วิทยาศาสตร์ของการเป็นสลิ่ม
Published 27 January, 2021 by duangritbunnag in Critisim, Think CrankLeave a comment
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://duangritbunnag.com/2021/01/27/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%9b%e0%b9%87%e0%b8%99%e0%b8%aa/
ผมคิดว่าการเป็นสลิ่ม ไม่ได้เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องอุดมคติของการปกครองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่มีลักษณะเฉพาะ ในวิธี (methodology) ของความคิดที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ครับ
1.) สลิ่ม เชื่อในความคิดเชิงเดี่ยว หรือการประมวลผลแบบเส้นตรง (linear calculation) เป็นวิธีคิดแบบที่มีผลมาจากเหตุเพียงหนึ่ง หรือการคิดแบบคณิตศาสตร์แบบ 1+1=2 ซึ่งก็ไม่ได้มีความผิดอะไรที่คิดแบบนั้น เพราะการทำงานทางวิทยาศาสตร์แบบนิวตัน (Newtonian Praradigm) หรือแม้กระทั่งการคำนวนที่ซับซ้อนของ algorithm ทั้งหลายในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หรือ device ต่างๆ ก็ล้วนถูกสร้างขึ้นมาจาก linear calculation จำนวนมหาศาล จนสามารถทำงานต่างๆที่สลับซับซ้อนได้จนดูเหมือนฉลาด และบางทีแม้กระทั่งเราเองในฐานะผู้ใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น ก็พลอยคิดว่ามันฉลาดไปด้วย
การประมวลผลแบบเส้นตรงนั้น ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบไม่เป็นเส้นตรงหรือ Non-linear Calculation ซึ่งเป็นวิธีประมวลผลที่ผลอาจจะมาจากเหตุที่มากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน เช่น เราสามารถเป็นพ่อของลูกและสามีของภรรยาในเวลาเดียวกัน โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนความจริงกับคนที่เราเป็นให้แตกต่างออกไป หรือการบอกว่าผู้หญิงสวย ดอกไม้งาม เพลงเพราะ เหล่านี้ก็เป็นการประมวลผลแบบ Non-linear ทั้งสิ้น ซึ่งไม่สามารถหาเหตุของผลมาจากการประมวลเพียงหนึ่งได้ แต่การประมวลผลแบบนี้ จะนำไปสู่การประมวลผลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ที่เราอาจจะเคยได้ยินการเรียกว่าเป็นการประมวลแบบควันตัม (Quantum) ซึ่งให้ผลลัพธ์เดียวกัน ในเวลาที่ลดลงไปมากกว่าร้อยเท่า
แน่นอน สลิ่ม ไม่เชื่อในการประมวลผลเชิงซ้อนเหล่านี้ ‘ผล’ของสลิ่มย่อมมาจาก’เหตุ’เดียวเสมอ
2.) สลิ่ม เชื่อในความหมายที่ให้ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น การเป็นสลิ่มคือการให้ความสำคัญกับความหมายมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆตรงหน้าขณะนั้น หนึ่งในความหมายที่สลิ่มโปรดปรานมากที่สุด คือการจัดหมวดหมู่ให้คนกลุ่มหนึ่งเป็น ‘ผู้ถูก’ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น ‘ผู้ผิด’ หรือการแยกคนออกเป็นคนดีและคนเลวอย่างชัดเจน สลิ่ม จะมีไม้บรรทัดอันหนึ่งที่ประจำตัวไว้ตลอดเวลาและพร้อมที่จะหยิบออกมา ‘วัด’ ว่าให้ถูกผิดดีเลวได้อย่างรวดเร็ว และสลิ่มจะมีความสุขมากถ้าสามารถตัดสินความถูกผิดดีเลวได้เร็วและเหมือนมีเหตุผล (เพียงหนึ่ง) ได้ก่อนผู้อื่น
