👉🏻ก่อนเข้ารีวิวเราขอแนะนำแฟนเพจ FB ของเราสักนิด เราเปิดขึ้นมาเพื่อรวบรวมร้านอาหารทั้งในและต่างประเทศมากมาย มาแบ่งปันกัน ฝากกดไลค์ กดแชร เป็นกำลังใจให้พวกเราด้วยนะค้าาา
📍 FB: ตามล่า Fine Dining
📌 IG: Fine Dining lover
และช่องทางใหม่ทาง Youtube : ตามล่า Fine Dining
🇹🇭 Gaggan Anand - กากั้น อนันด์
🍽 Michelin Plate - มิชลินเพลท
🍴 Innovative - อาหารเชิงนวัตกรรม
🎗 [Intro] วันที่ 16 ธันวาคม 2020 ณ งานประกาศผลมิชลินไกด์ฉบับกรุงเทพฯ เหล่าเชฟระดับแนวหน้าของประเทศต่างได้รับจดหมายเชิญเพื่อขึ้นรับรางวัลดาวมิชลิน แต่ผลออกมากลับไร้ซึ่งชื่อของเชฟระดับตำนานเจ้าของรางวัล 2 ดาวประจำปี 2018-2019 สร้างความงุนงงให้กับเหล่า Foodie เป็นอย่างมาก นั่นจึงเป็นที่มาของรีวิวฉบับนี้
🎗 [The Chef] Gaggan Anand เกิดในครอบครัวชาวปัญจาบีที่เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย ชีวิตในวัยเด็กของเขาไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นักจนกระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น Gaggan ได้เลือกเข้าศึกษาต่อเกี่ยวกับการโรงแรมและการจัดเลี้ยงที่สถาบัน IHMCT Kovalam ทั้งยังจบออกมาด้วยคะแนนยอดเยี่ยมจนได้ฝึกงานกับหนึ่งในเครือร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ แต่ด้วยปัญหาบางประการเชฟจึงลาออกมาทำอาหารสไตล์ Catering และ Home Delivery ตามลำดับ ต่อมาไม่นานมีคนเห็นแววจึงได้นำเสนองานร้านอาหารอินเดียในกรุงเทพชื่อว่า Red ให้จึงทำให้เชฟ Gaggan มีโอกาสย้ายมาตั้งรกรากเปิดประสบการณ์ใหม่ที่เมืองไทย อาหารที่ Red ทำออกมาในสไตล์ฟิวชั่นอินเดีย-อิตาเลียนจึงมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและกลายเป็นที่พูดถึงกันปากต่อปากในช่วงเวลานั้น กระทั่งวันหนึ่งมีลูกค้าได้แนะนำห้องอาหาร elBulli (⭐️⭐️⭐️ 3 Michelin Stars) ของมาสเตอร์เชฟ Ferran Adrià ให้กับเชฟ Gaggan ได้รู้จัก อาหารที่นั่นนำเสนอออกมาในสไตล์ Molecular Gastronomy และเป็นที่ถูกอกถูกใจ Gaggan มากจนตัวเขาเองเขียนจดหมายขอสมัครไปฝึกงานถึงแคว้น Catalonia ประเทศสเปนเลยทีเดียว เมื่อกลับมาที่เมืองไทยเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนจึงเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองในชื่อ Restaurant Gaggan โดยประยุกต์ใส่ความเป็นอาหารโมเลกุลเข้าไปในอาหารอินเดียซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากในช่วงนั้น ตัวร้านประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายการันตีด้วยรางวัล 2 Michelin Stars ตั้งแต่ปีแรกทีมีการจัดอันดับรวมไปถึงการมีชื่อเข้าไปติดใน Asia's 50 Best Restaurant ถึง 4 ครั้ง และ 3 ครั้งจากทั้งหมดเป็นการคว้ารางวัลอันดับ 1 มาครองได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2019 เพียง 1 วันก่อนการประกาศผล World's 50 Best Restaurant ปัญหาระหว่างเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนก็ปะทุขึ้น เชฟ Gaggan และลูกทีมอีก 65 คนต่อต้านผู้ร่วมหุ้นเดิมก่อนที่ Restaurant Gaggan จะปิดตัวลงอย่างอย่างกะทันหันแม้ว่าในปีนั้นชื่อของร้านจะถูกโหวตให้เป็นร้านอาหารอันดับ 4 ของโลกสูงสุดเท่าที่ร้านอาหารในทวีปเอเชียเคยทำได้พ่วงด้วยรางวัล 2 ดาวมิชลินก็ตาม
