ได้เวลาราคาเหล็กกลับมาเริ่มขาลงหรือยัง
https://www.msn.com/th-th/news/world/%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA-%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99/ar-BB1cZxUt?ocid=msedgdhp
วันแรกการเข้าปฏิบัติภารกิจในตำหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน (20 ม.ค.64)ได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วโลก เมื่อเขาได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร 17 ฉบับรวด ส่วนหนึ่งได้ยกเลิกคำสั่งที่มีผลต่อนานาประเทศที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยทำเอาไว้ เช่น เกี่ยวกับการรับมือโรคระบาด(โควิด-19) จะให้ประชาชนในใส่หน้ากากในพื้นที่สาธาณะ ยกเลิกการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก(WHO) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น กลับเข้าร่วมความตกลงปารีส(ลดโลกร้อน)ใน 30 วัน เป็นต้น ไม่นับรวมอีกหลายนโยบายที่ไบเดนได้หาเสียงไว้ก่อนหน้า ซึ่งหากมีการดำเนินการนโยบายจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน
ถอดรหัสคำสั่งไบเดน
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คำสั่ง 17 ฉบับรวดของไบเดน แปลความหมายหรือถอดรหัสได้ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว เช่น เกี่ยวกับการรับมือโรคระบาด ที่ให้ประชาชนในหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ (ก่อนหน้านี้ไบเดนได้ประกาศยุทธศาสตร์แก้โควิดช่วง 100 วันแรกของการปฏิบัติหน้าที่โดยจะจัดสรรงบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในการฉีดวัคซีนฟรีให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ 100 ล้านคน) จะเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกถุงมือยาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อโรคไปยังสหรัฐฯได้เพิ่ม
การกลับเข้าร่วมความตกลงปารีส ถอดรหัส คือ สหรัฐและพันธมิตรจะเอาจริงในการลดภาวะโลกร้อน และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากไทยไม่ปรับตัวผลิตสินค้าที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนก็จะอาจจะถูกหยิบยกเป็นประเด็นกีดกันการค้า แต่หากปรับตัวได้ก็จะได้รับอานิสงส์ส่งออกสินค้าได้เพิ่ม รวมถึงนโยบายพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานน้ำมันที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก (ไบเดนประกาศช่วงหาเสียงมีแผนลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด) จะส่งผลถึงสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่จะต้องถูกกำหนดเงื่อนไขให้ดำเนินการมากขึ้น หากจะค้าขายกับสหรัฐฯ และพันธมิตร เป็นต้น
“ข้างต้นคือการถอดรหัสตัวอย่างจากคำสั่ง 17 ฉบับของไบเดนที่จะเร่งดำเนินการช่วง 100 วันแรก และ 100 วันถัดไปคงมีนโยบายต่างๆ ออกมาอีก ผู้ประกอบการของไทยต้องติดตามใกล้ชิดและต้องปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบเพราะจะมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ”
เปิดสินค้าไทยได้-เสีย
ด้านนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไบเดน (1.9 ล้านล้านดอลลาร์) จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของชนชั้นกลางที่เป็นกำลังซื้อหลักของประเทศ จะสนับสนุนให้สหรัฐฯฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง ล่าสุด (ม.ค.64) ธนาคารโลกประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.5% จะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของชาวอเมริกัน รวมถึงเศรษฐกิจโลกและการซื้อสินค้าจากไทย
ส่วนมาตรการระงับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของสหรัฐฯที่จะเข้มงวดมากขึ้น จะสร้างโอกาสการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันโรค/ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง นอกจากนี้ไทยควรเร่งผลักดันการส่งออกสินค้ากลุ่มที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ อาหารทุกประเภท สินค้าที่เป็นกลุ่ม work from home เช่น คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน สินค้าไลฟ์สไตล์ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นของบริษัทสหรัฐฯในไทย
