สถาบัน ราชมงคลกับมหาวิทยาลัย มันเเตกต่างกันยังไงครับ

คือผมกำลังจะศึกษาต่อ ผมติดทั้ง 2 อย่างอะครับ เเต่ไม่รู้ว่าอันไหนเป็นยังไง คือยากรู้ว่าอันไหนดีกว่ากันครับ การยอมรับหรืออะไรยังไงช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจหน่อยครับ คือเลือกที่เรียนไม่ถูกอะครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ยาวหน่อยแต่น้องต้องอ่านให้จบ คิดว่าสิ่งที่พี่เขียนน่าจะช่วยน้องได้ไม่มากก็น้อยนะ

คืองี้ครับต้องขออธิบายก่อนว่าคนทั่วไปเนี่ยเขาจะแบ่งสถานะมหาวิทยาลัยแบบคร่าวๆไว้ดังนี้
- 1.มหาวิทยาลัยรัฐ
- 2.มหาวิทยาลัยเอกชน
- 3.กลุ่มเครือราชมงคล
- 4.กลุ่มเครือราชภัฎ

การแบ่งกลุ่มด้านบนนี่พี่ไม่ได้อุปโลกขึ้นมาเองนะครับ แต่ลองไปสังเกตบทความ,การพูดถึง,การจำแนกในเรื่องมหาวิทยาลัยต่างๆได้เลย เขาจะแบ่งชั้นแบบนี้จริงๆ ส่วนลำดับการเป็นที่ยอมรับและคุณภาพโดยรวมก็จะเป็นไปตามที่พี่เรียงเลย

ทีนี้ก็จะตามมาด้วยคำถามอีกว่าเอ้า แล้วราชมงคลกับราชภัฎก็เป็นมหาวิทยาลัยรัฐนี่ทำไมถึงแบ่งหมวดหมู่แยกออกมาล่ะ พี่จะขอตอบคร่าวๆดังนี้ครับ

1.เพราะทั้งสองที่มีสาขาเยอะมากๆโดยเฉพาะราชภัฎที่มีสาขาแทบทุกภูมิภาคในไทย เลยเกิดเป็นการเรียกแยกออกมาจากมหาวิทยาลัยอื่นๆว่า"กลุ่มราชภัฎ"หรือ"กลุ่มราชมงคล" ในขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นก็อาจจะมีวิทยาเขตบ้างประปรายแต่ทุกมหาวิทยาลัยรัฐก็เข้าใจตรงกันว่าในเรื่องคุณภาพเป็นสิ่งที่ต้องเน้นมากไม่ใช่แค่ปริมาณ ซึ่งกลับกันที่ราชภัฎและราชมงคลดันเน้นปริมาณมากเกินไปจนคุณภาพมันเสื่อมลงไปเรื่อยๆจนนำไปสู่เหตุผลข้อถัดไป

2.ทั้งสองมหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ต้องการเน้นคุณภาพแต่เน้นกระจายการศึกษามากกว่า ซึ่งขอแสดงความเห็นแทรกไปตรงนี้ว่าการกระจายการศึกษาเป็นสิ่งที่ดีแต่ควรคำนึงถึงคุณภาพด้วยไม่ใช่สนใจแค่ปริมาณ

ถ้าน้องไปดูสโลแกนหรือพันธกิจของมหาวิทยาลัยชั้นนำจะเป็นในทิศทางประมาณว่า"สร้างและพัฒนานักศึกษาให้ไปสู่ระดับโลก"หรือประมาณง่ายๆว่าต้องการแข่งขันบนเวทีโลก,สร้างคนเก่งๆระดับตัวแทนประเทศหรือทวีปไปปะทะกับชาติอื่นๆ แต่กลับกันเครือราชภัฎกลับมีพันธกิจประมาณว่า"พัฒนาบุคคลเพื่อส่งไปพัฒนาท้องถิ่น"หรืออะไรประมาณนี้หรือกลุ่มราชมงคลก็จะประมาณ"สร้างคนสู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี"หรือประมาณนี้ คือเราจะเห็นข้อแตกต่างเลยว่าเป้าหมายของพวกเขาช่างต่างกันยิ่งนัก