🎗 [The Place] วันที่ 1 สิงหาคม 2019 เชฟ Gaggan ได้เซ็นสัญญาเช่าพื้นที่แห่งใหม่และสร้าง Restaurant Gaggan Anand ขึ้นในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ตัวร้านตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 31 มองจากด้านหน้าเป็นบ้านสไตล์โมเดิร์น 3 ชั้นโดยแบ่งด้านล่างเป็นโซน G-Spot ที่ลูกค้าจะได้เพลิดเพลินไปกับครัวเปิดแบบ Open Kitchen ล้อมรอบด้วยโต๊ะครึ่งวงกลมในรูปแบบ Chef's Table โดยมีเชฟ Gaggan คอยเอ็นเตอร์เทนให้กับทุกคนตลอดมื้ออาหาร ชั้นสองเป็นโซน Arena G ควบคุมโดย Head Chef ชาวอินโดนีเซีย Rydo Anton ลูกค้าสามารถนัดเพื่อนๆมาสังสรรค์กันในห้องทานอาหารหลักที่ไม่เป็นทางการจนเกินไป บนเพดานประดับประดาด้วยโคมไฟรูปดวงจันทร์และแสงไฟคล้ายหมู่ดาวจำนวนมาก ตรงกลางมีครัวขนาดใหญ่ ลูกค้าสามารถชมทีมเชฟผู้ช่วยหลายคนจัดเตรียมอาหารให้เราทานกันตลอดเวลา พนักงานบริการดีและเป็นกันเอง ที่สำคัญคือไม่มี Dress Code ลูกค้าสามารถเลือกใส่ชุดได้ทุกรูปแบบตามใจชอบได้เลย
🎗 [The Food] ลูกค้าสามารถเลือกทานเซ็ตเมนูช่วงกลางวันจำนวน 9 คอร์สเฉพาะวันธรรมดาที่ราคาเพียง 2,000++/p เท่านั้น ส่วนในช่วงกลางคืนเชฟ Gaggan นำเสนอ GAGGAN EXPERIENCE เซ็ตเมนูจำนวน 15 คอร์สที่ราคา 4,000++/p และ 18 คอร์สที่ราคา 5,000++/p นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถอับเกรดวัตถุดิบพื้นถิ่นขึ้นไปเป็นสุดยอดวัตถุดิบระดับโลกอย่าง Spanish Carabinero, Ogawa Bafun Uni, Royal Oscietra Caviar และ Alba White Truffle ในราคาอย่างละ 800++/p ที่หน้าร้านอีกด้วย และเช่นเคยอาหารที่นี่นำเสนอในรูปแบบ Emoji Menu โดยพนักงานจะให้ลูกค้าลองทายสติ๊กเกอร์เพื่อจับคู่กับทั้ง 18 คอร์ส หลายจานเป็นเมนูจาก Restaurant Gaggan เดิมที่เชฟได้นำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น
✨ Yogurt Explosion
มื้ออาหารเริ่มต้นด้วย “ระเบิดโยเกิร์ต” เมนู Signature Dish อันโด่งดังที่เชฟ Gaggan ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมนู Spherified Olive เมื่อครั้งไปฝึกงานที่ห้องอาหารระดับ 3 ดาวมิชลินอย่าง elBulli ของเชฟ Ferran Adrià ในแคว้น Catalonia ประเทศสเปน ที่ร้านใหม่เชฟได้เปลี่ยนองค์ประกอบพื้นฐานจากมะกอกของครัวอาหารสเปนมาเป็นโยเกิร์ตซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารอินเดีย ขั้นตอนการทำเริ่มจากการตั้งอ่างสาหร่าย Algin แล้วผสมเกลือให้ได้อัตราส่วนที่พอเหมาะ จากนั้นหยดโยเกิร์ตลงไปในอ่าง แคลเซียมจากสาหร่ายจะทำปฏิกิริยากับผิวโยเกิร์ต ด้วยแรงตึงผิวทำให้โยเกิร์ตรักษาสมดุลจนกลายเป็นทรงกลมแล้วจากกระบวนการ Spherication ค่อยๆตกลงสู้ก้นอ่างตามแรงโน้มถ่วง ตักขึ้นมาล้างรสชาติโยเกิร์ตส่วนเกินออก แล้วนำไปแช่เย็นจนขึ้นรูปเป็น Yogurt Explosion ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งคือ Green Chutney Candy หรือใบบัวทานได้ทำมาจากผักชีทอปด้วย Whey gel เมื่อทานจะให้ความกรอบตัดกันกับความนุ่มของระเบิดโยเกิร์ต ตอนเคี้ยวจะได้รสชาติของ Chaat Masala และ Black salt แตกระเบิดออกมาน่าประทับใจเช่นเคย เพิ่มเติมคือ Popping candy หรือเป๊าะแป๊ะที่กระจายไปทั่วทั้งปาก ยังมีกรอบของใบบัวด้านนอกช่วยเพิ่มมิติทางเนื้อสัมผัสได้อีก ดีงามสมกับเป็น Signature Dish และเป็น Symbolic ของอาหารอินเดียยุคก้าวหน้าเลยจริงๆ (17/20)
✨ Brain
จานที่โดดเด่นที่สุดในวันนี้เป็นไอศกรีมรูป “สมอง” ชวนสยองแต่แท้จริงแล้วนั้นทำมาจากฟัวกราส์ผสมกับยูซูชัทนีย์และเหล้ารสเชอร์รี่ ทานแล้วได้ความเย็นสดชื่น ด้านล่างเป็นขนมปังกรอบที่ได้สีแดงมาจากดอกชบา รสชาติให้ความครีมมี่ หอม มัน แต่ไม่มีรสขมหรือคาวปนมาแม้แต่น้อย เนื้อสัมผัสตัดกันดีกับขนมปังกรอบด้านล่าง รสชาติออกไปทางของหวานมากกว่าอาหารคาว อร่อยอย่างน่าตกใจ (16/20)
✨ Prawn Balchao
อีกหนึ่งจานที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันมาจากร้านเดิมที่หลังสวนคือ “กุ้งบาวชาว” ปกติเชฟจะใช้กุ้งลายเสือไปทาด้วยซอสผักดอง จากนั้นนำไปย่างบนเตาถ่าน Binchōtan แต่เราขอแนะนำให้เพื่อนๆอับเกรดวัตถุดิบหลักเป็น “คาราบิเนโร่บาวชาว” ที่จะเปลี่ยนมาใช้เป็นกุ้งแดงจากทะเลเมดิเตอเรเนียนแทน ตัวกุ้งแดงจะมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มมากกว่ากุ้งลายเสือชัดเจนทานกับซอสบาวชาวรสเลิศอร่อยมากจริงๆ ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นเพราะเชฟยังนำเสิร์ฟส่วนหัวกุ้งเพิ่มมาด้วยโดยไปปรุงกับชัทนีย์มะพร้าวและ Garam masala จนหอม ครีมมี่ แนะนำให้ใช้มือหยิบขึ้นมาดูดจากหัวกุ้งโดยตรงเลย (16/20)
🎗 [Conclusion] อย่างไรก็ตามแม้ทุกคอร์สจะแฝงไปด้วยเทคนิคการปรุงระดับสูงแต่ที่ในแง่รสชาติก็มีบางคอร์สที่ดูเหมือนจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นักเช่น World Map ที่ผงทำจากผักต่างๆด้านบนแยกเนื้อสัมผัสและดูไม่เข้ากันกับเพสท์ด้านล่างต่างจาก Lick It Up เดิมที่พูเรทุกสีรสชาติและเนื้อสัมผัสเข้ากันได้ไร้ที่ติ หรือบางเมนูอย่าง Idli Sambar, Crab Curry และของหวานทุกจานที่ดูจะเป็นรองเมื่อเทียบกับเมนูจากร้านเดิมอย่าง Chutoro Sushi, Tom Yum Kung หรือ King Crab Curry Rice Paturi ที่เราเคยทาน ในทางกลับกันเชฟ Gaggan และลูกทีมสามารถใส่ความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องสนใจรางวัลต่างๆที่การันตีเอาไว้ เรายังคงยืนยันว่าอาหารจำนวน 18 คอร์สเทียบกับราคาที่ตั้งไว้ถือว่าพอรับได้ ทุกคนที่แวะมาทานน่าจะมีความสุขกลับไปหากเข้าใจได้ว่านี่คือเส้นทางใหม่ที่เชฟเลือกเดินและไม่ใช่ Restaurant Gaggan ในซอยหลังสวนอีกต่อไป Restaurant Gaggan Anand อาจมีลุ้นดาวอย่างมาก 1 ดวงในมิชลินไกด์ปี 2022 แต่ถ้าแลกมาด้วยชีวิตส่วนตัว, ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานที่ดีขึ้น นี่อาจเป็นเส้นทางที่ถูกต้องหรือดีกว่าเดิมก็เป็นได้
📃 18-COURSE GAGGAN EXPERIENCE (5,000++/p)
Yogurt Explosion
World Map
Dum Aloo
Idli Sambar
Bhel Puri
Keema Pao
Charcoal
Ring
Brain
Rasam
Momo
Prawn Balchao (Additional 800++ for Carabinero)
Cold Curry Scallop
Aged Duck
Crab Curry Rice
Strawberry Ghevar
Pineapple Wafer
Bonsai Tiramisù
🏵 Score:
👍 ร้านอาหารของเชฟ Gaggan Anand ที่แตกต่างออกไปจากเดิม แต่ละจานยังคงแทรก Signature ของเชฟเอาไว้ได้อย่างดี
อาหาร : 14.5/20
ราคา : 🌟🌟
ความคุ้มค่า : 🌟🌟
เทคนิค : 🌟🌟🌟🌟
อัตลักษณ์ : 🌟🌟🌟🌟
บรรยากาศ : 🌟🌟🌟
บริการ : 🌟🌟🌟🌟
ความประทับใจโดยรวม : 15/20
📍 Visit: Dec 2020
🏠 Location: 68 ซอยสุขุมวิท 31, แขวง คลองตันเหนือ, เขตวัฒนา, กรุงเทพมหานคร 10110
🚗 Parking: จอดรถที่ ALIST Corporate Public Company Limited ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
🕠 Operating Time: Lunch (เฉพาะเสาร์-อาทิตย์) 11.30-14.00, Dinner (ทุกวัน) 17.30-24.00
💰 Price: 2,000-5,000++/p
📞 Tel: 098-883-1022
🧥 Dress Code: No Dress Code
🖥 Website:
https://gaggananand.com/so-far-so-good/
🥰 ฝากเพื่อนๆช่วยกดไลค์และเเชร์เพจของเรา : ตามล่า Fine Dining
👍 เพจของเราสร้างขึ้นเพื่อรีวิวร้านอาหาร Fine Dining ระดับ Michelin Guide ทั่วโลก
#MichelinPlate #MichelinGuide #MichelinRestaurant #MichelinGuideBangkok #MichelinGuideTH #MichelinStar21 #MichelinStar20 #YesMichelinGuide #มิชลินไกด์ #FineDining #AroiBKK #Bangkok #ตามล่าFineDining
🇹🇭 Gaggan Anand - กากั้น อนันด์
🍽 Michelin Plate - มิชลินเพลท
🍴 Innovative - อาหารเชิงนวัตกรรม
Gaggan Anand เกิดในครอบครัวชาวปัญจาบีที่เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย ชีวิตในวัยเด็กของเขาไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นักจนกระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น Gaggan ได้เลือกเข้าศึกษาต่อเกี่ยวกับการโรงแรมและการจัดเลี้ยงที่สถาบัน IHMCT Kovalam ทั้งยังจบออกมาด้วยคะแนนยอดเยี่ยมจนได้ฝึกงานกับหนึ่งในเครือร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ แต่ด้วยปัญหาบางประการเชฟจึงลาออกมาทำอาหารสไตล์ Catering และ Home Delivery ตามลำดับ ต่อมาไม่นานมีคนเห็นแววจึงได้นำเสนองานร้านอาหารอินเดียในกรุงเทพชื่อว่า Red ให้จึงทำให้เชฟ Gaggan