หนอนสุรา หนึ่งในครูโขน และผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทย
ได้เขียนตำราวิเคราะห์วรรณคดีไทย ไว้ให้คนรุ่นหลังเล็งเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม
เป็นตำราบริหาร อ่านใจคน ฉบับไทยๆ ที่ซึมแทรกกับความบันเทิงที่ระคนกันตลอดเรื่อง
หนึ่งในวรรณกรรมของหนอนสุราที่ยอดเยี่ยม คือ
หนังสือ ขุนช้างขุนแผน ฉบับมองคนละมุม สำนักพิมพ์ จุฬา
มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
ขุนช้างขุนแผนเป็นสุดยอดวรรณคดีของไทยอีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นมาก คือ
เป็นเรื่องไทยพื้นบ้าน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ตัวละครมีความรู้สึกนึกคิด และชีวิตจิตใจเหมือนคนจริงๆ
มีดีมีชั่ว มีถูกมีผิด เฉกเช่นปุถุชนทั้งหลาย
ถ้าอ่านอย่างไม่มีอคติใดๆ ก็จะทำให้เข้าใจชีวิตคนอื่นในหลากหลายแง่มุม
โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดและจิตใจที่เป็นเรื่องเข้าใจยาก
เมื่อเข้าใจตัวละครก็จะย้อนเป็นบทเรียนให้เข้าใจชีวิตตัวเอง
วรรณคดีไม่ใช่หนังสือสอนศิลธรรม หน้าที่หลักของมันคือให้ความบันเทิง
ส่วนเนื้อหาสาระที่ดี คือ การตีแผ่ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครผ่านการกระทำ
ผ่านเรื่องราวต่างๆ ออกมาให้ท่านผู้อ่านประจักษ์
วรรคดีทั้งโลกต่างมีคุณลักษณะสำคัญฉันนี้
เหตุที่ขุนช้างขุนแผนถูกเหยียดหยามคุณค่า
ก็มาจากพฤติกรรมจอมเจ้าชู้ของขุนแผน และถูกมั่วลากความยาวไกลไปว่า
สังคมไทยแต่เดิมกดขี่สตรีเพศ
เชื่อว่าการมีเมียหลายคนไม่ใช่สิ่งที่ชายไทยส่วนใหญ่พึงมีได้ ไม่ว่ายุคสมัยใด
ต้องเป็นชนชั้นขุนนาง หรืออย่างน้อย ต้องเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่มีอันจะกินจึงจะมีได้
การอ่านวรรณคดีไทย คือการย้อนกลับมาทำความรู้จักตัวเอง
ให้เข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ ไม่พ่ายแพ้ล่องลอยไปตามกระแสโลกาวิบัติ
ด้านหนึ่งของขุนแผน คือ ตัวแทนข้าราชการ ใฝ่ดีที่ทำงานเพื่อชาติ
ด้านหนึ่งของขุนช้าง คือ ตัวแทนผู้เห็นช่องโหว่ของระบบ เอาไว้หาประโยชน์เข้าตัว
ส่งผลให้ชีวิตขุนแผนหักเหไปเป็นผู้ต่อต้านระบบอย่างถึงที่สุด
แต่เคราะห์กรรมทั้งหลายทั้งปวงไปตกอยู่กับผู้อ่อนแอ
ไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างนางวันทอง
ถ้าเรามองด้านนี้เราจะเห็นว่าแม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายร้อยปี เรื่องราวอันเป็นแก่นสารก็ยังไม่เคยเปลี่ยน
แล้ววรรคดีไทยจะเฉิ่มเชยหรือเป็นเรื่องพ้นยุคสมัยได้ไฉนหนอ
ขุนช้างขุนแผนฉบับมองคนละมุมนี้ มี 6 บท หรือรวมความเนื้อหาแล้วมีความยาว 127 หน้า
โดยฉากแรกเปิดมา
บทนำ เล่าเรื่องย่อให้พอรู้เรื่อง
หมายถึง เผื่อคนที่ไม่เคยอ่านมาก่อนจะได้รู้ว่าตัวละครมีใครบ้าง
