มีผู้สงสัยว่า มุสลิมสวมสีดำไปงานศพ ของมุสลิมและผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมได้หรือไม่ ?
ตามปกติแล้ว ไม่มีการกำหนดสีอะไรที่เหมาะสมในการไปงานศพในศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อความ หรือบัญัติทางศาสนาทั้งในอัลกุรอาน
หรือซุนนะฮฺที่ระบุชัดว่าควรสวมเสื้อผ้าสีอะไรในขณะไว้ทุกข์ ศาสนาอิสลามไม่สนับสนุนสีหนึ่งสีใดเป็นสีที่เกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนา
ในการไปงานศพ ครื่องแต่งกายควรเป็นสีสุภาพไม่ขัดกับอารมณ์ของผู้ที่กำลังโศรกเศร้า ”
ที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นถึงหลักการของศาสนาอิสลามนั้น ไม่ได้กำหนดสีหนึ่งสีใดในการไว้ทุกข์ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่นของผู้ตาย
ในประเทศกลุ่มอรับและประเทศปากีสตาน ในงานศพ เขาจะแต่งตัวด้วยเครื่องแต่งการตามประเพณีท้องถิ่น
คือ สีขาว หรือสีดำ แต่ต้องไม่เป็นสีที่ฉูดฉาดซึ่งตรงกันข้ามกับในประเทศ แอฟริกาใต้และในประเทศ กานา ใช้สีแดงเป็นสีไว้ทุกข์
ประเทศตุรกีซึ่งส่วนใหญ่ของประชาชนเป็นมุสลิม ส่วนมากจะสวมชุดดำ เขาจะใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์หรือ แต่งกายสีดำในงานศพ ซึ่งเป็นประเพณีนิยม
เช่นเดียวกับอิสราเอล ศาสนาจูดาย, ประเทศญี่ปุ่นก็เชนกัน ใช้สีดำเป็นสีไว้ทุกข์ ความจริงแล้ว พุทธศาสนา ศาสนาฮินดู และ ซิกซ์ ใช้สีขาวเป็น
สีไว้ทุกข์ แสดงถึงความบริสุทธิ์ แต่สำหรับประเทศไทยเราเมื่อสมัยก่อนครั้งหนึ่งเคยใช้สีขาวเป็นสีไว้ทุกข์ แต่กลับเปลี่ยนมาเป็นสีดำในภายหลัง
สำหรับมุสลิม หลักการในศาสนาอิสลามไม่กำหนดให้สีหนึ่งสีใดเป็นสีไว้ทุกข์ ส่วนมากนิยมสีเช้ม เช่นสีดำ สีน้ำเงินเข้ม หรือสีเทา คือสีที่อยู่
ในจำพวกที่ไม่ฉูดฉาด สีดำและสีขาวเป็นสีที่นิยมในภาคตะวันออกกลาง ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลามในการแต่งกายไว้ทุกข์ด้วยสีดำ
ข้อโต้แย้งของ นักวิชาการทางศาสนา ซึ่งตั้งเป็นข้อห้าม ในการใช้สีดำในงานศพก็คือ
"อย่าตามการแต่งกายตามผู้ที่ไม่ศรัทธา" ทั้งๆที่ในปัจจุบัน มุสลิมแต่งกายตาแบบตะวันตกกันส่วนมาก
สำหรับชาวไทยมุสลิมการไปเยี่ยมศพและไปให้เกียรติศพ และแสดงความเศร้าโศรกเสียใจต่อครอบครัวของชาวไทยผู้ไม่ใช่มุสลิม ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลาม, สิ่งที่ห้ามอย่างเด็ดขาดคือการกราบไหว้ศพ และการร่วมพิธีเผาศพ ไม่ว่าจะเป็นเผาเทียมหรือเผาจริงก็ตาม, มุสลิมควรจะแต่งตัวไปงานศพตามธรรมเนียมไทย อีกครั้งหนึ่งศาสนาอิสลาม ไม่มีข้อห้ามในการแต่งกายด้วยสีดำ ในงานศพ เพราะการแต่งตัวด้วยสีดำสำหรับมุสลิม ไม่ได้มีความแตกต่างกันกับสีอื่นๆ ในทัศนะของศาสนาอิสลาม และถ้าเราจะแต่งตัวด้วยสีดำก็ไม่มีข้อห้ามในศาสนาอิสลาม
ระยะเวลาในการแต่งสีดำหรือสีอะไรก็ตามไม่มีส่วนเกี่ยวกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม
เช่นชาวนามุสลิมแต่งสีดำในการเกี่ยวข้าวหรือทำสวน ตลอดทั้งปี เพราะว่าสีดำดูดความร้อนได้ดี
กำหนดเวลาในการไว้ทุกข์ตามหลักการของ ศาสนาอิสลามไม่มีกำหนด บอกระยะเวลาว่านานเท่าใด แต่ตามประเพณี(อรับ) ตามปกติ 3 วัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความใกล้ชิดของญาติพี่น้องผู้ตาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ถ้าเป็นแม่หม้าย จะต้องรอเวลา 3 เดือน ซึ่งไม่เกี่ยวกับการไว้ทุกข์ เป็นระยะเวลารอ(อิดดะฮฺ)ก่อนที่จะ แต่งงานหรือมีสามีใหม่
อิดดะฮฺ คือ ระยะเวลาที่บรรดาหญิงรอคอยและไม่สามารถแต่งงานใหม่หลังจากสามีเสียชีวิตหรือหย่าจากนางไป
สำหรับข้าราชการไทยมุสลิม ถ้าทางการต้องการให้มุสลิมไทยใส่ชุดสีดำ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้ประมุขของชาติ มุสลิมควรที่จะปฏิบัติได้ เนื่องจากศาสนาอิสลามไม่ได้กำหนดสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะในการไว้ทุกข์ และถือว่าเป็นการให้เกียรติ ต่อประมุขของชาติ ถ้ามุสลิมจะใส่ชุดขาวผูกไทด์ดำก็ไม่ผิดหลักศาสนาอย่างไร ในการไปงานศพของผู้ใดก็ตามในสังคมไทย เพราะเป็นประเพณีที่ไม่ขัดต่อหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม และไม่ขัดต่อความรู้สึกของชาวไทยเรา
ถ้าจะใช้เหตุผลว่ามุสลิมห้ามการทำตาม "กาเฟร" หรือผู้ไม่ศรัทธา, ก็เท่ากับมุสลิมผู้นั้นทำตัวเป็นมูนาฟิก(ผู้กลับกลอก) เนื่องจากว่าในสังคมปัจจุบัน มุสลิมจะต้องอยู่ในสังคมร่วมกับทุกๆศาสนาทุกๆประเพณี ตราบใดที่ประเพณีนั้นไม่ขัดกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ในการรักษาหลักเตาฮีด หรือพระเจ้าองค์เดียวของมุสลิม มุสลิมก็ควรที่จะปฏิบัติ
ซึ่งไม่ต่างจากการยกมือไหว้ ชาวไทยด้วยกันเมื่อพบปะกัน ซึ่งเป็นประเพณีของไทยเราเช่นกัน
การ “แต่งกายสีดำ” ไปงานศพ ไม่มีข้อห้าม ตามหลักการของศาสนาอิสลาม
สำหรับข้าราชการไทยมุสลิม ถ้าทางการต้องการให้มุสลิมไทยใส่ชุดสีดำ ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ให้ประมุขของชาติ มุสลิมควรที่จะปฏิบัติได้ เนื่องจากศาสนาอิสลามไม่ได้กำหนดสีใดสีหนึ่งโดยเฉพาะในการไว้ทุกข์ และถือว่าเป็นการให้เกียรติ ต่อประมุขของชาติ ถ้ามุสลิมจะใส่ชุดขาวผูกไทด์ดำก็ไม่ผิดหลักศาสนาอย่างไร ในการไปงานศพของผู้ใดก็ตามในสังคมไทย เพราะเป็นประเพณีที่ไม่ขัดต่อหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม และไม่ขัดต่อความรู้สึกของชาวไทยเรา
ถ้าจะใช้เหตุผลว่ามุสลิมห้ามการทำตาม "กาเฟร" หรือผู้ไม่ศรัทธา, ก็เท่ากับมุสลิมผู้นั้นทำตัวเป็นมูนาฟิก(ผู้กลับกลอก) เนื่องจากว่าในสังคมปัจจุบัน มุสลิมจะต้องอยู่ในสังคมร่วมกับทุกๆศาสนาทุกๆประเพณี ตราบใดที่ประเพณีนั้นไม่ขัดกับหลักศรัทธาของศาสนาอิสลาม ในการรักษาหลักเตาฮีด หรือพระเจ้าองค์เดียวของมุสลิม มุสลิมก็ควรที่จะปฏิบัติ ซึ่งไม่ต่างจากการยกมือไหว้ ชาวไทยด้วยกันเมื่อพบปะกัน ซึ่งเป็นประเพณีของไทยเราเช่นกัน