ถ้านึกถึงการเรียนต่อต่างประเทศคนส่วนใหญ่คงจะนึกถึงการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาคือการเรียนในมหาวิทยาลัยกันเป็นส่วนมาก
แต่ที่ประเทศเยอรมนีมีระบบการศึกษาต่อจากระดับมัธยมอีกรูปแบบนึงซึ่งเรียกว่า Ausbildung (เอ้าส์-บิล-ดุง)
>> ฟังการออกเสียงและเรียนภาษาเยอรมันกันได้ในคลิปที่เพจนะคะ
https://www.facebook.com/ForeverDeutsch
คลิปอาจจะมาช้าแต่มาแน่ กดติดตามไว้น้าา <<
หลักสูตรนี้เป็นการเรียนต่อสายวิชาชีพ (ซึ่งไม่ได้มีในทุกสาขาอาชีพนะคะ)
ระยะเวลาเรียนอยู่ที่ 2-3ปี แล้วแต่สาขาอาชีพ
ข้อดีของการเรียนหลักสูตรแบบนี้คือ ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ทำงานจริง ได้รับค่าตอบแทนตามฐานเงินเดือนเด็กฝึกงานและสวัสดิการต่างๆเหมือนพนักงานของบริษัทคนนึงเลยค่ะ
การเรียนแบบนี้ได้รับความนิยมในเหล่านักเรียนมากๆเพราะทั้งได้เรียนทฤษฎีในโรงเรียนตามหลักสูตรของรัฐ ได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานถือเป็นข้อดีในการยื่นสมัครงานหลังเรียนจบได้ และยังมีรายได้ระหว่างเรียนไปด้วย
*ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับสาขาวิชาชีพและชั้นปีการศึกษานะคะ
ฝั่งทางบริษัทเองก็ยินดีรับคนที่จบแบบ Ausbildung เข้าร่วมงานมากเพราะจะได้บุคคลากรที่ผ่านการทำงานจริงมาหลายปี นั่นหมายถึงโอกาสที่จะได้งานหลังเรียนจบทันทีนั้นมีสูงมาก
**Ausbildung ไม่เทียบเท่าวุฒิปริญญาตรี
การเรียนแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ค่อนข้างรู้ตัวเองชัดเจน หรือ ต้องการและมีเวลาลองเรียนรู้
>>> ขั้นตอนการสมัคร Ausbildung <<<
เริ่มจากการหารายชื่อบริษัทที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ในอินเตอร์เน็ต หรือ แหล่งต่างๆ เช่นโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
เมื่อเจอบริษัทที่ถูกใจแล้วก็เขียนใบสมัคร (Bewerbung) และส่งไปตามที่อยู่ที่เขาประกาศไว้ได้เลย ปกติเขาจะให้ที่ติดต่อไว้เป็นฝ่ายบุคคล แน่นอนว่าเราสามารถส่งไปได้หลายๆที่
เอกสารที่ต้องแนบไปด้วยคือ รูปถ่าย ประวัติการศึกษาและอาจจะต้องใช้ผลการเรียนด้วยถ้าบ.กำหนดไว้
(ถ้ามีใครสนใจจะมาสอนเขียนให้อีกทีนะคะ^^)
จากนั้นก็รอค่ะ รอ ร๊อ รอ ช่วงระยะเวลารอคอยนี้อยู่ที่ประมาณ1-2สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นบ.ใหญ่และฮอตมากๆ เช่น Daimler หรือ ที่ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเมอซิเดสเบนช์ อาจจะมีคนสมัครเยอะ การรอคอยนี้ก็สามารถยาวนานได้เป็นเดือนเลยทีเดียว
