ย้อนกลับไปในช่วงที่มีนวัตกรรมเครื่องทำน้ำอุ่นออกมาใหม่ๆ วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นหนึ่งในงานช่างไฟฟ้าที่หลายคนอาจจะต้องพึ่งพา ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น มาช่วยติดตั้งให้ หรือต้องเลือกซื้อ เครื่องทำน้ำอุ่น ติดตั้งฟรี เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการติดตั้งและการใช้งาน แต่ในปัจจุบันที่แทบทุกบ้านมีเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าคู่บ้านกันไปแล้ว หลายคนก็กล้าที่จะติดตั้งด้วยตัวเองมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้ว วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น สามารถทำเองได้หากมีอุปกรณ์ครบถ้วน และไม่ยากอย่างที่คิด แต่จะมีขั้นตอนการติดตั้งและวิธีการเลือกซื้ออย่างไร
HomeGuru มีคำตอบมาให้ครับ
วิธีเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้งานคู่กับฝักบัวอาบน้ำหรือก๊อกน้ำ โดยทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวกลางเปลี่ยนน้ำธรรมดาให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วยฮีตเตอร์ในตัวเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งเครื่องทำน้ำอุ่นได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องทำน้ำอุ่นแบบจุดเดียว ที่ใช้กันเป็นที่แพร่หลายทั่วไปในบ้าน กับเครื่องทำน้ำอุ่นแบบหลายจุด ที่จะติดตั้งจุดเดียวแต่สามารถทำน้ำอุ่นได้หลายจุดพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้แต่ละรุ่นแต่ละแบบก็มีฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลายแตกต่างกันออกไป การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจึงต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ดังนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องอุปกรณ์ในห้องน้ำเพิ่มเติมได้ที่ Rain Shower มีหรือไม่มีดีกว่ากัน
อ่านความรู้เรื่องอุปกรณ์ในห้องน้ำเพิ่มเติมได้ที่ เลือกสุขภัณฑ์ให้ดี ช่วยประหยัดน้ำ ประหยัดเงิน
1. ความต้องการใช้งาน และขนาดของที่อยู่อาศัย
หากเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านไม่มาก หรือต้องการติดตั้งที่คอนโดมิเนียม จะเหมาะกับเครื่องทำน้ำอุ่นประเภท Single Point หรือเครื่องทำน้ำอุ่นแบบจุดเดียว แต่หากเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้น้ำอุ่นหลายจุดพร้อมๆ กัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ฝักบัวอาบน้ำ แต่อาจรวมไปถึงอ่างอาบน้ำ อ่างล้างหน้า หรือในห้องน้ำสำรองห้องอื่นๆ ด้วย กรณีนี้ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นประเภท Multi Point ที่สามารถให้ความร้อนของน้ำได้หลายจุดผ่านทางท่อน้ำร้อน และวาล์วที่ผสมติดตั้งไว้ในบ้าน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีผลกับ ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และมี วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ที่แตกต่างกันออกไปครับ
2. กำลังไฟฟ้าในบ้าน
เป็นอีกจุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบครับ เพราะการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟเหมาะสมกับมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการใช้งานเหมาะสมจนไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาครับ ตัวอย่างเช่น หากมิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาด 5(15) ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 3,500 วัตต์ , มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์ครับ
