สงสัยความแตกต่างระหว่าง มะยงชิด และ มะปราง และชอบอะไรมากกว่ากันครับ

กระทู้คำถาม

รูปนี้มีทั้ง มะยงชิด และ มะปราง
แต่ก่อนผมเข้าใจว่าถ้าลูกไหนหวานสนิทไม่มีเปรี้ยวปนคือ มะปราง
และถ้าลูกไหนมีอมเปรี้ยวบ้าง ที่มักจะเปรี้ยวที่เปลือก คือมะยงชิด
คือเวลาซื้อจะได้รสชาติตามนี้

แต่พอมาอ่านข้อมูลข้างล่างแล้วเลยสงสัยขึ้นมาครับ
ถ้าตามข้อมูลข้างล่าง ลูกที่หวานที่สุดคือมะยงชิด และลูกที่มีอมเปรี้ยวคือมะปราง
เลยสงสัยว่า ที่เรียกกันนั้นเข้าใจผิดกันไปหรือเปล่า เหมือนที่เรียก อิ่วจาก้วย ว่า ปาท่องโก๋ น่ะครับ >>>

"ร.ต.ต.อำนวย สันนิษฐานว่า ตรงนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ มะยงชิด
ที่ต่อมามีการนำไปขยายพันธุ์ปลูกแถวย่านบางขุนนนท์ ฝั่งธนบุรี จนมีการตั้งชื่อเรียกขาน มะยงชิดบางขุนนนท์
...มะปรางที่เรารู้จักกันนั้นไม่ได้มีแค่มะปรางหวานกับมะยงชิด จริง ๆ แล้วมีหลายพันธุ์
แต่มารู้จักกันแค่ 2 พันธุ์นี้ เนื่องจากผู้คนนิยมจะปลูกแต่ผลไม้รสหวาน รสเปรี้ยวไม่มีใครนิยมปลูก
มีแต่ตัดโค่นฟันทิ้ง มันเลยทำให้คนยุคหลังไม่รู้จักกัน...
แต่ถ้าจะแบ่งมะปรางตามรสชาติความหวานเปรี้ยว สามารถแบ่งได้ 5 สายพันธุ์ เรียงลำดับจากเปรี้ยวไปหาหวาน...

พันธุ์ที่เปรี้ยวสุด จนเข็ดฟันมีชื่อเรียกว่า “กาวาง” เปรี้ยวถึงขนาดกาคาบไปกินแล้วต้องวางทิ้งนั่นแหละ
เปรี้ยวน้อยกว่า กาวาง เรียกว่า “มะปรางเปรี้ยว”...
ตามด้วย “มะยงห่าง” มีความหมายว่า ห่างหวานมีรสชาติเปรี้ยวอมหวานนิด...
เปรี้ยวรองบ๊วย “มะปรางหวาน” มีรสชาติหวานแต่อมเปรี้ยว...
และมะปรางสายพันธุ์ที่ถูกจัดว่าหวานสุดคือ มะยงชิด
เพราะหวานหยดย้อยนี่แหละ กาวาง–มะปรางเปรี้ยว–มะยงห่าง เลยถูกคนไทยลืมเลือน และต้องมาสับสน..."

แต่ก่อนผมชอบมะยงชิด หมายถึงลูกที่มีรสอมเปรี้ยว
แต่พอมีอายุขึ้นจะชอบมะปราง คือลูกที่มีรสหวานเย็นสนิทอย่างเดียว
คือเวลาซื้อแม่ค้าเขาบอกชื่อแบบนี้ครับ

ไม่ทราบว่าเพื่อนสมาชิกชอบแบบหวานสนิท หรือหวานอมเปรี้ยวครับ
แล้วตกลงชื่อที่ถูกต้องคืออะไรครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 4
รู้แต่ว่า ถ้าลูกใหญ่กว่า สีส้มมากกว่า คือมะยงชิด

ตอนเด็กๆ 50-60 ปีที่แล้ว มีกินแต่มะปราง

เพิ่งได้กินมะยงชิดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมานี่เอง และมะปรางหายไปจากตลาดในหมู่บ้าน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่