลาดครับ เมื่อวานเลิกงานรีบตีตั๋วเข้าเข้าโรงหนังหลังเลิกงานทันที
หนังออกมาดีมาก แต่ก็สงสัยอยู่ว่าทำไมความเป็นไทยถึงได้ปรากฏในหนังออกมา
ถ้าเทียบสัดส่วนแล้วแล้ว คือค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ตัวละครหลักอย่าง
รายา น้อย ทอง บุญ ซึ่งเป็นตัวละครหลักที่เดินเรื่อง รวมถึงมังกรปราณี
ก็คิดๆในใจแหละว่า มันต้องมีอะไรที่เกี่ยวกับไทยเป็นหลัก
จนท้ายเครดิต ด้วยความที่เป็นคนชอบดู End Credit นั่นก็คือปรากฏชื่อ Credit หลัก
ผู้เขียนเค้าโครงเรื่องคือ
นั่นก็คือ ฝน วีระสุนทร ชาวไทย และที่อึ้งกว่าเพิ่งรู้ว่าฝีมือการวาด Frozen อันโด่งดังเมื่อ 8 ปีที่แล้ว ก็มาจากเธอเช่นกัน
หลังจากกลับบ้านก็เปิด Google ค้นหาชื่อทันที่
จึงอยากมาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับงานสร้าง Raya ที่คุณฝนได้ให้บนบทสัมภาษณ์ของ VOAThai ไว้ครับ
฿่งก็เพิ่งรู้อีกอย่างว่าโครงเรื่องมาจากความเชื่อเรื่อง พญานาค
ของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย
ในสัปดาห์นี้ ค่ายภาพยนตร์ดิสนีย์ จะนำหนังแอนิเมชั่นค่ายดิสนีย์
'รายากับมังกรตัวสุดท้าย' (Raya and the Last Dragon) ออกฉายในประเทศไทย และ “ขุนพล”
ที่อยู่เบื้องหลังความคิดสร้างสรรค์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ
ฝน ประสานสุข วีระสุนทร คนไทยที่เคยสร้างชื่อในฐานะนักวาดการ์ตูนจากเรื่อง Frozen เมื่อแปดปีก่อน
สำหรับเรื่อง Raya and the Last Dragon คุณฝนทำหน้าที่นำทีมนักเเต่งเรื่อง
ภายใต้ตำแหน่ง Head of Story เธอบอกเล่าถึงที่มาและเบื้องหลังของการ
ถ่ายทอดคุณค่าทางวัฒนธรรมและความงดงามของประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ผ่านทางเรื่องราวและภาพของภาพยนตร์เรื่องนี้
"เราไม่ได้แค่ใช้กูเกิ้ลค้นหาว่าภาพที่เราทำออกมาจะสวยงามอย่างไร
แต่เราต้องทำความเข้าใจด้วยว่าทำไมสิ่งนี้ถึงออกมาเป็นแบบนี้"
"ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดร่วมกันตรงที่การใช้ชีวิตของเรา
เกี่ยวข้องกับน้ำเป็นอย่างมาก สภาพภูมิอากาศในแต่ละประเทศก็คล้ายกัน แ
ม้แต่วิธีการทอผ้าก็ยังคล้ายกัน เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้
สัญลักษณ์ต่างๆ ในเรื่อง ว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับวัสดุท้องถิ่น
ไปจนถึงต้นไม้ดอกไม้ ท้องถิ่นอย่างไร"
คุณฝนบอกเล่าเรื่องราวระหว่างการสนทนากับสื่อมวลชนผ่าน Zoom ด้วยว่า
"ถึงเมืองคูมันตราจะเป็นเมืองสมมติที่ไม่มีอยู่จริง ในเมืองดังกล่าวอาจไม่มี
ของที่เหมือนกับในโลกจริงทุกประการ แต่เราก็คิดถึงเรื่องพวกนี้
ทุกอย่างผ่านการคิดมาหมด แม้แต่ของประกอบฉากเล็กๆ ที่อยู่ตรงริมจอ
ดิฉันก็วาดจากสิ่งที่ดิฉันพบเห็นจากเมื่อตอนเด็กๆ และเมื่อเราทบทวน
