คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ในมุมมองผมนะ มันมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น
- รถไฟฟ้าเป็นสัมปทาน เอกชนต้องการกำไร (สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้)
- ในเมื่อระบบขนส่งไม่ครอบคลุม คนส่วนใหญ่เลยเลือกที่จะใช้รถส่วนตัว
- รถยนต์ถึงแม้ภาษีจะแพง แต่ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก กลายเป็นความจำเป็น
- รัฐน่าจะเอื้อประโยชน์ ต่อธุรกิจรถยนต์ เพราะไม่มีกฎหมายควบคุมเหมือนใน ตปท. ซื้อรถต้องมีที่จอดในบ้าน ทำให้ใครมีเงินก็ซื้อได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีที่จอด ทำให้คนจอดกับบนถนนหน้าบ้าน ปริมาณรถยนต์เพิ่มชึ้น เป็นผลดีต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรถมือหนึ่งหรือมือสอง นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อ งบประมาณซ่อมแซมถนน หรือตัดถนนใหม่ (ภาษีประชาชนทั้งนั้น) ยังไม่รวมถึงภาคเอกชน ที่ประมูลทางด่วน เก็บค่าผ่านทาง
- รายได้ของธุรกิจน้ำมัน หรือพลังงานทางเลือกก็เพิ่มขึ้นเพราะรถเยอะ (ใครถือหุ้นใหญ่ ใครเสียประโยชน์) ยังไม่รวมรายได้ภาษีจากการขายรถที่รัฐเก็บได้อีก
ลองคิดดูว่า ถ้ารัฐเลือกที่จะควบคุมราคาให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ และทำให้ระบบขนส่งครอบคลุมทุกพื้นที่ ออกกฎหมายซื้อรถต้องมีที่จอด อะไรจะเกิดขึ้น
- ปชช. จะใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
- ออกกฎหมายซื้อรถต้องมีที่จอด ปริมาณรถยนต์จะลดลง มลพิษลดลง ปัญหารถติดลดลง แต่ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ ย้ายฐานการผลิต เต้นรถมือสองเจ๊ง
- ประหยัดงบประมาณ ตัดถนน สร้างสะพานใหม่ ยังไม่รวมงบซ่อมแซม (เป็นข้อดีนะ แต่เป็นผลเสียต่อคนที่หากินกับภาษีประชาชน) โครงการก่อสร้างซ่อมแซมลดลง บริษัทก่อสร้างไม่มีงาน
- รายได้ของธุรกิจพลังงานลดลง รายได้จากภาษีการซื้อขายก็ลดลง
ที่พูดมาคือสิ่งที่ควรจะแก้ไข แต่ไม่มีใครกล้าทำ
- รถไฟฟ้าเป็นสัมปทาน เอกชนต้องการกำไร (สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้)
- ในเมื่อระบบขนส่งไม่ครอบคลุม คนส่วนใหญ่เลยเลือกที่จะใช้รถส่วนตัว
- รถยนต์ถึงแม้ภาษีจะแพง แต่ก็ไม่มีทางเลือกมากนัก กลายเป็นความจำเป็น
- รัฐน่าจะเอื้อประโยชน์ ต่อธุรกิจรถยนต์ เพราะไม่มีกฎหมายควบคุมเหมือนใน ตปท. ซื้อรถต้องมีที่จอดในบ้าน ทำให้ใครมีเงินก็ซื้อได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีที่จอด ทำให้คนจอดกับบนถนนหน้าบ้าน ปริมาณรถยนต์เพิ่มชึ้น เป็นผลดีต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรถมือหนึ่งหรือมือสอง นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อ งบประมาณซ่อมแซมถนน หรือตัดถนนใหม่ (ภาษีประชาชนทั้งนั้น) ยังไม่รวมถึงภาคเอกชน ที่ประมูลทางด่วน เก็บค่าผ่านทาง
- รายได้ของธุรกิจน้ำมัน หรือพลังงานทางเลือกก็เพิ่มขึ้นเพราะรถเยอะ (ใครถือหุ้นใหญ่ ใครเสียประโยชน์) ยังไม่รวมรายได้ภาษีจากการขายรถที่รัฐเก็บได้อีก
ลองคิดดูว่า ถ้ารัฐเลือกที่จะควบคุมราคาให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ และทำให้ระบบขนส่งครอบคลุมทุกพื้นที่ ออกกฎหมายซื้อรถต้องมีที่จอด อะไรจะเกิดขึ้น
- ปชช. จะใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น
- ออกกฎหมายซื้อรถต้องมีที่จอด ปริมาณรถยนต์จะลดลง มลพิษลดลง ปัญหารถติดลดลง แต่ส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ ย้ายฐานการผลิต เต้นรถมือสองเจ๊ง
- ประหยัดงบประมาณ ตัดถนน สร้างสะพานใหม่ ยังไม่รวมงบซ่อมแซม (เป็นข้อดีนะ แต่เป็นผลเสียต่อคนที่หากินกับภาษีประชาชน) โครงการก่อสร้างซ่อมแซมลดลง บริษัทก่อสร้างไม่มีงาน
- รายได้ของธุรกิจพลังงานลดลง รายได้จากภาษีการซื้อขายก็ลดลง
ที่พูดมาคือสิ่งที่ควรจะแก้ไข แต่ไม่มีใครกล้าทำ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยถึงแพงกว่าหลายๆประเทศเมื่อเทียบกับอัตราค่าครองชีพขั้นต่ำ