มีโอกาสย้ายมาตั้งรกรากเปิดประสบการณ์ใหม่ที่เมืองไทย อาหารที่ Red ทำออกมาในสไตล์ฟิวชั่นอินเดีย-อิตาเลียนจึงมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและกลายเป็นที่พูดถึงกันปากต่อปากในช่วงเวลานั้น กระทั่งวันหนึ่งมีลูกค้าได้แนะนำห้องอาหาร elBulli (⭐️⭐️⭐️ 3 Michelin Stars) ของมาสเตอร์เชฟ Ferran Adrià ให้กับเชฟ Gaggan ได้รู้จัก อาหารที่นั่นนำเสนอออกมาในสไตล์ Molecular Gastronomy และเป็นที่ถูกอกถูกใจ Gaggan มากจนตัวเขาเองเขียนจดหมายขอสมัครไปฝึกงานถึงแคว้น Catalonia ประเทศสเปนเลยทีเดียว เมื่อกลับมาที่เมืองไทยเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนจึงเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองในชื่อ Restaurant Gaggan โดยประยุกต์ใส่ความเป็นอาหารโมเลกุลเข้าไปในอาหารอินเดียซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากในช่วงนั้น ตัวร้านประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายการันตีด้วยรางวัล 2 Michelin Stars ตั้งแต่ปีแรกทีมีการจัดอันดับรวมไปถึงการมีชื่อเข้าไปติดใน Asia's 50 Best Restaurant ถึง 4 ครั้ง และ 3 ครั้งจากทั้งหมดเป็นการคว้ารางวัลอันดับ 1 มาครองได้อีกด้วย
ตามต่อกันในคอมเม้นนะคะ และส
[CR] 🇹🇭 Gaggan Anand - กากั้น อนันด์ ร้านใหม่ของเชฟระดับตำนานที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์
📍 FB: ตามล่า Fine Dining
📌 IG: Fine Dining lover
และช่องทางใหม่ทาง Youtube : ตามล่า Fine Dining
🇹🇭 Gaggan Anand - กากั้น อนันด์
🍽 Michelin Plate - มิชลินเพลท
🍴 Innovative - อาหารเชิงนวัตกรรม
🎗 [Intro] วันที่ 16 ธันวาคม 2020 ณ งานประกาศผลมิชลินไกด์ฉบับกรุงเทพฯ เหล่าเชฟระดับแนวหน้าของประเทศต่างได้รับจดหมายเชิญเพื่อขึ้นรับรางวัลดาวมิชลิน แต่ผลออกมากลับไร้ซึ่งชื่อของเชฟระดับตำนานเจ้าของรางวัล 2 ดาวประจำปี 2018-2019 สร้างความงุนงงให้กับเหล่า Foodie เป็นอย่างมาก นั่นจึงเป็นที่มาของรีวิวฉบับนี้
🎗 [The Chef] Gaggan Anand เกิดในครอบครัวชาวปัญจาบีที่เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย ชีวิตในวัยเด็กของเขาไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นักจนกระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น Gaggan ได้เลือกเข้าศึกษาต่อเกี่ยวกับการโรงแรมและการจัดเลี้ยงที่สถาบัน IHMCT Kovalam ทั้งยังจบออกมาด้วยคะแนนยอดเยี่ยมจนได้ฝึกงานกับหนึ่งในเครือร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ แต่ด้วยปัญหาบางประการเชฟจึงลาออกมาทำอาหารสไตล์ Catering และ Home Delivery ตามลำดับ ต่อมาไม่นานมีคนเห็นแววจึงได้นำเสนองานร้านอาหารอินเดียในกรุงเทพชื่อว่า Red ให้จึงทำให้เชฟ Gaggan มีโอกาสย้ายมาตั้งรกรากเปิดประสบการณ์ใหม่ที่เมืองไทย อาหารที่ Red