ทำไมคนไทยมีปัญหาด้านการเงินเยอะ

ประเทศไทยหนี้เต็มเลย ไม่ใช่แค่ปัญหาของคนรวยหรือจน แต่ประติเสธไม่ได้ว่าอาจเพราะการสอน คือไม่มีสอนแบบจริงจังเลย เอาตามคนในระบบทุนนิยม ซื้ออะไรไม่ค่อยคิด ซื้อมาทำลายตัวเอง เดือดร้อนไปทั่ว ครอบครัวเราก็โดน โฆษณาล้างสมองเยอะน่ะ ผิดถูกไม่มีบอกเลย ไม่ได้จะด่าว่าสังคมน่ะ เพราะคงแก้ไขมันไม่ได้แล้ว แต่มันมากเกินไปไหม สคบ มีไว้เพื่ออะไรครับ ของกินที่ขายกันอยู่ก็ได้โรคร้ายแถมมาอีก เราคนไทยโดนกันเยอะหรือครับ ไม่มีใครจะทำอะไรเลยหรือ บางคนก็เชื่อแล้วทำลายชีวิตเขาเลยน่ะ ถ้าเป็นพ่อแม่พี่น้องคุณจะรู้สึกยังไงอ่ะ นอกเรื่องแล้ว แค่สงสัยทำไมคนไทยเป็นหนี้กันเยอะ ต้นเหตุของปัญหามาจากไหน
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
เจ้าของกระทู้เป็นคนมีความคิดนะ ขอชื่นชม
สังคมบ้านเราเป็นสังคมสโลว์ไลฟ์
มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก
ถ้ามีน้อยแต่อยากใช้มาก ก็ยืม ง่ายๆ ชิลๆ

และเป็นสังคมหาเช้ากินค่ำ แต่รับเงินสิ้นเดือน
ที่มีทรัพย์สินเป็นล้านมีแค่คนกระจึ๋งเดียว
นอกนั้นคือมนุษย์แบกหนี้
มันเริ่มจากครอบครัวด้วยล่ะ
พ่อแม่บางคนไม่เคยสอนให้ลูกเก็บเงิน
บางคนคงสอน แต่ไม่เคยทำเป็นตัวอย่าง
ความเชื่อในเงินเก็บจึงไม่ศักดิ์สิทธิ์พอ
สิ่งแวดล้อมก็มาช่วยกระตุ้นอีกทาง
ชีวิตคนส่วนมากเลยเจ๊ง มากกว่าเฮง
ความคิดเห็นที่ 9
หน้าใหญ่ไงครับ  ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี ก็ต้องอวดร่ำ อวดรวย อวดมั่งมีไว้ก่อน

บวกกับนิสัย ชอบเล่นพนัน ดื่มเหล้ายาปลาปิ้ง เท่าไหร่ก็ไม่พอใช้

เมื่อ 9-10ปี ก่อนคลุกคลี กับคน รถตุ๊กๆ รายวันละ700-1000 แต่ก็ยังเป็นหนี้

มอเตอร์ไซค์วินที่คอนโด ขับ จนซื้อคอนโดได้ ซื้อกะบะได้ / แรงงานพม่า เก็บเงินสดซื้อฟอร์จูนเนอร์มือสองได้ / บังขายมุ้งหมอนก็ปล่อยเงินกู้ได้
คนต่างชาติมาทำงานที่ไทย การเป็นเสี่ย เจ้าสัวก็เยอะ มากมาย

สิ่งแตกต่าง คือไม่ขยันอดออม นี่แหละถึงได้เป็นหนี้ มีปัญหาการเงิน
ความคิดเห็นที่ 2
สงสัย ผิดมาตั้งแต่อนุบาล   นิ้วตัวเองไม่พอให้นับ ยืมมือคนข้างๆมานับนิ้ว
ความคิดเห็นที่ 5
ที่จริงในระดับมัธยมควรมีการบรรจุวิชาไฟแนนเชี่ยลลงไปในเนื้อหาบทเรียนได้แล้ว เพราะการก่อหนี้เป็นเรื่องที่แทบจะทุกคน
ต้องได้เจอในชีวิตประจำวัน แต่คนไทยจำนวนมากไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการบริหารจัดการหนี้เลย ไม่รู้ข้อกฎหมายต่างๆทางแพ่ง
ที่จะทำให้ตนเองเสียเปรียบหลังก่อหนี้ด้วยซ้ำไป

การทำบัญชี-งบดุลครัวเรือน ก็ควรยกระดับการสอนด้วย ให้คนรุ่นใหม่ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการใช้จ่ายเกินฐานะ
ไอ้คำว่า บ้าน รถ ของมันต้องมี แต่ฝืนไปก่อหนี้เพื่อให้ได้มาตอนฐานะยังไม่พร้อม ทำชีวิตพังไปหลายคนนับไม่ถ้วน
บางคนไม่รู้คิดกระทั่งว่า เอามาผ่อนๆไปก่อนใช้ๆไปก่อน ผ่อนไม่ไหวก็ปล่อยยึดหรือคืนธนาคารก็จบ สุดท้ายโดนฟ้อง
หมดอนาคตทางการเงิน10ปีก็ไม่ฟื้น

