งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพทางความร้อนและผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของเตาปิ้งย่างเชื้อเพลิงแก๊สหุงต้ม LPG โดยใช้หินภูเขาไฟ 3 ชนิด ได้แก่ หินบะซอลล์ หินสคอเรีย และหินพัมมิซ เป็นตัวกลางในการรักษาอุณหภูมิและกระจายความร้อนของเตาปิ้งย่าง เพื่อพัฒนาเตาปิ้งย่างให้มีประสิทธิภาพในด้านการกระจายความร้อนสูงขึ้น โดยดำเนินการทดสอบการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติทางเคมีของหินภูเขาไฟ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอุณหภูมิน้ำเดือดกับเวลาที่ใช้ในการต้มน้ำ การกระจายความร้อน ความสุกของอาหาร ประสิทธิภาพทางความร้อน และมลพิษทางอากาศ จากนั้นวิเคราะห์ความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์ของการผลิตเตาปิ้งย่าง ผลการวิจัยพบว่า เตาปิ้งย่างเมื่อใช้หินบะซอลต์ หินสคอเรีย และหินพัมมิซ เป็นตัวกลางในการกระจายความร้อนแต่ละตำแหน่งบนเตาปิ้งย่าง มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 47.32 49.68 และ 48.02 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า หินบะซอลต์ เป็นหินภูเขาไฟที่เหมาะสมแก่การนำมาใช้เป็นตัวกลางในการรักษาอุณหภูมิและกระจายความร้อนแก่เตาปิ้งย่าง เนื่องจากมีความแปรปรวนของอุณหภูมิต่ำสุดและทำให้อาหารที่นำไปปิ้งย่างมีความสุกที่รวดเร็วและสุกอย่างทั่วถึง โดยอุณหภูมิภายในเนื้อหมูที่ทำการย่างเท่ากับ 48.1°C อีกทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเชิงความร้อนให้แก่เตาปิ้งย่าง โดยมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนเท่ากับ 26.78 % สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเตาปิ้งย่างก่อนใช้หินภูเขาไฟเป็นตัวกลางซึ่งมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนเท่ากับ 20.57 % และมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น พบว่า เตาปิ้งย่างเมื่อใช้หินบะซอลต์ ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่น PM2.5 และฝุ่น PM10 มีค่าเท่ากับ 20 ppm 0.22 mg/m3 และ 0.58 mg/m3 มีค่าความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศต่ำกว่าเตาปิ้งย่างก่อนการใช้หินภูเขาไฟเป็นตัวกลางและเตาปิ้งย่างเชื้อเพลิงถ่าน ทั้งนี้ต้นทุนในการผลิตเตาปิ้งย่างเมื่อใช้หินบะซอลต์เป็นตัวกลางในการกระจายความร้อน มีระยะเวลาในการคืนทุน เท่ากับ 5 เดือน
This research study the efficiency of heat and environmental impact. The rocks are 3 types consisting of basalt, scoria and pumice as the intermediary to maintain the temperature and heat distribution of the gas grill to develop the gas grill to be more distributing heat efficiency. Thereafter analyze the economic suitability of the grill. The relationship between temperature and water boiling time, heat distribution, food ripeness, Thermal efficiency, and the air pollution The results are basalt, scoria, and pumice have standard deviation which shows the variance of data in the gas grill are 47.32, 49.68 and 48.02 respectively. The basalt is suitable for use as the intermediary to maintain the temperature and heat distribution of the gas grill due to the minimum temperature variation resulting. The pork being grilled to be cooked quickly and thoroughly cooked with the internal temperature of the roasted pork are 48.1°C. The efficiency of heat of gas grill is increased to 26.78% when compared with the gas grill without using volcanic rocks at 20.57%. The pollution test, producing carbon monoxide , PM2.5 , and PM10 of gas grill with the basalt, scoria and pumice. The results indicate that the gas grill with volcanic rocks decrease the concentration of air pollution of the gas grill with LPG and charcoal fuel grill. However, the general air quality standards and the fuel pollution standards of volcanic rocks gas grill are still higher than the prescribed standards. Moreover, the cost of producing a basalt, scoria and pumice as the intermediary to heat distribution of the gas grill have a payback period of 5 months.
ขอบคุณครับ
ขอรบกวนช่วยตรวจบทคัดย่อให้หน่อยครับ
This research study the efficiency of heat and environmental impact. The rocks are 3 types consisting of basalt, scoria and pumice as the intermediary to maintain the temperature and heat distribution of the gas grill to develop the gas grill to be more distributing heat efficiency. Thereafter analyze the economic suitability of the grill. The relationship between temperature and water boiling time, heat distribution, food ripeness, Thermal efficiency, and the air pollution The results are basalt, scoria, and pumice have standard deviation which shows the variance of data in the gas grill are 47.32, 49.68 and 48.02 respectively. The basalt is suitable for use as the intermediary to maintain the temperature and heat distribution of the gas grill due to the minimum temperature variation resulting. The pork being grilled to be cooked quickly and thoroughly cooked with the internal temperature of the roasted pork are 48.1°C. The efficiency of heat of gas grill is increased to 26.78% when compared with the gas grill without using volcanic rocks at 20.57%. The pollution test, producing carbon monoxide , PM2.5 , and PM10 of gas grill with the basalt, scoria and pumice. The results indicate that the gas grill with volcanic rocks decrease the concentration of air pollution of the gas grill with LPG and charcoal fuel grill. However, the general air quality standards and the fuel pollution standards of volcanic rocks gas grill are still higher than the prescribed standards. Moreover, the cost of producing a basalt, scoria and pumice as the intermediary to heat distribution of the gas grill have a payback period of 5 months.
ขอบคุณครับ