พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดจากกระแสลมตะวันตกกับพายุฤดูร้อนต่างกันตรงไหน?

วันนี้ภาคเหนือเจอพายุฝนฟ้าคะนองถล่มหลายจุด มีลูกเห็บด้วย ดู ๆ ไปแล้วเหมือนพายุฤดูร้อนเลย  แต่ตอนนี้เชียงใหม่หลังฝนตกอากาศหนาวเย็นอีกครั้ง น่าจะหนาวเย็นครั้งสุดท้ายของปีนี้แล้วกระมัง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
คุณ จขกท.เข้าใจถูกแล้วล่ะครับ เพราะลักษณะของฝนในรอบนี้ ก็คือลักษณะของพายุฤดูร้อนตามนิยามทางกายภาพที่กรมอุตุฯเองใช้เรียกนั่นแหละครับ ส่วนที่กรมอุตุเลือกที่จะไม่ใช้คำว่า พายุฤดูร้อน อาจเพราะตอนนี้ยังไม่เข้า ฤดูร้อนจริงๆ เนื่องด้วยปกติพายุลักษณะนี้หลายสิบปีก่อนมักจะมาช่วงครึ่งหลังเดือน กุมภาพันธ์เป็นไป หรือ เริ่มมาแถวๆต้นมีนาฯ เพราะงั้นจึงเป็นสาเหตุที่ตั้งชื่อมันว่า “พายุฤดูร้อน”นั่นแหละครับ

โดยลักษณะทางกายภาพที่กล่าวถึงของ”พายุฤดูร้อน”ที่ว่านี้คือ

1.เกิดจากคลื่นกระแสลมตะวันตกพาดผ่านบริเวณตอนบนของประเทศไทย
อย่างที่ทราบกันดีที่ว่ากระแสลมกรดกึ่งเขตร้อน หรือ subtropical jet stream ในช่วงปลายฤดูหนาวอาจเลื่อนต่ำลงมากว่าปกติ (ซึ่งสาเหตุก็มาจากบริเวณความกดอากาศสูงแถวประเทศจีน และ ทิเบตดันมันลงมานั่นแหละ) พอมันเลื่อนลงมาต่ำ ประกอบกับกระแสลมบน (500 hPa ขึ้นไป) มีการแปรปรวน เกิดเป็น การ convergence (ลู่เข้า) และ divergence (แยกออก) คราวนี้ แนว jet stream มันจะเริ่มส่าย (wavy) กลายเป็น ridge (ลิ่มอากาศ) และ trough (ร่องอากาศ)ขึ้นมา


จากภาพบนจะเห็นได้ว่า แนว jet stream มันส่าย และทำให้เกิด ridge แทงความหนาวเย็นลงมาเกิดเป็น cold front และ trough ดันอากาศอุ่นขึ้นไป ปล.โปรดสังเกตว่า ความกดอากาศสูงบริเวณพิ้นผิว และบริเวณลมบนจะตรงกันข้ามกัน โดยปกติหากไม่ได้ระบุ ความกดอากาศที่มักพูดถึงกันจะเป็นที่ระดับพื้นผิว

เมื่อมี ridge เกิดขึ้นบริเวณนั้นจะทำให้เกิดลักษณะของ cold front อากาศสามารถยกตัวได้อย่างรวดเร็ว เป็นที่มาของพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกรรโชกแรงนั่นแหละครับ


อากาศยกตัวอย่างรุนแรงทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองได้ และหากเป็นบริเวณภาคเหนือที่มี orographic wind (ลมปะทะภูเขา) ซึ่งทำหน้าที่ยกอากาศขึ้นไปสู่ชั้นบรรยกาศด้านบนที่หนาวเย็น รวมถึงพอมีเศษฝุ่น หรือ particle แกนกลางที่เพียงพอ ก็จะสามารถเกิด ลูกเห็บ ตกได้ ที่ช่วงที่ผ่านมาถึงได้มีลูกเห็บตกกันหลายพื้นก็เพราะเหตุผลนี้นั่นเองครับ

ดังที่เขียนไปข้างต้นคือ “พายุฤดูร้อน” ที่เกิดจาก ridge นั้น หมายถึงเมื่อมีความต่างทางอุณหภูมิสูงมากเท่าไหร่ ย่อมมีการถ่ายเทความร้อน (Warm advection) ที่รุนแรงมากขึ้น และส่งผลให้พายุรุนแรงขึ้น และลมเคลื่อนที่ได้แรงขึ้นตามมา จึงนำไปสู่ลักษณะทางกายภาพอีกข้อของ พายุฤดูร้อน ก็คือ

2.อากาศบริเวณเดิมต้องร้อน หรืออุณหภูมิต่างจากมวลอากาศที่ลิ่มแทงลงมามากๆ
ช่วงก่อนหน้า อากาศประเทศไทยอุ่นขึ้นมามาก พอมีลิ่มมาแทง รอบนี้ถึงได้เกิดเป็นพายุได้นั่นเองครับ
เพราะงั้นในช่วงกลางฤดูหนาว (รวมถึงของปีนี้ที่ผ่านมา) ฝนที่ตกจะไม่ถึงกับเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลูกเห็บตก แต่จะเป็นฝนฝอยๆ (shower rain) มากกว่า ซึ่งก็มาจากความต่าง และปริมาณความร้อนที่ถ่ายเท ไม่ได้มีมากพอให้อากาศยกตัวรุนแรงจนทำให้เกิดเป็นพายุ ดังที่เขียนไปก่อนหน้านี้



รูปด้านบนคือลักษณของลมบนที่เคลื่อนผ่านประเทศไทยที่ความสูง 600 hPa ของวันนี้ จะสังเกตได้ว่าเกิดลิ่มอากาศแทงเข้ามาบริเวณภาคเหนือของไทย รวมไปถึงจะเห็นได้ว่าบริเวณด้านขวาของลิ่ม ลมจะมีความแรงสูงกว่าด้านซ้าย ซึ่งสาเหตุก็มาจากการถ่ายเทความร้อนที่รุนแรง และบริเวณดังกล่าวบริเวณนั้นเอง ที่จะสามารถเกิดเป็นฝน หรือพายุฤดูร้อนขึ้นมาได้นั่นเองครับ

สรุปก็คือ พายุในรอบนี้ก็คือ พายุฤดูร้อน ที่มาเร็วกว่าปกตินั่นแหละครับ

ปล.อากาศเย็นในปีนี้ไม่แน่ที่ว่าจะหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้นะครับ จริงอยู่ที่ว่าจะเข้าฤดูร้อนกันแล้ว และอากาศร้อนก็เริ่มเวียนกลับมาให้เห็นแล้ว แต่เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลจีนใต้ในปีนี้มันต่ำกว่าปกติ หากเพียงได้มีความกดอากาศสูงแผ่ลงมา (เช่นในรอบนี้ ที่ก็ไม่ได้มีกำลังแรงใดๆเลย) อากาศก็จะสามารถเย็นลงได้เช่นกัน ถ้าลักษณะของอุณหภูมิน้ำทะเลยังคงเย็นอย่างนี้ต่อไป ภาคเหนือ และอีสาน น่าจะได้ลุ้นอากาศเย็นยาวๆถึงปลายมีนานั่นแหละครับส่วนภาคกลางก็อาจได้อานิสงค์ได้เย็นลงมากับเค้าบ้าง หากมันแผ่ลงมาได้แรงพอ
ซึ่งผลลัพธ์ก็น่าจะทำให้อย่างน้อยก็เกิดฝนตก หรืออาจเกิด”พายุฤดูร้อน” ตามมาด้วยอีกเช่นกันครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่