ทำออกมาในสไตล์ฟิวชั่นอินเดีย-อิตาเลียนจึงมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและกลายเป็นที่พูดถึงกันปากต่อปากในช่วงเวลานั้น กระทั่งวันหนึ่งมีลูกค้าได้แนะนำห้องอาหาร elBulli (⭐️⭐️⭐️ 3 Michelin Stars) ของมาสเตอร์เชฟ Ferran Adrià ให้กับเชฟ Gaggan ได้รู้จัก อาหารที่นั่นนำเสนอออกมาในสไตล์ Molecular Gastronomy และเป็นที่ถูกอกถูกใจ Gaggan มากจนตัวเขาเองเขียนจดหมายขอสมัครไปฝึกงานถึงแคว้น Catalonia ประเทศสเปนเลยทีเดียว เมื่อกลับมาที่เมืองไทยเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนจึงเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองในชื่อ Restaurant Gaggan โดยประยุกต์ใส่ความเป็นอาหารโมเลกุลเข้าไปในอาหารอินเดียซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากในช่วงนั้น ตัวร้านประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายการันตีด้วยรางวัล 2 Michelin Stars ตั้งแต่ปีแรกทีมีการจัดอันดับรวมไปถึงการมีชื่อเข้าไปติดใน Asia's 50 Best Restaurant ถึง 4 ครั้ง และ 3 ครั้งจากทั้งหมดเป็นการคว้ารางวัลอันดับ 1 มาครองได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตเกิดขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2019 เพียง 1 วันก่อนการประกาศผล World's 50 Best Restaurant ปัญหาระหว่างเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนก็ปะทุขึ้น เชฟ Gaggan และลูกทีมอีก 65 คนต่อต้านผู้ร่วมหุ้นเดิมก่อนที่ Restaurant Gaggan จะปิดตัวลงอย่างอย่างกะทันหันแม้ว่าในปีนั้นชื่อของร้านจะถูกโหวตให้เป็นร้านอาหารอันดับ 4 ของโลกสูงสุดเท่าที่ร้านอาหารในทวีปเอเชียเคยทำได้พ่วงด้วยรางวัล 2 ดาวมิชลินก็ตาม
🎗 [The Place] วันที่ 1 สิงหาคม 2019 เชฟ Gaggan ได้เซ็นสัญญาเช่าพื้นที่แห่งใหม่และสร้าง Restaurant Gaggan Anand ขึ้นในระยะเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ตัวร้านตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 31 มองจากด้านหน้าเป็นบ้านสไตล์โมเดิร์น 3 ชั้นโดยแบ่งด้านล่างเป็นโซน G-Spot ที่ลูกค้าจะได้เพลิดเพลินไปกับครัวเปิดแบบ Open Kitchen ล้อมรอบด้วยโต๊ะครึ่งวงกลมในรูปแบบ Chef's Table โดยมีเชฟ Gaggan คอยเอ็นเตอร์เทนให้กับทุกคนตลอดมื้ออาหาร ชั้นสองเป็นโซน Arena G ควบคุมโดย Head Chef ชาวอินโดนีเซีย Rydo Anton ลูกค้าสามารถนัดเพื่อนๆมาสังสรรค์กันในห้องทานอาหารหลักที่ไม่เป็นทางการจนเกินไป บนเพดานประดับประดาด้วยโคมไฟรูปดวงจันทร์และแสงไฟคล้ายหมู่ดาวจำนวนมาก ตรงกลางมีครัวขนาดใหญ่ ลูกค้าสามารถชมทีมเชฟผู้ช่วยหลายคนจัดเตรียมอาหารให้เราทานกันตลอดเวลา พนักงานบริการดีและเป็นกันเอง ที่สำคัญคือไม่มี Dress Code ลูกค้าสามารถเลือกใส่ชุดได้ทุกรูปแบบตามใจชอบได้เลย