3. ประเภทของหม้อต้ม
หม้อต้มของเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นมีหลายประเภท เช่น หม้อต้มทองแดง ที่ทนทานความร้อนจากแรงดันน้ำได้ดี อายุการใช้งานยาวนาน แต่ราคาค่อนข้างสูง , หม้อต้มแบบพลาสติก ที่ให้ความร้อนเร็ว ประหยัดพลังงาน ราคาค่อนข้างถูก แต่อายุการใช้งานน้อยกว่าแบบทองแดง หรือ หม้อต้มที่ใช้ขดลวดทองแดงในการให้ความร้อน ที่ให้ความร้อนได้เร็ว แต่อุณหภูมิน้ำไม่ค่อยคงที่ครับ นอกจากนี้การเลือกหม้อต้มอาจต้องพิจารณาจากสภาพอากาศในพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งด้วย เช่น หากเป็นรีสอร์ทที่มีความต้องการใช้น้ำปริมาณมากและมีสภาพอากาศหนาวเย็นกว่าพื้นที่ทั่วไป อาจต้องเลือกหม้อต้มขนาดใหญ่ด้วยระบบแก๊ส เป็นต้น
4. ความปลอดภัย
เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องติดตั้งภายในห้องน้ำจึงต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยของตัวเครื่องเป็นหลักครับ นอกเหนือจากการติดตั้งสายดินต้องตรวจสอบก่อนซื้อว่าเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นนั้นๆ มีระบบนิรภัยกี่จุด และทำงานอย่างไรบ้าง เช่น ระบบ ELSD (Earth Leakage Safety Device) ที่จะตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีไฟฟ้ารั่ว , ระบบ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) ที่จะตัดการทำงานของเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงเกินขนาด , ระบบ Automatic Flow Switch on/off Control ที่จะช่วยควบคุมให้เครื่องสามารถทำงานได้เฉพาะเวลาที่มีน้ำไหลผ่านเท่านั้น , ระบบป้องกันหม้อทำความร้อนไหม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบส่วนประกอบอื่นๆ ของตัวเครื่องให้สายไฟทุกเส้นได้มาตรฐาน , ตัวเครื่องควรมียางป้องกันน้ำเข้าทางช่องร้อยสายไฟ และควรได้รับมาตรฐาน IP25 ที่หมายถึงสามารถป้องกันน้ำและฝุ่นเข้าเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
5. เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
เครื่องทำน้ำอุ่นถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟมาก หรือกินไฟสูงเป็นอันดับต้นๆ ในบ้าน การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจึงต้องตรวจสอบดูว่าใช้พลังงานประมาณกี่วัตต์ และมีสัญลักษณ์ฉลากประหยัดไฟหรือไม่ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังครับ
6. ฟังก์ชั่นเสริม
นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานหลักๆ แล้ว ควรพิจารณาฟังก์ชั่นเสริมเพิ่มความคุ้มค่าอื่นๆ ของเครื่องทำน้ำอุ่นในแต่ละรุ่นด้วยครับ เช่น อุปกรณ์ที่แถมมาให้ , ระบบป้องกันตะกรันหรือสิ่งสกปรก , การป้องกันตัวเครื่องเสียหาย , หน้าจอแสดงผลแบบติจิทัล เป็นต้น
7. เปรียบเทียบราคา
เครื่องทำน้ำอุ่นในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อหลายรุ่น หลายแบรนด์ และหลายราคาตามฟังก์ชั่นละคุณสมบัติต่างๆ ที่เป็นตัวแปร ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อจึงต้องตรวจสอบทั้งรายละเอียดและราคาให้ดี รวมทั้งต้องคำนวนค่าไฟฟ้าเผื่อไว้ล่วงหน้าแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้ได้เครื่องทำน้ำอุ่นที่คุ้มค่าที่สุด ทั้งนี้ เครื่องทำน้ำอุ่นหลาย ๆ รุ่นจะมีโปรโมชั่นติดตั้งฟรีมาคู่กันอยู่แล้ว แต่บางรุ่นอาจมีค่าบริการติดตั้ง หากไม่ทราบ วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ด้วยตัวเอง ก็อาจต้องจ้าง ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ภายหลัง จึงต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยครับ
