‘เพื่อไทย’ โนคอมเมนต์ ‘เทอดพงษ์’ นั่งปธ.สมานฉันท์ รอดูแก้ปัญหา อย่าเป็นแค่เสือกระดาษ
https://www.matichon.co.th/politics/news_2536465
‘เพื่อไทย’ โนคอมเมนต์ ‘เทอดพงษ์’ นั่งปธ.สมานฉันท์ รอดูแก้ปัญหา อย่าเป็นแค่เสือกระดาษ
เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.
อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคพท. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกรรมการสมานฉันท์มีมติเลือกนาย
เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นประธานคณะกรรมการ ว่า ทางพรรคพท. คงจะไปให้ความเห็นกรณีตัวบุคคลไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เข้าร่วมใรคณะกรรมการชุดนี้ แต่ที่บอกแต่ต้นคือ คณะกรรมการชุดนี้มีขึ้นเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ณ ขณะนี้ ซึ่งเวลานี้คู่ของความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านในสภา หรือประชาชนซึ่งเปรียบเสมือนฝ่ายค้านนอกสภานั้นไม่ได้เข้าร่วมแต่ต้น จึงสงสัยเหมือนกันว่า การดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้อย่างไร
ประเด็นต่อมาคือ ที่ผ่านมา การตั้งคณะกรรมการไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดเมื่อมีปัญหา แต่คณะกรรมการเหล่านั้นก็มีแต่ ประชุม ประชุม และประชุม แต่ไม่นำไปสู่การแก้ไขในทางปฏิบัติ ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ถูกมองว่าเป็นเสือกระดาษมาตั้งแต่ต้นแล้ว ตนจึงคิดว่า การจะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ เราคงต้องดูการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้อีกสักระยะ
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นคนรุ่นใหม่ มีอะไรอยากแนะนำคณะกรรมการชุดนี้เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ น.ส.
อรุณี กล่าวว่า คณะกรรมการต้องรับฟังเสียง รับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน และเยาวชน มีประเด็นใดหรือไม่ หรือมีกฎหมายมาตราใดหรือไม่ ที่จะสามารถหยิบยกมาพูดคุย หรือแก้ไขร่วมกันได้ถ้าเรารู้สึกว่าตรงนี้ก็เป็นข้อหนึ่งของการขัดแย้ง แต่ถ้าไม่มีการหยิบประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาหรือปิดประตูบางประเด็นไปเลยก็คิดว่า คำว่าสมานฉันท์ก็คงไม่เกิดขึ้นจริง และคณะกรรมการก็เป็นเพียงคณะกรรมการปาหี่
เมื่อถามว่า มองว่าการปฏิบัติให้เห็น ดีกว่าการตั้งคณะกรรมการใช่หรือไม่ น.ส.
อรุณี กล่าวว่า มันเหมือนเราดูปัญหาผ่านโทรทัศน์กับการลงไปหาเมื่อมีสถานการณ์ คณะกรรมการสมานยฉันท์ก็เช่นเดียวกัน คุณดูปัญหาผ่านโทรทัศน์ไม่ได้ ท่านต้องขยับเข้าไปรับฟังปัญหาอย่างแท้จริง
เมื่อถามว่า ต้องทำบรรยากาศให้เหมาะกับการสมานฉันท์ด้วยหรือไม่ เพราะล่าสุดมีการใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่รัฐเข้าคุมตัวกลุ่มผู้ชุมนุม น.ส.
อรุณี กล่าวว่า ที่เราเรียกร้องกันมาตลอดคือการหยุดคุกคามประชาชน และประชาชนทุกคนต้องได้รับการปกป้องอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมายของรัฐ จะผิดหรือถูกก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รัฐมักใช้อำนาจของรัฐจับกุม หรือคุกคามประชาชนโดยละเลยพื้นฐานของกฎหมาย หรือหลักปฏิบัติทางด้านกฎหมาย ซึ่งรัฐกำลังทำให้ประชาชนรู้สึกชัดว่า รัฐคือคู่ขัดแย้งของเขา และประชาชนจะมีคำถามต่อกระบวนการของรัฐ ต่อระบบความยุติธรรมของรัฐ รัฐจึงต้องกลับมายึดสิทธิตามกฎหมายจึงจะทำให้บรรยากาศเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ารับยังทำแบบนี้ความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้ยาก
แห่คอมเมนต์ขณะ "อาคม" ไลฟ์สดแจงเยียวยา ลั่น ขอเป็นเงินสดดีกว่า...
https://www.matichon.co.th/politics/news_2536730
ถล่มเพจกระทรวงคลัง แห่คอมเมนต์ขณะ “อาคม” ไลฟ์สดแจงเยียวยา ลั่น ขอเป็นเงินสดดีกว่า…
ความคืบหน้า กรณีการเยียวยา โดย ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเราชนะ แจกเงินให้ประชาชน 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน โดยจะดูแลประชาชนให้ทั่วถึงมากที่สุด โดยต้องใช้เงินจำนวนมาก และรัฐบาลต้องกันเงินบ้างส่วนไว้ เพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สำหรับรายละเอียดมาตรการเราชนะที่คลังเสนอให้ ครม. เห็นชอบ จะแจกเงิน 3,500 บาท รวม 7,000 บาท ให้กับประชาชน 31.1 ล้านคน วงเงินที่ใช้ 2.1 แสนล้านบาท โดยต้องมีเงื่อนไข
1. เป็นคนไทยสัญชาติไทยอายุ 18 ปี ขึ้นไป
2. ไม่เป็นข้าราชการ หรือข้าราชการบำนาญ
3. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
5. ไม่อยู่ในในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33
6. เป็นผู้ที่มีเงินได้พึ่งประเมินไม่เกิน 3 แสนบาทต่อปี
7. ต้องไม่มีเงินฝากในบัญชีธนาคารรวมกันเกิน 5 แสนบาท
สำหรับผู้มีสิทธิแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14 ล้านคน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง ประมาณ 15.3 ล้านคน กลุ่มที่ 3 ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้ลงทะเบียน ผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.-12 ก.พ. 2564 โดยในกลุ่มที่ 2 และ 3 จะเริ่มได้เงินสัปดาห์แรก 18 ก.พ. 2564 สำหรับเงินที่ทั้ง 3 กลุ่มได้รับไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ ต้องใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จากร้านค้าขนาดเล็กเหมือนโครงการละครึ่ง โดยต้องใช้เงินให้หมดภายในวันที่ 31 พ.ค. 2564
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นาย
อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไลฟ์สดผ่านเพจสถานีข่าวกระทรวงการคลัง โดยมีผู้ชมสดนับหมื่นคน รับชม โดยส่วนใหญ่ต่างเข้าไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว โดยแสดงความเห็นส่วนใหญ่ไปในทางเดียวกันว่าขอเป็นเงินสดดีกว่า และมองว่า รัฐบาลคิดเรื่องเยียวยาเอง ไม่ฟังเสียงประชาชน
JJNY : พท.โนคอมเมนต์เทอดพงษ์/แห่คอมเมนต์อาคมไลฟ์ เยียวยาขอเงินสด/ก้าวไกลย้อนอนุทิน/Foxconn ย้ายไปเวียดนาม แถมลงทุนเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/politics/news_2536465
‘เพื่อไทย’ โนคอมเมนต์ ‘เทอดพงษ์’ นั่งปธ.สมานฉันท์ รอดูแก้ปัญหา อย่าเป็นแค่เสือกระดาษ
เมื่อวันที่ 19 มกราคม ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.อรุณี กาสยานนท์ โฆษกพรรคพท. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีกรรมการสมานฉันท์มีมติเลือกนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นประธานคณะกรรมการ ว่า ทางพรรคพท. คงจะไปให้ความเห็นกรณีตัวบุคคลไม่ได้ เพราะเราไม่ได้เข้าร่วมใรคณะกรรมการชุดนี้ แต่ที่บอกแต่ต้นคือ คณะกรรมการชุดนี้มีขึ้นเพื่อแก้ไขความขัดแย้งในสังคม ณ ขณะนี้ ซึ่งเวลานี้คู่ของความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านในสภา หรือประชาชนซึ่งเปรียบเสมือนฝ่ายค้านนอกสภานั้นไม่ได้เข้าร่วมแต่ต้น จึงสงสัยเหมือนกันว่า การดำเนินงานของคณะกรรมการชุดนี้จะบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้อย่างไร
ประเด็นต่อมาคือ ที่ผ่านมา การตั้งคณะกรรมการไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง เพราะที่ผ่านมารัฐบาลนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหลายชุดเมื่อมีปัญหา แต่คณะกรรมการเหล่านั้นก็มีแต่ ประชุม ประชุม และประชุม แต่ไม่นำไปสู่การแก้ไขในทางปฏิบัติ ทำให้คณะกรรมการชุดนี้ถูกมองว่าเป็นเสือกระดาษมาตั้งแต่ต้นแล้ว ตนจึงคิดว่า การจะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ เราคงต้องดูการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้อีกสักระยะ