เกี่ยวข้องอะไรกันบ้าง พลายแก้ว(ขุนแผน) ขุนช้าง และนางพิมพิลาไลย(วันทอง)
ไปจนถึงจุดจบของตัวละครวันทองถูกประหารชีวิต เนื้อหานั้นมีขมวดไว้เรียบร้อย
ส่วนจุดเด่นฉบับมองคนละมุมนั้นเริ่มตั้งแต่
บท๒ ว่าด้วยสิทธิสตรี
ไขข้อข้องใจขุนช้างขุนแผนไม่ได้แต่งขึ้นมา
เพื่อประณามว่าวันทองเป็นหญิงสองใจ ไม่ได้กดขี่สตรีเพศ
อย่างที่นักเรียกร้องสิทธิสตรีตะโกนปาวๆ ควรหันมาดู ดูแล้วจะได้เข้าใจ
ไม่เข้าใจผิดเรื่องนางวันทองอีกว่าเป็นเพราะถูกสังคมกระทำ
แก่นของเรื่องตามทัศนะหนอนสุราว่า หลังจากหยิบเสภาเรื่องนี้มาอ่านใหม่อีกครั้ง
เกิดคำถามผุดขึ้นในใจว่า
ทำไม "พ่อ" ของตัวละครเอกทั้งสาม ต้องตายหมดตั้งแต่ลูกยังเด็ก
ผู้เขียนในเวลานั้นต้องการบอกอะไรเรา ทั้งประเด็นใหม่ที่ไม่เคยเห็นมา คือเห็นภาพชัดเจนว่า
สังคมสมัยนั้นเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมาก
ไม่เหมือนที่เราเข้าใจผิดกันว่า
ผู้หญิงสมัยนั้นยืนหยัดด้วยขาตัวเองไม่ได้ ลำแต่จะต้องพึ่งผัวหรือพึ่งลูกชายเสมอ
เปล่าเลย ทั้งนางศรีประจันแม่ของนางพิม นางเทพทองแม่ของขุนช้าง
ต่างไม่ได้มีฐานะต่ำต้อยกว่าผู้ชายแต่อย่างใด
เมื่อผัวตาย ฝ่ายหญิงต้องเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว สังคมก็เปิดโอกาสให้
มิได้รังเกียจเดียดฉันท์ว่าเป็นผู้หญิงแต่ประการใด
แม้แต่เรื่องนางทองประศรีก็น่าสนใจ คือ นางมีการศึกษาดีมาก
ดีขนาดสอนหลานพลายงาม จนมีวิชาติดตัวไม่แพ้พลายแก้วผู้พ่อ ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่น่าพิจารณา
คือเรามักเชื่ออย่างฝังใจว่า
สมัยนั้น ผู้หญิงห้ามไม่ให้รู้หนังสือ การศึกษาถูกผูกขาดไว้ที่ฝ่ายชายฝ่ายเดียว
ส่วนเนื้อหารายละเอียดหญิงอื่นนั้นมีกล่าวถึงอยู่ แต่ถ้าสรุปความตอนนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า
สังคมไทยแต่เดิมไม่เคยกีดกัน หรือกดขี่สตรีเพศแต่อย่างใด
เรื่องนางวันทองได้รับผลแบบนั้น ไม่ได้มาจากสภาพสังคม
แต่มาจากการกระทำของนางวันทองเองต่างหาก
หนอนสุราได้พรรณนาถึงความเป็นนางวันทองว่า
เป็นตัวละครที่น่าสงสารที่สุดในวรรณคดีไทยเท่าที่เคยอ่านมา
น่าศึกษาเจาะลึกปมปัญหาจิตใจของเธอยิ่งนัก ดังใน
บท๓ นางวันทองผู้น่าสงสาร
เหตุการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตที่นางวันทองไม่อาจตัดสินใจได้
จนถูกพระพันวษาบริภาษอย่างรุนแรงว่าเป็นหญิงสองใจ
ถ้าย้อนกลับมามองในปัจจุบันจะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เลือกยาก
ระหว่างความมั่นคงและความหวานชื่นของชีวิต ความรวยกับความรัก
เป็นปัญหาหนักอกสำหรับลูกผู้หญิงทุกยุคทุกสมัยมา
หนอนสุราให้ความเห็นถึงโศกนาฏกรรมของนางวันทองว่า
ดูแล้วไม่รู้จะบอกว่าใครเป็นคนผิด
