ไม่ได้เกิดกับตัวเอง แต่กับคนที่รู้จักนะครับ
น้องที่รู้จักพึ่งบินกลับไปแคนาดาที่มีกฏว่าต้องตรวจ covid ก่อนบิน 72 ชั่วโมง โดยคำที่ใช้ของทาง Canadian immigration เป็นแบบนี้
https://travel.gc.ca/travel-covid/travel-restrictions/flying
"All air travellers 5 years of age or older, regardless of citizenship, must provide proof of a negative laboratory test result for COVID-19 to the airline before boarding international flights to Canada. You don’t require a test to fly within Canada.
Airlines will refuse boarding to travellers who are unable to provide a negative COVID-19 test.
You must take the test within 72 hours of your scheduled departure time.
You must retain evidence of your test results for the 14-day period that begins on the day you enter Canada."
https://tc.canada.ca/en/initiatives/covid-19-measures-updates-guidance-issued-transport-canada/covid-19-pre-departure-testing-transport-canada-interim-order
ประโยคนี่สำคัญมาก "within 72 hours prior to the INITIAL scheduled departure of a flight to Canada"
น้องที่รู้จักซื้อตั๋ว BKK-YVR (Vancouver) จากสายการบินหนึ่ง (ขออนุญาติไม่เอ่ยชื่อสายการบินครับ) โดยมี transit ที่ Narita ดังนั้น itinerary จะเป็น BKK-NRT-YVR น้องคนนี้เค้าไปทำการตรวจโควิด เป็นเวลาน้อยกว่า 72 ชม ก่อนเวลาที่ flight นั้นจะออกเริ่มเดินทางจากสุวรณณภูมิ ได้ผลเป็นลบ มีเอกสารมาจากโรงพยาบาล พร้อมวัน เวลาที่ไปตรวจครบถ้วน
แต่ตอนไปเช็คอิน ทางพนักงาน ground ปฏิเสธที่จะออก boarding pass ให้ เพราะจากการตีความภาษาอังกฤษของพนักงาน เข้าใจว่า
ผู้โดยสารต้องตรวจโควิด 72 ชม ก่อนเวลา connecting flight NRT-YVR จะออกเดินทาง เพราะเป็น flight ที่จะลงจอดที่แคนาดา ซึ่งถ้าตีความแบบนี้ จะทำให้ผู้โดยสารจะมีปัญหามากขึ้น เพราะปัจจุบันการได้ผลตรวจก็ใช้เวลาเกือบ 24 ชม แล้ว ถ้าเริ่มนับ 72 ชม จากเวลาออกของ connecting flight อาจจะได้ผลตรวจไม่ทัน เพราะเหลือเวลาไปตรวจก่อนบินออกจากกรุงเทพฯ ไม่ถึงสามวัน นับเวลาทำการของสถานที่ตรวจ หรือโรงพยาบาล ก็คือต้องไปตรวจก่อนบิน สองวันทำการ แล้ว "ต้อง" ได้ผลตรวจวันรุ่งขึ้นด้วย ถ้าติดเสาร์อาทิตย์ จบเห่เลย
ก็มีการโต้เถียงกันเรื่องนี้ โดยพนักงาน ground ของสายการบิน ได้โทรไปคุยกับทางสำนักงานสายการบินที่ญี่ปุ่น (ไม่ได้โทรไปคุยขอคำอธิบายของ wording ที่ Canadian Immigration ใช้ในเวปไซท์เค้า) แล้วก็บอกน้องว่า ที่สำนักงานสายการบินที่ญี่ปุ่น ก็ยืนยันตามพนักงานที่ไทย ว่าจะต้องตรวจภายใน 72 ชม ก่อนเวลา flight NRT-YVR ไม่ใช่ BKK-NRT ซึ่งน้องเค้าก็ไม่ทราบว่าการอธิบายทางโทรศัพท์ที่ว่า ใช้คำพูดแบบไหน แล้วการใช้ภาษาอังกฤษของคนที่โทรอธิบายเรื่องราวได้ถูกต้องแค่ไหน ท้ายที่สุดหลังจากเสียเวลาไปกว่าหนึ่งชั่วโมง แล้วน้องเองก็ยืนกรานไม่ยอม เพราะคิดว่าตัวเองแปลความถูกต้อง ทางสายการบินก็ยอมออก boarding pass ให้แบบเสียมิได้ แต่ต้องให้เซ็นใบยินยอมเรื่องที่ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบินถ้าถูกส่งกลับ หรือค่าใช้จ่ายที่พักที่ญี่ปุ่น ด้วยตัวเอง พร้อมกับแจกแจงราคาที่ต้องจ่ายเรียบร้อย เซ็นแล้วถึงได้ boarding pass มา
