ภายใต้วงอิฐลึกลับบนถนนซานฟรานซิสโก




ไฟไหม้ใน Mission District ,ซานฟรานซิสโก หลังจากแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกเมื่อปี 1906 
Cr.ภาพ Chadwick, H.D / Wikimedia Commons


ใต้ท้องถนนที่กระจัดกระจายอยู่รอบ ๆ ซานฟรานซิสโกมีถังน้ำขนาดใหญ่ทั้งหมด 177 แห่งฝังอยู่ พวกมันสามารถมองเห็นได้ที่ทางแยกหลายแห่งในรูปของวงกลมอิฐขนาดใหญ่ที่ฝังอยู่ในทางเท้า ถังเก็บน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งจ่ายน้ำฉุกเฉินของเมือง ที่จะใช้ในกรณีที่น้ำประปาของเมืองไม่สามารถใช้งานได้ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ที่ร้ายแรง

และซานฟรานซิสโกเป็นเมืองเดียวในโลกที่มีระบบดังกล่าวนี้  ถังเก็บน้ำเป็นส่วนสำคัญของระบบจ่ายน้ำเสริมของเมือง ซึ่งนอกเหนือจากถังเก็บน้ำแล้วยังประกอบด้วยสถานีสูบน้ำที่เป็นจุดเชื่อมต่อท่อดูดและเรือดับเพลิง ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักผจญเพลิงรับมือกับเหตุฉุกเฉิน

AWSS (Auxiliary Water Supply System) ได้รับการออกแบบและวางแผนเพื่อตอบสนองต่อความล้มเหลวของระบบน้ำที่มีอยู่ในช่วงไฟไหม้ครั้งรุนแรง ที่ทำลายเมืองซานฟรานซิสโก  หลังจากแผ่นดินไหวในปี 1906 โดยภายในสามวันหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ไฟได้ไหม้อาคารประมาณ 25,000 หลังใน 490 เมือง

ไฟที่ไหม้หลายจุดเกิดจากท่อจ่ายก๊าซที่แตกร้าว แต่อีกหลายที่โดยเจ้าของบ้านที่เจตนาเรียกร้องการประกันทรัพย์สินของพวกเขาจากกรมธรรม์ที่ครอบคลุมความเสียหายจากไฟไหม้  แต่ไม่ใช่จากแผ่นดินไหวที่ไฟกลายเป็นพลังทำลายล้างที่รุนแรงที่สุดในเมือง โดยมีการประมาณการว่า มีการสูญเสียเนื่องจากไฟไหม้สูงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ของการทำลายล้างทั้งหมด

วงกลมของอิฐที่ถูกทำเครื่องหมายตำแหน่งของถังน้ำใต้ดิน Cr.ภาพ christeli_sf / Flickr
ผู้ตั้งถิ่นฐานในยุคแรกของซานฟรานซิสโกไม่ใช่ไม่รู้จักไฟไหม้ เมืองที่ผุดขึ้นมาจากยุคตื่นทองคือกล่องเชื้อไฟที่แท้จริง พวกเขามีบ้านไม้ เต็นท์ เรือ หรืออะไรก็ตามที่ไม่ค่อยแน่นหนานัก  ภายใน 2-3 ปีแรกของประวัติศาสตร์ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ถึง 6 ครั้ง

โดยครั้งแรกในเดือนมกราคม 1949 เมื่อโรงแรม Shades ถูกไฟไหม้จนหมด ไม่กี่เดือนต่อมาเรือลำหนึ่งลุกเป็นไฟขณะที่กำลังเตรียมแล่นออกไป ในช่วงปลายปีเดียวกัน ไฟอีกจุดหนึ่งก็เริ่มขึ้นที่ตรงกลางของจัตุรัส  Plaza ทางฝั่งตะวันออก ซึ่งกินพื้นที่เกือบทั้งหมด และนี่เป็นไฟไหม้ครั้งใหญ่ครั้งแรกที่ทำลายล้างซานฟรานซิสโก

หกเดือนต่อมา ในวันที่ 4 พฤษภาคม 1850 ไฟไหม้อาคารที่มีค่าที่สุดของเมืองในสามช่วงตึก  หลังจากเกิดเพลิงไหม้ มีการสร้างถังเก็บน้ำขนาด 12,000 แกลลอนซึ่งเป็นหนึ่งในหลาย ๆที่ที่จะตามมาใน Portsmouth Square นอกจากนี้ ยังมีการขุดบ่อบาดาลในส่วนต่างๆของเมือง และมีการผ่านกฤษฎีกาสั่งให้เจ้าของบ้านทุกคนมีถังน้ำ 6 ถังเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเกิดเพลิงไหม้ 

แต่มาตรการป้องกันเหล่านี้ไม่ได้ดำเนินการอย่างทันท่วงที หนึ่งเดือนต่อมาไฟไหม้ครั้งที่สามก็เกิดขึ้น จากปล่องไฟที่ชำรุดในร้านเบเกอรี่ และไฟที่เกิดขึ้นได้เผาผลาญตึกทั้งหมดที่อยู่ระหว่างถนน Clay, California และ Kearny จนถึงลงไปในแม่น้ำ

