คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 59
ข้อความยาวหน่อย แต่อยากให้ลองพิจารณาและทำความเข้าใจกันสักนิดเพื่อป้องกันการเข้าใจผิดกันค่ะ
------------------------------------------------------
เนื่องจากมีหลายท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ "ค่าที่พัก" และ "ค่าเดินทาง" ที่เราพูดถึงไป
ก่อนอื่นขออธิบายประเด็นและจุดประสงค์ที่เราได้โพสต์กระทู้นี้ขึ้นมาก่อนนะคะ เพราะดูแล้วหลายท่านกำลังเข้าใจผิดค่ะ
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเราระบุรายละเอียดในกระทู้ไม่ชัดเจนเอง ก็ต้องขออภัยด้วย แต่หวังว่าจะไม่มีกรณีดราม่าอะไรเกิดขึ้นในกระทู้นี้นะคะ🙂
------------------------------------------------------
ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็น ต้องขอแจ้งอีกครั้งว่ากระทู้นี้เรา "สมมติ" การวางแผนการเงิน (รายจ่าย) เท่านั้น
เนื่องจากเป็นเรื่องสมมติ จึงหมายความว่าเราไม่ได้มีประสบการณ์ตรงค่ะ
สิ่งที่เราเองก็ทราบ และหลาย ๆ ท่านเองก็ทราบ คือ
- ความต้องการของแต่ละคนไม่เท่ากัน รายจ่ายแตกต่างกัน
- การดำรงชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนมีภาระ มีหนี้สิน บางคนไม่มี
- สภาพแวดล้อมในการเดินทางไปกลับระหว่างที่ทำงานกับที่พักของแต่ละคนแตกต่างกัน
- ที่พักราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ต้องการที่พักใกล้ที่ทำงาน จะได้เดินทางสะดวก แต่ก็มักติดปัญหาค่าเช่าแพง อาจจะเป็นเพราะการคมนาคมสะดวก ฯลฯ หรือ หาที่พักถูก ๆ แต่ไกลจากที่ทำงาน กรณีนี้ ก็ต้องมาพิจารณากันอีกว่า
1) มีรถส่วนตัวหรือไม่
2) มีรถเมล์ผ่านที่พักและสามารถเดินทางต่อไปได้อย่างประหยัดไปจนถึงที่ทำงานหรือไม่ เพราะบางที่หรือบางบริเวณก็ไม่ได้มีแต่รถเมล์แล่นผ่านบ่อย ๆ และไปทุกสายค่ะ หมายความว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะขึ้นรถเมล์ไปทำงานได้
3) บางที่ก็มีแต่รถแท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่าน ถึงแม้จะมีรถเมล์ แต่รถก็ไปคนละทางกับปลายทางที่เจ้าตัวจะเดินทางไป
4) กรณีอื่น ๆ
- ค่าอาหาร ก็คงต้องพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและตัวห้องพักก่อนค่ะ และค่อยหาวิธีเอาตัวรอดต่าง ๆ ทำยังไงให้ประหยัดได้มากที่สุด
- เรื่องค่าอินเตอร์เน็ต ที่เราระบุไปตั้ง 500 บาทนี่ก็กะราคาเอาไว้เผื่อคร่าว ๆ ค่ะ เพราะหลายท่านก็ใช้ค่าเน็ตที่ราคาถูกกว่านี้
และอีกหลาย ๆ ปัจจัยในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ซึ่งแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ
------------------------------------------------------
1. จุดเริ่มต้นที่ทำให้เราตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ก็เพราะเราเข้าไปที่เว็บหางาน (แต่เราไม่ได้จะหางานนะคะ แค่เข้าไปในเว็บเฉย ๆ ค่ะ)
และเป็นสถานที่ทำงานที่อยู่ในกรุงเทพ เงินเดือนเขาระบุมาแค่ 10,000 บาท บางเจ้าก็ 11,000 บาท
เลยทำให้ "สงสัย" ว่าถ้าฐานเงินเดือนมีแค่นี้ แล้วถ้าสมมติว่าคนที่ได้เงินแค่ 1 หมื่นบาทต้น ๆ แต่ต้องกินอยู่ในกรุงเทพจริง ๆ เนี่ย เขาจะดำรงชีวิตกันแบบไหน "ประหยัดเงินกันอย่างไร ให้เหลือเก็บต่อเดือน"
หลายท่านก็แสดงความคิดเห็นได้ตรงประเด็นที่เราสงสัยค่ะ ทำให้เราได้เรียนรู้ และได้คำตอบที่เปิดมุมมองของเราให้กว้างมากขึ้น
------------------------------------------------------
2. เราได้ลองสมมติเหตุการณ์ขึ้นมา
