คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
จากอาการที่คุณเล่ามา การมีอาการที่ร่างกายรู้สึกตัวแต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือพูดได้ หรืออาจมีอาการเหมือนถูกกด
มักเกิดขึ้นในช่วงใกล้ตื่นหรือช่วงใกล้หลับ อาจจะเกิดจากภาวะของอาการผีอำ หรือที่เรียกว่า สลีพพะแรลลิซิสก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งภาวะนี้
มักพบได้ในคนทั่วๆไป โดยปกติแล้ว ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะมีวงจรการนอนหลับ ซึ่งแต่ละช่วงส่งผลให้ร่างกายมีการทำงานต่างกัน
หากเป็นช่วงหลับที่สมองตื่นตัวทำงานคล้ายตอนเราตื่น ช่วงนี้จะทำให้เรามีการฝัน และร่างกายจะมีการหลั่งสารเพื่อควบคุมตัวเรา
ไม่ให้ขยับมากเกินไปเพื่อป้องกันอันตราย จึงทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถขยับตัวได้ แต่ยังคงหายใจ พูด คิดประมวลผลคล้ายตอนตื่น
ส่วนน้อยที่สามารถลืมตาได้ค่ะ ภาวะนี้เราจึงเรียกว่า ผีอำนั้นเองค่ะ
ทั้งนี้ การเกิดผีอำสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการผีอำมักเกิดได้จากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น นอนไม่พอ ช่วงเวลานอนเปลี่ยนแปลง
นอนหงายนาน ๆ เครียด กังวล หรืออาจเกิดได้จากโรคลมหลับ และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้นค่ะ
ในเบื้องต้น การที่จะช่วยลดภาวะผีอำนั้น สามารถทำได้ค่ะ เช่น ปรับเปลี่ยนการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนและ
ตื่นนอนให้ตรงเวลา เปลี่ยนท่านอนเป็นท่าอื่น ในกรณีที่มักหลับด้วยท่านอนหงาย หรืออาจจะนอนในท่าที่รู้สึกสบาย และลดความเครียดต่างๆ
ก่อนที่จะนอนจะช่วยให้ดีขึ้นค่ะ แต่หากเกิดภาวะผีอำบ่อยๆจนทำให้หวาดกลัวการนอนหลับหรือนอนหลับไม่เพียงพอ มีอาการง่วงนอน
ตอนกลางวัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
มักเกิดขึ้นในช่วงใกล้ตื่นหรือช่วงใกล้หลับ อาจจะเกิดจากภาวะของอาการผีอำ หรือที่เรียกว่า สลีพพะแรลลิซิสก็เป็นได้ค่ะ ซึ่งภาวะนี้
มักพบได้ในคนทั่วๆไป โดยปกติแล้ว ช่วงเวลานอนหลับ ร่างกายจะมีวงจรการนอนหลับ ซึ่งแต่ละช่วงส่งผลให้ร่างกายมีการทำงานต่างกัน
หากเป็นช่วงหลับที่สมองตื่นตัวทำงานคล้ายตอนเราตื่น ช่วงนี้จะทำให้เรามีการฝัน และร่างกายจะมีการหลั่งสารเพื่อควบคุมตัวเรา
ไม่ให้ขยับมากเกินไปเพื่อป้องกันอันตราย จึงทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถขยับตัวได้ แต่ยังคงหายใจ พูด คิดประมวลผลคล้ายตอนตื่น
ส่วนน้อยที่สามารถลืมตาได้ค่ะ ภาวะนี้เราจึงเรียกว่า ผีอำนั้นเองค่ะ
ทั้งนี้ การเกิดผีอำสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร อาการผีอำมักเกิดได้จากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น นอนไม่พอ ช่วงเวลานอนเปลี่ยนแปลง
นอนหงายนาน ๆ เครียด กังวล หรืออาจเกิดได้จากโรคลมหลับ และการใช้ยาบางชนิด เป็นต้นค่ะ
ในเบื้องต้น การที่จะช่วยลดภาวะผีอำนั้น สามารถทำได้ค่ะ เช่น ปรับเปลี่ยนการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนและ
ตื่นนอนให้ตรงเวลา เปลี่ยนท่านอนเป็นท่าอื่น ในกรณีที่มักหลับด้วยท่านอนหงาย หรืออาจจะนอนในท่าที่รู้สึกสบาย และลดความเครียดต่างๆ
ก่อนที่จะนอนจะช่วยให้ดีขึ้นค่ะ แต่หากเกิดภาวะผีอำบ่อยๆจนทำให้หวาดกลัวการนอนหลับหรือนอนหลับไม่เพียงพอ มีอาการง่วงนอน
ตอนกลางวัน แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาหรือเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ตื่นแล้วแต่ขยับไม่ได้