ถ้าเรียนจบ Ph.D ในสาขาวิศวกรรม / ฟิสิกส์ ตอนอายุ31-35ปี แล้วเริ่มทำงานเป็นอาจาร์ย จะช้าไปหรือไม่?


เราอยากถามความเห็นส่วนใหญ่ของบุคคลทำงาน: 

หากเรียนจบ Ph.D ในสาขาวิศวกรรม / ฟิสิกส์  ตอนอายุ 31-35 แล้วเริ่มทำงานเป็นอาจารย์จะช้าไปหรือไม่คะ?  




แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21




ขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่สละเวลามาเข้าช่วยตอบกระทู้ให้ ทั้งท่านที่ได้ตอบไปแล้ว และท่านที่กำลังเข้ามาตอบในอนาคต





ด้วยโตมากับข้อมูลมหาศาล เช่นเดียวกับมนุษย์หลังปีสองพันคนอื่น ๆ ท่ามกลางกระแสสังคมที่เต็มไปด้วยความต่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี
และแน่นอน —ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นเดียวกันกับที่คนยุคอื่นเคยเผชิญมา

เราพยายามคิดตามทุกความคิดเห็นอย่างเป็นกลาง ทำให้เราได้เข้าใจมุมมอง และค่านิยมบางส่วนของบุคคลในสังคม
ซึ่งนั่นก็เตรียมเราให้พร้อมกับกระแสวิพากษณ์ และเตือนสติให้ไม่เป็นไปตามความเชื่อที่มีกันมาบางอย่าง
ทำให้เราต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเองทั้งทางวิชาการและความเป็นมนุษย์


ขอสรุป จากในกระทู้ — โดยผู้ตอบกระทู้ และจากมุมมองน้อย ๆ ที่ยังขลาดเขลาของเจ้าของกระทู้เอง



คือ ไม่สายไป ที่จะเริ่มเป็นอาจารย์ในช่วงขณะอายุ 31-35 ปี หรือช้ากว่านั้น

ความเห็นของท่านสมาชิกหมายเลข 719279 ให้หลักที่สำคัญมากเอาไว้ว่า

"เป็นอาจารย์เมื่อไหร่ก็ไม่สาย  ขอให้มีความรู้มีจิตวิณญาณที่อยากจะเผื่อแผ่ถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่น  และพันธกิจอันสำคัญของการเป็นอาจารย์ก็คือ การเรียนรู้ พัฒนาตนเอง การทำวิจัย เอาองค์ความรู้ใหม่ ๆ มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์"



ทั้งนี้ ควรยอมรับถึงความเสี่ยงของการศึกษา ที่ไม่แน่นอนและไม่เคยมีความแน่นอน ไม่ว่านั่นจะหมายถึงขณะนี้ หรือที่ยังไม่เกิดขึ้น
บทบาทของมหาวิทยาลัยจะลดลงเรื่อย ๆ จากข้อมูลที่มีมากอยู่แล้วนอกสถาบันการศึกษา และการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี ที่ทำให้การเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ นั้นจะมีมูลค่าที่ถูกลง และพิธีการที่น้อยกว่าอดีต แต่อาจมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้มากกว่าการเรียนการสอนโดยอาจาร์ยที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จในห้องเรียน(ที่ส่วนมากนักเรียนที่บรรลุในศาสตร์มักนอกคอกผ่าเหล่าและแสวงหานอกห้องเรียนอย่างหนักหน่วง)

เราไม่ได้เรียนในราชจักรฯนี้มาโดยตลอด ที่จะสามารถออกตัวได้เต็มที่ว่าเข้าใจและถูกกระทำมาโดยการศึกษาและสังคมของที่นี่ (และกำลังพยายามใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อย่างอย่างไม่ปนเปื้อนภาษาต่างเผ่า) แต่การจากใช้ชีวิต เราพอทราบถึงปัญหาทางการศึกษาในประเทศนี้มาบ้าง