ใช่ค่ะ "สมมติ"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพราะฉะนั้น เรื่องค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เราสมมติสถานการณ์ขึ้นเอง โดยยึดตัวเองเป็นหลัก
ตรงวลีที่ว่า "ยึดตัวเองเป็นหลัก" นี่ ก็มีบางส่วนที่เราอิงตามชีวิตจริงของเรา แต่เรายึดเฉพาะส่วนที่เราไม่ได้เป็นหนี้สิน ไม่มีภาระค่าใช้จ่าย เช่น ส่งเสียเลี้ยงดูใคร
และแน่นอนค่ะ ว่าเป็นสถานการณ์ที่เรา "สมมติ" ขึ้นมา นั่นหมายความว่าเราไม่ได้มี "ประสบการณ์ตรง" ในเรื่องนี้อยู่แล้วค่ะ เราจึงไม่ทราบว่าการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละท่านเป็นอย่างไร เราทำได้แค่ "จินตนาการ" และ "สมมติ" ขึ้นมาเท่านั้นค่ะ
และเหตุการณ์ที่เรา "สมมติ" ขึ้นมา เราเองก็ได้แต่สมมติขึ้นมาแบบ "คร่าว ๆ" เป็นตัวเลขที่กะเผื่อเอาไว้เยอะ แต่สำหรับท่านใดที่ภาระเยอะ ก็อาจจะต้องวางแผนการเงินเป็นอย่างดี ไม่ได้วางแผนคร่าว ๆ แบบที่เรา "สมมติ" ไปค่ะ
สิ่งที่เราต้องการจะบอกก็คือ นี่คือเรื่อง "สมมติ" และนี่ไม่ใช่ "ประสบการณ์ตรง" ของเรา
ดังนั้น
1) เราไม่รู้หรอกค่ะ ว่ารายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นอย่างไร
2) ที่ทำงานคือที่ไหน เพราะเราไม่ใช่คนหางาน
3) เราไม่รู้ว่าหอพักอยู่ละแวกไหน และหอพักในละแวกนั้น ราคาต่ำสุดอยู่ที่เท่าไหร่ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในหอพักเป็นอย่างไร มีครัวไหม มีอะไรไหม ฯลฯ
4) การเดินทางเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรถส่วนตัวและต้องโดยสารโดยทางเท้า หรือไม่ก็ขนส่งสาธารณะ หรือรับจ้าง ต้องพิจารณาก่อนว่าใกล้กับที่ทำงานมากไหม เดินทางไปด้วยเท้าได้หรือไม่ มีรถเมล์ผ่านไหม มีรถรับส่งของบริษัทหรือที่ทำงานไหม ฯลฯ
5) เรื่องอาหารการกิน แถวหอพักมีตลาดไหม มีร้านขายอาหารตามสั่งราคาถูก ๆ ไหม ฯลฯ
โดยรวม ๆ แล้ว คือ ชีวิตที่แต่ละคนเจอแตกต่างกัน ความต้องการของแต่ละคนก็แตกต่างกัน รายจ่ายจึงแตกต่างกันออกไป
ทำให้เราไม่สามารถระบุรายละเอียดส่วนนี้ได้ ทำให้ตัวเลขที่ออกมา ดูแล้วโอเวอร์จนเกินไปสำหรับคนได้เงินเดือนละหมื่นต้น ๆ ค่ะ
ซึ่งหลายท่านที่คอมเมนต์ในเรื่องของประสบการณ์ตรง ฯลฯ ก็เป็นประโยชน์สำหรับเรา ทำให้เราได้เรียนรู้ชีวิตในมุมมองของคนอื่นค่ะ
------------------------------------------------------
3. เรารู้สึกว่าบางท่านอาจจะกำลังเข้าใจผิด คิดว่าเราได้เงินเดือน 10,000 บาท และเช่าหอพัก 4,500 กินใช้เป็นหมื่น ๆ
ขอย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าเราแค่ "สมมติ" สถานการณ์และการวางแผนการเงินแบบคร่าว ๆ ไม่ได้ละเอียดมากอะไร เพราะต่างคนก็ใช้ชีวิตต่างกัน สภาพแวดล้อมต่างกันค่ะ สุดท้ายรายจ่ายของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอยู่ดี
จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราสงสัยว่า คนที่จำเป็นต้องไปทำงานในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ต่างจังหวัด แต่ได้เงินเดือนแค่หมื่นต้น ๆ แบบนี้
"คุณมีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร เมื่อได้เงินเดือนเพียงเท่านี้ และทำอย่างไรให้มีเงินเหลือเก็บต่อเดือน (ไม่มีก็ไม่ได้ว่าอะไรค่ะ เราก็อยากอ่านประสบการณ์ตรงของแต่ละท่านเหมือนกันค่ะ)"
เราอาจจะเป็นฝ่ายเข้าใจความหมายที่แต่ละท่านสื่อมาผิดเพี้ยนไปเองค่ะ
เพราะเรารู้สึกว่าความคิดเห็นบางท่านเหมือน โจมตี เรา โดยแฝงนัยยะประมาณว่าเรากินอยู่หรูหรา ได้เงินเดือนแค่นั้น จะไปเช่าหอแพงขนาดนั้นทำไม จะไปกินเป็นร้อยทำไม จะนั่งวินนั่งแท็กซี่ทำไม...