เพราะทุกคนที่ทำไปต่างบอกกับตัวเองว่าทำไปด้วยความรักวันทองทั้งนั้น และดูเผินๆ ก็เป็นเช่นนั้นจริง
จนทำให้นักวิจารณ์บางท่านโยนความผิดไปให้สังคมสมัยนั้น ซึ่งผมว่าไม่ถูกต้อง
เพราะสังคมทุกทุกสมัย ไม่ว่าอดีตปัจจุบันยันอนาคต ต่างมีความบกพร่องของระบบ
จะต้องมีผู้เสียเปรียบถูกเอาเปรียบอยู่ร่ำไป ถ้าอย่างนั้น
ประเด็นนางวันทองผู้น่าสงสารและไม่น่าสงสารอยู่ตรงไหน
คงต้องพลิกไปหน้าถัดไปและผู้อ่านต้องตามเอาเองในหนังสือเล่มนี้
เพราะเนื้อหานี้เป็นฉบับย่อนอกจากนี้
บท๔ กว่าจะมาเป็นขุนแผน
อ่านแล้วจะเห็นชัดเจนว่าพลายแก้วใจแตก เพราะมีเมียก่อนวัยอันสมควร
เรียกว่ายังอยู่ในวัยเรียน คำถามคือว่า
ทำไมวรรณคดีถึงแต่งเนื้อเรื่องออกมาอย่างนี้
ตอบได้ง่ายมากเพื่อเอาไว้สอนใจคนอ่าน
อย่าทำผิดพลาดเหมือนที่พลายแก้วทำ
แต่ตัวอย่างนักเรียนใจแตกยังมีให้เห็นมาจนปัจจุบัน
เพราะเราอ่านวรรณคดีกันไม่แตก
เลยสอนน้องๆ หนูๆ ไม่เป็นแล้วยังมีหน้ามาโทษวรรณคดีอีกว่า “ชี้นำให้เด็กใจแตก”
แล้วปิดท้ายตอนนี้ด้วย “ ขุนแผนแสนสะท้าน ” รายละเอียดต้องตามเอาเอง เช่นกัน
บท๕ เปลือกนอกของขุนช้างคือตัวตลก
ตบด้วย “เบื้องลึกขุนช้างคือนักการเมือง”
บท๖ ชนชั้นและทางเลือกของไพร่
ซึ่งผู้เขียนให้แง่มุมให้มองได้หลายแง่
เฉกเช่นชีวิตคนจริงๆ ทั้งขุนช้างขุนแผนล้วนเป็นชนชั้นกลาง เช่นกัน
หนอนสุรายกเรื่อง กรณีทาสที่ถูกเจ้านายกระทำ โดยหลีกเลี่ยงมิได้
เพราะทาสต้องเป็นที่รองรับอารมณ์ของเจ้านาย เช่น
ขุนช้างนอนละเมอ กริมซึ่งเป็นนางทาสในเรือนขุนช้าง เข้าใจไปว่า
ขุนช้างเรียกชื่อตนจึงเข้าไปดูแลผู้เป็นนาย แต่กลับถูกปลุกปล้ำ
นางเป็นทาสจึงไม่อาจขัดขืนผู้เป็นนายได้
ส่วนทาสชายชื่อ ผล มิได้ทำอะไรผิด
แต่กลับถูกนางวันทองด่าทออย่างหยาบคาย เพื่อให้กระทบถึงขุนช้าง
ในคราวที่ขุนช้างมาทาบทามสู่ขอนางวันทอง จากนางศรีประจัน
(นางวันทอง จัดเป็นนางเอกปากจัดไม่แพ้สีดา ในวรรณคดี)
นอกจากนั้นผู้เขียนพูดถึง ทางเลือกของไพร่
ทั้งไพร่ที่ต้องดิ้นรนเข้ารับราชการ
เพื่อให้ได้อยู่กับมูลนายที่มีบารมี ดังคำกล่าวที่ว่า
สิบพ่อค้าเลี้ยง ไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง
รวมทั้งไพร่ไม่อาจทนกับระบบที่ต้องรับราชการคราวละนานๆ
จึงหนีจากความเป็นไพร่ออกมาเป็นโจร
อย่างกรณีที่ขุนแผนประสบ เมื่อหนีราชภัยเพราะขุนช้างใส่ร้าย
จึงไปอยู่กับซ่องโจรของหมื่นหาญ เป็นต้น
วรรณคดีไทยเรื่องนี้จึงเสมือน
การจำลองสถานการณ์ทางสังคม ในสมัยกรุงศรีอยุธยามาให้ประจักษ์
โดยอาจมีความเป็นสังคมแบบสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผสมร่วมด้วย
เพราะวรรณคดีเรื่องนี้บางตอน แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในภาคผนวกมีบทกลอนบางตอน ที่ไม่ใคร่จะมีใครมีต้นฉบับหรือแทบไม่เคยได้เห็นได้ฟัง