ไฟไหม้กลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในเมืองทุกๆ 2-3 เดือน โดยในวันที่ 4 พฤษภาคม1851  หนึ่งปีหลังจากเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ครั้งที่สองการปะทุของภัยพิบัติทำลายล้างมีมากถึง 3 ใน 4 ของซานฟรานซิสโก  มันเป็นไฟที่มีการทำลายล้างมากที่สุดจนถึงปัจจุบัน 

เกือบหกเดือนผ่านไปเมื่อไฟอีกลูกเริ่มต้นขึ้นโดยทำลายตึกแถวทั้งช่วง 10 บล็อกและในส่วนอื่นอีก 6 บล็อก เพื่อระวังภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ผู้คนเริ่มสร้างบ้านด้วยอิฐทึบที่หนา 2-3 ฟุตเพื่อกันไฟ แต่สิ่งปลูกสร้างที่เหนือกว่าเหล่านี้ถูกจำกัดไว้ในส่วนธุรกิจส่วนกลาง ในขณะที่ในชนบท อาคารที่อยู่อาศัยยังคงเป็นโครงไม้

และเพื่อตอบสนองในการป้องกันต่อเหตุเพลิงไหม้ เมืองนี้ได้ติดตั้งระบบน้ำประปาที่ทันสมัยพร้อมด้วยระบบจ่ายน้ำมากกว่า 4000 แห่ง ซึ่งในไม่ช้าก็เข้ามาแทนที่ถังดับเพลิงในสมัยก่อน แต่เมื่อวันที่ 18 เมษายน1906 พื้นดินเกิดการสั่นสะเทือน  ท่อน้ำของเมืองก็รั่วจนน้ำไหลไปทั่วทุกแห่ง ดังนั้นหน่วยดับเพลิงจึงสูญเสียแรงดันน้ำในเวลาเดียวกับที่เกิดการปะทุของท่อก๊าซทำให้เกิดไฟใหม้ขึ้น  ซึ่งในที่สุด ก็เป็นน้ำจากถังเหล่านี้ที่ช่วยให้นักผจญเพลิงช่วยชีวิตละแวกใกล้เคียงจากการทำลายล้างโดยสิ้นเชิง

ไฟไหม้ในอ่าวซานฟรานซิสโกในปี 1856  บนภาพสีน้ำมันบนผ้าใบ
โดย Charles Christian Nahl และ Hugo Wilhelm Nahl
เพื่อคำนึงถึงมูลค่าของทุกสิ่ง เมืองจึงสั่งให้สร้างถังเก็บน้ำใหม่ขึ้นกว่า 150 แห่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบจ่ายน้ำเสริม ซึ่งรวมถึงเครือข่ายท่อที่สร้างขึ้นสำหรับการดับเพลิงโดยเฉพาะ ซึ่งแยกออกจากท่อส่งน้ำปกติโดยสิ้นเชิง  ถังเก็บน้ำที่ตั้งอยู่ในเชิงกลยุทธ์เหล่านี้มีความจุตั้งแต่ 75,000 ถึงมากกว่า 200,000 แกลลอน

และเมื่อรวมกันแล้วสามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 11 ล้านแกลลอนทั่วเมือง ถังน้ำเหล่านี้เป็นที่เก็บน้ำแบบแยกเดี่ยวที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายน้ำของระบบ  พวกมันจะถูกระบุด้วยวงกลมของอิฐที่มีสองช่องระบายน้ำ ซึ่งมีฝาปิดเป็นลายนูนของป้ายกำกับ CISTERN และ SFFD (San Francisco Fire Department)
และในกรณีที่เกิดภัยพิบัติอื่น ๆ ที่ทำให้น้ำประปาปกติของเมืองล้นออกมา  SFFD ก็สามารถเปิดฝาท่อระบายน้ำในถังเหล่านี้และสูบน้ำออก นอกจากนี้ พวกเขายังสามารถสูบน้ำจากเรือดับเพลิงในอ่าวไปยังแหล่งจ่ายน้ำของเมืองได้หากจำเป็น

ซึ่งนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวเมื่อปี 1906 กว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมายังไม่มีการใช้น้ำในถังเก็บน้ำ แต่พวกมันก็ยังคงอยู่ที่นั่นและถูกดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อพร้อมที่จะช่วยเมืองนี้เมื่อเกิดภัยพิบัติครั้งต่อไป


ไฟไหม้ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือผลพวงของแผ่นดินไหวในปี 1906
โดย “ The Ultimate Photo Map of the 1906 San Francisco Quake” ระบุภาพถ่ายที่บันทึกเหตุการณ์


แผนที่ของถังเก็บน้ำของซานฟรานซิสโก โดย Scott Kildall



ภายในถังเก็บน้ำข้างใต้ ในเขตMission District ซานฟรานซิสโก, แคลิฟอร์เนีย
Cr.ภาพ: Robin Scheswohl / Wikimedia Commons



ฝาท่อระบายน้ำที่ปิดทับถังเก็บน้ำในซานฟรานซิสโก
Cr.ภาพ: Nick Sherman / Flickr



ที่มา
- Early History of the San Francisco Fire Department, www.sfmuseum.net
- San Francisco Fire Department historical review, 1849-1967
- Thomas K. Pendergast, Auxiliary Water Supply System Expansion Abandoned, FoundSF



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่