โอเคค่ะ แต่ท่านที่แสดงความคิดเห็นในทำนองนี้ก็คงไม่ได้ที่จะตั้งใจโจมตีเรา เพียงแต่อาจจะพูดถึง "บุคคลอื่น" ที่ได้เงินเดือนประมาณนี้ แต่ใช้ชีวิตแบบที่เรา "สมมติ" ขึ้นมาก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่เราพิมพ์ข้อความ Spoil เอาไว้ว่า
"ค่าที่พัก อาจจะราคาถูกกว่า 4,500 เมื่อรวมค่าน้ำค่าไฟก็ได้ และอาจจะมีครัวก็ได้ อาจจะมีตลาดนัดให้เข้าไปเลือกซื้อวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารก็ได้ค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้อย่างน้อยก็อาจจะพอประหยัดไปได้อีกบ้าง"
นั่นหมายความว่า
1) อาจจะราคาถูกกว่า 4,500 เมื่อรวมค่าน้ำค่าไฟ หมายถึง จะหาห้องที่ถูกกว่า 4,500 ก็ได้ ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องไปเช่าห้องที่ราคารวมน้ำไฟเบ็ดเสร็จแล้ว 4,500 ตาม "แผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ" นี้ค่ะ
2) อาจจะมีครัว อาจจะมีตลาดนัดให้เข้าไปเลือกซื้อวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหาร หมายถึง ไม่จำเป็นต้องซื้อกินทุกมื้อให้เปลืองเงินก็ได้ ถ้าที่ห้องพักมีครัว และตัวเรามีเครื่องครัวพร้อมทำอาหาร ก็แค่ไปตลาดซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารกินเอง เวลาไปทำงานก็อาจจะทำอาหารไปทานเองก็ได้ ประหยัดได้เยอะเหมือนกันค่ะ
------------------------------------------------------
แต่ยังไงก็ต้องขอขอบคุณความคิดเห็นของทุกท่านมาก ๆ เลยนะคะ ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ในมุมมองใหม่ ๆ ค่ะ🙇♀️
ข้อย้ำเป็นรอบสุดท้ายอีกครั้งนะคะ
1. เราไม่ใช่คนที่กำลังหางานและหาหอพักค่ะ ตอนนี้เราใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้มีปัญหาการเงินแต่อย่างใดค่ะ
2. เราแค่สงสัยเฉย ๆ ว่าถ้าคนที่เขาจำเป็นต้องเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่) ถ้าเขาหางานทำ (อาจจะไม่เกี่ยงงาน) แต่ได้เงินเดือนแค่หมื่นต้น ๆ จะใช้ชีวิตต่อวันหรือต่อเดือนกันอย่างไร และทำอย่างไรถึงมี "เงินเหลือเก็บต่อเดือน" คะ
3. เราไม่ได้บอกว่าคนที่ได้เงินหมื่นต้น ๆ จะต้องไปเช่าหอพัก 4,500 และจะต้องเดินทางด้วยวินหรือแท็กซี่กันหมดนะคะ ซึ่งในส่วนนี้เราคิดว่าเราได้ชี้แจงไปละเอียดมากพอแล้ว หวังว่าคงจะไม่เข้าใจผิดกันค่ะ
4. เราไม่ได้ดูถูกคนที่ได้เงินเดือนหมื่นต้น ๆ เลยแม้แต่น้อย และไม่ได้จะอวดโอ้ตัวเองว่าเรากินดีอยู่ดี วางแผนการเงินเหมือนตัวเองได้เงินเดือนเยอะ ๆ เราไม่ได้บอกว่าเราจะไปเช่าคอนโด หรือที่พักแพง ๆ เลยนะคะ ขอร้องอย่าตีความกันผิดค่ะ เพียงแต่นี่เป็นแค่ "แผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ" ที่เราสมมติสถานการณ์ขึ้นมาเท่านั้นค่ะ
5. ที่บอกว่า "ยึดตัวเองเป็นหลัก" ไม่ได้แปลว่าเราไปอยู่แบบนั้นมาก่อนแล้ว และไม่ได้แปลว่านี่คือ "ประสบการณ์ตรง" เราแค่พูดถึง "กรณีของคนที่ไม่มีภาระต้องส่งเสียเลี้ยงดูใคร ไม่ต้องคอยจ่ายค่าหนี้ ฯลฯ"
ถึงแม้บางส่วนเราก็อิงมาจากประสบการณ์ตอนที่เราไปทำงานอยู่ลาดพร้าว ซึ่งละแวกที่เราไปอยู่ ที่พักถูกสุดรวมค่าน้ำไฟเบ็ดเสร็จแล้วเกือบ 5,000 บาท ไม่มีรถเมล์ผ่านที่ที่เราจะเดินทางไป มีแต่แท็กซี่เป็นส่วนใหญ่ (แต่เราก็ไม่เคยใช้เงินชนเดือนเลย เพราะส่วนใหญ่ก็เหลือเงินเก็บค่ะ) ก็เลยคิดว่าถ้าคนที่ได้เงินเดือนหมื่นต้น ๆ มาเจอ "สภาพแวดล้อม" แบบนี้ เขาจะอยู่รอดไหม หรือต้องเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไรบ้าง
จึงเป็นเหตุผลที่เราตั้งกระทู้ขึ้นมา เพื่อรออ่านความคิดเห็นของแต่ละท่านที่อาจจะสมมติขึ้นมา หรืออาจจะมาจากประสบการณ์ตรงดูค่ะ แต่ดูจากคำตอบส่วนใหญ่ที่ได้มาในตอนนี้คือ "แทบไม่เหลือเก็บ" หรือ "ไม่เหลือเก็บ" และ "ต้องหางานเสริม" ก็ใกล้เคียงกับข้อสันนิษฐานของเราอยู่ค่ะ (ถึงแม้ว่าแผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ ของเรา จะค่อนข้างเละตุ้มเป๊ะก็ตาม...)