เพราะทั้งแบบเรียนและวรรณคดีวิจารณ์ รวมไปถึงครูบาอาจารย์มักหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงกลอนตอนนี้
เนื่องจากอ้างว่าเนื้อหาไม่เหมาะกับเยาวชน แต่หนอนสุรานำมาใส่
เพราะจะได้เห็นชัดถึงนิสัยของตัวละครหลัก เหมือนคำพูดที่ว่า
อยากรู้ว่านิสัยที่แท้จริงเป็นเช่นไร ให้ดูตอนเจอสถานการณ์วิกฤติ
ฉะนั้นอยากรู้ว่ากลอนบทนี้ร่ายคำอย่างไรก็ต้องพลิกไปเข้าอ่าน
ประโยคเด็ดของหนอนสุราได้ทิ้งโวหารว่า ใครจะมองเห็นมุมไหนไม่เป็นไร
เพราะคนเล่าใช้ชื่อฉบับมองคนละมุม และใช่ว่าคนเล่าจะเห็นพ้องกับตัวเองไปทั้งหมด
บางเรื่องบางแง่มุมเขียนไปเพราะต้องการยั่วให้แย้ง แต่ไม่ได้ต้องการหาเรื่อง
ตรงกันข้ามกลับต้องการให้ท่านผู้อ่านไปหาเรื่อง เอาเรื่องอะไรก็ได้ที่เป็นวรรณคดีมาอ่านกันใหม่
อ่านแล้วลองมองไปในแง่มุมต่างๆ แล้วมานั่งคุยกันถกกัน
มรดกของชาติ ภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนจะได้ไม่สาบสูญ
ประการสำคัญ ปัจจุบันที่เราอ่านวรรณคดีกันไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือหนักไปกว่านั้นเห็นเป็นเรื่องไม่ควรอ่าน
เป็นเพราะถูกครอบงำทางความคิดมานาน เป็นการพ่ายแพ้สงครามวัฒนธรรมอย่างหมดรูป
วรรณคดีไทยนั้นเป็นหนึ่งในตัวแทนวัฒนธรรม การเปิดฉากทำสงครามวัฒนธรรม
จึงมักเริ่มต้นจากการทำลายคุณค่าวรรณคดีดั้งเดิมของอาณานิคม เพื่อเข้าครอบงำความคิดเป็นปฐม
จากนั้นอัดความรู้สึกนึกคิดใหม่เป็นมัธยม แล้วโกยเงินอันอุดมกลับจักรวรรดิไป
หนังสือเล่านี้เสมือนไฟฉายส่องนำทางให้เห็นสิ่งที่ปรากฏใน ขุนช้างขุนแผน
แต่คนส่วนใหญ่กลับมองข้ามไป เช่น
กรณีความบาดหมางระหว่างขุนช้างกับขุนแผนนั้น
เป็นการเอาชนะกันของลูกผู้ชาย
เพราะเมื่อนางวันทองซึ่งเป็นต้นเหตุถูกประหารชีวิต
ไปความบาดหมางระหว่างลูกผู้ชายทั้งสอง ก็ยุติลงพร้อมกับชีวิตของนาง
วรรณคดีขุนช้างขุนแผนมิได้บอกความเรื่องนี้อย่างชัดเจน
แต่หากศึกษาบริบทและภูมิหลังของตัวละครเท่าที่ปรากฏก็จะเข้าใจสาเหตุ
และสามารถแก้ข้อข้องใจที่มีต่อการอ่านวรรณคดีเพียงมิติเดียว หรืออ่านไปตามตัวอักษรเท่านั้นได้
นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงบทบาทของ
แม่ ที่เลี้ยงดูตัวเอกทั้งสาม(ขุนช้างขุนแผนและนางวันทอง)
มาเป็นอย่างดีแม้จะปราศจากสามีเคียงข้าง
จึงควรกลับมาพิจารณาสังคมในสมัยนั้นเสียใหม่
หนอนสุราได้ตีแผ่ข้อเท็จจริงบางประการที่ซ่อนอยู่ในขุนช้างขุนแผน ได้แก่
มุมมืดของมนุษย์เมื่อ รัก โลภ โกรธ หลงเป็นอาชญากรสำคัญ
ที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์ พบเจอกับความวุ่นวาย
ส่งผลให้ผู้อ่านตระหนักถึง และเข้าใจความเป็นมนุษย์และสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
การศึกษาวรรณคดีในลักษณะเช่นนี้ จึงเป็นการมองอดีตเพื่อพัฒนาปัจจุบัน