เช่น คุณภาพในเนื้อหาที่ใช้เรียน/ตำราเรียน: ความเป็นจริงของสิ่งที่ถูกสอน ความทันสมัย ภาษา และคุณภาพวิชาการที่เป็นสากล
(ไม่ใช่สากลที่กล่าวอ้างตามความเชื่อของกลุ่มคนใด กลุ่มคนหนึ่ง)

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: สถาบันการศึกษาที่มอบให้ประชาชน โดยชนชั้นปกครองอันมีหน้าที่บริหารรัฐหรือบริหารโดยภาครัฐ
ยังมีข้อกังขาถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินการเรียนการสอนทางการศึกษา และตัวบุคคลากร
ทั้งขาดการพัฒนาในพื้นที่ที่ห่างไกลจากศูนย์กลางการปกครอง


| นั่นสองตัวอย่างนั่นไม่ได้หมายถึงเพียงการศึกษาในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา แต่หมายถึงมหาวิทยาลัยด้วย |



เรามีความต้องการเรียนไปเป็นอาจารย์ เพราะเราศรัทธาในวิถีของวิชาการและการเรียนรู้
เราไม่ได้บอกว่าเราอยากจะเปลี่ยนระบบการศึกษาของรัฐชาติใดทั้งนั้น
และแท้จริงแล้วการเป็นอาจารย์(ในวิถีที่เราเชื่อ)คือการที่เราจะได้ประกอบอาชีพที่เราได้มีโอกาศขลุกอยู่ในการเรียนรู้และวิชาการอย่างไม่ต้องคิดที่จะหยุด โดยที่นั่นเกิดขึ้นในทุกขณะที่เราก็ทำงานอยู่ด้วย

เราเชื่อว่า ระบบการศึกษาและมหาวิทยาลัยยังคงจำเป็นต่อความอยู่รอดของสังคมและเผ่าพันธุ์ของมนุษย์
เพราะข้อมูลที่มหาศาลนั้นไม่ได้ถูกต้องและเป็นจริงทั้งหมด และการศึกษาควรมีมาตรฐานของมัน ควบคู้ไปกับความนอกคอกและความเป็นกบฏ

ยกตัวอย่างแค่วงการแพทยศาสตร์ กฎหมาย ชีววิทยาและวิทยาศาสตร์ หากเรียนด้วยตัวเองและกระทำอย่างทั่วไปโดยไร้วิธีการทางวิชาการและความถูกต้องในแง่ของจริยธรรมที่จะปฏิบัติต่อมนุษย์ด้วยกันและจริยธรรมในวิชาชีพ(Ethic) ก็แทบไม่อยากจินตนาการต่อจากนั้นแล้วค่ะ


เราทุกคนมีเสรีภาพที่จะประกอบอาชีพที่ตัวเองเลือก


| มนุษย์ทุกคนมีเกียรติ มีสิทธิ มีศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์เท่ากันทุกประการ โดยสิ่งเหล่านี้เราควรเข้าใจอย่างเป็นพื้นฐาน |

ไม่ว่าคุณจะจบการศึกษาระดับใด จากที่ไหน และทำงานอะไร เพราะการศึกษาและงานก็เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งในการมีชีวิตของมนุษย์ก็เท่านั้น และสองสิ่งนี้(วุฒิการศึกษา/งาน) ไม่สามารถมอบความทรงปัญญาและความจริงให้แก่มนุษย์ได้  
ใช่ค่ะ การระบบศึกษาทางการนั้นให้ความรู้ และพยายามสอนให้ผู้เรียนให้มีคุณธรรมด้วย
แต่สิ่งที่มากกว่าความรู้ และความจริงที่ว่าคุณจะมีคุณธรรมด้วยหรือไม่นั้น การศึกษาและวิธีการทางวิชาการก็ยังให้คุณไม่ได้อยู่ดี





5039767
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่