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ของเรา
และขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาอ่านข้อความนี้นะคะ เพราะหลายท่านดูเหมือนจะเข้าใจเราผิดไปค่ะ🙇♀️
------------------------------------------------------
เนื่องจากมีหลายท่านแสดงความคิดเห็นในเรื่องของ "ค่าที่พัก" และ "ค่าเดินทาง" ที่เราพูดถึงไป
ก่อนอื่นขออธิบายประเด็นและจุดประสงค์ที่เราได้โพสต์กระทู้นี้ขึ้นมาก่อนนะคะ เพราะดูแล้วหลายท่านกำลังเข้าใจผิดค่ะ
ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะเราระบุรายละเอียดในกระทู้ไม่ชัดเจนเอง ก็ต้องขออภัยด้วย แต่หวังว่าจะไม่มีกรณีดราม่าอะไรเกิดขึ้นในกระทู้นี้นะคะ🙂
------------------------------------------------------
ก่อนที่จะเข้าสู่ประเด็น ต้องขอแจ้งอีกครั้งว่ากระทู้นี้เรา "สมมติ" การวางแผนการเงิน (รายจ่าย) เท่านั้น
เนื่องจากเป็นเรื่องสมมติ จึงหมายความว่าเราไม่ได้มีประสบการณ์ตรงค่ะ
สิ่งที่เราเองก็ทราบ และหลาย ๆ ท่านเองก็ทราบ คือ
- ความต้องการของแต่ละคนไม่เท่ากัน รายจ่ายแตกต่างกัน
- การดำรงชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกัน บางคนมีภาระ มีหนี้สิน บางคนไม่มี
- สภาพแวดล้อมในการเดินทางไปกลับระหว่างที่ทำงานกับที่พักของแต่ละคนแตกต่างกัน
- ที่พักราคาแตกต่างกันขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ต้องการที่พักใกล้ที่ทำงาน จะได้เดินทางสะดวก แต่ก็มักติดปัญหาค่าเช่าแพง อาจจะเป็นเพราะการคมนาคมสะดวก ฯลฯ หรือ หาที่พักถูก ๆ แต่ไกลจากที่ทำงาน กรณีนี้ ก็ต้องมาพิจารณากันอีกว่า
1) มีรถส่วนตัวหรือไม่
2) มีรถเมล์ผ่านที่พักและสามารถเดินทางต่อไปได้อย่างประหยัดไปจนถึงที่ทำงานหรือไม่ เพราะบางที่หรือบางบริเวณก็ไม่ได้มีแต่รถเมล์แล่นผ่านบ่อย ๆ และไปทุกสายค่ะ หมายความว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะขึ้นรถเมล์ไปทำงานได้
3) บางที่ก็มีแต่รถแท็กซี่ หรือวินมอเตอร์ไซค์วิ่งผ่าน ถึงแม้จะมีรถเมล์ แต่รถก็ไปคนละทางกับปลายทางที่เจ้าตัวจะเดินทางไป
4) กรณีอื่น ๆ
- ค่าอาหาร ก็คงต้องพิจารณาจากสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยและตัวห้องพักก่อนค่ะ และค่อยหาวิธีเอาตัวรอดต่าง ๆ ทำยังไงให้ประหยัดได้มากที่สุด
- เรื่องค่าอินเตอร์เน็ต ที่เราระบุไปตั้ง 500 บาทนี่ก็กะราคาเอาไว้เผื่อคร่าว ๆ ค่ะ เพราะหลายท่านก็ใช้ค่าเน็ตที่ราคาถูกกว่านี้
และอีกหลาย ๆ ปัจจัยในการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ซึ่งแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ
------------------------------------------------------
1. จุดเริ่มต้นที่ทำให้เราตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา ก็เพราะเราเข้าไปที่เว็บหางาน (แต่เราไม่ได้จะหางานนะคะ แค่เข้าไปในเว็บเฉย ๆ ค่ะ)
และเป็นสถานที่ทำงานที่อยู่ในกรุงเทพ เงินเดือนเขาระบุมาแค่ 10,000 บาท บางเจ้าก็ 11,000 บาท
เลยทำให้ "สงสัย" ว่าถ้าฐานเงินเดือนมีแค่นี้ แล้วถ้าสมมติว่าคนที่ได้เงินแค่ 1 หมื่นบาทต้น ๆ แต่ต้องกินอยู่ในกรุงเทพจริง ๆ เนี่ย เขาจะดำรงชีวิตกันแบบไหน "ประหยัดเงินกันอย่างไร ให้เหลือเก็บต่อเดือน"
หลายท่านก็แสดงความคิดเห็นได้ตรงประเด็นที่เราสงสัยค่ะ ทำให้เราได้เรียนรู้ และได้คำตอบที่เปิดมุมมองของเราให้กว้างมากขึ้น
------------------------------------------------------