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ https://m.mgronline.com/dhamma/detail/9480000120745
https://www.google.com/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwjMwurdyZPvAhWKyjgGHXzBDMcQFjAAegQIARAD&url=https%3A%2F%2Frsujournals.rsu.ac.th%2Findex.php%2Fjla%2Farticle%2Fdownload%2F137%2F90%2F&usg=AOvVaw2LgcI5scRwhpohEF4HiN4C
ขุนช้างขุนแผน ฉบับมองคนละมุม โดย หนอนสุรา
ได้เขียนตำราวิเคราะห์วรรณคดีไทย ไว้ให้คนรุ่นหลังเล็งเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม
เป็นตำราบริหาร อ่านใจคน ฉบับไทยๆ ที่ซึมแทรกกับความบันเทิงที่ระคนกันตลอดเรื่อง
หนึ่งในวรรณกรรมของหนอนสุราที่ยอดเยี่ยม คือ
หนังสือ ขุนช้างขุนแผน ฉบับมองคนละมุม สำนักพิมพ์ จุฬา
มีเนื้อหาโดยสังเขปดังนี้
ขุนช้างขุนแผนเป็นสุดยอดวรรณคดีของไทยอีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นมาก คือ
เป็นเรื่องไทยพื้นบ้าน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ตัวละครมีความรู้สึกนึกคิด และชีวิตจิตใจเหมือนคนจริงๆ
มีดีมีชั่ว มีถูกมีผิด เฉกเช่นปุถุชนทั้งหลาย
ถ้าอ่านอย่างไม่มีอคติใดๆ ก็จะทำให้เข้าใจชีวิตคนอื่นในหลากหลายแง่มุม
โดยเฉพาะความรู้สึกนึกคิดและจิตใจที่เป็นเรื่องเข้าใจยาก
เมื่อเข้าใจตัวละครก็จะย้อนเป็นบทเรียนให้เข้าใจชีวิตตัวเอง
วรรณคดีไม่ใช่หนังสือสอนศิลธรรม หน้าที่หลักของมันคือให้ความบันเทิง
ส่วนเนื้อหาสาระที่ดี คือ การตีแผ่ความรู้สึกนึกคิดของตัวละครผ่านการกระทำ
ผ่านเรื่องราวต่างๆ ออกมาให้ท่านผู้อ่านประจักษ์
วรรคดีทั้งโลกต่างมีคุณลักษณะสำคัญฉันนี้
เหตุที่ขุนช้างขุนแผนถูกเหยียดหยามคุณค่า
ก็มาจากพฤติกรรมจอมเจ้าชู้ของขุนแผน และถูกมั่วลากความยาวไกลไปว่า
สังคมไทยแต่เดิมกดขี่สตรีเพศ
เชื่อว่าการมีเมียหลายคนไม่ใช่สิ่งที่ชายไทยส่วนใหญ่พึงมีได้ ไม่ว่ายุคสมัยใด
ต้องเป็นชนชั้นขุนนาง หรืออย่างน้อย ต้องเป็นผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่มีอันจะกินจึงจะมีได้
การอ่านวรรณคดีไทย คือการย้อนกลับมาทำความรู้จักตัวเอง
ให้เข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้ ไม่พ่ายแพ้ล่องลอยไปตามกระแสโลกาวิบัติ
ด้านหนึ่งของขุนแผน คือ ตัวแทนข้าราชการ ใฝ่ดีที่ทำงานเพื่อชาติ
ด้านหนึ่งของขุนช้าง คือ ตัวแทนผู้เห็นช่องโหว่ของระบบ เอาไว้หาประโยชน์เข้าตัว
ส่งผลให้ชีวิตขุนแผนหักเหไปเป็นผู้ต่อต้านระบบอย่างถึงที่สุด
แต่เคราะห์กรรมทั้งหลายทั้งปวงไปตกอยู่กับผู้อ่อนแอ
ไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างนางวันทอง
ถ้าเรามองด้านนี้เราจะเห็นว่าแม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายร้อยปี เรื่องราวอันเป็นแก่นสารก็ยังไม่เคยเปลี่ยน
