เกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างที่ไม่ไม่ติดตั้งป้ายสัญญาณเตือน ทำอย่างไร (ประสบการจริง)
เป็นข่าวด้วย
เรื่องเด่นเย็นนี้ 9 ก.ย. 2563 และอีกหลายสำนักข่าว
ขอเล่าเหตุการก่อนนะครับ เมื่อวันเกิดเหตุ วันที่ 7 ก.ย. 63 ผมได้ขับรถ ISUSU Dmax 4D 2020 มาจากต่างจังหวัดเพื่อกลับที่พัก แถว ม. ABAC ซึ่งได้แวะหาญาติแถวลาดกระบัง ซึ่งไม่เคยไปแถวนั้น หลังจากไปหาญาติเสร็จ ก็จะกลับที่พัก โดยเปิด GPS นำทาง และก่อนเกิดเหตุ ว่าจะแวะกินก๋วยเตียว แต่ไม่ได้กิน เพราะร้านเก็บแล้ว จึงกลับขึ้นรถเพื่อเดินทางกลับที่พักต่อ โดยที่เห็นจากคลิปกล้องหน้ารถขับรถชิดขวามาเพราะอีก 2 กิโลเมตรข้างหน้า ต้องเลี้ยวขวาเพื่อกลับที่พัก
โดยมาถึงบริเวณจุดเกิดเหตุ ไม่คุ้นเส้นทาง และทางผู้รับเหมาไม่ได้ติดสัญญาณไฟและป้ายเตือนต่างๆ ก่อนถึงจุดก่อสร้าง แถมยังมีแท่งบาริเออบนสะพานฝังซ้ายอีกด้วย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังคลิป ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และโชคดีที่ตรงนั้นเป็นจุดสแตนด์บายของกู้ภัยพ่อดี ชนปุบ วอดังปับ รถหมอน้ำแตก เสียหายข้างหน้าทั้งหมด ดีไม่ถึงเครื่อง รถออกใหม่ พึงได้ 8 เดือน
จากนั้น ทำอย่างไร
1. แจ้งประกันรถตัวเองให้มายังที่เกิดเหตุ
2. เก็บหลักฐานเพื่อเอาผิดผู้รับเหมา (กล้องหน้ารถ ) ถ่ายภาพมุมต่างๆ ของสถานที่เกิดเหตุ ถ่ายวีดีโอไปเลยก็ได้
3. โทรแจ้งความเลยก็ได้ ถ้าหนัก ( เจ้าหน้าที่จะได้ออกมาดูที่เกิดเหตุ) แต่ผมไม่ได้แจ้งเพราะตกใจ และไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ เลยนำรถไปที่โรงพักแทนเพราะไม่มีคนได้รับบาดเจ็บ
เมื่อประกันมา พร้อมรถยก ก็ทำเรื่องเครมให้เรียบร้อย (ถ้าไม่มีประกันรถคงไม่ได้ซ่อม 140,000 ค่าซ่อม) เสร็จแล้วก็ลากขึ้นรถยก และให้รถยกและประกันพาไปที่โรงพัก เพื่อลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความไปเลยก็ได้ เหตุเกิดในท้องที่ สภ.เปร็ง ที่นี้ตำรวจก็ดีๆ หลังจากที่ได้เข้ามาแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่ก็ได้ออกตรวจสอบที่เกิดเหตุจริง ว่าจุดไหน อันตรายต่อผู้ใช้ถนนจริงใหม ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าจริง และทางผมได้ขอตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่โรงพัก แต่ทางผู้กองแจ้งแว่าเครื่องวัดได้ส่งตรวจทั้งหมดไม่มีอยู่ที่โรงพัก แต่ก็เอาวะ ขอให้ตำรวจออกใบส่งตัวไปตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดเลยก็แล้วกัน กันไว้เดียวมาอ้างว่าเราเมา จึงได้ออกเอกสารบันทึกประจำวันให้พร้อมทั้งแจ้งไปยังผู้รับเหมา ให้ไปติดป้ายสัญญาณเตือนให้เรียบร้อย ซึ่งเร็วมาก วันรุ่งขึ้น ก่อนนักข่าวลง กลบลุมเรียบร้อย ป้ายมา ไฟมา อยากกับมีเวทมนต์
