หยุดความกลัว ! แล้วพร้อมที่จะก้าวกระโดดสู่ความรวย หรือยัง

หยุดความกลัว ! แล้วพร้อมที่จะก้าวกระโดดสู่ความรวย หรือยัง
.
.
.
“ความกลัวเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ คนที่ประสบความสำเร็จในโลกใบนี้ก็กลัว
แต่สิ่งที่แตกต่างคือพวกเขาลงมือทำ”

whiterose       whiterose

 

              ช่วงเวลาแห่งความกลัวมักจะเกิดขึ้นเมื่อถึงเวลาต้องรับผิดชอบต่อชีวิตตัวเอง กลัวสิ่งที่ยังไม่รู้, กลัวการถูกตัดสิน, กลัวถูกปฏิเสธ, กลัวการเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง, กลัวเจ้านาย, กลัวลูกน้อง, กลัวจะต้องเสียใจมาก , กลัวจะรับตัวเองไม่ได้ รับกับความรู้สึกไม่ได้ ถ้าผิดพลาดไป
 
        idea   เส้นทางในการ “ประสบความสำเร็จ” ในชีวิตของแต่ละคนมีความ “แตกต่างกัน” บางคนมาง่าย บางคนมายาก ซึ่งแต่ละคนมีรูปแบบในการเดินทางที่ต่างกัน เรื่องราวของ “การทำธุรกิจ” ก็เช่นกันกว่านักธุรกิจแต่ละท่านจะประสบผลสำเร็จได้นั้น ทุกคนล้วน “เจออุปสรรค” ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะลงทุนแล้วล้มเหลวหลายครั้ง การได้รับการยอมรับจากลูกค้า 

แต่ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะปล่อยให้สิ่งเหล่านั้นมาหยุด หรือหลอกเรา ให้หลงติดกับภาพน่ากลัวที่เราจินตนาการสร้างมันขึ้นมาเอง เป็นมายา ไม่ใช่ความจริง สร้างเอง กลัวเอง ได้เวลาแล้ว ที่จะหยุดความกลัว แล้วก้าวกระโดดสู่ความสำเร็จในชีวิต

 
ลูกโป่ง1.เผชิญหน้ากับความกลัว
 คำถามแรกที่ต้องถามคือ “สิ่งที่แย่ที่สุดที่จะเกิดขึ้นคืออะไร? ให้ชัด ๆ ให้ลงรายละเอียดให้มากที่สุด พอทำแบบนี้แล้ว เราก็จะได้รู้กันไปซะทีว่า เรากำลังหนี หรือกลัวอะไรกันแน่ หลายครั้ง ที่พอค้นลึกเข้าไปจริง ๆ จะอุทานกับตัวเองว่า เรากลัวอะไรอยู่กันนี่ ไม่มีอะไรเลย 
 
ความกลัวนั้นเป็นเพื่อนของเรา บางครั้งมันแสดงออกเหมือนจะบอกว่าเราไม่ต้องทำอะไร แต่หลายครั้ง มันแสดงออกเป๊ะ ๆ เลยว่า คุณต้องทำสิ่งนี้แหล่ะ ความกลัวจะฝ่อลงเมื่อคุณ “เผชิญหน้า” กับมัน 

 
ลูกโป่ง2.ไม่มีวันล้มเหลว หากไม่ล้มเลิก
กลัวผิดพลาดหรือ?   กลัวล้มเหลว?
หากจะล้ม ก็โปรดจงเห็น “คุณค่า” ของการล้มชั่วคราวครั้งนี้ เด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะเดิน ล้มลุกคลุกคลานหลายครั้ง แต่ไม่เห็นเด็กจะท้อ เขายังคงฝึกเดินล้มกลิ้งไปมา จนเดินได้ แม้จะร้องไห้ ถลอก  แต่ทั้งหมดนั้นเขาล้วนต้องผ่าน เพราะมันเป็นขั้นตอนการเรียนรู้ให้ทำได้อย่างดี ไม่เห็นมีเด็กคนไหน ฝึกเดิน ล้มไปล้มมา เลิกเดิน…มันคือ
“การเรียนรู้” ไม่มีอะไรล้มเหลว ตราบเท่าที่พยายามต่อไป
 