ตามความเข้าใจของผม ที่ใช้ชีวิตยี่สิบกว่าปี ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ คำว่า "inital departure of a flight to Canada" หมายถึงไฟลท์เร่ิ่มต้นตามในตั๋วที่ออก ถ้าผมซื้อตั๋วออกเดินทางจากเมืองไทย initial airport ก็คือ BKK ไม่ว่าจะ transit กี่ครั้ง และที่ไหน ส่วน destination ก็คือ VYR การที่พนักงาน ground กลุ่มที่ว่านี้ ตีความคำว่า initial departure time คือ transit departure time แล้วก็ไปคุยทำความเข้าใจเรื่องนี้ภายในสายการบินกันเอง โดยที่ไม่ติดต่อ Canadian Immigration ผมว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจจะมีหลายคนโดนปฏิเสธการขึ้นเครื่องโดยไม่จำเป็นเพราะว่า
น้องคนนี้ได้เดินทางไปถึงแคนาดาเรียบร้อย ได้แสดงผลการตรวจโควิด ที่แสดงว่าได้ตรวจภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ (แต่เกิน 72 ชม ก่อนออกบินจากญี่ปุ่น) ทางเจ้าหน้าที่ Immigration ของ Canada ได้ให้เข้าประเทศ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ยืนยันให้เห็นว่าการตีความของน้องเค้าถูกต้องแล้ว และการตีความของทางพนักงาน ground ไม่ถูกนะครับ ไม่งั้น immigration ไม่ให้เข้าประเทศแน่นอน ตามที่พนักงาน ground ขู่ไว้
ถ้าทางสายการบินยืนยันว่า จะไม่ออก boarding pass flight ที่ไปแคนาดาให้ ให้ถ้าผลตรวจโควิด ไม่อยู่ภายใน 72 ชม ก่อนเวลา Transit Flight departure ทางสายการบินควรจะแจ้งให้ผู้โดยสารทราบแต่เนิ่นๆ เพราะต้องมีเบอร์หรืออีเมล์ติดต่อได้ตอนออกตั๋วอยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย หรือไม่งั้นก็บอกไปเลยว่า ออกได้ แต่ต้องเซ็นยินยอมเหมือนที่น้องคนนี้ต้องทำ แต่ก็เสียเวลาเสียอารมณ์กันอีกนั่นแหล่ะครับ ถ้าสายการบินที่ว่า ตีความภาษาอังกฤษแบบนี้ เป็นผม ผมเลือกบินกับสายการบินอื่นดีกว่า เพราะลดความเสี่ยงของการไม่ได้เดินทาง มีเวลาตรวจเพิ่มอีกหนึ่งวันนี่มีผลสำหรับคนกลับมาเยี่ยมบ้านมากนะครับ ยิ่งถ้าอยู่ต่างจังหวัด หาที่ตรวจไม่ได้ง่ายๆ อย่าง กทมฯ ปวดหัวมาก
"Initial departure" ในที่นี้ ผมคิดว่ามันแปลความหมายได้ชัดเจนว่าการเริ่ม trip ไม่ได้หมายถึงเวลาเครื่องออกเดิม ในกรณีที่เครื่องที่ญี่ปุ่น delay เพราะถ้าเครื่อง delay เวลาออกก่อน delay น่าจะเรียกว่า original หรือ scheduled departure time มากกว่า เมื่อเทียบกับ new (หรือ delayed) departure time การที่พนักงาน ground ตีความภาษาอังกฤษแบบที่ส่งผลต่อการได้เดินทางหรือไม่ของผู้โดยสารอย่างนี้ (ส่วนตัวแล้วผมว่าตีความผิด ถามเพื่อนฝรั่งหลายคน เค้าก็บอกว่าผิด แต่ในความคิดของพนักงานก็คงคิดว่าถูกแล้ว) แล้วทางสายการบินเองก็ไม่ clarify กับทาง ตม. ของแคนาดา
โดยตรง เพราะทางแคนาดาก็ออกกฏนี้มาหลายอาทิตย์แล้ว สายการบินจำเป็นต้องปรับปรุงการให้บริการครับ ไม่งั้นมีคนตกเครื่องไปแคนาดา เพราะโดนปฏิเสธการออก boarding pass โดยไม่สมควรหลายคนแน่ๆ
เกือบไม่ได้บินกลับแคนาดา เพราะการตีความกฏการตรวจ covid-19 72 ชม ก่อนบินไม่ถูกต้อง ของพนักงานภาคพื้นสายการบินหนี่ง
น้องที่รู้จักพึ่งบินกลับไปแคนาดาที่มีกฏว่าต้องตรวจ covid ก่อนบิน 72 ชั่วโมง โดยคำที่ใช้ของทาง Canadian immigration เป็นแบบนี้
https://travel.gc.ca/travel-covid/travel-restrictions/flying
"All air travellers 5 years of age or older, regardless of citizenship, must provide proof of a negative laboratory test result for COVID-19 to the airline before boarding international flights to Canada. You don’t require a test to fly within Canada.