และในวันถัดไปได้มีผู้รับเหมาติดต่อมาโดยเอาเบอร์โทรจากโรงพักที่ผมให้ไว้ นัดเขาไปคุย โดยส่ง จป. ของโครงการมา รับว่า บริเออร์นั้น เป็นของ บริษัท ...................... จริง ซึ่งตอนนั้น ไม่ได้มีการเยียวยาเบื้องต้นไดๆทั้งสิ้น และรถ อยู่ในระหว่างการประเมินค่าซ่อม และได้ลงบันทึกประจำวันอีกครั้ง ระหว่างซ่อมรถนั้น ได้ประสานแจ้งเหตุ ไปที่กรมทางหลวงชนบท และได้คุยกับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างถนนดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นผลแต่อย่างได คุยกันหลายครั้ง จนได้ผู้จะดูเรื่องอุบัติเหตุครั้งนี้ของบริษัทผู้รับเหมา
หลังจากรถซ่อมเสร็จ ใช้เวลา 40 วันในการซ่อมห้าง ก็ได้ทำเอกสาร และเรียกผู้รับเหมา พร้อมทั้งประกันของผู้รับเหมา(ประกับเบ็ดเตล็ด)และประกันรถ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ซึ่งนัดมาที่โรงพักเพื่อคุยเรื่องค่าเสียหาย ซึ่งทางผู้รับเหมาได้ส่งตัวแทน(คนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ) มารับฟังและรับเอกสารไป หลักจากคุยกันเรื่องค่าเสียหาย ทางผู้รับเหมาขอกลับไปเสนอผู้บริหาร ว่าจะทำการเยียวยาหรือไม และจะให้คำตอบภายใน 7 วัน
และเมื่อผ่านมา 7 วันก็ยังไม่ได้คำตอบ โดยอ้างว่านายยังไม่ว่าง หลังจากนั้นก็ตามทุกวัน และได้โทรหาเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบทอีกครั้ง โดยเล่าเหตุการให้ฟังและได้คำตอบว่าเดียวพี่จะตามให้ ผ่านมาอีก 5 วัน (4 เดือน หลังเกิดอุบัติเหตุ) ได้ติดต่อผู้รับเหมา(ติดต่อยากมาก) ได้รับคำตอบว่า ""ทางบริษัท ได้ปรึกษากับฝ่ายกฏหมายของบริษัทแล้วว่า ไม่เห็นสมควรจ่าย"" เอาไงละทีนี้
หลังจากได้รับคำตอบแล้ว ได้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่กรมทางอีกครั้งว่าได้รับคำตอบมาแบบนี้ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้ เขียนหนังสือร้องอุทธรณ์ เรียน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท หลักจากเขียนและ ส่งหนังสือถึงอธิบ่ดีกรมทางเรียบร้อยแล้วได้มีเจ้าหน้าที่นิติกรโทรมาสอบถามเหตุการและแนะนำ ให้ฟ้อง กรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยที่ 1 และผู้รับเหมาเป็นจำเลยที่ 2 