8. การรับประกัน และบริการหลังการขาย
เมื่อเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่ถูกใจได้แล้ว ควรตรวจสอบเรื่องระยะการคุ้มครองหรือรับประกันผลิตภัณฑ์ด้วยครับว่ามีระยะการรับประกันยาวนานแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีระยะการรับประกันผลิตภัณฑ์ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีศูนย์ซ่อมกระจายตัวอยู่ในหลายๆ พื้นที่ มีเบอร์โทรศัพท์โดยตรงสำหรับ call center หรือกรณีที่ซื้อ เครื่องทำน้ำอุ่น ติดตั้งฟรี ก็ควรตรวจสอบระยะเวลารับประกันการติดตั้งด้วยครับ
วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยตนเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันเครื่องทำน้ำอุ่นกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นสำคัญสำหรับห้องน้ำที่หลายคนขาดไม่ได้ไปแล้ว เพราะการอาบน้ำอุ่นนั้นช่วยลดความเมื่อยล้า ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจากการทำงาน หรือหลังจากการเล่นกีฬาหนักๆ ได้ เป็นการช่วยเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี อีกทั้ง วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้าอยู่บ้าง แค่อาศัย หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ไม่กี่ข้อเท่านั้นครับ
ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นเอง ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง
เครื่องทำน้ำอุ่น ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟสูง ดังนั้น การเลือกใช้อุปกณ์ต่างๆ สำหรับการติดตั้งจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน ไม่ควรใช้สายไฟหรือท่อราคาถูก เพราะเมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะสายไฟหรือท่อเหล่านี้อาจมีการเปราะแตกหรือรั่วได้ครับ นอกจากนี้ต้องเตรียม เบรกเกอร์กันดูด เครื่องทำน้ำอุ่น ที่ได้มาตรฐาน , สว่านแบบกระแทกสำหรับเจาะผนังพร้อมดอกสว่านและพุก , ไขควงขันสกรู และสกรูครับ
วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ให้ปลอดภัยหายห่วง
หลังจากเตรียมอุปกรณ์สำหรับการติดตั้งพร้อมแล้ว เบื้องต้นให้ศึกษาข้อมูลจากคู่มือการติดตั้งที่ได้มากับตัวเครื่องก่อนครับว่าเครื่องทำน้ำอุ่นที่เลือกซื้อมามีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ หรือข้อควรระวังอะไรในระหว่างติดตั้งหรือไม่ หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งด้วย หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนี้ครับ
1. กำหนด ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น
สำรวจจากพื้นที่ ณ จุดที่ต้องการติดตั้ง โดยให้ ความสูงของการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น อยู่สูงจากพื้นห้องน้ำส่วนติดตั้งประมาณ 160 – 170 ซม. ซึ่ง ความสูงของการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ในระดับนี้ จะทำให้สามารถใช้งานตัวเครื่องได้ง่าย และควรติดตั้งให้อยู่ใกล้กับฝักบัวอาบน้ำด้วยครับ
2. ปิดเบรกเกอร์ที่เมนสวิตซ์
หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้านจำเป็นต้องปิดเบรกเกอร์ที่เมนสวิตซ์ หรือที่ตู้คอนซูมเมอรร์ยูนิตในกรณีที่ต้องเดินสายไฟใหม่เพื่อความปลอดภัยระหว่างการติดตั้ง แต่กรณีที่มีการเดินสายไฟของเดิมไว้อยู่แล้วก็ให้ปิดเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ควบคุมเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นที่เมนสวิตซ์ให้ยังสามารถใช้ไฟฟ้าในบริเวณอื่นๆ ได้อยู่ก็ได้เช่นกันครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อ่านความรู้เรื่องอุปกรณ์ห้องน้ำเพิ่มเติมได้ที่ มาเปลี่ยนส้วมนั่งยองเป็นสุขภัณฑ์เพื่อสุขภาพกัน
