ก่อนจะเริ่มต้นการกู้ซื้อบ้านหรือคอนโด ผู้กู้จำเป็นต้องเตรียมเงินสดนับแสนบาทไว้เพื่อดาวน์บ้าน จึงจะสามารถขอกู้และผ่อนกับธนาคารได้ ใครที่คิดจะซื้อบ้านหรือคอนโดอยู่จึงต้องทำความเข้าใจกับเรื่องเงินดาวน์ให้ดี
เพื่อให้การขอกู้บ้านไม่สะดุดเพียงเพราะเตรียมเงินไม่เพียงพอ นอกจากนี้มีเรื่องของหลักเกณฑ์เงินดาวน์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับผู้ที่กำลังเก็บเงินซื้อบ้านในตอนนี้ด้วย
เงินดาวน์ คือ อะไร?
เงินดาวน์ (ภาษาอังกฤษคือ Down Payment) เป็นเงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อต้องการผ่อนชำระทรัพย์สินมูลค่าสูง โดยผู้ซื้อจะจ่ายเงินดาวน์มากกว่าหรือเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ขายกำหนดไว้ก็ได้ และยิ่งจ่ายดาวน์เยอะขึ้น จำนวนเงินที่จะต้องกู้ก็ยิ่งลดลง
หลักเกณฑ์เงินดาวน์ขั้นต่ำ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้บังคับใช้หลักเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฉบับใหม่ โดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV หรือ Loan to Value) ของการกู้ซื้อบ้านและคอนโดทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก
• บ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 5
• บ้านราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
• คอนโดราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 10
• คอนโดราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2
• ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกมากกว่า 3 ปี ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 10
• ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกน้อยกว่า 3 ปี ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
• ที่อยู่อาศัยราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 3
• บ้านและคอนโดทุกระดับราคา ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 30
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อนจะได้เปรียบจากหลักเกณฑ์นี้ เนื่องจากธนาคารจะเรียกเก็บเงินดาวน์บ้านต่ำสุดเพียงร้อยละ 5 แต่ถ้าต้องการซื้อคอนโด จะต้องใช้เงินดาวน์ร้อยละ 10 เลยทีเดียว
การเตรียมเงินดาวน์
1.บ้านหรือคอนโดพร้อมอยู่
สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดที่พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่งหรือมือสอง ผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเงินดาวน์ไว้เต็มจำนวนตามที่โครงการหรือธนาคารแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายทันทีก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อจึงต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่ให้พร้อมก่อนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยนั้นได้
2.บ้านหรือคอนโดที่กำลังก่อสร้าง
สำหรับการซื้อบ้านและคอนโดที่ยังสร้างไม่เสร็จ ผู้ซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่อยู่อาศัยกับผู้ขาย และโครงการส่วนใหญ่ก็มักจะเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสามารถผ่อนดาวน์บ้านหรือคอนโดได้ตามระยะเวลาที่ตกลงไว้ ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่เพื่อจ่ายดาวน์บ้าน และยังถือเป็นการซ้อมผ่อนบ้านไปในตัวอีกด้วย
ข้อควรระวังในการเตรียมเงินดาวน์
ผู้ที่คิดจะซื้อบ้านต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การกู้บ้านและคอนโดจะได้รับวงเงินอนุมัติไม่เต็มราคาบ้านที่ต้องจ่าย โดยมักจะอยู่ที่ร้อยละ 80-90 ของราคาบ้าน ดังนั้นก่อนซื้อบ้านควรมีเงินสำรองอย่างน้อยร้อยละ 10-20 เพื่อใช้ชำระส่วนต่างของวงเงินที่อนุมัติมาไม่เต็ม เพราะแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงินดาวน์ต่ำสุดไว้เพียงร้อยละ 5 แต่ธนาคารก็สามารถเรียกเงินดาวน์ได้มากกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับประวัติทางการเงินและรายได้ของผู้กู้เอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินดาวน์ไม่พร้อมต้องทำอย่างไร?
ได้เงินดาวน์คืนหรือไม่หากกู้ไม่ผ่าน?