เมื่อถามว่า ในฐานะที่เป็นฝ่ายค้าน และเป็นคนรุ่นใหม่ มีอะไรอยากแนะนำคณะกรรมการชุดนี้เพื่อให้นำไปสู่การปฏิบัติหรือไม่ น.ส.อรุณี กล่าวว่า คณะกรรมการต้องรับฟังเสียง รับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน และเยาวชน มีประเด็นใดหรือไม่ หรือมีกฎหมายมาตราใดหรือไม่ ที่จะสามารถหยิบยกมาพูดคุย หรือแก้ไขร่วมกันได้ถ้าเรารู้สึกว่าตรงนี้ก็เป็นข้อหนึ่งของการขัดแย้ง แต่ถ้าไม่มีการหยิบประเด็นเหล่านี้มาพิจารณาหรือปิดประตูบางประเด็นไปเลยก็คิดว่า คำว่าสมานฉันท์ก็คงไม่เกิดขึ้นจริง และคณะกรรมการก็เป็นเพียงคณะกรรมการปาหี่
เมื่อถามว่า มองว่าการปฏิบัติให้เห็น ดีกว่าการตั้งคณะกรรมการใช่หรือไม่ น.ส.อรุณี กล่าวว่า มันเหมือนเราดูปัญหาผ่านโทรทัศน์กับการลงไปหาเมื่อมีสถานการณ์ คณะกรรมการสมานยฉันท์ก็เช่นเดียวกัน คุณดูปัญหาผ่านโทรทัศน์ไม่ได้ ท่านต้องขยับเข้าไปรับฟังปัญหาอย่างแท้จริง
เมื่อถามว่า ต้องทำบรรยากาศให้เหมาะกับการสมานฉันท์ด้วยหรือไม่ เพราะล่าสุดมีการใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่รัฐเข้าคุมตัวกลุ่มผู้ชุมนุม น.ส.อรุณี กล่าวว่า ที่เราเรียกร้องกันมาตลอดคือการหยุดคุกคามประชาชน และประชาชนทุกคนต้องได้รับการปกป้องอย่างเท่าเทียมภายใต้กฎหมายของรัฐ จะผิดหรือถูกก็ต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รัฐมักใช้อำนาจของรัฐจับกุม หรือคุกคามประชาชนโดยละเลยพื้นฐานของกฎหมาย หรือหลักปฏิบัติทางด้านกฎหมาย ซึ่งรัฐกำลังทำให้ประชาชนรู้สึกชัดว่า รัฐคือคู่ขัดแย้งของเขา และประชาชนจะมีคำถามต่อกระบวนการของรัฐ ต่อระบบความยุติธรรมของรัฐ รัฐจึงต้องกลับมายึดสิทธิตามกฎหมายจึงจะทำให้บรรยากาศเกิดขึ้นได้ แต่ถ้ารับยังทำแบบนี้ความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นได้ยาก
แห่คอมเมนต์ขณะ "อาคม" ไลฟ์สดแจงเยียวยา ลั่น ขอเป็นเงินสดดีกว่า...
https://www.matichon.co.th/politics/news_2536730
ถล่มเพจกระทรวงคลัง แห่คอมเมนต์ขณะ “อาคม” ไลฟ์สดแจงเยียวยา ลั่น ขอเป็นเงินสดดีกว่า…
ความคืบหน้า กรณีการเยียวยา โดย ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบโครงการเราชนะ แจกเงินให้ประชาชน 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน โดยจะดูแลประชาชนให้ทั่วถึงมากที่สุด โดยต้องใช้เงินจำนวนมาก และรัฐบาลต้องกันเงินบ้างส่วนไว้ เพื่อแก้ปัญหาอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
สำหรับรายละเอียดมาตรการเราชนะที่คลังเสนอให้ ครม. เห็นชอบ จะแจกเงิน 3,500 บาท รวม 7,000 บาท ให้กับประชาชน 31.1 ล้านคน วงเงินที่ใช้ 2.1 แสนล้านบาท โดยต้องมีเงื่อนไข
1. เป็นคนไทยสัญชาติไทยอายุ 18 ปี ขึ้นไป
2. ไม่เป็นข้าราชการ หรือข้าราชการบำนาญ
3. ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงานรัฐวิสาหกิจ
4. ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
5. ไม่อยู่ในในระบบประกันสังคม ตามมาตรา 33
6. เป็นผู้ที่มีเงินได้พึ่งประเมินไม่เกิน 3 แสนบาทต่อปี
7. ต้องไม่มีเงินฝากในบัญชีธนาคารรวมกันเกิน 5 แสนบาท
สำหรับผู้มีสิทธิแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 14 ล้านคน กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่น เป๋าตัง ประมาณ 15.3 ล้านคน กลุ่มที่ 3 ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ 1 และ 2 ให้ลงทะเบียน ผ่าน www.เราชนะ.com ตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.-12 ก.พ. 2564 โดยในกลุ่มที่ 2 และ 3 จะเริ่มได้เงินสัปดาห์แรก 18 ก.พ. 2564 สำหรับเงินที่ทั้ง 3 กลุ่มได้รับไม่สามารถกดเป็นเงินสดได้ ต้องใช้ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค จากร้านค้าขนาดเล็กเหมือนโครงการละครึ่ง โดยต้องใช้เงินให้หมดภายในวันที่ 31 พ.ค. 2564
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไลฟ์สดผ่านเพจสถานีข่าวกระทรวงการคลัง โดยมีผู้ชมสดนับหมื่นคน รับชม โดยส่วนใหญ่ต่างเข้าไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว โดยแสดงความเห็นส่วนใหญ่ไปในทางเดียวกันว่าขอเป็นเงินสดดีกว่า และมองว่า รัฐบาลคิดเรื่องเยียวยาเอง ไม่ฟังเสียงประชาชน