โพลชี้ ‘วาเลนไทน์ 64’ ไม่คึกคัก เงินสะพัดต่ำสุดรอบ 10 ปี
https://www.tnnthailand.com/content/70984?utm_source=social#
หอการค้าไทย ชี้พฤติกรรมและการใช้จ่าย ‘วาเลนไทน์ ปี 64’ ไม่คึกคัก คาดเงินสะพัดราว 2,560 ล้านบาท ต่ำสุดรอบ 10 ปี
วันนี้ ( 10 ก.พ. 64 )นาย
ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายช่วงวาเลนไทน์ ปี 2564 กลุ่มตัวอย่าง 1,234 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า คนส่วนใหญ่ประมาณ 80% มองว่าบรรยากาศโดยรวมในวันวาเลนไทน์ปีนี้ คึกคักน้อยว่าปีที่แล้ว โดยสาเหตุอันดับหนึ่งมาจากเศรษฐกิจที่แย่ลง รองลงมาการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่, กังวลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนรายได้ลดลง/ราคาสินค้าแพงขึ้น และฝุ่น PM2.5
สำหรับเงินสะพัดในช่วงวาเลนไทน์ปีนี้ คาดมูลค่าการใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 2,560.24 ล้านบาท ติดลบ 21.15% จากปี 2563 ที่ 3,246.97 ล้านบาท ขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการสำสวจมา และถือว่ามีมูลค่าต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ส่วนค่าใช้จ่ายต่อหัวปีนี้ เฉลี่ยรวมอยู่ที่ราว 1,306.28 บาท ลดลงจากปี 63 ที่ 1,814.01 บาท โดยคน GenX มีการใช้จ่ายมากสุด รองลงมาเป็นคน GenY และ GenZ
ทั้งนี้ สิ่งที่คนต้องการและอยากได้จากคู่รักมากสุด 3 อันดับแรก อาทิ การบอกรัก การให้ดอกไม้ และการให้ของขวัญ รวมถึงการพาไปเที่ยว กินข้าวกับคนรักหรือครอบครัว ขณะที่คนโสดส่วนใหญ่ (ยังไม่แต่งงาน) ที่มีการฉลองวันวาเลนไทน์และซื้อของขวัญให้คนรัก มีค่าใช้จ่ายในการซื้อของลดลง เฉลี่ยอยู่ที่ 966 บาทต่อคน จาก 1,013 บาทต่อคนในปี63
โดยปัจจัยในการเลือกซื้อของขวัญ ส่วนใหญ่ 23.7% บอกว่าขึ้นอยู่กับความชอบของผู้รับ ขณะที่ 19.2% ขึ้นอยู่กับราคา และ 17.5% ขึ้นอยู่กับความสะดวก ส่วนดอกไม้ที่ยังได้รับความนิยมสูงสุดคือดอกกุหลาบ รองลงมาเป็นทิวลิบ ลิลลี่ และคาร์เนชั่น
นอกจากนี้ จากผลสำรวจยังชี้ว่าสิ่งที่น่าห่วงคือ ทัศนคติของวัยรุ่นต่อการมีเพศสัมพันธุ์ในวันแห่งความรัก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันที่ถูกต้อง อาจนำมาสู่ปัญหาสังคมในอนาคต โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คลอดแล้วทิ้ง ทำแท้งเถื่อน ปัญหาเด็กเร่ร่อน และปัญหายาเสพติด
ซีอีโอแสนสิริ ห่วงเด็กจบใหม่ 4.5แสนคนใครจะจ้างงาน จี้รัฐรับผิดชอบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2571765
ซีอีโอแสนสิริ ห่วงเด็กจบใหม่ 4.5แสนคนใครจะจ้างงาน
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นาย
เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์
เด็กจบใหม่ 450,000 คนต่อปี ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ใครจะจ้าง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบ อยากถามว่ารัฐทำเต็มที่ในการช่วยคนกลุ่มนี้หรือยัง วันนี้ต้องกล้าทำและต้องรีบทำ คนจ้างแรงงานที่ดีที่สุด คือ รัฐบาล ถ้าจะให้เอกชนช่วยจ้างงานก็ต้องมีอะไรช่วยเขาบ้าง
https://twitter.com/Thavisin/status/1359335896944812034
เอกชนท่องเที่ยวภูเก็ต ยื่นคัดค้าน ห้ามเอกชน-อปท. จัดซื้อวัคซีน
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-611348
ภาคเอกชนธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ยื่นหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยไม่ให้ภาคเอกชน และ อปท.จัดซื้อวัคซีน ต่อนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัภูเก็ต ว่า ภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ต ได้เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยไม่ให้ภาคเอกชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จัดซื้อวัคซีน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
1. จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเกินกว่า 94% และเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนขาดรายได้มี จนกระทั่งได้มีคำสั่งให้มีการปิดสนามบินภูเก็ตทั้งสนามบินภายในประเทศและต่างประเทศ จังหวัดภูเก็ตถือเป็นอันดับ 2 รอง จากกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวทุกสาขาอาชีพ ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก และเป็นวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 8 เดือน
