เคยไหมเวลาส่ง essay ให้อาจารย์ แกรมม่าก็ถูก คำถามก็ตอบหมด รูปประโยคก็สวยงาม แต่ทำไมได้คะแนนน้อย แถมอาจารย์บอกอ่านแล้วงง
หลังจากที่เจ้าของกระทู้ได้คุยกับอาจารย์ที่สอน writing ปัญหาที่นักเรียนไทยหรือเอเชียระดับมหาวิทยาลัยเจอไม่ใช่แกรมม่าเพราะส่วนมากจะเป๊ะกันอยู่แล้ว แต่ปัญหาหลักที่เจอคือ organization กับ redundancy การเขียนที่ขาด organization ที่ดีจะทำให้บทความวกวน สับสนและสร้างความงุนงงให้กับผู้อ่าน
ส่วน redundancy จะทำให้บทความนั้นเวิ่นเว้อ และน่าเบื่อ
แอดจะขอพูดถึง organization ก่อน
ขอให้เพื่อนดูไปที่รูป ด้านซ้ายเป็น organization ของบทความที่เขียนด้วยนักเรียนอเมริกัน ส่วนด้านขวาเป็น organization ของบทความที่เขียนด้วยนักเรียนเอเชีย แอดอยากบอกว่าการเขียนแบบเอเชียไม่ใช่เรื่องผิด การที่เราเขียนแบบนี้ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากวัฒนธรรม วัฒนธรรมตะวันออกจะไม่สื่อสารกันตรง ๆ แต่จะมีศิลปะในการสื่อสารที่อ้อมไปอ้อมมา มีการเกริ่นนำ การเขียนออกไปตรง ๆ (get to the point) จะเรียกว่า “ขวานผ่าซาก”
แต่เมื่อเราต้องเขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ เราเองก็ต้องเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับภาษาที่เราเขียน เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพที่สุด การเขียนที่มี organization สามารถฝึกกันได้ค่ะ อเมริกันเองก็ต้องเรียนตั้งแต่เด็ก เดี๋ยวเจ้าของกระทู้จะมาบอกว่าเรียนกันยังไง
ขอบอกว่าง่ายจนน่าประหลาดใจกันเลยทีเดียว
ป.ล. ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนอยากหาคนอ่านบทความที่ตัวเองเขียน มาร่วมกลุ่ม peer review กันได้นะคะ ตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยค่ะ
Line:
http://line.me/ti/g/Q6MfAxSAul
Facebook page:
https://www.facebook.com/EssayRoom/
ปัญหาที่นักเรียนไทยเจอเวลาเขียน Essay
หลังจากที่เจ้าของกระทู้ได้คุยกับอาจารย์ที่สอน writing ปัญหาที่นักเรียนไทยหรือเอเชียระดับมหาวิทยาลัยเจอไม่ใช่แกรมม่าเพราะส่วนมากจะเป๊ะกันอยู่แล้ว แต่ปัญหาหลักที่เจอคือ organization กับ redundancy การเขียนที่ขาด organization ที่ดีจะทำให้บทความวกวน สับสนและสร้างความงุนงงให้กับผู้อ่าน
ส่วน redundancy จะทำให้บทความนั้นเวิ่นเว้อ และน่าเบื่อ
แอดจะขอพูดถึง organization ก่อน
ขอให้เพื่อนดูไปที่รูป ด้านซ้ายเป็น organization ของบทความที่เขียนด้วยนักเรียนอเมริกัน ส่วนด้านขวาเป็น organization ของบทความที่เขียนด้วยนักเรียนเอเชีย แอดอยากบอกว่าการเขียนแบบเอเชียไม่ใช่เรื่องผิด การที่เราเขียนแบบนี้ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากวัฒนธรรม วัฒนธรรมตะวันออกจะไม่สื่อสารกันตรง ๆ แต่จะมีศิลปะในการสื่อสารที่อ้อมไปอ้อมมา มีการเกริ่นนำ การเขียนออกไปตรง ๆ (get to the point) จะเรียกว่า “ขวานผ่าซาก”
แต่เมื่อเราต้องเขียนรายงานเป็นภาษาอังกฤษ เราเองก็ต้องเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับภาษาที่เราเขียน เพื่อให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพที่สุด การเขียนที่มี organization สามารถฝึกกันได้ค่ะ อเมริกันเองก็ต้องเรียนตั้งแต่เด็ก เดี๋ยวเจ้าของกระทู้จะมาบอกว่าเรียนกันยังไง
ขอบอกว่าง่ายจนน่าประหลาดใจกันเลยทีเดียว
ป.ล. ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนอยากหาคนอ่านบทความที่ตัวเองเขียน มาร่วมกลุ่ม peer review กันได้นะคะ ตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยค่ะ
Line: http://line.me/ti/g/Q6MfAxSAul
Facebook page: https://www.facebook.com/EssayRoom/