แล้ววรรคดีไทยจะเฉิ่มเชยหรือเป็นเรื่องพ้นยุคสมัยได้ไฉนหนอ
ขุนช้างขุนแผนฉบับมองคนละมุมนี้ มี 6 บท หรือรวมความเนื้อหาแล้วมีความยาว 127 หน้า
โดยฉากแรกเปิดมา
บทนำ เล่าเรื่องย่อให้พอรู้เรื่อง
หมายถึง เผื่อคนที่ไม่เคยอ่านมาก่อนจะได้รู้ว่าตัวละครมีใครบ้าง
เกี่ยวข้องอะไรกันบ้าง พลายแก้ว(ขุนแผน) ขุนช้าง และนางพิมพิลาไลย(วันทอง)
ไปจนถึงจุดจบของตัวละครวันทองถูกประหารชีวิต เนื้อหานั้นมีขมวดไว้เรียบร้อย
ส่วนจุดเด่นฉบับมองคนละมุมนั้นเริ่มตั้งแต่
บท๒ ว่าด้วยสิทธิสตรี
ไขข้อข้องใจขุนช้างขุนแผนไม่ได้แต่งขึ้นมา
เพื่อประณามว่าวันทองเป็นหญิงสองใจ ไม่ได้กดขี่สตรีเพศ
อย่างที่นักเรียกร้องสิทธิสตรีตะโกนปาวๆ ควรหันมาดู ดูแล้วจะได้เข้าใจ
ไม่เข้าใจผิดเรื่องนางวันทองอีกว่าเป็นเพราะถูกสังคมกระทำ
แก่นของเรื่องตามทัศนะหนอนสุราว่า หลังจากหยิบเสภาเรื่องนี้มาอ่านใหม่อีกครั้ง
เกิดคำถามผุดขึ้นในใจว่า
ทำไม "พ่อ" ของตัวละครเอกทั้งสาม ต้องตายหมดตั้งแต่ลูกยังเด็ก
ผู้เขียนในเวลานั้นต้องการบอกอะไรเรา ทั้งประเด็นใหม่ที่ไม่เคยเห็นมา คือเห็นภาพชัดเจนว่า
สังคมสมัยนั้นเปิดโอกาสให้ผู้หญิงมาก
ไม่เหมือนที่เราเข้าใจผิดกันว่า
ผู้หญิงสมัยนั้นยืนหยัดด้วยขาตัวเองไม่ได้ ลำแต่จะต้องพึ่งผัวหรือพึ่งลูกชายเสมอ
เปล่าเลย ทั้งนางศรีประจันแม่ของนางพิม นางเทพทองแม่ของขุนช้าง
ต่างไม่ได้มีฐานะต่ำต้อยกว่าผู้ชายแต่อย่างใด
เมื่อผัวตาย ฝ่ายหญิงต้องเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว สังคมก็เปิดโอกาสให้
มิได้รังเกียจเดียดฉันท์ว่าเป็นผู้หญิงแต่ประการใด
แม้แต่เรื่องนางทองประศรีก็น่าสนใจ คือ นางมีการศึกษาดีมาก
ดีขนาดสอนหลานพลายงาม จนมีวิชาติดตัวไม่แพ้พลายแก้วผู้พ่อ ซึ่งเป็นอีกประเด็นที่น่าพิจารณา
คือเรามักเชื่ออย่างฝังใจว่า
สมัยนั้น ผู้หญิงห้ามไม่ให้รู้หนังสือ การศึกษาถูกผูกขาดไว้ที่ฝ่ายชายฝ่ายเดียว
ส่วนเนื้อหารายละเอียดหญิงอื่นนั้นมีกล่าวถึงอยู่ แต่ถ้าสรุปความตอนนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า
สังคมไทยแต่เดิมไม่เคยกีดกัน หรือกดขี่สตรีเพศแต่อย่างใด
เรื่องนางวันทองได้รับผลแบบนั้น ไม่ได้มาจากสภาพสังคม
แต่มาจากการกระทำของนางวันทองเองต่างหาก
หนอนสุราได้พรรณนาถึงความเป็นนางวันทองว่า
เป็นตัวละครที่น่าสงสารที่สุดในวรรณคดีไทยเท่าที่เคยอ่านมา
น่าศึกษาเจาะลึกปมปัญหาจิตใจของเธอยิ่งนัก ดังใน
บท๓ นางวันทองผู้น่าสงสาร
เหตุการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิตที่นางวันทองไม่อาจตัดสินใจได้
จนถูกพระพันวษาบริภาษอย่างรุนแรงว่าเป็นหญิงสองใจ
ถ้าย้อนกลับมามองในปัจจุบันจะเห็นว่าเป็นปัญหาที่เลือกยาก
ระหว่างความมั่นคงและความหวานชื่นของชีวิต ความรวยกับความรัก
เป็นปัญหาหนักอกสำหรับลูกผู้หญิงทุกยุคทุกสมัยมา