อ่านความรู้เรื่องอุปกรณ์ห้องน้ำเพิ่มเติมได้ที่ วิธีเลือกก๊อกอ่างล้างหน้า ให้ถูกใจและใช้งานได้จริง
3. เจาะยึดเครื่องทำน้ำอุ่นเข้ากับผนัง
เมื่อกำหนด ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เรียบร้อยแล้วให้ใช้สว่านไฟฟ้า หรือสว่านไร้สายแบบกระแทกพร้อมดอกสว่านแบบเจาะปูนหรือเจาะผนังตามวัสดุผนังห้องน้ำที่ต้องการยึดเจาะ ทำการเจาะผนัง ใส่พุก แล้วใช้ค้อนค่อยๆ ตอกพุกจนฝังเข้าไปในผนังทั้งตัวแล้วตรวจสอบดูว่าพุกแน่นหนา ไม่เลื่อนหลุดออกมาได้โดยง่าย แล้วจึงใช้ไขควงขันสกรูยึดตัวเครื่องทำน้ำอุ่นเข้ากับผนังให้มั่นคงแข็งแรงครับ
4. เดินสายไฟและติดตั้ง เบรกเกอร์กันดูด เครื่องทำน้ำอุ่น
เดินสายไฟจากเมนสวิตซ์ด้วยสายไฟเบอร์ 4 ซึ่งเป็นสายไฟขนาด 2×4 ตร.มม. มายังบริเวณหน้าห้องน้ำเพราะ วิธีติดตั้งเบรกเกอร์เครื่องทำน้ำอุ่น ที่ถูกต้องไม่ควรนำเบรกเกอร์ไปติดตั้งไว้ภายในห้องน้ำ หรือบริเวณใกล้ๆ เครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตขณะใช้งานได้ครับ นอกจากนี้ วิธีติดตั้งเบรกเกอร์เครื่องทำน้ำอุ่น จะต้องเลือกขนาดของเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับกำลังวัตต์ของเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยครับ โดยเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,500 วัตต์ ควรใช้เบรกเกอร์ขนาด 20A. และใช้สายไฟขนาด 6 ตร.มม. ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4,500 – 6,000 วัตต์ ควรใช้เบรกเกอร์ขนาด 32A. ก่อนจะเดินสายไฟต่อเข้าเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรครับ
*อ่านรายละเอียดต่อใน Comment นะครับ*
วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ด้วยตัวเองให้ปลอดภัย มั่นใจหายห่วง!
ย้อนกลับไปในช่วงที่มีนวัตกรรมเครื่องทำน้ำอุ่นออกมาใหม่ๆ วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นหนึ่งในงานช่างไฟฟ้าที่หลายคนอาจจะต้องพึ่งพา ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น มาช่วยติดตั้งให้ หรือต้องเลือกซื้อ เครื่องทำน้ำอุ่น ติดตั้งฟรี เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัยในระหว่างการติดตั้งและการใช้งาน แต่ในปัจจุบันที่แทบทุกบ้านมีเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าคู่บ้านกันไปแล้ว หลายคนก็กล้าที่จะติดตั้งด้วยตัวเองมากขึ้น เพราะจริงๆ แล้ว วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น สามารถทำเองได้หากมีอุปกรณ์ครบถ้วน และไม่ยากอย่างที่คิด แต่จะมีขั้นตอนการติดตั้งและวิธีการเลือกซื้ออย่างไร HomeGuru มีคำตอบมาให้ครับ
วิธีเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่น
เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้งานคู่กับฝักบัวอาบน้ำหรือก๊อกน้ำ โดยทำหน้าที่เหมือนเป็นตัวกลางเปลี่ยนน้ำธรรมดาให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นด้วยฮีตเตอร์ในตัวเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปสามารถแบ่งเครื่องทำน้ำอุ่นได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องทำน้ำอุ่นแบบจุดเดียว ที่ใช้กันเป็นที่แพร่หลายทั่วไปในบ้าน กับเครื่องทำน้ำอุ่นแบบหลายจุด ที่จะติดตั้งจุดเดียวแต่สามารถทำน้ำอุ่นได้หลายจุดพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้แต่ละรุ่นแต่ละแบบก็มีฟังก์ชั่นการทำงานหลากหลายแตกต่างกันออกไป การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจึงต้องพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ดังนี้ครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