มาตรการทางการค้าของไบเดนที่จะส่งผลกระทบด้านลบต่อไทยได้แก่ นโยบาย “Buy American” ที่กำหนดให้ภาครัฐเพิ่มการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งการใช้สินค้าเหล็ก อลูมิเนียม และวัตถุดิบภายใต้โครงการสำคัญของรัฐบาล อาจจะสร้างแรงกดดันต่อการส่งออกสินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ (ปัจจุบันสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อันดับ 1 ของไทย มูลค่า 943.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีสัดส่วน 21.4% ของการส่งออกช่วง 11 เดือนแรกปี 2563)
“ขณะที่การกลับเข้าไปเป็นสมาชิกความตกลงปารีสของสหรัฐฯ เป้าหมายเพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะสร้างแรงกดดันต่อสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอาจกระทบต่อการส่งออกรถยนต์สันดาปภายในของไทย (สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกเครื่องยนต์สันดาปภายในอันดับ 6 ของไทย) อีกทั้งอาจกระตุ้นให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการสหรัฐตื่นตัวและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการของสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่นการติดฉลากบ่งชี้ระดับการปล่อยคาร์บอน หรือให้บริษัทผู้ผลิตเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด อาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย”
ลุ้นมะกันลงทุนไทยเพิ่ม
ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไบเดนเป็นผู้นำสหรัฐฯไทยมีทั้งได้และเสีย ในส่วนสงครามการค้าของสหรัฐฯกับจีนและกับทั่วโลกน่าจะดีขึ้น ที่ต้องจับตาคือความสัมพันธ์กับจีนในยุคไบเดนจะดีขึ้นแค่ไหน หากดีขึ้นจะส่งผลบวกต่อโลกและต่อไทย และสหรัฐฯยุคไบเดนที่เน้นสร้างความร่วมมือและพันธมิตรทางการค้าน่าจะทำให้การค้าการลงทุนไทย-สหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในอีอีอีซี (สหรัฐฯอยู่อันดับ 7 ของต่างชาติที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอของไทย โดย 9 เดือนแรกปี 2563 มีจำนวน 31 โครงการ เงินลงทุน 2,981 ล้านบาท)
ที่มา : หน้า 1ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,647 วันที่ 24 - 27 มกราคม พ.ศ. 2564
========ถอดรหัส‘ไบเดน’ เหล็ก-รถยนต์ป่วน=======
https://www.msn.com/th-th/news/world/%E0%B8%96%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%AA-%E0%B9%84%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81-%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99/ar-BB1cZxUt?ocid=msedgdhp
วันแรกการเข้าปฏิบัติภารกิจในตำหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 46 ของนายโจ ไบเดน (20 ม.ค.64)ได้สร้างความตื่นตะลึงไปทั่วโลก เมื่อเขาได้ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร 17 ฉบับรวด ส่วนหนึ่งได้ยกเลิกคำสั่งที่มีผลต่อนานาประเทศที่อดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เคยทำเอาไว้ เช่น เกี่ยวกับการรับมือโรคระบาด(โควิด-19) จะให้ประชาชนในใส่หน้ากากในพื้นที่สาธาณะ ยกเลิกการถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก(WHO) เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เช่น กลับเข้าร่วมความตกลงปารีส(ลดโลกร้อน)ใน 30 วัน เป็นต้น ไม่นับรวมอีกหลายนโยบายที่ไบเดนได้หาเสียงไว้ก่อนหน้า ซึ่งหากมีการดำเนินการนโยบายจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างแน่นอน
ถอดรหัสคำสั่งไบเดน
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คำสั่ง 17 ฉบับรวดของไบเดน แปลความหมายหรือถอดรหัสได้ว่า เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว เช่น เกี่ยวกับการรับมือโรคระบาด ที่ให้ประชาชนในหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ (ก่อนหน้านี้ไบเดนได้ประกาศยุทธศาสตร์แก้โควิดช่วง 100 วันแรกของการปฏิบัติหน้าที่โดยจะจัดสรรงบ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ในการฉีดวัคซีนฟรีให้ประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์ 100 ล้านคน) จะเป็นโอกาสของไทยในการส่งออกถุงมือยาง อุปกรณ์ทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์ป้องกันเชื้อโรคไปยังสหรัฐฯได้เพิ่ม
การกลับเข้าร่วมความตกลงปารีส ถอดรหัส คือ สหรัฐและพันธมิตรจะเอาจริงในการลดภาวะโลกร้อน และรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากไทยไม่ปรับตัวผลิตสินค้าที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนก็จะอาจจะถูกหยิบยกเป็นประเด็นกีดกันการค้า แต่หากปรับตัวได้ก็จะได้รับอานิสงส์ส่งออกสินค้าได้เพิ่ม รวมถึงนโยบายพลังงานสะอาด หรือพลังงานหมุนเวียนทดแทนพลังงานน้ำมันที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลก (ไบเดนประกาศช่วงหาเสียงมีแผนลงทุนกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ในอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด) จะส่งผลถึงสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่จะต้องถูกกำหนดเงื่อนไขให้ดำเนินการมากขึ้น หากจะค้าขายกับสหรัฐฯ และพันธมิตร เป็นต้น