หนอนสุราให้ความเห็นถึงโศกนาฏกรรมของนางวันทองว่า
ดูแล้วไม่รู้จะบอกว่าใครเป็นคนผิด
เพราะทุกคนที่ทำไปต่างบอกกับตัวเองว่าทำไปด้วยความรักวันทองทั้งนั้น และดูเผินๆ ก็เป็นเช่นนั้นจริง
จนทำให้นักวิจารณ์บางท่านโยนความผิดไปให้สังคมสมัยนั้น ซึ่งผมว่าไม่ถูกต้อง
เพราะสังคมทุกทุกสมัย ไม่ว่าอดีตปัจจุบันยันอนาคต ต่างมีความบกพร่องของระบบ
จะต้องมีผู้เสียเปรียบถูกเอาเปรียบอยู่ร่ำไป ถ้าอย่างนั้น
ประเด็นนางวันทองผู้น่าสงสารและไม่น่าสงสารอยู่ตรงไหน
คงต้องพลิกไปหน้าถัดไปและผู้อ่านต้องตามเอาเองในหนังสือเล่มนี้
เพราะเนื้อหานี้เป็นฉบับย่อนอกจากนี้
บท๔ กว่าจะมาเป็นขุนแผน
อ่านแล้วจะเห็นชัดเจนว่าพลายแก้วใจแตก เพราะมีเมียก่อนวัยอันสมควร
เรียกว่ายังอยู่ในวัยเรียน คำถามคือว่า
ทำไมวรรณคดีถึงแต่งเนื้อเรื่องออกมาอย่างนี้
ตอบได้ง่ายมากเพื่อเอาไว้สอนใจคนอ่าน
อย่าทำผิดพลาดเหมือนที่พลายแก้วทำ
แต่ตัวอย่างนักเรียนใจแตกยังมีให้เห็นมาจนปัจจุบัน
เพราะเราอ่านวรรณคดีกันไม่แตก
เลยสอนน้องๆ หนูๆ ไม่เป็นแล้วยังมีหน้ามาโทษวรรณคดีอีกว่า “ชี้นำให้เด็กใจแตก”
แล้วปิดท้ายตอนนี้ด้วย “ ขุนแผนแสนสะท้าน ” รายละเอียดต้องตามเอาเอง เช่นกัน
บท๕ เปลือกนอกของขุนช้างคือตัวตลก
ตบด้วย “เบื้องลึกขุนช้างคือนักการเมือง”
บท๖ ชนชั้นและทางเลือกของไพร่
ซึ่งผู้เขียนให้แง่มุมให้มองได้หลายแง่
เฉกเช่นชีวิตคนจริงๆ ทั้งขุนช้างขุนแผนล้วนเป็นชนชั้นกลาง เช่นกัน
หนอนสุรายกเรื่อง กรณีทาสที่ถูกเจ้านายกระทำ โดยหลีกเลี่ยงมิได้
เพราะทาสต้องเป็นที่รองรับอารมณ์ของเจ้านาย เช่น
ขุนช้างนอนละเมอ กริมซึ่งเป็นนางทาสในเรือนขุนช้าง เข้าใจไปว่า
ขุนช้างเรียกชื่อตนจึงเข้าไปดูแลผู้เป็นนาย แต่กลับถูกปลุกปล้ำ
นางเป็นทาสจึงไม่อาจขัดขืนผู้เป็นนายได้
ส่วนทาสชายชื่อ ผล มิได้ทำอะไรผิด
แต่กลับถูกนางวันทองด่าทออย่างหยาบคาย เพื่อให้กระทบถึงขุนช้าง
ในคราวที่ขุนช้างมาทาบทามสู่ขอนางวันทอง จากนางศรีประจัน
(นางวันทอง จัดเป็นนางเอกปากจัดไม่แพ้สีดา ในวรรณคดี)
นอกจากนั้นผู้เขียนพูดถึง ทางเลือกของไพร่
ทั้งไพร่ที่ต้องดิ้นรนเข้ารับราชการ
เพื่อให้ได้อยู่กับมูลนายที่มีบารมี ดังคำกล่าวที่ว่า
สิบพ่อค้าเลี้ยง ไม่เท่าหนึ่งพระยาเลี้ยง
รวมทั้งไพร่ไม่อาจทนกับระบบที่ต้องรับราชการคราวละนานๆ
จึงหนีจากความเป็นไพร่ออกมาเป็นโจร
อย่างกรณีที่ขุนแผนประสบ เมื่อหนีราชภัยเพราะขุนช้างใส่ร้าย
จึงไปอยู่กับซ่องโจรของหมื่นหาญ เป็นต้น
วรรณคดีไทยเรื่องนี้จึงเสมือน
การจำลองสถานการณ์ทางสังคม ในสมัยกรุงศรีอยุธยามาให้ประจักษ์
โดยอาจมีความเป็นสังคมแบบสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ผสมร่วมด้วย
เพราะวรรณคดีเรื่องนี้บางตอน แต่งขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