บัตรเครดิต บัตรเงินสด กดกันรูดกันใช้จ่ายง่ายๆโดยไม่คำนวนดอกเบี้ย พอหนี้ท่วมก็กดใบนึงมาโปะใบนึง
หมุนๆไปมาสุดท้ายหมุนไม่ทัน โดนทวงโดนฟ้องยาวเป็นหางว่าว แสดงถึงการจัดการบริหารการเงินที่ล้มเหลว
ของคนไทยหลายล้านคนจนส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม อย่างเงินฝืดที่กำลังเผชิญกันอยู่ตอนนี้ส่วนนึงก็เพราะ
หนี้เสียในระบบการคลังมันสูงเกินไป
ความคิดเห็นที่ 25
การปลูกฝังวินัยทางการเงินตั้งแต่วัยเด็ก พ่อแม่ไม่มีความรู้จะสอนหรือให้ความสำคัญ เต็มที่ก็เก็บเงิน หยอดกระปุกออมสิน วันเด็กก็เอาไปฝากธนาคารออมสิน โรงเรียนแทบจะไม่มีการสอนเรื่องนี้เลย หลายประเทศที่พัฒนา เริ่มสอนตั้งแต่ประถม การจะมีครอบครัว มีลูกมีค่าใช้จ่ายอะไร เท่าไหร่ การเสียภาษี การลงทุน การออม เค้าเริ่มปลูกฝังตั้งแต่เด็กๆ เคยฟังแนวคิดของหลายๆประเทศ ไม่ได้เน้นแค่เรื่องออมเท่านั้น การออมแทบจะสำคัญอันดับท้ายๆ  แม้กระทั่งการเรียน เด็ก ม ปลายเค้าเริ่มรู้กันแล้วว่าเรียนเพื่อประกอบอาชีพอะไร รายได้เท่าไหร่ บางคนจบ ม ปลายไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เป็นเรื่องแปลกะไร ออกไปทำงาน หาเงิน หาประสบการณ์ เรื่องแค่นี้ก็แตกต่างมากแล้ว

ไหนจะค่านิยมความฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อ รายจ่ายสวนทางกับรายได้ ก็ต้องมีบัตเครดิตกู้ง่าย จ่ายคล่อง จ่ายขั้นต่ำ ความรู้เรื่องดอกเบี้ยก็ไม่มี รู้แต่ว่าของมันต้องมี จ่ายก่อนผ่อนทีหลัง คนมีหนี้คือคนมีเครดิต และอีกหลายความเชื่อที่ปลูกฝังกันมาแบบผิดๆ

ทาสความกตัญญู พ่อแม่บางคน แค่บางครอบครัวไม่ได้เหมาทั้งหมด มีลูกเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเองที่ไม่สามารถทำได้ เรียนจบปุ๊บต้องกู้เงินมาสร้างบ้าน ปลดหนี้พ่อแม่ ส่งเสียน้องเรียน หรืออีกหลายๆปัญหา หมุนวนจากรุ่นสู่รุ่น

และยังมีการพนันหลากหลายรูปแบบที่ล่อตาล่อใจ โดยเฉพาะคนรายได้จะมีความหวังและจริงจังกับเรื่องพวกนี้มาก หมดตัวเป็นหนี้เป็นสินกันเยอะแยะ

หลายปัญหารวมกัน จากในครอบครัว สู่สังคม ไประดับประเทศ ไหนจะผู้บริหารประเทศที่แนวคิดล้าหลัง พายเรือวนไปวนมาในอ่าง แทมองไม่เห็นโมเดลหรือตัวอย่างดีๆเลย และดูไม่มีทางออกสำหรับปัญหานี้เลย

เด็กรุ่นใหม่พยายามแก้ที่ตัวเองก่อน ก็จะโดนคนรุ่นเก่าขัดขวางเสมอ ไม่เชื่อฟัง คือไม่เคารพ ไม่ทำตามที่บอก คือไม่กตัญญู วนไปวนมา รุ่นใหม่ที่พยายามถีบตัวออกจากปัญหาเหล่านี้ก็มีให้เห็นแต่ก็นับเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมากเมื่อเทียบกับประชาการทั้งประเทศ เด็กรุ่นใหม่ที่รีบค้นหาตัวเอง รีบสร้างตัวสร้างอาชีพ รีบประสบความสำเร็จ ส่วนหนึ่งก็ต้องการหนีปัญหาการเงินเหล่านี้

สุดท้ายก็ต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อน และต่อสู้กับแรงต้านจากสังคม ใครแข็งแกร่งก็รอด ใครอ่อนแอก็แพ้ไป
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ปัญหาสังคม ปัญหาชีวิต
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่