“ข้างต้นคือการถอดรหัสตัวอย่างจากคำสั่ง 17 ฉบับของไบเดนที่จะเร่งดำเนินการช่วง 100 วันแรก และ 100 วันถัดไปคงมีนโยบายต่างๆ ออกมาอีก ผู้ประกอบการของไทยต้องติดตามใกล้ชิดและต้องปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบเพราะจะมีผลทั้งด้านบวกและด้านลบ”
เปิดสินค้าไทยได้-เสีย
ด้านนางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า มาตรการเยียวยาและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของไบเดน (1.9 ล้านล้านดอลลาร์) จะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจและการจ้างงานของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการฟื้นตัวของชนชั้นกลางที่เป็นกำลังซื้อหลักของประเทศ จะสนับสนุนให้สหรัฐฯฟื้นตัวได้ดีต่อเนื่อง ล่าสุด (ม.ค.64) ธนาคารโลกประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2564 จะขยายตัวที่ 3.5% จะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของชาวอเมริกัน รวมถึงเศรษฐกิจโลกและการซื้อสินค้าจากไทย
ส่วนมาตรการระงับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของสหรัฐฯที่จะเข้มงวดมากขึ้น จะสร้างโอกาสการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับการป้องกันโรค/ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ เช่น ถุงมือยาง นอกจากนี้ไทยควรเร่งผลักดันการส่งออกสินค้ากลุ่มที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ได้แก่ อาหารทุกประเภท สินค้าที่เป็นกลุ่ม work from home เช่น คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน สินค้าไลฟ์สไตล์ เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นของบริษัทสหรัฐฯในไทย
มาตรการทางการค้าของไบเดนที่จะส่งผลกระทบด้านลบต่อไทยได้แก่ นโยบาย “Buy American” ที่กำหนดให้ภาครัฐเพิ่มการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในประเทศเพิ่มขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งการใช้สินค้าเหล็ก อลูมิเนียม และวัตถุดิบภายใต้โครงการสำคัญของรัฐบาล อาจจะสร้างแรงกดดันต่อการส่งออกสินค้าไทยในกลุ่มดังกล่าวไปยังสหรัฐฯ (ปัจจุบันสหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกสินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อันดับ 1 ของไทย มูลค่า 943.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีสัดส่วน 21.4% ของการส่งออกช่วง 11 เดือนแรกปี 2563)
“ขณะที่การกลับเข้าไปเป็นสมาชิกความตกลงปารีสของสหรัฐฯ เป้าหมายเพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะสร้างแรงกดดันต่อสินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และอาจกระทบต่อการส่งออกรถยนต์สันดาปภายในของไทย (สหรัฐฯเป็นตลาดส่งออกเครื่องยนต์สันดาปภายในอันดับ 6 ของไทย) อีกทั้งอาจกระตุ้นให้ภาคเอกชนและผู้ประกอบการสหรัฐตื่นตัวและกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการของสินค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่นการติดฉลากบ่งชี้ระดับการปล่อยคาร์บอน หรือให้บริษัทผู้ผลิตเปิดเผยข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด อาจเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของไทย”
ลุ้นมะกันลงทุนไทยเพิ่ม
ด้านนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ไบเดนเป็นผู้นำสหรัฐฯไทยมีทั้งได้และเสีย ในส่วนสงครามการค้าของสหรัฐฯกับจีนและกับทั่วโลกน่าจะดีขึ้น ที่ต้องจับตาคือความสัมพันธ์กับจีนในยุคไบเดนจะดีขึ้นแค่ไหน หากดีขึ้นจะส่งผลบวกต่อโลกและต่อไทย และสหรัฐฯยุคไบเดนที่เน้นสร้างความร่วมมือและพันธมิตรทางการค้าน่าจะทำให้การค้าการลงทุนไทย-สหรัฐฯปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในอีอีอีซี (สหรัฐฯอยู่อันดับ 7 ของต่างชาติที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอของไทย โดย 9 เดือนแรกปี 2563 มีจำนวน 31 โครงการ เงินลงทุน 2,981 ล้านบาท)
ที่มา : หน้า 1ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 3,647 วันที่ 24 - 27 มกราคม พ.ศ. 2564