2. เมื่อวันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดภูเก็ต ทางคณะรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหา และรับว่าจะดำเนิการแก้ไข บรรเทา เยียวยา และหาหนทางให้จังหวัดภูเก็ตกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เร็วที่สุด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีความหวังเกิดขึ้น
3. เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2563 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง จากจังหวัดสมุทรสาครสู่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ ทำให้มีผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อประชาชนทั้งประเทศอีกครั้ง และส่งผลต่อการท่องเที่ยวประชาชนไม่กล้าเดินทาง ไม่กล้าใช้จ่าย โรงแรมเริ่มปิดกิจการอีกครั้ง สายการบินลดหรืองดตารางบิน ทำให้มีการกระจายรายได้น้อยมาก ความทุกข์และความยากจนกลับมาเยือนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ย่อมหนักและสาหัสกว่าครั้งแรก
4. ผศ.ดร.
ยานนท์ ภู่เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้เปิดผลงานวิจัยว่าคาดการรายได้ต่อหัวของคนภูเก็ต ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 1,984 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศไทยถูกระบุที่ 3,044 บาทต่อเดือน
5. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โมษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยขอให้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีความหวังเกิดขึ้น จากการที่รัฐบาลปิดให้เอกชนร่วมนำเข้าวัคซีน เพื่อให้ภาคเอกชนช่วยดำเนินการคนกูเก็ตได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เพื่อเร่งเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ต้องกักตัวได้อย่างปลอดภัย
6. จังหวัดภูเก็ตได้มีการประชุมกันระหว่างภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหาทางออกของปัญหานี้ ได้ข้อสรุปเป็นเอกฉันท์ว่า วัคซีนคือทางออกของปัญหา โดยทางภาคเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดหา จัดซื้อและฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรภาคการท่องเที่ยวเองทั้งหมด โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่นโดยของมติสภาฯ ขององค์กรท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีข้อนำเสนอ 5 ข้อ เรียกว่ายุทธศาสตร์ Phuket First October
7. ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดภูเก็ตจึงได้หนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ทางปลัดกระทรวงมหาดไทย นำเสนอยุทธศาสตร์ Phuket First October ต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพิจารณาให้จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดอื่น ๆ ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป โดยทางปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือถึงศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้ได้พิจารณา
จากข้อความในวรรคแรกในหนังสือฉบับนี้ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะอันเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดท่องเที่ยวอื่น ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ Phuket First October ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตขับเคลื่อนได้ ทางภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ตได้โทรศัพท์ ไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อสอบถามถึงสาเหตุในการวินิจฉัยและข้อเสนอดังกล่าว
ได้รับคำตอบมาว่า การที่ไม่สามารถให้ภาคเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับผู้ผลิตวัคซีนโดยตรง ในระยะเริ่มแรกนั้น เนื่องจากทางรัฐบาลจะได้รับวัคซีนมาเป็นจำนวนน้อยมาก ยังไม่สามารถกระจายการฉีดยาให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เกรงว่าจะเกิดปัญหาขึ้นได้ และเป็นเพียงข้อเสนอแนะ มิใช่คำวินิจฉัยแต่อย่างใด