การตอบกลับมาจะเป็นได้ทั้งทางทางโทรศัพท์ที่เราแจ้งเขาไว้ในใบสมัคร หรือเป็นทางอีเมลล์ แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นทางจดหมายมากกว่าค่ะ
ในจดหมายตอบกลับจะเป็นข่าวดี หรือข่าวร้ายก็ขึ้นอยู่กับการพิจณาของทางฝ่ายบุคคลบ.นั้นๆ
ถ้าการตอบกลับเป็นข่าวดีเราจะได้วันนัดไปสัมภาษณ์ (Vorstellungsgespräch) ในจดหมายนั้นเลย
หลังจากขั้นตอนการสัมภาษณ์ผ่านไปได้ด้วยดี และเราได้รับจดหมายอีกฉบับว่าทางบริษัทยินดีจะรับเราเข้าเรียนและทำงานในตำแหน่ง Auszubildende หรือเรียกสั้นๆว่า Azubi เราจะได้วันนัดหมายต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวันรับชุดยูนิฟอร์ม วันเริ่ม/ทดลองงาน
สิ่งที่โดยปกติแล้วจะมาพร้อมจดหมายตอบรับ คือสัญญางาน
รายละเอียดทุกอย่างรวมทั้งตัวเลขค่าตอบแทนพร้อมทั้งลายเซ็นจะอยู่ในนั้นด้วย ถ้าเราตกลงกับทุกรายละเอียดเรียบร้อยเราจะต้องส่งสัญญานี้พร้อมลายเซ็นกลับในเวลาที่ทางบ.กำหนด ถือเป็นการสิ้นสุดกระบวนการสมัคร ^^
เช่นเดียวกันกับการทำงานทั่วไป หลักสูตรนี้มีระยะทดลองงาน (Probezeit) โดยส่วนมากคือ 3 เดือน
เราสามารถเสิร์ชหารายชื่อบริษัทที่เปิดรับสมัครได้ด้วยคำว่า :
Ausbildungsplätze20...(ปีนั้นๆที่เราต้องการสมัคร โดยปกติบริษัทจะประกาศรับปีต่อปี) ตามด้วยสาขาที่เราสนใจและเมืองที่เราสะดวกเดินทางไปได้ เช่น
Ausbildungsplätze2021 Hotelfach Berlin แต่ถ้าหากเรายังไม่แน่ใจด้านสาขาหรือเมือง การเสิร์ชแค่ Ausbildungsplatz2021 ก็จะทำให้เราเห็นรายชื่อสาขาและเมืองต่างๆเยอะขึ้น^^
สาขาที่เปิดในหลักสูตรนี้มีมากมายหลายหลาก เช่น การโรงแรม ผู้ช่วยแพทย์ การช่างต่างๆ ตำรวจ พยาบาล เป็นต้น
วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครแต่ละสาขาจะแตกต่างกันออกไป ( Hauptschulabschluss, Mittlere Reife หรือ Abitur ) จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปว่าแต่ละอย่างแตกต่างกันยังไงนะคะ
ทั้งสามแบบมันคือวุฒิมัธยมของไทยนั้นเอง
**ในระดับอุดมศึกษาเองที่เยอรมันก็มีแบ่งแยกนะคะ 55555 เป็นประเทศที่มีกรอบเหลี่ยมชัดเจนมาก
ถึงตรงนี้คนที่สนใจคงมีคำถามว่า ต้องใช้วุฒิภาษาเยอรมันระดับไหน
(สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการภาษาเยอรมัน การเรียนภาษาเยอรมันจะถูกแบ่งเป็นระดับ A1,A2, B1, B2, C1, C2 การขอวีซ่าแต่ละอย่างต้องใช้ระดับภาษาต่างกัน)