เพราะถ้ารอทางกรมทางหลวงหาข้อเท็จจริงก็อาจกินเวลาออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยขั้นตอนยุ่งยากพอสมควรโดยต้องตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริงและสรุปและไม่มีอำนาจพอที่จะไปบังคับให้ทางผู้รับเหมาจ่ายค่าเสียหายได้ จึงแนะนำให้ฟ้อง เดียวจะหมดอายุความก่อน 1 ปี และหลังจากนั้นทางกรมก็จะมีอำนาจอ้างตามคำสั่งศาล สั่งให้ผู้รับเหมาจ่ายค่าเสียหายได้ (งงอยู่เหมือนกันในสัญญาว่าจ้างไม่มีข้อกำหนดบทลงโทษหรือย่างไร) แต่ก็จะลองให้ทางผู้ที่รับผิดชอบไปคุยให้อีกครั้ง
หลักจากได้รับคำแนะนำจากนิติกรกรมทาง ก็ได้เริ่มหาทนาย ปรึกษาหลายๆคน และก็เรทค่าจ้าง ประมาณ 30,000-70,000 บาท ในการฟ้องคดีนี้ ระหว่างหาทนายอยู่ประมาณ 1 เดือน ทางผู้รับเหมาโทรมาต่อรองราคา บอกว่ากรมทางลงมาคุยด้วย จึงจะขอรับผิดชอบ โดยต่อรองราคาเรียบร้อย จึงลงบันทึกที่โรงพักอีกครั้งว่าจะชดใช้ค่าเสียหายเท่าไร โดยไม่รวมค่าเสียหายของประกันที่ต้องเรียกกับประกันของผู้รับเหมา
นี้คือประสบการณ์ตรง ระยะเวลา ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ รวมแล้ว ประมาณ 6 เดือน เกือบได้ฟ้องเสียเวลาอีกอย่างน้อย 1 ปี ค่าเสียหายที่เรียกร้องไป ประมาณ 370,000 บาท เป็นพวก ค่าเสือมราคาจากอุบัติเหตุ ค่าขาดประโยชน์ ค่าตราจทางการแพทย์ ค่าของเหลวในรถที่นอกเหนือจากการประกันภัย ซึ่งผู้รับเหมาต่อลง ครึ่งหนึง แต่ก็ตกลง ก็คงดีกว่าการไปขึ้นศาลเพื่อเรียกร้อง
กรุณา อย่าหลงประเด็น ( ก่อสร้างถนนไม่ติดสัญญาณเตือน ถ้าติดคงเห็นแล้วชลอแล้วครับ ใครจะอยากเกิดอุบัติเหตุ ) เรื่อง
- ขับรถไม่เป็น
- ขาดประสบการณ์
- ไม่ชลอ ไม่เบรก
- โง่เอง
ทั้งหมดนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ ต่อผู้คนที่เกิดอุบัติเหตุจากความมักง่ายของของผู้รับเหมา นะครับ ขอบคุณที่อ่านจบ.....
เกิดอุบัติเหตุจากงานก่อสร้างที่ ไม่ติดตั้งป้ายสัญญาณเตือน ทำอย่างไร (ประสบการจริง)
โดยมาถึงบริเวณจุดเกิดเหตุ ไม่คุ้นเส้นทาง และทางผู้รับเหมาไม่ได้ติดสัญญาณไฟและป้ายเตือนต่างๆ ก่อนถึงจุดก่อสร้าง แถมยังมีแท่งบาริเออบนสะพานฝังซ้ายอีกด้วย ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ดังคลิป ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และโชคดีที่ตรงนั้นเป็นจุดสแตนด์บายของกู้ภัยพ่อดี ชนปุบ วอดังปับ รถหมอน้ำแตก เสียหายข้างหน้าทั้งหมด ดีไม่ถึงเครื่อง รถออกใหม่ พึงได้ 8 เดือน
จากนั้น ทำอย่างไร
1. แจ้งประกันรถตัวเองให้มายังที่เกิดเหตุ
2. เก็บหลักฐานเพื่อเอาผิดผู้รับเหมา (กล้องหน้ารถ ) ถ่ายภาพมุมต่างๆ ของสถานที่เกิดเหตุ ถ่ายวีดีโอไปเลยก็ได้