2. เราได้ลองสมมติเหตุการณ์ขึ้นมา
ใช่ค่ะ "สมมติ"
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เพราะฉะนั้น เรื่องค่าใช้จ่ายทุกอย่าง เราสมมติสถานการณ์ขึ้นเอง โดยยึดตัวเองเป็นหลัก
ตรงวลีที่ว่า "ยึดตัวเองเป็นหลัก" นี่ ก็มีบางส่วนที่เราอิงตามชีวิตจริงของเรา แต่เรายึดเฉพาะส่วนที่เราไม่ได้เป็นหนี้สิน ไม่มีภาระค่าใช้จ่าย เช่น ส่งเสียเลี้ยงดูใคร
และแน่นอนค่ะ ว่าเป็นสถานการณ์ที่เรา "สมมติ" ขึ้นมา นั่นหมายความว่าเราไม่ได้มี "ประสบการณ์ตรง" ในเรื่องนี้อยู่แล้วค่ะ เราจึงไม่ทราบว่าการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ของแต่ละท่านเป็นอย่างไร เราทำได้แค่ "จินตนาการ" และ "สมมติ" ขึ้นมาเท่านั้นค่ะ
และเหตุการณ์ที่เรา "สมมติ" ขึ้นมา เราเองก็ได้แต่สมมติขึ้นมาแบบ "คร่าว ๆ" เป็นตัวเลขที่กะเผื่อเอาไว้เยอะ แต่สำหรับท่านใดที่ภาระเยอะ ก็อาจจะต้องวางแผนการเงินเป็นอย่างดี ไม่ได้วางแผนคร่าว ๆ แบบที่เรา "สมมติ" ไปค่ะ
สิ่งที่เราต้องการจะบอกก็คือ นี่คือเรื่อง "สมมติ" และนี่ไม่ใช่ "ประสบการณ์ตรง" ของเรา
ดังนั้น
1) เราไม่รู้หรอกค่ะ ว่ารายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในสถานการณ์นั้น ๆ เป็นอย่างไร
2) ที่ทำงานคือที่ไหน เพราะเราไม่ใช่คนหางาน
3) เราไม่รู้ว่าหอพักอยู่ละแวกไหน และหอพักในละแวกนั้น ราคาต่ำสุดอยู่ที่เท่าไหร่ อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในหอพักเป็นอย่างไร มีครัวไหม มีอะไรไหม ฯลฯ
4) การเดินทางเป็นอย่างไร ถ้าไม่มีรถส่วนตัวและต้องโดยสารโดยทางเท้า หรือไม่ก็ขนส่งสาธารณะ หรือรับจ้าง ต้องพิจารณาก่อนว่าใกล้กับที่ทำงานมากไหม เดินทางไปด้วยเท้าได้หรือไม่ มีรถเมล์ผ่านไหม มีรถรับส่งของบริษัทหรือที่ทำงานไหม ฯลฯ
5) เรื่องอาหารการกิน แถวหอพักมีตลาดไหม มีร้านขายอาหารตามสั่งราคาถูก ๆ ไหม ฯลฯ
โดยรวม ๆ แล้ว คือ ชีวิตที่แต่ละคนเจอแตกต่างกัน ความต้องการของแต่ละคนก็แตกต่างกัน รายจ่ายจึงแตกต่างกันออกไป
ทำให้เราไม่สามารถระบุรายละเอียดส่วนนี้ได้ ทำให้ตัวเลขที่ออกมา ดูแล้วโอเวอร์จนเกินไปสำหรับคนได้เงินเดือนละหมื่นต้น ๆ ค่ะ
ซึ่งหลายท่านที่คอมเมนต์ในเรื่องของประสบการณ์ตรง ฯลฯ ก็เป็นประโยชน์สำหรับเรา ทำให้เราได้เรียนรู้ชีวิตในมุมมองของคนอื่นค่ะ
------------------------------------------------------
3. เรารู้สึกว่าบางท่านอาจจะกำลังเข้าใจผิด คิดว่าเราได้เงินเดือน 10,000 บาท และเช่าหอพัก 4,500 กินใช้เป็นหมื่น ๆ
ขอย้ำอีกครั้งนะคะ ว่าเราแค่ "สมมติ" สถานการณ์และการวางแผนการเงินแบบคร่าว ๆ ไม่ได้ละเอียดมากอะไร เพราะต่างคนก็ใช้ชีวิตต่างกัน สภาพแวดล้อมต่างกันค่ะ สุดท้ายรายจ่ายของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอยู่ดี
จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราสงสัยว่า คนที่จำเป็นต้องไปทำงานในกรุงเทพฯ ไม่ใช่ต่างจังหวัด แต่ได้เงินเดือนแค่หมื่นต้น ๆ แบบนี้
"คุณมีวิธีเอาตัวรอดอย่างไร เมื่อได้เงินเดือนเพียงเท่านี้ และทำอย่างไรให้มีเงินเหลือเก็บต่อเดือน (ไม่มีก็ไม่ได้ว่าอะไรค่ะ เราก็อยากอ่านประสบการณ์ตรงของแต่ละท่านเหมือนกันค่ะ)"
เราอาจจะเป็นฝ่ายเข้าใจความหมายที่แต่ละท่านสื่อมาผิดเพี้ยนไปเองค่ะ
เพราะเรารู้สึกว่าความคิดเห็นบางท่านเหมือน โจมตี เรา โดยแฝงนัยยะประมาณว่าเรากินอยู่หรูหรา ได้เงินเดือนแค่นั้น จะไปเช่าหอแพงขนาดนั้นทำไม จะไปกินเป็นร้อยทำไม จะนั่งวินนั่งแท็กซี่ทำไม...