หากกลัวการผิดพลาด นักประดิษฐ์ชื่อ Roger Von Oech บอกถึงคุณประโยชน์ของการผิดพลาดว่าเป็นเหมือนโชค 2 ชั้น 
1.ถ้าคุณล้ม คุณจะได้รู้ว่าอะไรไม่เวิร์ค
 2. การล้ม ให้โอกาสคุณในการลองวิธีใหม่

 
ลูกโป่ง3.เจ็บแล้วจำได้ แต่ไม่ผูกใจเจ็บ
ในความสัมพันธ์ เราอาจเคยมีบาดแผลจากใครบางคนในอดีต สิ่งนี้จะส่งผลต่อวิถีการตอบโต้ของเราเมื่อเจอสถานการณ์คล้ายเดิมอีก …บางครั้งในการเอาชนะความกลัวไม่ใช่การพยายามหาวิธีใหม่ไม่ให้ล้ม แต่เป็นการค้นหา “รากแห่งความกลัว” ที่มีอยู่ แล้วจัดการกับสิ่งนั้น ปกติแล้วเมื่อใดที่เราเจ็บปวดจากใครบางคน มันต้องใช้การ “ให้อภัย” เป็นขั้นตอนแรก ไม่อย่างนั้นก็มีแนวโน้มที่จะผิดพลาดซ้ำใหม่ เพราะเรามีความมั่นใจน้อยลงว่าจะสำเร็จ แต่ที่จริงแล้ว ควรต้องตระหนักว่า “เราฉลาดขึ้นและจะสำเร็จ”  มากกว่าเดิมเป็นเท่าตัวต่างหาก
                                                                                                                                              

ลูกโป่ง4.ให้เป้าหมาย ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง
หากกลัวจะลงมือทำอะไรสักอย่าง ลองดู “เหตุผล” ที่ควรจะทำมันและมองเหตุผลนั้น ให้ไปไกลกว่าตัวเอง
เมื่อใดที่เรามีเป้าหมายที่ไปไกลกว่าตัวเอง ทุก ๆ ทางเลือกที่ตัดสินใจ   จะทำ…หรือไม่ทำ….
จะไม่ใช่เฉพาะเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่จะส่งผลต่อทุกคน เรียกได้ว่าเป็นล้าน ๆ คน ทุกสิ่งรอบตัว แต่ละขั้นตอนที่ไปข้างหน้าจะง่ายขึ้นทีละเล็ก ทีละน้อยเมื่อเรา “คิดถึงเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่าตัวเอง”
 
 
ลูกโป่ง5.ใช้ประโยชน์จากความกลัว
เมื่อมองความกลัวในมุมที่ถูกต้องแล้ว จริง ๆ มันเป็นสัญญาณบ่งบอกเลยว่า เราต้องทำอะไรสักอย่าง ถ้าเรากลัวที่จะทำธุรกิจล่ะก็ จิตใต้สำนึกอาจกำลังบอกว่านี่ใกล้จะถึงจุดที่ “ควรทำ” ธุรกิจแล้ว และมันจริงที่สุด กับประโยคที่ว่า “รู้สึกถึงความกลัว แล้วทำมันลงไปเลย” 
 
 
ทีนี้คุณพอเข้าใจบ้างแล้วใช่ไหมว่า  การล้มนั้นจะ ให้โอกาสคุณในการที่จะได้ลองวิธีใหม่ ๆ อย่ามัวแต่พ่ายแพ้ให้กับความกลัวที่คุณคิดไปเอง  ถึงเวลาที่จะต้องสะบัดทิ้งและเผชิญหน้ากับมัน เพื่อเป้าหมายสูงสุดของคุณนั่นเอง

  เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ? สำหรับใครที่คิดว่า ความกลัว เหมาะที่สุดกับการเผชิญหน้ากับความจริง ตอนนี้คุณพอจะมีไอเดียในการจะไปต่อได้แล้วรึยัง ? ซึ่งคุณสามารถแชร์ไอเดียได้นะครับหรือพูดคุยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นความกลัวในการล้มเหลว  กลัวความผิดพลาด หรืออะไรก็ตามแต่.... คุณสามารถคอมเมนต์มาด้านล่างนี้ได้เลย ผมยินดีรับฟังครับ

พาพันขอบคุณ
วรัทภพ รชตนามวงษ์

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่