การเชื่อและตัดสินทุกสิ่งในความหมายที่ให้มากกว่าสิ่งเกิดขึ้นจริงและมีผลกระทบจริงนั้น เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดแบบภววิทยา (Ontology) เช่น เราอาจให้ความหมายกับแม่ว่าขี้บ่น เราก็จะไม่มีทางมองเห็นความเป็นไปได้ของแม่ที่รักเราได้เลย เพราะเราให้ความหมายกับแม่ว่า ‘ขี้บ่น’ ไปแล้วแบบตายตัว และปิดโอกาสสำหรับแม่ในแบบอื่นไปแล้วจากความหมายที่เราให้ แนวคิดของสลิ่มแบบนี้นั้น เป็นวิธีคิดที่อันตรายและปิดกั้นความเป็นไปได้ของสังคมมากที่สุด เพราะเมื่อสลิ่มตัดสินใครว่าถูกผิดชั่วดีไปแล้ว สลิ่มก็จะมองเห็นผู้คนเหล่านั้นในความเป็นไปได้จากความหมายที่เขาให้ว่าถูกผิดชั่วดีอย่างตายตัวเหล่านั้น และเมื่อทำงานร่วมกับวิธีประมวลผลแบบเส้นตรงเข้าไปพร้อมกันแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์ก็ยิ่งรุนแรงทวีคูณหนักขึ้นไปอีกหลายเท่า
3.) สลิ่ม เชื่อใน ‘บนลงล่าง’ มากกว่า ‘ล่างขึ้นบน’ ในการควบคุมระบบพลวัตขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีคิดนี้ สลิ่มจะเชื่อในจักรวาลที่มีศูนย์กลางและทุกสิ่งวนเวียนอยู่รอบศูนย์กลางนั้น สลิ่มจะเชื่อว่ามีอำนาจใดอำนาจหนึ่งเพียงหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังของระบบพลวัตทั้งหมดและควบคุม (govern) ระบบนั้นๆ เป็นแนวคิดแบบ Metaphysics และตรงกันข้ามกับแนวคิดของระบบซับซ้อนแบบ Complex system หรือวิทยาศาสตร์ที่เป็น Post-Newtonian Paradigm ทั้งหมด ที่เขื่อว่าระบบพลวัตใดๆนั้นจะเชื่อมโยงและมีผลกับระบบพลวัตอื่นเสมอ ไม่ว่าระบบนั้นจะเล็กหรือใหญ่เพียงใด (‘ผีเสื้อขยับปีกในเมืองหนึ่งอาจทำให้เกิดพายุในอีกเมืองหนึ่งได้’) และสลิ่มจะไม่เชื่อในระบบพลวัตที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบย่อยทุกส่วนแบบปราศจากศูนย์กลางในฐานะเป็นแหล่งกำเนิด แต่สลิ่มจะเชื่อในระบบที่ควบคุมจากบนลงล่าง ระบบมี่มีศูนย์กลาง และเชื่อในการควบคุมที่สมบูรณ์เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพ
ในความเป็นจริงแล้ว ระบบพลวัตที่มีเสถียรภาพในธรรมชาตินั้น ล้วนเป็นระบบที่ไร้ศูนย์กลางทั้งสิ้น ระบบนิเวศน์ (Ecosystem) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถสร้างเสถียรภาพได้โดยปราศจากศูนย์กลาง จนกระทั่งเมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากพอที่จะทำตัวเองให้เป็นศูนย์กลาง ตอนนั้นแหละที่ระบบนิเวศน์เริ่มเสียสมดุลไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราสูญเสียความหลากหลาย (Diversity) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีอยู่ของระบบนิเวศน์ ซึ่งเราจะได้คุยเรื่องวิธีคิดของสลิ่มที่ไม่เชื่อในความหลากหลายนี้ ในข้อต่อไป