ในภาคผนวกมีบทกลอนบางตอน ที่ไม่ใคร่จะมีใครมีต้นฉบับหรือแทบไม่เคยได้เห็นได้ฟัง
เพราะทั้งแบบเรียนและวรรณคดีวิจารณ์ รวมไปถึงครูบาอาจารย์มักหลีกเลี่ยงการกล่าวถึงกลอนตอนนี้
เนื่องจากอ้างว่าเนื้อหาไม่เหมาะกับเยาวชน แต่หนอนสุรานำมาใส่
เพราะจะได้เห็นชัดถึงนิสัยของตัวละครหลัก เหมือนคำพูดที่ว่า
อยากรู้ว่านิสัยที่แท้จริงเป็นเช่นไร ให้ดูตอนเจอสถานการณ์วิกฤติ
ฉะนั้นอยากรู้ว่ากลอนบทนี้ร่ายคำอย่างไรก็ต้องพลิกไปเข้าอ่าน
ประโยคเด็ดของหนอนสุราได้ทิ้งโวหารว่า ใครจะมองเห็นมุมไหนไม่เป็นไร
เพราะคนเล่าใช้ชื่อฉบับมองคนละมุม และใช่ว่าคนเล่าจะเห็นพ้องกับตัวเองไปทั้งหมด
บางเรื่องบางแง่มุมเขียนไปเพราะต้องการยั่วให้แย้ง แต่ไม่ได้ต้องการหาเรื่อง
ตรงกันข้ามกลับต้องการให้ท่านผู้อ่านไปหาเรื่อง เอาเรื่องอะไรก็ได้ที่เป็นวรรณคดีมาอ่านกันใหม่
อ่านแล้วลองมองไปในแง่มุมต่างๆ แล้วมานั่งคุยกันถกกัน
มรดกของชาติ ภูมิปัญญาอันยิ่งใหญ่ของบรรพชนจะได้ไม่สาบสูญ
ประการสำคัญ ปัจจุบันที่เราอ่านวรรณคดีกันไม่ค่อยรู้เรื่อง หรือหนักไปกว่านั้นเห็นเป็นเรื่องไม่ควรอ่าน
เป็นเพราะถูกครอบงำทางความคิดมานาน เป็นการพ่ายแพ้สงครามวัฒนธรรมอย่างหมดรูป
วรรณคดีไทยนั้นเป็นหนึ่งในตัวแทนวัฒนธรรม การเปิดฉากทำสงครามวัฒนธรรม
จึงมักเริ่มต้นจากการทำลายคุณค่าวรรณคดีดั้งเดิมของอาณานิคม เพื่อเข้าครอบงำความคิดเป็นปฐม
จากนั้นอัดความรู้สึกนึกคิดใหม่เป็นมัธยม แล้วโกยเงินอันอุดมกลับจักรวรรดิไป
หนังสือเล่านี้เสมือนไฟฉายส่องนำทางให้เห็นสิ่งที่ปรากฏใน ขุนช้างขุนแผน
แต่คนส่วนใหญ่กลับมองข้ามไป เช่น
กรณีความบาดหมางระหว่างขุนช้างกับขุนแผนนั้น
เป็นการเอาชนะกันของลูกผู้ชาย
เพราะเมื่อนางวันทองซึ่งเป็นต้นเหตุถูกประหารชีวิต
ไปความบาดหมางระหว่างลูกผู้ชายทั้งสอง ก็ยุติลงพร้อมกับชีวิตของนาง
วรรณคดีขุนช้างขุนแผนมิได้บอกความเรื่องนี้อย่างชัดเจน
แต่หากศึกษาบริบทและภูมิหลังของตัวละครเท่าที่ปรากฏก็จะเข้าใจสาเหตุ
และสามารถแก้ข้อข้องใจที่มีต่อการอ่านวรรณคดีเพียงมิติเดียว หรืออ่านไปตามตัวอักษรเท่านั้นได้
นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงบทบาทของ
แม่ ที่เลี้ยงดูตัวเอกทั้งสาม(ขุนช้างขุนแผนและนางวันทอง)
มาเป็นอย่างดีแม้จะปราศจากสามีเคียงข้าง
จึงควรกลับมาพิจารณาสังคมในสมัยนั้นเสียใหม่
หนอนสุราได้ตีแผ่ข้อเท็จจริงบางประการที่ซ่อนอยู่ในขุนช้างขุนแผน ได้แก่
มุมมืดของมนุษย์เมื่อ รัก โลภ โกรธ หลงเป็นอาชญากรสำคัญ
ที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์ พบเจอกับความวุ่นวาย
ส่งผลให้ผู้อ่านตระหนักถึง และเข้าใจความเป็นมนุษย์และสังคมไทยมากยิ่งขึ้น
การศึกษาวรรณคดีในลักษณะเช่นนี้ จึงเป็นการมองอดีตเพื่อพัฒนาปัจจุบัน
อ้างอิง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้