โอเคค่ะ แต่ท่านที่แสดงความคิดเห็นในทำนองนี้ก็คงไม่ได้ที่จะตั้งใจโจมตีเรา เพียงแต่อาจจะพูดถึง "บุคคลอื่น" ที่ได้เงินเดือนประมาณนี้ แต่ใช้ชีวิตแบบที่เรา "สมมติ" ขึ้นมาก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่างที่เราพิมพ์ข้อความ Spoil เอาไว้ว่า
"ค่าที่พัก อาจจะราคาถูกกว่า 4,500 เมื่อรวมค่าน้ำค่าไฟก็ได้ และอาจจะมีครัวก็ได้ อาจจะมีตลาดนัดให้เข้าไปเลือกซื้อวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารก็ได้ค่ะ ถ้าเป็นแบบนี้อย่างน้อยก็อาจจะพอประหยัดไปได้อีกบ้าง"
นั่นหมายความว่า
1) อาจจะราคาถูกกว่า 4,500 เมื่อรวมค่าน้ำค่าไฟ หมายถึง จะหาห้องที่ถูกกว่า 4,500 ก็ได้ ไม่ได้แปลว่าคุณจะต้องไปเช่าห้องที่ราคารวมน้ำไฟเบ็ดเสร็จแล้ว 4,500 ตาม "แผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ" นี้ค่ะ
2) อาจจะมีครัว อาจจะมีตลาดนัดให้เข้าไปเลือกซื้อวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหาร หมายถึง ไม่จำเป็นต้องซื้อกินทุกมื้อให้เปลืองเงินก็ได้ ถ้าที่ห้องพักมีครัว และตัวเรามีเครื่องครัวพร้อมทำอาหาร ก็แค่ไปตลาดซื้อวัตถุดิบมาทำอาหารกินเอง เวลาไปทำงานก็อาจจะทำอาหารไปทานเองก็ได้ ประหยัดได้เยอะเหมือนกันค่ะ
------------------------------------------------------
แต่ยังไงก็ต้องขอขอบคุณความคิดเห็นของทุกท่านมาก ๆ เลยนะคะ ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ในมุมมองใหม่ ๆ ค่ะ🙇♀️
ข้อย้ำเป็นรอบสุดท้ายอีกครั้งนะคะ
1. เราไม่ใช่คนที่กำลังหางานและหาหอพักค่ะ ตอนนี้เราใช้ชีวิตตามปกติไม่ได้มีปัญหาการเงินแต่อย่างใดค่ะ
2. เราแค่สงสัยเฉย ๆ ว่าถ้าคนที่เขาจำเป็นต้องเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ (ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่) ถ้าเขาหางานทำ (อาจจะไม่เกี่ยงงาน) แต่ได้เงินเดือนแค่หมื่นต้น ๆ จะใช้ชีวิตต่อวันหรือต่อเดือนกันอย่างไร และทำอย่างไรถึงมี "เงินเหลือเก็บต่อเดือน" คะ
3. เราไม่ได้บอกว่าคนที่ได้เงินหมื่นต้น ๆ จะต้องไปเช่าหอพัก 4,500 และจะต้องเดินทางด้วยวินหรือแท็กซี่กันหมดนะคะ ซึ่งในส่วนนี้เราคิดว่าเราได้ชี้แจงไปละเอียดมากพอแล้ว หวังว่าคงจะไม่เข้าใจผิดกันค่ะ
4. เราไม่ได้ดูถูกคนที่ได้เงินเดือนหมื่นต้น ๆ เลยแม้แต่น้อย และไม่ได้จะอวดโอ้ตัวเองว่าเรากินดีอยู่ดี วางแผนการเงินเหมือนตัวเองได้เงินเดือนเยอะ ๆ เราไม่ได้บอกว่าเราจะไปเช่าคอนโด หรือที่พักแพง ๆ เลยนะคะ ขอร้องอย่าตีความกันผิดค่ะ เพียงแต่นี่เป็นแค่ "แผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ" ที่เราสมมติสถานการณ์ขึ้นมาเท่านั้นค่ะ
5. ที่บอกว่า "ยึดตัวเองเป็นหลัก" ไม่ได้แปลว่าเราไปอยู่แบบนั้นมาก่อนแล้ว และไม่ได้แปลว่านี่คือ "ประสบการณ์ตรง" เราแค่พูดถึง "กรณีของคนที่ไม่มีภาระต้องส่งเสียเลี้ยงดูใคร ไม่ต้องคอยจ่ายค่าหนี้ ฯลฯ"
ถึงแม้บางส่วนเราก็อิงมาจากประสบการณ์ตอนที่เราไปทำงานอยู่ลาดพร้าว ซึ่งละแวกที่เราไปอยู่ ที่พักถูกสุดรวมค่าน้ำไฟเบ็ดเสร็จแล้วเกือบ 5,000 บาท ไม่มีรถเมล์ผ่านที่ที่เราจะเดินทางไป มีแต่แท็กซี่เป็นส่วนใหญ่ (แต่เราก็ไม่เคยใช้เงินชนเดือนเลย เพราะส่วนใหญ่ก็เหลือเงินเก็บค่ะ) ก็เลยคิดว่าถ้าคนที่ได้เงินเดือนหมื่นต้น ๆ มาเจอ "สภาพแวดล้อม" แบบนี้ เขาจะอยู่รอดไหม หรือต้องเปลี่ยนแปลงอะไร อย่างไรบ้าง
จึงเป็นเหตุผลที่เราตั้งกระทู้ขึ้นมา เพื่อรออ่านความคิดเห็นของแต่ละท่านที่อาจจะสมมติขึ้นมา หรืออาจจะมาจากประสบการณ์ตรงดูค่ะ แต่ดูจากคำตอบส่วนใหญ่ที่ได้มาในตอนนี้คือ "แทบไม่เหลือเก็บ" หรือ "ไม่เหลือเก็บ" และ "ต้องหางานเสริม" ก็ใกล้เคียงกับข้อสันนิษฐานของเราอยู่ค่ะ (ถึงแม้ว่าแผนการเงินสมมติแบบคร่าว ๆ ของเรา จะค่อนข้างเละตุ้มเป๊ะก็ตาม...)
ขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ของเรา
และขอบคุณทุกท่านที่สละเวลามาอ่านข้อความนี้นะคะ เพราะหลายท่านดูเหมือนจะเข้าใจเราผิดไปค่ะ🙇♀️
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 8
จขกท. นั่งวางแผนแบบคนรายได้ 20,000+
มาคำนวนให้จบที่เงิน 10,000 มันใช้จริงไม่ได้หรอก
คงจบลงด้วย เริ่มทำงาน สมัครบัตรอะไรดี
กู้อะไรดี ผ่อนอะไรดี วางแผนเป็นหนี้ รัว ๆ ๆ
เหมือนคนส่วนมาก เพราะพอเจอคนในที่ทำงานมีนั่นนี่
ต่อมความอยากจะทำงานทันที
ชีวิตคนรายได้ 10,000
ถ้าไม่ใช่โอกาสพิเศษ หรือเร่งด่วนในชีวิต
ไม่มีใครเช่าที่พัก 4,500
ไม่นั่ง แท็กซี่
ไม่นั่ง จยย.รับจ้าง
ไม่กินวันละ 100
ใช้ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือ ประกันสังคม
นั่นหมายถึง ถ้าป่วย เสียเวลาไป รพ.0.5-1 วัน
ต้องไปแต่เช้า คิวยาว ๆๆๆ
ที่พักอาจจะ 2000-2500 อาจจะหาคนอยู่ด้วย แชร์ค่าเช่ากัน
ตื่นเช้า นั่งรถเมล์+เดิน
กินวันละ 2 มื้อ หลัก อาจจะเป็นมาม่า 1 มื้อ
อาจจะมีขนมอีก เป็นมื้อย่อย
น้ำเป่ล่า
เป็นสิ่งสุดท้ายที่อาจจะชื้อ ตรงไหนมีให้กดกินฟรี ก็กด
หรือ กดชื้อลิตรละ 1 บาท พกไปกิน
บางคนถือคติ น้ำประปาดื่มได้
ความบันเทิง คือ ทีวี และโทรศัพท์ กับนั่งคุยกับคนอื่น
คนรายได้น้อย ต้องอยู่ติดดิน ทน ๆ ๆ ๆ
เงิน 10,000 ในนั้นมีเงินเก็บ มีค่ารักษา
มีเงินที่ต้องจ่ายให้ทางบ้าน เลี้ยงดูพ่อ แม่
มีเงินค่าขนมลูก และค่าใช้จ่ายอื่น
มีเงินค่าเล่าเรียนส่วนที่ต้องจ่ายเอง
ชีวิตคน ไม่มีใครไม่มีภาระ
โดยเฉพาะคนที่รายได้เท่าที่ จขกท.ยกตัวอย่างมา
เพราะเกิดมาก็ติดลบแล้ว
สำหรับใครที่นึกภาพไม่ออก เกิดมารวย
กระซิบถาม รปภ.หรือ พนักแม่บ้านทำความสอาดใกล้ตัวท่านได้
เรื่องราวซีวิตพวกพี่ ๆ เขา อาจจะทำให้ท่านได้มุมมองใหม่
ชีวิตต้องอดทน เพราะความจนมันน่ากลัว
มาคำนวนให้จบที่เงิน 10,000 มันใช้จริงไม่ได้หรอก
คงจบลงด้วย เริ่มทำงาน สมัครบัตรอะไรดี
กู้อะไรดี ผ่อนอะไรดี วางแผนเป็นหนี้ รัว ๆ ๆ
เหมือนคนส่วนมาก เพราะพอเจอคนในที่ทำงานมีนั่นนี่
ต่อมความอยากจะทำงานทันที
ชีวิตคนรายได้ 10,000
ถ้าไม่ใช่โอกาสพิเศษ หรือเร่งด่วนในชีวิต
ไม่มีใครเช่าที่พัก 4,500
ไม่นั่ง แท็กซี่
ไม่นั่ง จยย.รับจ้าง
ไม่กินวันละ 100
ใช้ 30 บาทรักษาทุกโรค หรือ ประกันสังคม
นั่นหมายถึง ถ้าป่วย เสียเวลาไป รพ.0.5-1 วัน
ต้องไปแต่เช้า คิวยาว ๆๆๆ
ที่พักอาจจะ 2000-2500 อาจจะหาคนอยู่ด้วย แชร์ค่าเช่ากัน
ตื่นเช้า นั่งรถเมล์+เดิน
กินวันละ 2 มื้อ หลัก อาจจะเป็นมาม่า 1 มื้อ
อาจจะมีขนมอีก เป็นมื้อย่อย
น้ำเป่ล่า
เป็นสิ่งสุดท้ายที่อาจจะชื้อ ตรงไหนมีให้กดกินฟรี ก็กด
หรือ กดชื้อลิตรละ 1 บาท พกไปกิน
บางคนถือคติ น้ำประปาดื่มได้
ความบันเทิง คือ ทีวี และโทรศัพท์ กับนั่งคุยกับคนอื่น
คนรายได้น้อย ต้องอยู่ติดดิน ทน ๆ ๆ ๆ
เงิน 10,000 ในนั้นมีเงินเก็บ มีค่ารักษา
มีเงินที่ต้องจ่ายให้ทางบ้าน เลี้ยงดูพ่อ แม่
มีเงินค่าขนมลูก และค่าใช้จ่ายอื่น
มีเงินค่าเล่าเรียนส่วนที่ต้องจ่ายเอง