3. โทรแจ้งความเลยก็ได้ ถ้าหนัก ( เจ้าหน้าที่จะได้ออกมาดูที่เกิดเหตุ) แต่ผมไม่ได้แจ้งเพราะตกใจ และไม่เคยเกิดอุบัติเหตุ เลยนำรถไปที่โรงพักแทนเพราะไม่มีคนได้รับบาดเจ็บ
เมื่อประกันมา พร้อมรถยก ก็ทำเรื่องเครมให้เรียบร้อย (ถ้าไม่มีประกันรถคงไม่ได้ซ่อม 140,000 ค่าซ่อม) เสร็จแล้วก็ลากขึ้นรถยก และให้รถยกและประกันพาไปที่โรงพัก เพื่อลงบันทึกประจำวัน หรือแจ้งความไปเลยก็ได้ เหตุเกิดในท้องที่ สภ.เปร็ง ที่นี้ตำรวจก็ดีๆ หลังจากที่ได้เข้ามาแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่ก็ได้ออกตรวจสอบที่เกิดเหตุจริง ว่าจุดไหน อันตรายต่อผู้ใช้ถนนจริงใหม ซึ่งตรวจสอบแล้วว่าจริง และทางผมได้ขอตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่โรงพัก แต่ทางผู้กองแจ้งแว่าเครื่องวัดได้ส่งตรวจทั้งหมดไม่มีอยู่ที่โรงพัก แต่ก็เอาวะ ขอให้ตำรวจออกใบส่งตัวไปตรวจแอลกอฮอล์ในเลือดเลยก็แล้วกัน กันไว้เดียวมาอ้างว่าเราเมา จึงได้ออกเอกสารบันทึกประจำวันให้พร้อมทั้งแจ้งไปยังผู้รับเหมา ให้ไปติดป้ายสัญญาณเตือนให้เรียบร้อย ซึ่งเร็วมาก วันรุ่งขึ้น ก่อนนักข่าวลง กลบลุมเรียบร้อย ป้ายมา ไฟมา อยากกับมีเวทมนต์
และในวันถัดไปได้มีผู้รับเหมาติดต่อมาโดยเอาเบอร์โทรจากโรงพักที่ผมให้ไว้ นัดเขาไปคุย โดยส่ง จป. ของโครงการมา รับว่า บริเออร์นั้น เป็นของ บริษัท ...................... จริง ซึ่งตอนนั้น ไม่ได้มีการเยียวยาเบื้องต้นไดๆทั้งสิ้น และรถ อยู่ในระหว่างการประเมินค่าซ่อม และได้ลงบันทึกประจำวันอีกครั้ง ระหว่างซ่อมรถนั้น ได้ประสานแจ้งเหตุ ไปที่กรมทางหลวงชนบท และได้คุยกับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวง ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้างถนนดังกล่าว ซึ่งไม่เป็นผลแต่อย่างได คุยกันหลายครั้ง จนได้ผู้จะดูเรื่องอุบัติเหตุครั้งนี้ของบริษัทผู้รับเหมา
หลังจากรถซ่อมเสร็จ ใช้เวลา 40 วันในการซ่อมห้าง ก็ได้ทำเอกสาร และเรียกผู้รับเหมา พร้อมทั้งประกันของผู้รับเหมา(ประกับเบ็ดเตล็ด)และประกันรถ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ซึ่งนัดมาที่โรงพักเพื่อคุยเรื่องค่าเสียหาย ซึ่งทางผู้รับเหมาได้ส่งตัวแทน(คนที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจ) มารับฟังและรับเอกสารไป หลักจากคุยกันเรื่องค่าเสียหาย ทางผู้รับเหมาขอกลับไปเสนอผู้บริหาร ว่าจะทำการเยียวยาหรือไม และจะให้คำตอบภายใน 7 วัน