งานของเราอีกรอบ เราจะต้องทบทวนเพื่อให้มั่นใจว่าเรื่องราว สิ่งของต่างๆ
ในเนื้อเรื่องประกอบไปด้วยห้าส่วน ห้าด้าน เพราะในโลกของภาพยนตร์เรื่องนี้
ผู้คนมีความเชื่อในเลขห้า ในดินแดนห้าแห่งที่เคยเป็นแผ่นดินเดียวกัน"
เมืองสมมติ "คูมันตรา" นี้ เป็นเมืองที่มนุษย์และมังกรเคยอาศัยอยู่ร่วมกัน
ซึ่งคุณฝนเล่าว่า มังกรที่อาศัยอยู่ในน้ำในภาพยนตร์เรื่องนี้ มีที่มาจาก "นาค"
สัตว์ในตำนานตามความเชื่อของชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั่นเอง
"นาคเป็นสัตว์ที่ทำให้เกิดฝนตก ฝนก็เปรียบเสมือนชีวิตของคนในภูมิภาคนี้
ที่ทำการเกษตรเป็นจำนวนมาก นาคยังเป็นสัตว์คุ้มครองในตำนานหลายเรื่องด้วย
ตามบันไดของวัดต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีนาคประดับ
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนบันไดเชื่อมต่อโลกมนุษย์และสวรรค์"
เธอกล่าวว่า การตัดสินใจใช้มังกรที่มีแรงบันดาลใจจาก "นาค" สัตว์ในตำนาน
ที่ผูกพันกับผู้คนในแถบภูมิภาคนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับแก่นเนื้อหาของเรื่องที่ว่าด้วย
ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันผ่านการสร้างความเชื่อใจ
"เราถึงมองหาสิ่งที่จะเชื่อมโยงผู้คนเข้าด้วยกันได้"
ตัวเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นหญิงสาวนักรบอย่าง "รายา"
ซึ่งคุณฝนบอกเล่าเคล็ดลับถึงการสร้างตัวละครหญิงที่น่าดึงดูด แข็งแกร่ง
แต่ก็ดูไม่ "แตกไปจากกรอบ" จากความเป็นหญิงมากเกินไปว่า
"ทีมงานของเราชอบเจาะลึกลงไปถึงตัวละครแต่ละตัว ในฐานะที่ดิฉันก็เป็นผู้หญิง
ฉันรู้ว่าฉันไม่สมบูรณ์แบบ ทีมงานของเราก็พูดประมาณว่า
'ตัวละครตัวนี้ก็มีจุดบกพร่อง เหมือนคุณนั่นแหละ' ทำให้เรามองตัวละครตัวนี้
แบบเชื่อมโยงกับเราได้ ความแข็งแกร่งของตัวละครนี้ยังมาจากการที่เธอเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้
ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้สึกเชื่อมโยง เรียนรู้จากเธอ และได้รับแรงบันดาลใจจากเธอได้"
คุณฝนกล่าวว่า สิ่งที่สำคัญที่จะทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ "ได้ใจ" ผู้ชมก็คือ "ต้องให้เวลา" กับเนื้อหา
"เราอาจบอกเล่าเรื่องบางอย่างได้ภายในประโยคเดียว แต่ความพิเศษของการเล่าเรื่องก็คือ
บางครั้งเราอาจเล่าเรื่องได้โดยไม่ต้องแสดงอะไร เช่นตัวละครบางตัวที่อาจไม่แสดงอารมณ์มาก
แต่เมื่อเราเจาะลงไปดูที่ภาษากายของเขาแล้ว เราก็อาจบอกอะไรเกี่ยวกับตัวละครนั้นได้เป็นอย่างมาก
มีวิธีให้ถ่ายทอดเรื่องราวได้มากมายค่ะ"
หนึ่งในความท้าทายที่สุดของเบื้องหลังการผลิตภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในระหว่างที่มีการระบาดของโรคโควิด-19
ก็คือ การที่ทีมงานต้องทำงานเป็นทีมกัน ในขณะที่ต่างฝ่ายต่างทำจากบ้าน ซึ่งคุณฝนยอมรับว่าในช่วงแรก
