"รบกวนอ่านในครบครับ" งดดราม่า มาหาความรู้
ขออนุญาตครับ ไม่ได้มีเจตนาจะทำให้หมู่บ้านเสียหายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง แค่อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับการครอบครองงู เอาไว้เป็นความรู้สำหรับผู้ที่สนใจแบบกระผม
เข้าเรื่องเลยครับ " พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๓๕ " (หมายเหตุ : ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๖๒)
รายชื่องูติดพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่กระผมพบเห็นในหมู่บ้านบ่อยครั้งตามข่าวและรายการทีวีต่างๆ
สัตว์ป่าจําพวกสัตว์เลื้อยคลาน
01. งูจงอาง (Ophiophagus hannah)
02. งูทางมะพร้าวลายขีด (Elaphe radiata)
03. งูสิงหางลาย หรือ งูสิงลาย (Ptyas mucosus)
04. งูหลาม (Python molurus bivittatus)
05. งูเหลือม (Python reticulatus)
หมายเหตุ : พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๖๒ อนุญาตให้มีการเลี้ยงและเพาะพันธุ์งูสิงหางลาย หรือ งูสิงลาย (Ptyas mucosus) โดยต้องนำงูมาจากศุนย์เพาะพันธุ์ ไม่สามารถนำงูในธรรมชาติมาขึ้นทะเบียนขออนุญาตได้
คำถาม 1. หมู่บ้านงูจงอาง ทำไมสามารถครอบครองสัตว์ป่าที่ติดพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้
2. ผมเคยเห็นรายการหนึ่งที่พาไปชม ชาวบ้านไปจับงูจงอางมาจากในธรรมชาติ สามารถทำได้เหรอ???
ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวหาหมู่บ้านงูจงอาง แต่เท่าที่ผมวิเคราะห์เบื้องต้นคือ เค้าอนุโลมให้ชาวบ้านครอบครองได้ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ เอาไว้เลี้ยงชีพคนในครอบครัว
ขอแนบข้อกฎหมายไปด้วย
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
หมวด ๓ การล่า การเพาะพันธุ์ การครอบครอง และการค้าซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า
มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา ๑๗ ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ตามมาตรา ๑๘ (๑) ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
(๒) การครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตามมาตรา ๒๙ และได้จัดแสดงไว้ในสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาต
ให้จัดตั้งขึ้น
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(พ.ศ. 2546)
เรื่อง ห้ามเลี้ยงดูหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่า
สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลื้อยคลาน 63 รายการ รวม 90 ชนิด เช่น กิ้งก่าดง กิ้งก่าบิน งูจงอาง งูสิง งูแสงอาทิตย์ งูหลาม งูเหลือม จระเข้ ตะกวด เต่า ตะพาบ ตุ๊กแกป่า เป็นต้น
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงขอแจ้งให้ประชาชนทั่วไป ทราบ และห้ามเลี้ยงดู หรือครอบครอง หรือกระทำการค้าซึ่งสัตว์ป่าฯ และซากของสัตว์ป่าฯ ดังกล่าว หากฝ่าฝืนจะมีความผิด
จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ( ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2562 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
"ประกาศ ณ วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2546"
อ้างอิง
รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง
http://www.verdantplanet.org/protect/protectedanimal.php
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/015/1.PDF
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
https://www.dnp.go.th/Provide/prohibit_wildlife.htm
!!!!! ขอความร่วมมือแสดงความคิดเห็นอย่างคนมีการศึกษา !!!!!
หมู่บ้านงูจงอาง บ้านโคกสง่า | งูในหมู่บ้านมีใบอนุญาตครอบครองไหมครับ
เข้าเรื่องเลยครับ " พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๓๕ " (หมายเหตุ : ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. ๒๕๖๒)
รายชื่องูติดพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่กระผมพบเห็นในหมู่บ้านบ่อยครั้งตามข่าวและรายการทีวีต่างๆ
สัตว์ป่าจําพวกสัตว์เลื้อยคลาน
คำถาม 1. หมู่บ้านงูจงอาง ทำไมสามารถครอบครองสัตว์ป่าที่ติดพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ได้
2. ผมเคยเห็นรายการหนึ่งที่พาไปชม ชาวบ้านไปจับงูจงอางมาจากในธรรมชาติ สามารถทำได้เหรอ???
ทั้งนี้ไม่ได้มีเจตนากล่าวหาหมู่บ้านงูจงอาง แต่เท่าที่ผมวิเคราะห์เบื้องต้นคือ เค้าอนุโลมให้ชาวบ้านครอบครองได้ เนื่องจาก เป็นสิ่งที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ เอาไว้เลี้ยงชีพคนในครอบครัว
ขอแนบข้อกฎหมายไปด้วย
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
หมวด ๓ การล่า การเพาะพันธุ์ การครอบครอง และการค้าซึ่งสัตว์ป่า ซากของสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากซากของสัตว์ป่า
มาตรา ๑๙ ห้ามมิให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวน หรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง เว้นแต่จะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่กำหนดตามมาตรา ๑๗ ที่ได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว และโดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดี และต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) การครอบครองสัตว์ป่าคุ้มครองของผู้รับใบอนุญาตเพาะพันธุ์ตามมาตรา ๑๘ (๑) ที่มีไว้เพื่อการเพาะพันธุ์หรือได้มาจากการเพาะพันธุ์ หรือซากของสัตว์ป่าดังกล่าว
(๒) การครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง ซากของสัตว์ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อกิจการสวนสัตว์สาธารณะของผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งและดำเนินกิจการสวนสัตว์สาธารณะตามมาตรา ๒๙ และได้จัดแสดงไว้ในสวนสัตว์สาธารณะที่ได้รับอนุญาต
ให้จัดตั้งขึ้น
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช(พ.ศ. 2546)
เรื่อง ห้ามเลี้ยงดูหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือซากของสัตว์ป่า
สัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกเลื้อยคลาน 63 รายการ รวม 90 ชนิด เช่น กิ้งก่าดง กิ้งก่าบิน งูจงอาง งูสิง งูแสงอาทิตย์ งูหลาม งูเหลือม จระเข้ ตะกวด เต่า ตะพาบ ตุ๊กแกป่า เป็นต้น
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงขอแจ้งให้ประชาชนทั่วไป ทราบ และห้ามเลี้ยงดู หรือครอบครอง หรือกระทำการค้าซึ่งสัตว์ป่าฯ และซากของสัตว์ป่าฯ ดังกล่าว หากฝ่าฝืนจะมีความผิด จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ( ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2562 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ)
รายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง http://www.verdantplanet.org/protect/protectedanimal.php
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/A/015/1.PDF
พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/071/T_0104.PDF
ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช https://www.dnp.go.th/Provide/prohibit_wildlife.htm