และเมื่อผ่านมา 7 วันก็ยังไม่ได้คำตอบ โดยอ้างว่านายยังไม่ว่าง หลังจากนั้นก็ตามทุกวัน และได้โทรหาเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงชนบทอีกครั้ง โดยเล่าเหตุการให้ฟังและได้คำตอบว่าเดียวพี่จะตามให้ ผ่านมาอีก 5 วัน (4 เดือน หลังเกิดอุบัติเหตุ) ได้ติดต่อผู้รับเหมา(ติดต่อยากมาก) ได้รับคำตอบว่า ""ทางบริษัท ได้ปรึกษากับฝ่ายกฏหมายของบริษัทแล้วว่า ไม่เห็นสมควรจ่าย"" เอาไงละทีนี้
หลังจากได้รับคำตอบแล้ว ได้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่กรมทางอีกครั้งว่าได้รับคำตอบมาแบบนี้ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าให้ เขียนหนังสือร้องอุทธรณ์ เรียน อธิบดีกรมทางหลวงชนบท หลักจากเขียนและ ส่งหนังสือถึงอธิบ่ดีกรมทางเรียบร้อยแล้วได้มีเจ้าหน้าที่นิติกรโทรมาสอบถามเหตุการและแนะนำ ให้ฟ้อง กรมทางหลวงชนบทเป็นจำเลยที่ 1 และผู้รับเหมาเป็นจำเลยที่ 2 เพราะถ้ารอทางกรมทางหลวงหาข้อเท็จจริงก็อาจกินเวลาออกไปอีกประมาณ 3 เดือน โดยขั้นตอนยุ่งยากพอสมควรโดยต้องตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริงและสรุปและไม่มีอำนาจพอที่จะไปบังคับให้ทางผู้รับเหมาจ่ายค่าเสียหายได้ จึงแนะนำให้ฟ้อง เดียวจะหมดอายุความก่อน 1 ปี และหลังจากนั้นทางกรมก็จะมีอำนาจอ้างตามคำสั่งศาล สั่งให้ผู้รับเหมาจ่ายค่าเสียหายได้ (งงอยู่เหมือนกันในสัญญาว่าจ้างไม่มีข้อกำหนดบทลงโทษหรือย่างไร) แต่ก็จะลองให้ทางผู้ที่รับผิดชอบไปคุยให้อีกครั้ง
หลักจากได้รับคำแนะนำจากนิติกรกรมทาง ก็ได้เริ่มหาทนาย ปรึกษาหลายๆคน และก็เรทค่าจ้าง ประมาณ 30,000-70,000 บาท ในการฟ้องคดีนี้ ระหว่างหาทนายอยู่ประมาณ 1 เดือน ทางผู้รับเหมาโทรมาต่อรองราคา บอกว่ากรมทางลงมาคุยด้วย จึงจะขอรับผิดชอบ โดยต่อรองราคาเรียบร้อย จึงลงบันทึกที่โรงพักอีกครั้งว่าจะชดใช้ค่าเสียหายเท่าไร โดยไม่รวมค่าเสียหายของประกันที่ต้องเรียกกับประกันของผู้รับเหมา
นี้คือประสบการณ์ตรง ระยะเวลา ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุ รวมแล้ว ประมาณ 6 เดือน เกือบได้ฟ้องเสียเวลาอีกอย่างน้อย 1 ปี ค่าเสียหายที่เรียกร้องไป ประมาณ 370,000 บาท เป็นพวก ค่าเสือมราคาจากอุบัติเหตุ ค่าขาดประโยชน์ ค่าตราจทางการแพทย์ ค่าของเหลวในรถที่นอกเหนือจากการประกันภัย ซึ่งผู้รับเหมาต่อลง ครึ่งหนึง แต่ก็ตกลง ก็คงดีกว่าการไปขึ้นศาลเพื่อเรียกร้อง
กรุณา อย่าหลงประเด็น ( ก่อสร้างถนนไม่ติดสัญญาณเตือน ถ้าติดคงเห็นแล้วชลอแล้วครับ ใครจะอยากเกิดอุบัติเหตุ ) เรื่อง
- ขับรถไม่เป็น
- ขาดประสบการณ์
- ไม่ชลอ ไม่เบรก
- โง่เอง
ทั้งหมดนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ ต่อผู้คนที่เกิดอุบัติเหตุจากความมักง่ายของของผู้รับเหมา นะครับ ขอบคุณที่อ่านจบ.....