ที่นึงมีกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐมีเป้าหมายจะสร้างบุคลากรที่มากความรู้และความสามารถที่เก่งระดับประเทศและพัฒนาไปถึงระดับโลก แต่อีกกลุ่มกลับมีเป้าหมายเพียงเออๆเรียนให้จบๆมีปริญญาติดฝาบ้านแล้วก็เอาวุฒินี้ไปหางานตามท้องถิ่นละกัน มันประมาณนี้เลย พอเป้าหมายเป็นงี้มันจะช่วยไม่ได้ว่าการเรียนการสอนทั้งสองที่มันจะต่างกันราวฟ้ากับเหว


3.ปัจจุบันทั้งสองกลุ่มแทบจะไม่ได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพแล้ว
คืออันนี้ก็ล่อเป้าเลยนะแต่มันก็ปฎิเสธความจริงไม่ได้นี่ จะบอกว่าราชภัฎเก่งครูหรือราชมงคลเก่งช่างและวิศวะมันเป็นมายาคติที่ตัวเขาเองพยายามจะสร้างครับซึ่งในความเป็นจริงทุกวันนี้มันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเลย อย่างราชภัฎเองแทบทุกคณะมันไม่มีคุณภาพเลยแล้วอย่างคณะครูซึ่งโชคดีที่ราชการเขาไม่กำหนดสถาบันก็เลยเป็นคณะที่ยังพอหางานได้แต่ก็นั่นแหละพี่เชื่อว่าตรงจุดนี้เองที่ทำให้การศึกษาไทยห่วยแตกด้วย ลองคิดดูว่าครูกลุ่มราชภัฎมีเป้าหมายใหญ่สุดของเขาคือการสอบติดบรรจุราชการ ต้องพยายามอย่างหนัก ต้องแย่งกันเข้าในอัตราแข่งขันสูง แต่กลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐมันคือเป้าหมายที่คนไม่ค่อยสนใจกัน เป็นเรื่องปกติที่เขามองข้ามช็อตไปถึงไหนต่อไหนแล้ว การสอบเข้าราชการคือเป็นสิ่งที่โคตรง่าย ส่วนใหญ่มองไปถึงที่ที่ดีกว่า หรือแม้กระทั่งในสายวิศวกร เครือราชมงคลพยายามอย่างหนักอาจได้ทำงานในบริษัทใหญ่ๆสักวันแต่โอกาสน้อยมากๆและถึงได้ก็อาจจะได้แค่ทำโฟร์แมน โอกาสเป็นนายช่างใหญ่ในบริษัทดีๆคือแทบเป็นไปไม่ได้ แต่สำหรับกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำการเป็นวิศวกรในบริษัทใหญ่มันเป็นเรื่องปกติ แค่จบออกมา 2-3 ปีอาจได้สิทธิ์ถึงขั้นคุมงานแล้วด้วยซ้ำ



สรุปรวบยอดแบบเผื่อคนขี้เกียจอ่าน
บอกตรงๆเลยว่าเลือกมหาวิทยาลัยรัฐดีกว่าเยอะมากๆ กลุ่มสถาบันราชมงคลและราชภัฎเป็นกลุ่มคนที่คนในสังคมไม่ได้ยอมรับในด้านการศึกษา
จะบอกว่าเหยียดมันก็ใช่เลยนั่นแหละ จะว่างั้นก็ได้แต่พี่ไม่ได้อ้างลอยๆ ไม่ได้ด่าเอาสะใจ แต่มันเป็น fact ที่ควรหันหน้ามายอมรับกันตรงๆเลยคือกว่ามันจะภาพลักษณ์และคุณภาพดีขึ้นอาจต้องรออีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี จะยังไงก็ตามพี่ไม่สนับสนุนให้เอาเรื่องนี้ไปด่าหรือดูถูกใครนะคือถึงยังไงเรื่องมารยาทน้องก็ต้องมี แต่อันนี้ที่กล้าเปิดตรงๆเพราะว่ามันเป็นสิ่งที่มีผลต่ออนาคตน้องตรงๆนั่นแหละถึงกล้าพูดตรงๆ ถ้าไปพูดสาธารณะคือโดนด่าไปแล้ว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่