เมื่อมีการอ่านข่าวจากการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีใน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นไปในทางเดียวกับข้อเสนอของภาคเอกชนของจังหวัดภูเก็ต ในยุทธศาสตร์ Phuket First October แต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้อีก ว่า ไม่สามารถให้เอกชนจัดซื้อวัคซีนเองได้ ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานตรวจการแผ่นดิน
จากข้อขัดข้องและเหตุผลที่เรียนให้ท่านทราบข้างตัน ทางภาคเอกชนของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงองค์กรท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จึงขอความกรุณาได้โปรดพิจรณาเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีประเด็นดังนี้
1. ประเด็นความปลอดภัยของวัคซีนเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอาหารและยาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงจำเป็นต้องซื้อวัคซีนที่สำนักงานอาหารและยาได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
2. ประเด็นการบริหารจัดการในการฉีดให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขในการบริหารวัคซีนที่ได้จองซื้อตามแผนอยู่แล้ว ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเพียงส่วนเสริมให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงไม่สมควรเป็นเหตุมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
3. ประเด็นติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน วัคซีนที่ซื้อมาจำเป็นต้องถูกนำไปฉีดโดยโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลที่เป็นผู้ฉีดนั้นมีหน้าที่ติดตามอาการไม่พึงประสงค์อยู่แล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุห้ามมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
4. คำวินิฉัยระบุว่า ”
ในระยะแรกนี้ภาครัฐเท่านั้นที่จะดำเนินการจัดซื้อ และบริหารจัดการวัคซีนและกระจายวัคซีน” ทางผู้ร้องเรียนขอให้ท่านโปรดชี้แจงเพิ่มเติมว่า “
ในระยะแรก” หมายถึงช่วงเวลาใด จนถึงช่วงเวลาใด
JJNY : 5in1 วาเลนไทน์ไม่คึก│CEOแสนสิริห่วงเด็กจบใหม่│เอกชนค้านห้ามจัดซื้อวัคซีน│อั๋น-มายด์ฟาดทวีศิลป์│ม็อบเมียนมามองไทย
https://www.tnnthailand.com/content/70984?utm_source=social#
หอการค้าไทย ชี้พฤติกรรมและการใช้จ่าย ‘วาเลนไทน์ ปี 64’ ไม่คึกคัก คาดเงินสะพัดราว 2,560 ล้านบาท ต่ำสุดรอบ 10 ปี
วันนี้ ( 10 ก.พ. 64 )นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีและประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายช่วงวาเลนไทน์ ปี 2564 กลุ่มตัวอย่าง 1,234 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า คนส่วนใหญ่ประมาณ 80% มองว่าบรรยากาศโดยรวมในวันวาเลนไทน์ปีนี้ คึกคักน้อยว่าปีที่แล้ว โดยสาเหตุอันดับหนึ่งมาจากเศรษฐกิจที่แย่ลง รองลงมาการแพร่ระบาดโควิด-19 รอบใหม่, กังวลเรื่องความปลอดภัย ตลอดจนรายได้ลดลง/ราคาสินค้าแพงขึ้น และฝุ่น PM2.5
สำหรับเงินสะพัดในช่วงวาเลนไทน์ปีนี้ คาดมูลค่าการใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 2,560.24 ล้านบาท ติดลบ 21.15% จากปี 2563 ที่ 3,246.97 ล้านบาท ขยายตัวต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการสำสวจมา และถือว่ามีมูลค่าต่ำสุดในรอบ 10 ปี
ส่วนค่าใช้จ่ายต่อหัวปีนี้ เฉลี่ยรวมอยู่ที่ราว 1,306.28 บาท ลดลงจากปี 63 ที่ 1,814.01 บาท โดยคน GenX มีการใช้จ่ายมากสุด รองลงมาเป็นคน GenY และ GenZ
ทั้งนี้ สิ่งที่คนต้องการและอยากได้จากคู่รักมากสุด 3 อันดับแรก อาทิ การบอกรัก การให้ดอกไม้ และการให้ของขวัญ รวมถึงการพาไปเที่ยว กินข้าวกับคนรักหรือครอบครัว ขณะที่คนโสดส่วนใหญ่ (ยังไม่แต่งงาน) ที่มีการฉลองวันวาเลนไทน์และซื้อของขวัญให้คนรัก มีค่าใช้จ่ายในการซื้อของลดลง เฉลี่ยอยู่ที่ 966 บาทต่อคน จาก 1,013 บาทต่อคนในปี63
โดยปัจจัยในการเลือกซื้อของขวัญ ส่วนใหญ่ 23.7% บอกว่าขึ้นอยู่กับความชอบของผู้รับ ขณะที่ 19.2% ขึ้นอยู่กับราคา และ 17.5% ขึ้นอยู่กับความสะดวก ส่วนดอกไม้ที่ยังได้รับความนิยมสูงสุดคือดอกกุหลาบ รองลงมาเป็นทิวลิบ ลิลลี่ และคาร์เนชั่น
นอกจากนี้ จากผลสำรวจยังชี้ว่าสิ่งที่น่าห่วงคือ ทัศนคติของวัยรุ่นต่อการมีเพศสัมพันธุ์ในวันแห่งความรัก โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงที่มีความเสี่ยงสูงสุดคือ กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษา ซึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในการป้องกันที่ถูกต้อง อาจนำมาสู่ปัญหาสังคมในอนาคต โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คลอดแล้วทิ้ง ทำแท้งเถื่อน ปัญหาเด็กเร่ร่อน และปัญหายาเสพติด