4.) สลิ่มไม่เชื่อในความหลากหลาย (Diversity)ในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่ง สืบเนื่องจากความเชื่อในข้อ 3 นั้นเอง สลิ่มจึงเชื่ออย่างหมดใจว่า การสร้าง (creativity) ที่สมบูรณ์แบบนั้น ต้องมาจากผู้สร้างที่สมบูรณ์แบบเพียงหนึ่ง และสังคมที่ดีต้องปราศจากความแตกต่าง ทุกคนต้องคิดเห็นเหมือนกัน ไม่มีความขัดแย้ง จึงจะเป็นสังคมในอุดมคติ เป็นเหตุสำคัญที่สลิ่มไม่เชื่อในความหลากหลายของชาติพันธุ์ มีการดูถูกชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ชนชาติตน และมีบทสนทนาที่ตั้งข้อสงสัยในเชื้อชาติว่าเป็น ‘ไทยแท้’ หรือไม่ ซึ่งนำไปสู่การตั้งเงื่อนไขของความ ‘รักชาติ’ หรือ ‘ชังชาติ’ ให้เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง และนำไปสู่การสร้างความหมายของการเป็นผู้ถูกผิด ชั่วดี ตามที่แสดงไว้ในข้อ 2 ให้เกิดความทับซ้อนเข้มข้นขึ้นไปอีก
ในทั้งหมดของกระบวนทัศน์ของการเป็นสลิ่มนั้น ไม่ได้ตัดสินมาจากความชื่นชมในระบอบการปกครองแบบใด หรือเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นวิธีอันผิวเผินในการคัดกรองการเป็นสลิ่ม และถ้าเราใช้เงื่อนไขดังกล่าวในการตัดสินการเป็น ‘สลิ่ม’ ก็จะเป็นความตื้นเขินที่ทำให้ตัวเราเป็นสลิ่มเสียเอง จึงอยากเชื้อชวนให้พิจารณาการเป็นสลิ่ม จากลักษณะวิธีคิดใน 4 ข้อนี้เป็นสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่า คนที่เราตัดสินว่าเขาเป็นสลิ่มหรือไม่ เพื่อที่วันใดวันหนึ่งการเป็นสลิ่มนั้น จะไม่ปรากฏขึ้นกับตัวเราอย่างแน่นอน
วิทยาศาสตร์ของการเป็นสลิ่ม
Published 27 January, 2021 by duangritbunnag in Critisim, Think CrankLeave a comment
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ผมคิดว่าการเป็นสลิ่ม ไม่ได้เกี่ยวกับความเชื่อในเรื่องอุดมคติของการปกครองแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนทัศน์ (paradigm) ที่มีลักษณะเฉพาะ ในวิธี (methodology) ของความคิดที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ครับ
1.) สลิ่ม เชื่อในความคิดเชิงเดี่ยว หรือการประมวลผลแบบเส้นตรง (linear calculation) เป็นวิธีคิดแบบที่มีผลมาจากเหตุเพียงหนึ่ง หรือการคิดแบบคณิตศาสตร์แบบ 1+1=2 ซึ่งก็ไม่ได้มีความผิดอะไรที่คิดแบบนั้น เพราะการทำงานทางวิทยาศาสตร์แบบนิวตัน (Newtonian Praradigm) หรือแม้กระทั่งการคำนวนที่ซับซ้อนของ algorithm ทั้งหลายในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์หรือ device ต่างๆ ก็ล้วนถูกสร้างขึ้นมาจาก linear calculation จำนวนมหาศาล จนสามารถทำงานต่างๆที่สลับซับซ้อนได้จนดูเหมือนฉลาด และบางทีแม้กระทั่งเราเองในฐานะผู้ใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น ก็พลอยคิดว่ามันฉลาดไปด้วย