เนื่องจากหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่คุ้นชินกันอยู่แล้วในประเทศ เด็กนักเรียนที่สนใจก็คือคนที่เรียนอยู่ในเยอรมัน ซึ่งแน่นอนว่าภาษาของพวกเขาเหล่านั้นคือภาษาแม่ หรือถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่นั่นระดับภาษาก็ต้องเป็นระดับ fluent อยากน้อยที่สุดก็ควรจะอยู่ในระดับที่สื่อสารได้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อผลดีกับตัวนักเรียนเองด้วย เพราะถ้ามีปัญหาด้านการสื่อสารบรรยากาศในการเรียนการทำงานถึง3ปีก็คงไม่ดีนัก พาลจะป่วยจิตกันได้ 555
ทั้งนี้ทั้งนั้นในเงื่อนไขการรับสมัคร ไม่มีกำหนดชัดเจนว่าต้องใช้ภาษาระดับไหน เพราะจริงๆแล้วคนเยอรมันที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการแบ่งระดับภาษาด้วย 5555 ขอให้พูดคุยสื่อสาร ใช้ภาษาได้ตามที่ควรจะเป็นก็สามารถสมัครได้แล้วค่ะ
แต่ถ้าให้แนะนำ จากประสบการณ์การสอนและการใช้ภาษาเยอรมัน ขอแนะนำว่า ควรมีความรู้ระดับ B1 เป็นอย่างน้อยค่ะ เพื่อประโยชน์และความสุขในการใช้ชีวิตในเวลานั้นค่ะ
ตั้งแต่เรียนจบมาก็ไม่ได้เขียนอะไรยาวๆแบบนี้มาก่อน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจนะคะ อ่านแล้วสงสัยตรงไหน เรื่องไหนเพิ่มเติม สามารถทักมาคุยกันได้ทั้งหลังไมค์ และในเพจเฟซบุคเลยค่ะ
ส่วนตัวชอบระบบการศึกษาแบบนี้มากและอยากนำเข้ามาในประเทศไทยด้วย เป็นการเปิดทางเลือกด้านการเรียนอีกแบบ และคงเป็นประโยชน์กับเด็กด้อยโอกาสจำนวนมาก
ไว้จะมาเล่าความเยอรมันต่อในตอนถัดไปนะคะ สำหรับบทนี้พักนิ้วก่อนค่ะ 555
ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะค้าา
#ชีวิตอีสsobunt
[CR] Ausbildung ระบบการศึกษาวิชาชีพของเยอรมัน เรียนแบบมีเงิน
แต่ที่ประเทศเยอรมนีมีระบบการศึกษาต่อจากระดับมัธยมอีกรูปแบบนึงซึ่งเรียกว่า Ausbildung (เอ้าส์-บิล-ดุง)
>> ฟังการออกเสียงและเรียนภาษาเยอรมันกันได้ในคลิปที่เพจนะคะ https://www.facebook.com/ForeverDeutsch
คลิปอาจจะมาช้าแต่มาแน่ กดติดตามไว้น้าา <<
หลักสูตรนี้เป็นการเรียนต่อสายวิชาชีพ (ซึ่งไม่ได้มีในทุกสาขาอาชีพนะคะ)
ระยะเวลาเรียนอยู่ที่ 2-3ปี แล้วแต่สาขาอาชีพ
ข้อดีของการเรียนหลักสูตรแบบนี้คือ ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์ทำงานจริง ได้รับค่าตอบแทนตามฐานเงินเดือนเด็กฝึกงานและสวัสดิการต่างๆเหมือนพนักงานของบริษัทคนนึงเลยค่ะ
การเรียนแบบนี้ได้รับความนิยมในเหล่านักเรียนมากๆเพราะทั้งได้เรียนทฤษฎีในโรงเรียนตามหลักสูตรของรัฐ ได้สั่งสมประสบการณ์ในการทำงานถือเป็นข้อดีในการยื่นสมัครงานหลังเรียนจบได้ และยังมีรายได้ระหว่างเรียนไปด้วย
*ค่าตอบแทนขึ้นอยู่กับสาขาวิชาชีพและชั้นปีการศึกษานะคะ