Airlines will refuse boarding to travellers who are unable to provide a negative COVID-19 test.
You must take the test within 72 hours of your scheduled departure time.
You must retain evidence of your test results for the 14-day period that begins on the day you enter Canada."
https://tc.canada.ca/en/initiatives/covid-19-measures-updates-guidance-issued-transport-canada/covid-19-pre-departure-testing-transport-canada-interim-order
ประโยคนี่สำคัญมาก "within 72 hours prior to the INITIAL scheduled departure of a flight to Canada"
น้องที่รู้จักซื้อตั๋ว BKK-YVR (Vancouver) จากสายการบินหนึ่ง (ขออนุญาติไม่เอ่ยชื่อสายการบินครับ) โดยมี transit ที่ Narita ดังนั้น itinerary จะเป็น BKK-NRT-YVR น้องคนนี้เค้าไปทำการตรวจโควิด เป็นเวลาน้อยกว่า 72 ชม ก่อนเวลาที่ flight นั้นจะออกเริ่มเดินทางจากสุวรณณภูมิ ได้ผลเป็นลบ มีเอกสารมาจากโรงพยาบาล พร้อมวัน เวลาที่ไปตรวจครบถ้วน
แต่ตอนไปเช็คอิน ทางพนักงาน ground ปฏิเสธที่จะออก boarding pass ให้ เพราะจากการตีความภาษาอังกฤษของพนักงาน เข้าใจว่า ผู้โดยสารต้องตรวจโควิด 72 ชม ก่อนเวลา connecting flight NRT-YVR จะออกเดินทาง เพราะเป็น flight ที่จะลงจอดที่แคนาดา ซึ่งถ้าตีความแบบนี้ จะทำให้ผู้โดยสารจะมีปัญหามากขึ้น เพราะปัจจุบันการได้ผลตรวจก็ใช้เวลาเกือบ 24 ชม แล้ว ถ้าเริ่มนับ 72 ชม จากเวลาออกของ connecting flight อาจจะได้ผลตรวจไม่ทัน เพราะเหลือเวลาไปตรวจก่อนบินออกจากกรุงเทพฯ ไม่ถึงสามวัน นับเวลาทำการของสถานที่ตรวจ หรือโรงพยาบาล ก็คือต้องไปตรวจก่อนบิน สองวันทำการ แล้ว "ต้อง" ได้ผลตรวจวันรุ่งขึ้นด้วย ถ้าติดเสาร์อาทิตย์ จบเห่เลย
ก็มีการโต้เถียงกันเรื่องนี้ โดยพนักงาน ground ของสายการบิน ได้โทรไปคุยกับทางสำนักงานสายการบินที่ญี่ปุ่น (ไม่ได้โทรไปคุยขอคำอธิบายของ wording ที่ Canadian Immigration ใช้ในเวปไซท์เค้า) แล้วก็บอกน้องว่า ที่สำนักงานสายการบินที่ญี่ปุ่น ก็ยืนยันตามพนักงานที่ไทย ว่าจะต้องตรวจภายใน 72 ชม ก่อนเวลา flight NRT-YVR ไม่ใช่ BKK-NRT ซึ่งน้องเค้าก็ไม่ทราบว่าการอธิบายทางโทรศัพท์ที่ว่า ใช้คำพูดแบบไหน แล้วการใช้ภาษาอังกฤษของคนที่โทรอธิบายเรื่องราวได้ถูกต้องแค่ไหน ท้ายที่สุดหลังจากเสียเวลาไปกว่าหนึ่งชั่วโมง แล้วน้องเองก็ยืนกรานไม่ยอม เพราะคิดว่าตัวเองแปลความถูกต้อง ทางสายการบินก็ยอมออก boarding pass ให้แบบเสียมิได้ แต่ต้องให้เซ็นใบยินยอมเรื่องที่ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการบินถ้าถูกส่งกลับ หรือค่าใช้จ่ายที่พักที่ญี่ปุ่น ด้วยตัวเอง พร้อมกับแจกแจงราคาที่ต้องจ่ายเรียบร้อย เซ็นแล้วถึงได้ boarding pass มา