ชีวิตคน ไม่มีใครไม่มีภาระ
โดยเฉพาะคนที่รายได้เท่าที่ จขกท.ยกตัวอย่างมา
เพราะเกิดมาก็ติดลบแล้ว
สำหรับใครที่นึกภาพไม่ออก เกิดมารวย
กระซิบถาม รปภ.หรือ พนักแม่บ้านทำความสอาดใกล้ตัวท่านได้
เรื่องราวซีวิตพวกพี่ ๆ เขา อาจจะทำให้ท่านได้มุมมองใหม่
ชีวิตต้องอดทน เพราะความจนมันน่ากลัว
แสดงความคิดเห็น
เงินเดือน 10,000 ~ 11,000 อยู่ กทม. กินใช้อย่างไรให้มีเงินเหลือคะ
ค่าเช่าห้องในกรุงเทพสำหรับเรา รู้สึกว่าค่อนข้างแพง หาที่ถูก ๆ แบบต่างจังหวัดได้ยากค่ะ
ก็เลยอยากจะลองสมมติสถานการณ์ดู โดยยึดตัวเองเป็นหลัก (ไม่มีหนี้ ไม่ต้องส่งเงินให้ใคร)
ถ้าเลือกห้องพักไม่ไกลจากที่ทำงานมากนัก ราคารวมค่าน้ำไฟ ประมาณ 4,500 บาท แต่ห้องไม่มีครัว ไม่มีตู้เย็น
ต้องนั่งวิน หรือแท็กซี่เพื่อไปถึงที่ทำงาน เสียค่าเดินทางไปกลับวันละประมาณ 100 บาท
ทำงาน 6 วัน หยุด 1 วัน เท่ากับว่าในแต่ละเดือนจะต้องไปทำงานเดือนละประมาณ 25 ~ 27 วัน
ค่าเดินทางไปกลับก็ตกประมาณเดือนละ 2,500 ~ 2,700 บาท
ค่ากิน ซื้อน้ำดื่ม ซื้ออาหารแห้ง หรือทานอาหารข้างนอกบริเวณใกล้เคียงที่พักหรือที่ทำงาน
สมมติว่าค่าอาหารและน้ำดื่มใช้เฉลี่ยวันละประมาณ 100 บาท อาหาร 1 ~ 2 มื้อ (บางวันไม่กินข้าวเช้า บางวันไม่กินข้าวเย็น)
ตกเดือนละประมาณ 3,000 ~ 3,100 บาท
ค่าอินเตอร์เน็ต (ติดต่อสื่อสาร , เล่นโซเชียล , ใช้เวลาว่างเรียนหนังสือผ่านอินเตอร์เน็ต ฯลฯ) สมมติเดือนละประมาณ 500 บาท
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ซื้อของใช้จำเป็น ฯลฯ สมมติเฉลี่ยเดือนละประมาณ 500 ~ 1,000 บาท (ไม่รู้ว่าซื้ออะไรบ้าง หรืออาจจะเดินทางไปที่อื่น ฯลฯ)
สรุปก็จะได้ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนน้อยที่สุดประมาณ 4,500 + 2,500 + 3,000 + 500 + 500 ≈ 11,000 บาท
ค่าใช้จ่ายต่อเดือนมากที่สุดประมาณ 4,500 + 2,700 + 3,100 + 500 + 1,000 ≈ 11,800 บาท
เมื่อเทียบกับเงินเดือนแล้ว ก็คงแทบจะไม่เหลือเลย หรืออาจจะไม่เพียงพอด้วยซ้ำค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
และสมมติว่าถ้าต้องทำงานติดต่อกันแบบนั้น แล้วกลับมาที่ห้องก็คงจะมีแต่รู้สึกเหนื่อยล้าไม่ใช่เหรอคะ
เราคิดว่าเงินเดือนน้อยเกินไป ดูไม่คุ้มและไม่สมดุล(?)กับค่าแรง และค่าครองชีพในเมืองกรุงเลยค่ะ
คนที่เขาได้เงินเดือนเท่านี้ และพำนักอยู่ในกรุงเทพ ใช้ชีวิตกันอย่างไร และเก็บออมเงินให้ได้จำนวนมากกันอย่างไรคะ
(เช่น ให้เหลือออมต่อเดือน เดือนละประมาณ 2 ~ 3 พันบาท หรืออาจจะมากกว่านี้)
เพราะถ้าบอกว่าหางานพาร์ทไทม์ทำต่อหลังเลิกงาน ก็ต้องดูสถานที่ทำงานพาร์ทไทม์อีก
ถ้าต้องเดินทางด้วยวินหรือแท็กซี่ก็ต้องเสียค่าเดินทางไปที่ทำงานพาร์ทไทม์ แบบนี้จะคุ้มกับการทำพาร์ทไทม์เหรอคะ
ถ้าเป็นเรา เราคงไม่มีแรงลุกไปทำพาร์ทไทม์ต่อทุกวันแน่เลยค่ะ
แค่ลองจินตนาการว่าถ้าวันหนึ่งเราเข้าไปทำงานในกรุงเทพแล้วจะต้องไปใช้ชีวิตยังไง ถ้าเกิดว่าเราได้เงินเดือนน้อย สวนทางกับค่าครองชีพอันแสนแพงในเมืองกรุงดูน่ะค่ะ