ฝั่งทางบริษัทเองก็ยินดีรับคนที่จบแบบ Ausbildung เข้าร่วมงานมากเพราะจะได้บุคคลากรที่ผ่านการทำงานจริงมาหลายปี นั่นหมายถึงโอกาสที่จะได้งานหลังเรียนจบทันทีนั้นมีสูงมาก
**Ausbildung ไม่เทียบเท่าวุฒิปริญญาตรี
การเรียนแบบนี้จึงเหมาะกับผู้ที่ค่อนข้างรู้ตัวเองชัดเจน หรือ ต้องการและมีเวลาลองเรียนรู้
>>> ขั้นตอนการสมัคร Ausbildung <<<
เริ่มจากการหารายชื่อบริษัทที่เปิดสอนหลักสูตรนี้ในอินเตอร์เน็ต หรือ แหล่งต่างๆ เช่นโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
เมื่อเจอบริษัทที่ถูกใจแล้วก็เขียนใบสมัคร (Bewerbung) และส่งไปตามที่อยู่ที่เขาประกาศไว้ได้เลย ปกติเขาจะให้ที่ติดต่อไว้เป็นฝ่ายบุคคล แน่นอนว่าเราสามารถส่งไปได้หลายๆที่ เอกสารที่ต้องแนบไปด้วยคือ รูปถ่าย ประวัติการศึกษาและอาจจะต้องใช้ผลการเรียนด้วยถ้าบ.กำหนดไว้
(ถ้ามีใครสนใจจะมาสอนเขียนให้อีกทีนะคะ^^)
จากนั้นก็รอค่ะ รอ ร๊อ รอ ช่วงระยะเวลารอคอยนี้อยู่ที่ประมาณ1-2สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นบ.ใหญ่และฮอตมากๆ เช่น Daimler หรือ ที่ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเมอซิเดสเบนช์ อาจจะมีคนสมัครเยอะ การรอคอยนี้ก็สามารถยาวนานได้เป็นเดือนเลยทีเดียว
การตอบกลับมาจะเป็นได้ทั้งทางทางโทรศัพท์ที่เราแจ้งเขาไว้ในใบสมัคร หรือเป็นทางอีเมลล์ แต่ส่วนมากแล้วจะเป็นทางจดหมายมากกว่าค่ะ
ในจดหมายตอบกลับจะเป็นข่าวดี หรือข่าวร้ายก็ขึ้นอยู่กับการพิจณาของทางฝ่ายบุคคลบ.นั้นๆ ถ้าการตอบกลับเป็นข่าวดีเราจะได้วันนัดไปสัมภาษณ์ (Vorstellungsgespräch) ในจดหมายนั้นเลย
หลังจากขั้นตอนการสัมภาษณ์ผ่านไปได้ด้วยดี และเราได้รับจดหมายอีกฉบับว่าทางบริษัทยินดีจะรับเราเข้าเรียนและทำงานในตำแหน่ง Auszubildende หรือเรียกสั้นๆว่า Azubi เราจะได้วันนัดหมายต่อไป ไม่ว่าจะเป็นวันรับชุดยูนิฟอร์ม วันเริ่ม/ทดลองงาน
สิ่งที่โดยปกติแล้วจะมาพร้อมจดหมายตอบรับ คือสัญญางาน รายละเอียดทุกอย่างรวมทั้งตัวเลขค่าตอบแทนพร้อมทั้งลายเซ็นจะอยู่ในนั้นด้วย ถ้าเราตกลงกับทุกรายละเอียดเรียบร้อยเราจะต้องส่งสัญญานี้พร้อมลายเซ็นกลับในเวลาที่ทางบ.กำหนด ถือเป็นการสิ้นสุดกระบวนการสมัคร ^^
เช่นเดียวกันกับการทำงานทั่วไป หลักสูตรนี้มีระยะทดลองงาน (Probezeit) โดยส่วนมากคือ 3 เดือน
เราสามารถเสิร์ชหารายชื่อบริษัทที่เปิดรับสมัครได้ด้วยคำว่า :
Ausbildungsplätze20...(ปีนั้นๆที่เราต้องการสมัคร โดยปกติบริษัทจะประกาศรับปีต่อปี) ตามด้วยสาขาที่เราสนใจและเมืองที่เราสะดวกเดินทางไปได้ เช่น
Ausbildungsplätze2021 Hotelfach Berlin แต่ถ้าหากเรายังไม่แน่ใจด้านสาขาหรือเมือง การเสิร์ชแค่ Ausbildungsplatz2021 ก็จะทำให้เราเห็นรายชื่อสาขาและเมืองต่างๆเยอะขึ้น^^