ตามความเข้าใจของผม ที่ใช้ชีวิตยี่สิบกว่าปี ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ คำว่า "inital departure of a flight to Canada" หมายถึงไฟลท์เร่ิ่มต้นตามในตั๋วที่ออก ถ้าผมซื้อตั๋วออกเดินทางจากเมืองไทย initial airport ก็คือ BKK ไม่ว่าจะ transit กี่ครั้ง และที่ไหน ส่วน destination ก็คือ VYR การที่พนักงาน ground กลุ่มที่ว่านี้ ตีความคำว่า initial departure time คือ transit departure time แล้วก็ไปคุยทำความเข้าใจเรื่องนี้ภายในสายการบินกันเอง โดยที่ไม่ติดต่อ Canadian Immigration ผมว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาจจะมีหลายคนโดนปฏิเสธการขึ้นเครื่องโดยไม่จำเป็นเพราะว่า น้องคนนี้ได้เดินทางไปถึงแคนาดาเรียบร้อย ได้แสดงผลการตรวจโควิด ที่แสดงว่าได้ตรวจภายใน 72 ชั่วโมง ก่อนออกเดินทางจากกรุงเทพฯ (แต่เกิน 72 ชม ก่อนออกบินจากญี่ปุ่น) ทางเจ้าหน้าที่ Immigration ของ Canada ได้ให้เข้าประเทศ ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ยืนยันให้เห็นว่าการตีความของน้องเค้าถูกต้องแล้ว และการตีความของทางพนักงาน ground ไม่ถูกนะครับ ไม่งั้น immigration ไม่ให้เข้าประเทศแน่นอน ตามที่พนักงาน ground ขู่ไว้
ถ้าทางสายการบินยืนยันว่า จะไม่ออก boarding pass flight ที่ไปแคนาดาให้ ให้ถ้าผลตรวจโควิด ไม่อยู่ภายใน 72 ชม ก่อนเวลา Transit Flight departure ทางสายการบินควรจะแจ้งให้ผู้โดยสารทราบแต่เนิ่นๆ เพราะต้องมีเบอร์หรืออีเมล์ติดต่อได้ตอนออกตั๋วอยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลากันทั้งสองฝ่าย หรือไม่งั้นก็บอกไปเลยว่า ออกได้ แต่ต้องเซ็นยินยอมเหมือนที่น้องคนนี้ต้องทำ แต่ก็เสียเวลาเสียอารมณ์กันอีกนั่นแหล่ะครับ ถ้าสายการบินที่ว่า ตีความภาษาอังกฤษแบบนี้ เป็นผม ผมเลือกบินกับสายการบินอื่นดีกว่า เพราะลดความเสี่ยงของการไม่ได้เดินทาง มีเวลาตรวจเพิ่มอีกหนึ่งวันนี่มีผลสำหรับคนกลับมาเยี่ยมบ้านมากนะครับ ยิ่งถ้าอยู่ต่างจังหวัด หาที่ตรวจไม่ได้ง่ายๆ อย่าง กทมฯ ปวดหัวมาก
"Initial departure" ในที่นี้ ผมคิดว่ามันแปลความหมายได้ชัดเจนว่าการเริ่ม trip ไม่ได้หมายถึงเวลาเครื่องออกเดิม ในกรณีที่เครื่องที่ญี่ปุ่น delay เพราะถ้าเครื่อง delay เวลาออกก่อน delay น่าจะเรียกว่า original หรือ scheduled departure time มากกว่า เมื่อเทียบกับ new (หรือ delayed) departure time การที่พนักงาน ground ตีความภาษาอังกฤษแบบที่ส่งผลต่อการได้เดินทางหรือไม่ของผู้โดยสารอย่างนี้ (ส่วนตัวแล้วผมว่าตีความผิด ถามเพื่อนฝรั่งหลายคน เค้าก็บอกว่าผิด แต่ในความคิดของพนักงานก็คงคิดว่าถูกแล้ว) แล้วทางสายการบินเองก็ไม่ clarify กับทาง ตม. ของแคนาดา โดยตรง เพราะทางแคนาดาก็ออกกฏนี้มาหลายอาทิตย์แล้ว สายการบินจำเป็นต้องปรับปรุงการให้บริการครับ ไม่งั้นมีคนตกเครื่องไปแคนาดา เพราะโดนปฏิเสธการออก boarding pass โดยไม่สมควรหลายคนแน่ๆ