ซีอีโอแสนสิริ ห่วงเด็กจบใหม่ 4.5แสนคนใครจะจ้างงาน จี้รัฐรับผิดชอบ
https://www.matichon.co.th/economy/news_2571765
ซีอีโอแสนสิริ ห่วงเด็กจบใหม่ 4.5แสนคนใครจะจ้างงาน
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ทวีตข้อความผ่านทวิตเตอร์
เด็กจบใหม่ 450,000 คนต่อปี ภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ใครจะจ้าง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องรับผิดชอบ อยากถามว่ารัฐทำเต็มที่ในการช่วยคนกลุ่มนี้หรือยัง วันนี้ต้องกล้าทำและต้องรีบทำ คนจ้างแรงงานที่ดีที่สุด คือ รัฐบาล ถ้าจะให้เอกชนช่วยจ้างงานก็ต้องมีอะไรช่วยเขาบ้าง
https://twitter.com/Thavisin/status/1359335896944812034
เอกชนท่องเที่ยวภูเก็ต ยื่นคัดค้าน ห้ามเอกชน-อปท. จัดซื้อวัคซีน
https://www.prachachat.net/breaking-news/news-611348
ภาคเอกชนธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ยื่นหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยไม่ให้ภาคเอกชน และ อปท.จัดซื้อวัคซีน ต่อนายกรัฐมนตรีและผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัภูเก็ต ว่า ภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ต ได้เดินทางไปยื่นหนังสือคัดค้านคำวินิจฉัยไม่ให้ภาคเอกชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จัดซื้อวัคซีน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
1. จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเกินกว่า 94% และเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา ส่งผลให้ผู้ประกอบการรวมถึงประชาชนขาดรายได้มี จนกระทั่งได้มีคำสั่งให้มีการปิดสนามบินภูเก็ตทั้งสนามบินภายในประเทศและต่างประเทศ จังหวัดภูเก็ตถือเป็นอันดับ 2 รอง จากกรุงเทพมหานคร ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวทุกสาขาอาชีพ ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก และเป็นวลาต่อเนื่องอย่างน้อย 8 เดือน
2. เมื่อวันที่ 2 และ 3 พฤศจิกายน 2563 ได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ณ จังหวัดภูเก็ต ทางคณะรัฐมนตรีได้รับทราบปัญหา และรับว่าจะดำเนิการแก้ไข บรรเทา เยียวยา และหาหนทางให้จังหวัดภูเก็ตกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวให้เร็วที่สุด ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีความหวังเกิดขึ้น
3. เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2563 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกครั้ง จากจังหวัดสมุทรสาครสู่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทั่วประเทศ ทำให้มีผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อประชาชนทั้งประเทศอีกครั้ง และส่งผลต่อการท่องเที่ยวประชาชนไม่กล้าเดินทาง ไม่กล้าใช้จ่าย โรงแรมเริ่มปิดกิจการอีกครั้ง สายการบินลดหรืองดตารางบิน ทำให้มีการกระจายรายได้น้อยมาก ความทุกข์และความยากจนกลับมาเยือนอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ย่อมหนักและสาหัสกว่าครั้งแรก
4. ผศ.ดร.ยานนท์ ภู่เจริญ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา คณะการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต ได้เปิดผลงานวิจัยว่าคาดการรายได้ต่อหัวของคนภูเก็ต ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-กันยายน 2564 จะอยู่ที่ประมาณ 1,984 บาทต่อเดือน ซึ่งต่ำกว่าเส้นความยากจนของประเทศไทยถูกระบุที่ 3,044 บาทต่อเดือน
5. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2564 นายอนุชา บูรพชัยศรี โมษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีนโยบายให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยขอให้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนวัคซีนกับทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาให้ถูกต้อง ทำให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ตมีความหวังเกิดขึ้น จากการที่รัฐบาลปิดให้เอกชนร่วมนำเข้าวัคซีน เพื่อให้ภาคเอกชนช่วยดำเนินการคนกูเก็ตได้รับวัคซีนอย่างครอบคลุม เพื่อเร่งเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยไม่ต้องกักตัวได้อย่างปลอดภัย