1. ความต้องการใช้งาน และขนาดของที่อยู่อาศัย
หากเป็นครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านไม่มาก หรือต้องการติดตั้งที่คอนโดมิเนียม จะเหมาะกับเครื่องทำน้ำอุ่นประเภท Single Point หรือเครื่องทำน้ำอุ่นแบบจุดเดียว แต่หากเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ที่ต้องการใช้น้ำอุ่นหลายจุดพร้อมๆ กัน ไม่ใช่เฉพาะแค่ฝักบัวอาบน้ำ แต่อาจรวมไปถึงอ่างอาบน้ำ อ่างล้างหน้า หรือในห้องน้ำสำรองห้องอื่นๆ ด้วย กรณีนี้ควรเลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นประเภท Multi Point ที่สามารถให้ความร้อนของน้ำได้หลายจุดผ่านทางท่อน้ำร้อน และวาล์วที่ผสมติดตั้งไว้ในบ้าน ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีผลกับ ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และมี วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ที่แตกต่างกันออกไปครับ
2. กำลังไฟฟ้าในบ้าน
เป็นอีกจุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบครับ เพราะการเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีกำลังไฟเหมาะสมกับมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการใช้งานเหมาะสมจนไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาครับ ตัวอย่างเช่น หากมิเตอร์ไฟฟ้ามีขนาด 5(15) ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 3,500 วัตต์ , มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 15(45) ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นกำลังไฟไม่เกิน 4,500 วัตต์ หรือ 6,000 วัตต์ครับ
3. ประเภทของหม้อต้ม
หม้อต้มของเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นมีหลายประเภท เช่น หม้อต้มทองแดง ที่ทนทานความร้อนจากแรงดันน้ำได้ดี อายุการใช้งานยาวนาน แต่ราคาค่อนข้างสูง , หม้อต้มแบบพลาสติก ที่ให้ความร้อนเร็ว ประหยัดพลังงาน ราคาค่อนข้างถูก แต่อายุการใช้งานน้อยกว่าแบบทองแดง หรือ หม้อต้มที่ใช้ขดลวดทองแดงในการให้ความร้อน ที่ให้ความร้อนได้เร็ว แต่อุณหภูมิน้ำไม่ค่อยคงที่ครับ นอกจากนี้การเลือกหม้อต้มอาจต้องพิจารณาจากสภาพอากาศในพื้นที่ที่ต้องการติดตั้งด้วย เช่น หากเป็นรีสอร์ทที่มีความต้องการใช้น้ำปริมาณมากและมีสภาพอากาศหนาวเย็นกว่าพื้นที่ทั่วไป อาจต้องเลือกหม้อต้มขนาดใหญ่ด้วยระบบแก๊ส เป็นต้น
4. ความปลอดภัย
เนื่องจากเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องติดตั้งภายในห้องน้ำจึงต้องคำนึงถึงระบบความปลอดภัยของตัวเครื่องเป็นหลักครับ นอกเหนือจากการติดตั้งสายดินต้องตรวจสอบก่อนซื้อว่าเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่นนั้นๆ มีระบบนิรภัยกี่จุด และทำงานอย่างไรบ้าง เช่น ระบบ ELSD (Earth Leakage Safety Device) ที่จะตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อมีไฟฟ้ารั่ว , ระบบ ELCB (Earth Leakage Circuit Breaker) ที่จะตัดการทำงานของเครื่องโดยอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิของน้ำสูงเกินขนาด , ระบบ Automatic Flow Switch on/off Control ที่จะช่วยควบคุมให้เครื่องสามารถทำงานได้เฉพาะเวลาที่มีน้ำไหลผ่านเท่านั้น , ระบบป้องกันหม้อทำความร้อนไหม้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องตรวจสอบส่วนประกอบอื่นๆ ของตัวเครื่องให้สายไฟทุกเส้นได้มาตรฐาน , ตัวเครื่องควรมียางป้องกันน้ำเข้าทางช่องร้อยสายไฟ และควรได้รับมาตรฐาน IP25 ที่หมายถึงสามารถป้องกันน้ำและฝุ่นเข้าเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
5. เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน
เครื่องทำน้ำอุ่นถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟมาก หรือกินไฟสูงเป็นอันดับต้นๆ ในบ้าน การเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นจึงต้องตรวจสอบดูว่าใช้พลังงานประมาณกี่วัตต์ และมีสัญลักษณ์ฉลากประหยัดไฟหรือไม่ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายที่จะตามมาภายหลังครับ
6. ฟังก์ชั่นเสริม
นอกจากฟังก์ชั่นการใช้งานหลักๆ แล้ว ควรพิจารณาฟังก์ชั่นเสริมเพิ่มความคุ้มค่าอื่นๆ ของเครื่องทำน้ำอุ่นในแต่ละรุ่นด้วยครับ เช่น อุปกรณ์ที่แถมมาให้ , ระบบป้องกันตะกรันหรือสิ่งสกปรก , การป้องกันตัวเครื่องเสียหาย , หน้าจอแสดงผลแบบติจิทัล เป็นต้น
7. เปรียบเทียบราคา
เครื่องทำน้ำอุ่นในปัจจุบันมีให้เลือกซื้อหลายรุ่น หลายแบรนด์ และหลายราคาตามฟังก์ชั่นละคุณสมบัติต่างๆ ที่เป็นตัวแปร ดังนั้น ก่อนเลือกซื้อจึงต้องตรวจสอบทั้งรายละเอียดและราคาให้ดี รวมทั้งต้องคำนวนค่าไฟฟ้าเผื่อไว้ล่วงหน้าแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน เพื่อให้ได้เครื่องทำน้ำอุ่นที่คุ้มค่าที่สุด ทั้งนี้ เครื่องทำน้ำอุ่นหลาย ๆ รุ่นจะมีโปรโมชั่นติดตั้งฟรีมาคู่กันอยู่แล้ว แต่บางรุ่นอาจมีค่าบริการติดตั้ง หากไม่ทราบ วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ด้วยตัวเอง ก็อาจต้องจ้าง ช่างติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ภายหลัง จึงต้องพิจารณาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วยครับ
8. การรับประกัน และบริการหลังการขาย
เมื่อเลือกเครื่องทำน้ำอุ่นที่ถูกใจได้แล้ว ควรตรวจสอบเรื่องระยะการคุ้มครองหรือรับประกันผลิตภัณฑ์ด้วยครับว่ามีระยะการรับประกันยาวนานแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีระยะการรับประกันผลิตภัณฑ์ประมาณ 5 ปี นอกจากนี้ควรเลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นที่มีศูนย์ซ่อมกระจายตัวอยู่ในหลายๆ พื้นที่ มีเบอร์โทรศัพท์โดยตรงสำหรับ call center หรือกรณีที่ซื้อ เครื่องทำน้ำอุ่น ติดตั้งฟรี ก็ควรตรวจสอบระยะเวลารับประกันการติดตั้งด้วยครับ
วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยตนเอง
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันเครื่องทำน้ำอุ่นกลายเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นสำคัญสำหรับห้องน้ำที่หลายคนขาดไม่ได้ไปแล้ว เพราะการอาบน้ำอุ่นนั้นช่วยลดความเมื่อยล้า ความตึงเครียดของกล้ามเนื้อจากการทำงาน หรือหลังจากการเล่นกีฬาหนักๆ ได้ เป็นการช่วยเสริมสร้างสุขอนามัยที่ดี อีกทั้ง วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเรื่องระบบไฟฟ้าอยู่บ้าง แค่อาศัย หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ไม่กี่ข้อเท่านั้นครับ
ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นเอง ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง
เครื่องทำน้ำอุ่น ถือเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟสูง ดังนั้น การเลือกใช้อุปกณ์ต่างๆ สำหรับการติดตั้งจะต้องเป็นอุปกรณ์ที่ได้รับมาตรฐาน ไม่ควรใช้สายไฟหรือท่อราคาถูก เพราะเมื่อผ่านการใช้งานไปสักระยะสายไฟหรือท่อเหล่านี้อาจมีการเปราะแตกหรือรั่วได้ครับ นอกจากนี้ต้องเตรียม เบรกเกอร์กันดูด เครื่องทำน้ำอุ่น ที่ได้มาตรฐาน , สว่านแบบกระแทกสำหรับเจาะผนังพร้อมดอกสว่านและพุก , ไขควงขันสกรู และสกรูครับ
วิธีติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ให้ปลอดภัยหายห่วง
หลังจากเตรียมอุปกรณ์สำหรับการติดตั้งพร้อมแล้ว เบื้องต้นให้ศึกษาข้อมูลจากคู่มือการติดตั้งที่ได้มากับตัวเครื่องก่อนครับว่าเครื่องทำน้ำอุ่นที่เลือกซื้อมามีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ หรือข้อควรระวังอะไรในระหว่างติดตั้งหรือไม่ หลังจากนั้นจึงเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งด้วย หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ดังนี้ครับ
1. กำหนด ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น
สำรวจจากพื้นที่ ณ จุดที่ต้องการติดตั้ง โดยให้ ความสูงของการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น อยู่สูงจากพื้นห้องน้ำส่วนติดตั้งประมาณ 160 – 170 ซม. ซึ่ง ความสูงของการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น ในระดับนี้ จะทำให้สามารถใช้งานตัวเครื่องได้ง่าย และควรติดตั้งให้อยู่ใกล้กับฝักบัวอาบน้ำด้วยครับ
2. ปิดเบรกเกอร์ที่เมนสวิตซ์
หลักการติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดภายในบ้านจำเป็นต้องปิดเบรกเกอร์ที่เมนสวิตซ์ หรือที่ตู้คอนซูมเมอรร์ยูนิตในกรณีที่ต้องเดินสายไฟใหม่เพื่อความปลอดภัยระหว่างการติดตั้ง แต่กรณีที่มีการเดินสายไฟของเดิมไว้อยู่แล้วก็ให้ปิดเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ควบคุมเฉพาะเครื่องทำน้ำอุ่นที่เมนสวิตซ์ให้ยังสามารถใช้ไฟฟ้าในบริเวณอื่นๆ ได้อยู่ก็ได้เช่นกันครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. เจาะยึดเครื่องทำน้ำอุ่นเข้ากับผนัง
เมื่อกำหนด ตำแหน่งติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่น เรียบร้อยแล้วให้ใช้สว่านไฟฟ้า หรือสว่านไร้สายแบบกระแทกพร้อมดอกสว่านแบบเจาะปูนหรือเจาะผนังตามวัสดุผนังห้องน้ำที่ต้องการยึดเจาะ ทำการเจาะผนัง ใส่พุก แล้วใช้ค้อนค่อยๆ ตอกพุกจนฝังเข้าไปในผนังทั้งตัวแล้วตรวจสอบดูว่าพุกแน่นหนา ไม่เลื่อนหลุดออกมาได้โดยง่าย แล้วจึงใช้ไขควงขันสกรูยึดตัวเครื่องทำน้ำอุ่นเข้ากับผนังให้มั่นคงแข็งแรงครับ
4. เดินสายไฟและติดตั้ง เบรกเกอร์กันดูด เครื่องทำน้ำอุ่น
เดินสายไฟจากเมนสวิตซ์ด้วยสายไฟเบอร์ 4 ซึ่งเป็นสายไฟขนาด 2×4 ตร.มม. มายังบริเวณหน้าห้องน้ำเพราะ วิธีติดตั้งเบรกเกอร์เครื่องทำน้ำอุ่น ที่ถูกต้องไม่ควรนำเบรกเกอร์ไปติดตั้งไว้ภายในห้องน้ำ หรือบริเวณใกล้ๆ เครื่องทำน้ำอุ่น เนื่องจากอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตขณะใช้งานได้ครับ นอกจากนี้ วิธีติดตั้งเบรกเกอร์เครื่องทำน้ำอุ่น จะต้องเลือกขนาดของเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับกำลังวัตต์ของเครื่องทำน้ำอุ่นด้วยครับ โดยเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 3,500 วัตต์ ควรใช้เบรกเกอร์ขนาด 20A. และใช้สายไฟขนาด 6 ตร.มม. ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นขนาด 4,500 – 6,000 วัตต์ ควรใช้เบรกเกอร์ขนาด 32A. ก่อนจะเดินสายไฟต่อเข้าเครื่องทำน้ำอุ่นเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรครับ
*อ่านรายละเอียดต่อใน Comment นะครับ*