การประมวลผลแบบเส้นตรงนั้น ตรงกันข้ามกับการประมวลผลแบบไม่เป็นเส้นตรงหรือ Non-linear Calculation ซึ่งเป็นวิธีประมวลผลที่ผลอาจจะมาจากเหตุที่มากกว่าหนึ่งในเวลาเดียวกัน เช่น เราสามารถเป็นพ่อของลูกและสามีของภรรยาในเวลาเดียวกัน โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนความจริงกับคนที่เราเป็นให้แตกต่างออกไป หรือการบอกว่าผู้หญิงสวย ดอกไม้งาม เพลงเพราะ เหล่านี้ก็เป็นการประมวลผลแบบ Non-linear ทั้งสิ้น ซึ่งไม่สามารถหาเหตุของผลมาจากการประมวลเพียงหนึ่งได้ แต่การประมวลผลแบบนี้ จะนำไปสู่การประมวลผลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากกว่า ที่เราอาจจะเคยได้ยินการเรียกว่าเป็นการประมวลแบบควันตัม (Quantum) ซึ่งให้ผลลัพธ์เดียวกัน ในเวลาที่ลดลงไปมากกว่าร้อยเท่า
แน่นอน สลิ่ม ไม่เชื่อในการประมวลผลเชิงซ้อนเหล่านี้ ‘ผล’ของสลิ่มย่อมมาจาก’เหตุ’เดียวเสมอ
2.) สลิ่ม เชื่อในความหมายที่ให้ มากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้น การเป็นสลิ่มคือการให้ความสำคัญกับความหมายมากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆตรงหน้าขณะนั้น หนึ่งในความหมายที่สลิ่มโปรดปรานมากที่สุด คือการจัดหมวดหมู่ให้คนกลุ่มหนึ่งเป็น ‘ผู้ถูก’ และอีกกลุ่มหนึ่งเป็น ‘ผู้ผิด’ หรือการแยกคนออกเป็นคนดีและคนเลวอย่างชัดเจน สลิ่ม จะมีไม้บรรทัดอันหนึ่งที่ประจำตัวไว้ตลอดเวลาและพร้อมที่จะหยิบออกมา ‘วัด’ ว่าให้ถูกผิดดีเลวได้อย่างรวดเร็ว และสลิ่มจะมีความสุขมากถ้าสามารถตัดสินความถูกผิดดีเลวได้เร็วและเหมือนมีเหตุผล (เพียงหนึ่ง) ได้ก่อนผู้อื่น
การเชื่อและตัดสินทุกสิ่งในความหมายที่ให้มากกว่าสิ่งเกิดขึ้นจริงและมีผลกระทบจริงนั้น เป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับแนวคิดแบบภววิทยา (Ontology) เช่น เราอาจให้ความหมายกับแม่ว่าขี้บ่น เราก็จะไม่มีทางมองเห็นความเป็นไปได้ของแม่ที่รักเราได้เลย เพราะเราให้ความหมายกับแม่ว่า ‘ขี้บ่น’ ไปแล้วแบบตายตัว และปิดโอกาสสำหรับแม่ในแบบอื่นไปแล้วจากความหมายที่เราให้ แนวคิดของสลิ่มแบบนี้นั้น เป็นวิธีคิดที่อันตรายและปิดกั้นความเป็นไปได้ของสังคมมากที่สุด เพราะเมื่อสลิ่มตัดสินใครว่าถูกผิดชั่วดีไปแล้ว สลิ่มก็จะมองเห็นผู้คนเหล่านั้นในความเป็นไปได้จากความหมายที่เขาให้ว่าถูกผิดชั่วดีอย่างตายตัวเหล่านั้น และเมื่อทำงานร่วมกับวิธีประมวลผลแบบเส้นตรงเข้าไปพร้อมกันแล้วล่ะก็ ผลลัพธ์ก็ยิ่งรุนแรงทวีคูณหนักขึ้นไปอีกหลายเท่า