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายดาวน์ก้อนเดียวหรือผ่อนชำระเงินดาวน์ในระหว่างการก่อสร้าง เมื่อยื่นเอกสารให้ธนาคารพิจารณาแล้วกลับขอกู้ไม่ผ่าน ผู้กู้ก็สามารถขอคืนเงินดาวน์ทั้งหมดจากโครงการได้ตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ผู้กู้จะได้รับเงินทำสัญญาและเงินจอง (ถ้ามี) คืนด้วยหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโครงการ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ต้องสูญเงินดังกล่าว ก่อนที่จะจอง ทำสัญญา และจ่ายเงินดาวน์ ขอแนะนำให้ยื่นขอ Pre-approve กับธนาคารต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบในเบื้องต้นว่ามีโอกาสได้รับอนุมัติเงินกู้หรือไม่ และจะได้วงเงินกู้เท่าไร
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pre-approve บริการฟรีที่ช่วยเช็กให้ชัวร์ว่าสินเชื่อผ่านหรือไม่?
สุดท้ายนี้ การพยายามซื้อบ้านหรือคอนโดโดยที่เงินดาวน์ยังไม่พร้อมอาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผู้กู้ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ง่าย ๆ แม้ว่าธนาคารจะอนุมัติวงเงินกู้เต็มราคาบ้าน แต่ผู้กู้ก็ต้องมีเงินดาวน์สำรองเผื่อไว้ก่อนด้วย นั่นก็เพื่อใช้ชำระค่าใช้จ่ายในวันโอน หรือใช้ตกแต่งต่อเติมบ้านก่อนเข้าอยู่ และที่สำคัญยังช่วยลดวงเงินกู้และดอกเบี้ยที่ต้องเสีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้ผ่อนง่ายสบายกว่าเดิมในระยะยาว
ที่มา:
เตรียมเงินดาวน์บ้านและคอนโดเท่าไรจึงจะพอ
เตรียมเงินดาวน์บ้านและคอนโดเท่าไรจึงจะพอ?
เพื่อให้การขอกู้บ้านไม่สะดุดเพียงเพราะเตรียมเงินไม่เพียงพอ นอกจากนี้มีเรื่องของหลักเกณฑ์เงินดาวน์ขั้นต่ำที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งบังคับใช้เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบกับผู้ที่กำลังเก็บเงินซื้อบ้านในตอนนี้ด้วย
เงินดาวน์ คือ อะไร?
เงินดาวน์ (ภาษาอังกฤษคือ Down Payment) เป็นเงินจำนวนหนึ่งที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายเมื่อต้องการผ่อนชำระทรัพย์สินมูลค่าสูง โดยผู้ซื้อจะจ่ายเงินดาวน์มากกว่าหรือเท่ากับจำนวนเงินที่ผู้ขายกำหนดไว้ก็ได้ และยิ่งจ่ายดาวน์เยอะขึ้น จำนวนเงินที่จะต้องกู้ก็ยิ่งลดลง
หลักเกณฑ์เงินดาวน์ขั้นต่ำ
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้บังคับใช้หลักเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยฉบับใหม่ โดยกำหนดเพดานอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV หรือ Loan to Value) ของการกู้ซื้อบ้านและคอนโดทั้งมือหนึ่งและมือสอง โดยมีเนื้อหาโดยสรุปดังนี้
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังแรก
• บ้านราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 5
• บ้านราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
• คอนโดราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 10
• คอนโดราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 2
• ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกมากกว่า 3 ปี ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 10
• ที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และผ่อนชำระที่อยู่อาศัยแห่งแรกน้อยกว่า 3 ปี ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
• ที่อยู่อาศัยราคาสูงกว่า 10 ล้านบาท ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 20