สาขาที่เปิดในหลักสูตรนี้มีมากมายหลายหลาก เช่น การโรงแรม ผู้ช่วยแพทย์ การช่างต่างๆ ตำรวจ พยาบาล เป็นต้น
วุฒิการศึกษาที่ใช้ในการสมัครแต่ละสาขาจะแตกต่างกันออกไป ( Hauptschulabschluss, Mittlere Reife หรือ Abitur ) จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไปว่าแต่ละอย่างแตกต่างกันยังไงนะคะ ทั้งสามแบบมันคือวุฒิมัธยมของไทยนั้นเอง
**ในระดับอุดมศึกษาเองที่เยอรมันก็มีแบ่งแยกนะคะ 55555 เป็นประเทศที่มีกรอบเหลี่ยมชัดเจนมาก
ถึงตรงนี้คนที่สนใจคงมีคำถามว่า ต้องใช้วุฒิภาษาเยอรมันระดับไหน
(สำหรับคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการภาษาเยอรมัน การเรียนภาษาเยอรมันจะถูกแบ่งเป็นระดับ A1,A2, B1, B2, C1, C2 การขอวีซ่าแต่ละอย่างต้องใช้ระดับภาษาต่างกัน)
เนื่องจากหลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่คุ้นชินกันอยู่แล้วในประเทศ เด็กนักเรียนที่สนใจก็คือคนที่เรียนอยู่ในเยอรมัน ซึ่งแน่นอนว่าภาษาของพวกเขาเหล่านั้นคือภาษาแม่ หรือถ้าเป็นนักเรียนต่างชาติที่อาศัยอยู่ที่นั่นระดับภาษาก็ต้องเป็นระดับ fluent อยากน้อยที่สุดก็ควรจะอยู่ในระดับที่สื่อสารได้ดี ทั้งนี้ก็เพื่อผลดีกับตัวนักเรียนเองด้วย เพราะถ้ามีปัญหาด้านการสื่อสารบรรยากาศในการเรียนการทำงานถึง3ปีก็คงไม่ดีนัก พาลจะป่วยจิตกันได้ 555
ทั้งนี้ทั้งนั้นในเงื่อนไขการรับสมัคร ไม่มีกำหนดชัดเจนว่าต้องใช้ภาษาระดับไหน เพราะจริงๆแล้วคนเยอรมันที่ไม่ได้อยู่ในวงการนี้ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีการแบ่งระดับภาษาด้วย 5555 ขอให้พูดคุยสื่อสาร ใช้ภาษาได้ตามที่ควรจะเป็นก็สามารถสมัครได้แล้วค่ะ
แต่ถ้าให้แนะนำ จากประสบการณ์การสอนและการใช้ภาษาเยอรมัน ขอแนะนำว่า ควรมีความรู้ระดับ B1 เป็นอย่างน้อยค่ะ เพื่อประโยชน์และความสุขในการใช้ชีวิตในเวลานั้นค่ะ
ตั้งแต่เรียนจบมาก็ไม่ได้เขียนอะไรยาวๆแบบนี้มาก่อน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจนะคะ อ่านแล้วสงสัยตรงไหน เรื่องไหนเพิ่มเติม สามารถทักมาคุยกันได้ทั้งหลังไมค์ และในเพจเฟซบุคเลยค่ะ
ส่วนตัวชอบระบบการศึกษาแบบนี้มากและอยากนำเข้ามาในประเทศไทยด้วย เป็นการเปิดทางเลือกด้านการเรียนอีกแบบ และคงเป็นประโยชน์กับเด็กด้อยโอกาสจำนวนมาก
ไว้จะมาเล่าความเยอรมันต่อในตอนถัดไปนะคะ สำหรับบทนี้พักนิ้วก่อนค่ะ 555
ขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบนะค้าา
#ชีวิตอีสsobunt
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้