การทำงานจากบ้านเป็นสิ่งที่ "น่ากลัวมาก" สำหรับเธอ"
คุณฝนบอกด้วยว่า ตอนแรกเธอคิดว่าเราคงทำงานจากบ้านน่าจะแค่ราวสองสัปดาห์
แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายเดือน ทีมงานไม่สามารถระดมความคิดสร้างสรรค์
จากการเจอหน้ากันและคุยเล่นกัน เช่น จากบทสนทนาขณะเดินไปซื้อกาแฟแบบเดิมได้
ดังนั้นเธอกล่าวว่า ในบรรยากาศใหม่ช่วงโควิด-19 นี้ เธอพยายามทำให้ทีมยังคงสื่อสารกัน
และยังรู้สึกตื่นตัวต่อการทำงาน และทำให้มั่นใจว่าทุกคนเข้าใจงานไปพร้อมๆ กัน
“มันเป็นช่วงเวลาที่น่าสนใจมาก ดิฉันภูมิใจกับทีมงานของเรามาก
ที่ทำงานกันจนประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าพวกเขาทำกันได้อย่างไรค่ะ"
แม้การทำงานจากบ้านจะเป็นหนึ่งในความท้าทายครั้งใหญ่ต่อการผลิตภาพยนตร์เรื่องนี้
แต่คุณฝนบอกว่า ข้อดีอย่างหนึ่งของการทำงานจากบ้านคือ เธอได้อยู่กับลูกสาววัยสี่ขวบของเธอทั้งวัน ทุกวัน
"เธอเห็นมาหมดแล้วทุกฉากค่ะ เวลาที่เราทำงานบนสตอรี่บอร์ดของเรา ใส่ดนตรี ใส่เสียงประกอบ
เธอจะหัวเราะ รู้สึกอารมณ์ดีไปด้วย นั่นทำให้ฉันรู้ว่า ภาพยนตร์ของเราแม้จะอยู่ในขั้นตอนการผลิต
อย่างหยาบก็ทำให้ผู้ชมมีความสุขได้ เพราะฉะนั้นเมื่อมันเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันเต็มขั้นแล้ว มันจะต้องดียิ่งขึ้นไปอีก"
เรียกได้ว่าลูกสาวของเธอได้เห็นงาน Raya and the Last Dragon ทุกขั้นตอน
ก่อนที่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเรื่องนี้ จะเข้าฉายในประเทศไทยวันนี้ และเข้าฉายในสหรัฐฯ วันศุกร์นี้
ในโรงภาพยนตร์เช่นเดียวกับระบบสตรีมหนัง “ดิสนีย์พลัส”
ท้ายสุด คุณฝนบอกว่า การได้ทำงาน "เนรมิตรเรื่องราว" ในโลกของวอลต์ ดิสนีย์ นั้น
อาจเป็นงานในฝันสำหรับใครหลายคน ซึ่งคุณฝนตบท้ายถึงเคล็ดลับสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานตรงนี้ว่า
เธอแนะนำให้ "แข่งกับตัวเอง ไม่ต้องแข่งกับคนอื่น"
"ในช่วงที่ดิฉันเริ่มทำงานแรกๆ ฉันทำแฟ้มสะสมงานทุกหกเดือนเลยค่ะ
อาจจะฟังดูเยอะนะ แต่การทำแบบนั้นมันช่วยให้ดิฉันได้มองกลับไปว่า
ดิฉันเรียนรู้อะไรมาบ้าง แลัเอาชนะอะไรมาบ้าง มันทำให้ดิฉันรู้ถึงความก้าวหน้า
ของตัวเองโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ทำให้รู้สึกดีกับตัวเองไปพร้อมๆ
กับสนับสนุนผู้อื่นได้ ไม่ต้องเปรียบเทียบตัวเรากับใคร แล้วทำให้เรารู้สึกว่า
'คนอื่นเก่งจัง ทำไมตัวเราไม่มีค่าเลย'"
ขอบคุณข้อมูลและบทสัมภาษณ์
เครดิต VOAThai ครับ
https://www.voathai.com/a/fawn-veerasunthorn-raya-and-the-last-dragon-disney-animation-movie/5800622.html
สำหรับตัวผมเอง ต้องบอกว่าเย็นนี้
รอบสอง กับพากย์ไทย ครั้งแรกในชีวิต ในรอบ 30 กว่าปีที่ผ่านมา