-เมื่อซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่ 3
• บ้านและคอนโดทุกระดับราคา ใช้เงินดาวน์ขั้นต่ำร้อยละ 30
จะเห็นได้ว่าผู้ที่ไม่เคยมีบ้านมาก่อนจะได้เปรียบจากหลักเกณฑ์นี้ เนื่องจากธนาคารจะเรียกเก็บเงินดาวน์บ้านต่ำสุดเพียงร้อยละ 5 แต่ถ้าต้องการซื้อคอนโด จะต้องใช้เงินดาวน์ร้อยละ 10 เลยทีเดียว
การเตรียมเงินดาวน์
1.บ้านหรือคอนโดพร้อมอยู่
สำหรับการซื้อบ้านหรือคอนโดที่พร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านมือหนึ่งหรือมือสอง ผู้ซื้อจำเป็นต้องเตรียมเงินดาวน์ไว้เต็มจำนวนตามที่โครงการหรือธนาคารแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายทันทีก่อนการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อจึงต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่ให้พร้อมก่อนเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยนั้นได้
2.บ้านหรือคอนโดที่กำลังก่อสร้าง
สำหรับการซื้อบ้านและคอนโดที่ยังสร้างไม่เสร็จ ผู้ซื้อจะต้องทำสัญญาจะซื้อจะขายที่อยู่อาศัยกับผู้ขาย และโครงการส่วนใหญ่ก็มักจะเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสามารถผ่อนดาวน์บ้านหรือคอนโดได้ตามระยะเวลาที่ตกลงไว้ ทำให้ผู้ซื้อไม่ต้องเตรียมเงินก้อนใหญ่เพื่อจ่ายดาวน์บ้าน และยังถือเป็นการซ้อมผ่อนบ้านไปในตัวอีกด้วย
ข้อควรระวังในการเตรียมเงินดาวน์
ผู้ที่คิดจะซื้อบ้านต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การกู้บ้านและคอนโดจะได้รับวงเงินอนุมัติไม่เต็มราคาบ้านที่ต้องจ่าย โดยมักจะอยู่ที่ร้อยละ 80-90 ของราคาบ้าน ดังนั้นก่อนซื้อบ้านควรมีเงินสำรองอย่างน้อยร้อยละ 10-20 เพื่อใช้ชำระส่วนต่างของวงเงินที่อนุมัติมาไม่เต็ม เพราะแม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดเงินดาวน์ต่ำสุดไว้เพียงร้อยละ 5 แต่ธนาคารก็สามารถเรียกเงินดาวน์ได้มากกว่านั้น โดยขึ้นอยู่กับประวัติทางการเงินและรายได้ของผู้กู้เอง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินดาวน์ไม่พร้อมต้องทำอย่างไร?
ได้เงินดาวน์คืนหรือไม่หากกู้ไม่ผ่าน?
ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายดาวน์ก้อนเดียวหรือผ่อนชำระเงินดาวน์ในระหว่างการก่อสร้าง เมื่อยื่นเอกสารให้ธนาคารพิจารณาแล้วกลับขอกู้ไม่ผ่าน ผู้กู้ก็สามารถขอคืนเงินดาวน์ทั้งหมดจากโครงการได้ตามกฎหมาย แต่ทั้งนี้ผู้กู้จะได้รับเงินทำสัญญาและเงินจอง (ถ้ามี) คืนด้วยหรือไม่นั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโครงการ เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่ต้องสูญเงินดังกล่าว ก่อนที่จะจอง ทำสัญญา และจ่ายเงินดาวน์ ขอแนะนำให้ยื่นขอ Pre-approve กับธนาคารต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบในเบื้องต้นว่ามีโอกาสได้รับอนุมัติเงินกู้หรือไม่ และจะได้วงเงินกู้เท่าไร
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pre-approve บริการฟรีที่ช่วยเช็กให้ชัวร์ว่าสินเชื่อผ่านหรือไม่?
สุดท้ายนี้ การพยายามซื้อบ้านหรือคอนโดโดยที่เงินดาวน์ยังไม่พร้อมอาจเป็นความเสี่ยงที่ทำให้ผู้กู้ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้ง่าย ๆ แม้ว่าธนาคารจะอนุมัติวงเงินกู้เต็มราคาบ้าน แต่ผู้กู้ก็ต้องมีเงินดาวน์สำรองเผื่อไว้ก่อนด้วย นั่นก็เพื่อใช้ชำระค่าใช้จ่ายในวันโอน หรือใช้ตกแต่งต่อเติมบ้านก่อนเข้าอยู่ และที่สำคัญยังช่วยลดวงเงินกู้และดอกเบี้ยที่ต้องเสีย ซึ่งจะช่วยให้ผู้กู้ผ่อนง่ายสบายกว่าเดิมในระยะยาว
ที่มา: เตรียมเงินดาวน์บ้านและคอนโดเท่าไรจึงจะพอ