6. จังหวัดภูเก็ตได้มีการประชุมกันระหว่างภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อหาทางออกของปัญหานี้ ได้ข้อสรุปเป็นเอกฉันท์ว่า วัคซีนคือทางออกของปัญหา โดยทางภาคเอกชนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดหา จัดซื้อและฉีดวัคซีนให้แก่บุคลากรภาคการท่องเที่ยวเองทั้งหมด โดยไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่นโดยของมติสภาฯ ขององค์กรท้องถิ่นนั้น ๆ โดยมีข้อนำเสนอ 5 ข้อ เรียกว่ายุทธศาสตร์ Phuket First October
7. ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 จังหวัดภูเก็ตจึงได้หนังสือถึงปลัดกระทรวงมหาดไทย ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เพื่อให้ทางปลัดกระทรวงมหาดไทย นำเสนอยุทธศาสตร์ Phuket First October ต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อพิจารณาให้จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดอื่น ๆ ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป โดยทางปลัดกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือถึงศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อให้ได้พิจารณา
จากข้อความในวรรคแรกในหนังสือฉบับนี้ สำนักผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะอันเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดท่องเที่ยวอื่น ๆ อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ Phuket First October ที่จะทำให้การท่องเที่ยวของจังหวัดภูเก็ตขับเคลื่อนได้ ทางภาคเอกชนจังหวัดภูเก็ตได้โทรศัพท์ ไปยังสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อสอบถามถึงสาเหตุในการวินิจฉัยและข้อเสนอดังกล่าว
ได้รับคำตอบมาว่า การที่ไม่สามารถให้ภาคเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 กับผู้ผลิตวัคซีนโดยตรง ในระยะเริ่มแรกนั้น เนื่องจากทางรัฐบาลจะได้รับวัคซีนมาเป็นจำนวนน้อยมาก ยังไม่สามารถกระจายการฉีดยาให้กับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง เกรงว่าจะเกิดปัญหาขึ้นได้ และเป็นเพียงข้อเสนอแนะ มิใช่คำวินิจฉัยแต่อย่างใด
เมื่อมีการอ่านข่าวจากการให้สัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรีใน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นไปในทางเดียวกับข้อเสนอของภาคเอกชนของจังหวัดภูเก็ต ในยุทธศาสตร์ Phuket First October แต่เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้สัมภาษณ์ในเรื่องนี้อีก ว่า ไม่สามารถให้เอกชนจัดซื้อวัคซีนเองได้ ตามคำวินิจฉัยของสำนักงานตรวจการแผ่นดิน
จากข้อขัดข้องและเหตุผลที่เรียนให้ท่านทราบข้างตัน ทางภาคเอกชนของจังหวัดภูเก็ต รวมถึงองค์กรท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต จึงขอความกรุณาได้โปรดพิจรณาเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยมีประเด็นดังนี้
1. ประเด็นความปลอดภัยของวัคซีนเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอาหารและยาเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงจำเป็นต้องซื้อวัคซีนที่สำนักงานอาหารและยาได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
2. ประเด็นการบริหารจัดการในการฉีดให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขในการบริหารวัคซีนที่ได้จองซื้อตามแผนอยู่แล้ว ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเพียงส่วนเสริมให้ครอบคลุมมากขึ้น จึงไม่สมควรเป็นเหตุมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
3. ประเด็นติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับวัคซีน วัคซีนที่ซื้อมาจำเป็นต้องถูกนำไปฉีดโดยโรงพยาบาลของรัฐหรือเอกชน ซึ่งโรงพยาบาลที่เป็นผู้ฉีดนั้นมีหน้าที่ติดตามอาการไม่พึงประสงค์อยู่แล้ว จึงไม่สมควรเป็นเหตุห้ามมิให้ภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดซื้อวัคซีน
4. คำวินิฉัยระบุว่า ”ในระยะแรกนี้ภาครัฐเท่านั้นที่จะดำเนินการจัดซื้อ และบริหารจัดการวัคซีนและกระจายวัคซีน” ทางผู้ร้องเรียนขอให้ท่านโปรดชี้แจงเพิ่มเติมว่า “ในระยะแรก” หมายถึงช่วงเวลาใด จนถึงช่วงเวลาใด