3.) สลิ่ม เชื่อใน ‘บนลงล่าง’ มากกว่า ‘ล่างขึ้นบน’ ในการควบคุมระบบพลวัตขนาดใหญ่ ซึ่งวิธีคิดนี้ สลิ่มจะเชื่อในจักรวาลที่มีศูนย์กลางและทุกสิ่งวนเวียนอยู่รอบศูนย์กลางนั้น สลิ่มจะเชื่อว่ามีอำนาจใดอำนาจหนึ่งเพียงหนึ่งเดียวที่อยู่เบื้องหลังของระบบพลวัตทั้งหมดและควบคุม (govern) ระบบนั้นๆ เป็นแนวคิดแบบ Metaphysics และตรงกันข้ามกับแนวคิดของระบบซับซ้อนแบบ Complex system หรือวิทยาศาสตร์ที่เป็น Post-Newtonian Paradigm ทั้งหมด ที่เขื่อว่าระบบพลวัตใดๆนั้นจะเชื่อมโยงและมีผลกับระบบพลวัตอื่นเสมอ ไม่ว่าระบบนั้นจะเล็กหรือใหญ่เพียงใด (‘ผีเสื้อขยับปีกในเมืองหนึ่งอาจทำให้เกิดพายุในอีกเมืองหนึ่งได้’) และสลิ่มจะไม่เชื่อในระบบพลวัตที่สร้างขึ้นจากองค์ประกอบย่อยทุกส่วนแบบปราศจากศูนย์กลางในฐานะเป็นแหล่งกำเนิด แต่สลิ่มจะเชื่อในระบบที่ควบคุมจากบนลงล่าง ระบบมี่มีศูนย์กลาง และเชื่อในการควบคุมที่สมบูรณ์เพื่อให้ระบบมีเสถียรภาพ
ในความเป็นจริงแล้ว ระบบพลวัตที่มีเสถียรภาพในธรรมชาตินั้น ล้วนเป็นระบบที่ไร้ศูนย์กลางทั้งสิ้น ระบบนิเวศน์ (Ecosystem) เป็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถสร้างเสถียรภาพได้โดยปราศจากศูนย์กลาง จนกระทั่งเมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากพอที่จะทำตัวเองให้เป็นศูนย์กลาง ตอนนั้นแหละที่ระบบนิเวศน์เริ่มเสียสมดุลไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราสูญเสียความหลากหลาย (Diversity) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการมีอยู่ของระบบนิเวศน์ ซึ่งเราจะได้คุยเรื่องวิธีคิดของสลิ่มที่ไม่เชื่อในความหลากหลายนี้ ในข้อต่อไป
4.) สลิ่มไม่เชื่อในความหลากหลาย (Diversity)ในฐานะเป็นแหล่งกำเนิดของสรรพสิ่ง สืบเนื่องจากความเชื่อในข้อ 3 นั้นเอง สลิ่มจึงเชื่ออย่างหมดใจว่า การสร้าง (creativity) ที่สมบูรณ์แบบนั้น ต้องมาจากผู้สร้างที่สมบูรณ์แบบเพียงหนึ่ง และสังคมที่ดีต้องปราศจากความแตกต่าง ทุกคนต้องคิดเห็นเหมือนกัน ไม่มีความขัดแย้ง จึงจะเป็นสังคมในอุดมคติ เป็นเหตุสำคัญที่สลิ่มไม่เชื่อในความหลากหลายของชาติพันธุ์ มีการดูถูกชนชาติอื่นที่ไม่ใช่ชนชาติตน และมีบทสนทนาที่ตั้งข้อสงสัยในเชื้อชาติว่าเป็น ‘ไทยแท้’ หรือไม่ ซึ่งนำไปสู่การตั้งเงื่อนไขของความ ‘รักชาติ’ หรือ ‘ชังชาติ’ ให้เราได้ยินกันอยู่บ่อยครั้ง และนำไปสู่การสร้างความหมายของการเป็นผู้ถูกผิด ชั่วดี ตามที่แสดงไว้ในข้อ 2 ให้เกิดความทับซ้อนเข้มข้นขึ้นไปอีก
ในทั้งหมดของกระบวนทัศน์ของการเป็นสลิ่มนั้น ไม่ได้ตัดสินมาจากความชื่นชมในระบอบการปกครองแบบใด หรือเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่ สิ่งเหล่านั้นล้วนเป็นวิธีอันผิวเผินในการคัดกรองการเป็นสลิ่ม และถ้าเราใช้เงื่อนไขดังกล่าวในการตัดสินการเป็น ‘สลิ่ม’ ก็จะเป็นความตื้นเขินที่ทำให้ตัวเราเป็นสลิ่มเสียเอง จึงอยากเชื้อชวนให้พิจารณาการเป็นสลิ่ม จากลักษณะวิธีคิดใน 4 ข้อนี้เป็นสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่า คนที่เราตัดสินว่าเขาเป็นสลิ่มหรือไม่ เพื่อที่วันใดวันหนึ่งการเป็นสลิ่มนั้น จะไม่ปรากฏขึ้นกับตัวเราอย่างแน่นอน