🎗 [The Food] ลูกค้าสามารถเลือกทานเซ็ตเมนูช่วงกลางวันจำนวน 9 คอร์สเฉพาะวันธรรมดาที่ราคาเพียง 2,000++/p เท่านั้น ส่วนในช่วงกลางคืนเชฟ Gaggan นำเสนอ GAGGAN EXPERIENCE เซ็ตเมนูจำนวน 15 คอร์สที่ราคา 4,000++/p และ 18 คอร์สที่ราคา 5,000++/p นอกจากนี้ลูกค้ายังสามารถอับเกรดวัตถุดิบพื้นถิ่นขึ้นไปเป็นสุดยอดวัตถุดิบระดับโลกอย่าง Spanish Carabinero, Ogawa Bafun Uni, Royal Oscietra Caviar และ Alba White Truffle ในราคาอย่างละ 800++/p ที่หน้าร้านอีกด้วย และเช่นเคยอาหารที่นี่นำเสนอในรูปแบบ Emoji Menu โดยพนักงานจะให้ลูกค้าลองทายสติ๊กเกอร์เพื่อจับคู่กับทั้ง 18 คอร์ส หลายจานเป็นเมนูจาก Restaurant Gaggan เดิมที่เชฟได้นำมาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น
✨ Yogurt Explosion
มื้ออาหารเริ่มต้นด้วย “ระเบิดโยเกิร์ต” เมนู Signature Dish อันโด่งดังที่เชฟ Gaggan ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเมนู Spherified Olive เมื่อครั้งไปฝึกงานที่ห้องอาหารระดับ 3 ดาวมิชลินอย่าง elBulli ของเชฟ Ferran Adrià ในแคว้น Catalonia ประเทศสเปน ที่ร้านใหม่เชฟได้เปลี่ยนองค์ประกอบพื้นฐานจากมะกอกของครัวอาหารสเปนมาเป็นโยเกิร์ตซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของอาหารอินเดีย ขั้นตอนการทำเริ่มจากการตั้งอ่างสาหร่าย Algin แล้วผสมเกลือให้ได้อัตราส่วนที่พอเหมาะ จากนั้นหยดโยเกิร์ตลงไปในอ่าง แคลเซียมจากสาหร่ายจะทำปฏิกิริยากับผิวโยเกิร์ต ด้วยแรงตึงผิวทำให้โยเกิร์ตรักษาสมดุลจนกลายเป็นทรงกลมแล้วจากกระบวนการ Spherication ค่อยๆตกลงสู้ก้นอ่างตามแรงโน้มถ่วง ตักขึ้นมาล้างรสชาติโยเกิร์ตส่วนเกินออก แล้วนำไปแช่เย็นจนขึ้นรูปเป็น Yogurt Explosion ยังมีอีกองค์ประกอบหนึ่งคือ Green Chutney Candy หรือใบบัวทานได้ทำมาจากผักชีทอปด้วย Whey gel เมื่อทานจะให้ความกรอบตัดกันกับความนุ่มของระเบิดโยเกิร์ต ตอนเคี้ยวจะได้รสชาติของ Chaat Masala และ Black salt แตกระเบิดออกมาน่าประทับใจเช่นเคย เพิ่มเติมคือ Popping candy หรือเป๊าะแป๊ะที่กระจายไปทั่วทั้งปาก ยังมีกรอบของใบบัวด้านนอกช่วยเพิ่มมิติทางเนื้อสัมผัสได้อีก ดีงามสมกับเป็น Signature Dish และเป็น Symbolic ของอาหารอินเดียยุคก้าวหน้าเลยจริงๆ (17/20)
✨ Brain
จานที่โดดเด่นที่สุดในวันนี้เป็นไอศกรีมรูป “สมอง” ชวนสยองแต่แท้จริงแล้วนั้นทำมาจากฟัวกราส์ผสมกับยูซูชัทนีย์และเหล้ารสเชอร์รี่ ทานแล้วได้ความเย็นสดชื่น ด้านล่างเป็นขนมปังกรอบที่ได้สีแดงมาจากดอกชบา รสชาติให้ความครีมมี่ หอม มัน แต่ไม่มีรสขมหรือคาวปนมาแม้แต่น้อย เนื้อสัมผัสตัดกันดีกับขนมปังกรอบด้านล่าง รสชาติออกไปทางของหวานมากกว่าอาหารคาว อร่อยอย่างน่าตกใจ (16/20)
✨ Prawn Balchao
อีกหนึ่งจานที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันมาจากร้านเดิมที่หลังสวนคือ “กุ้งบาวชาว” ปกติเชฟจะใช้กุ้งลายเสือไปทาด้วยซอสผักดอง จากนั้นนำไปย่างบนเตาถ่าน Binchōtan แต่เราขอแนะนำให้เพื่อนๆอับเกรดวัตถุดิบหลักเป็น “คาราบิเนโร่บาวชาว” ที่จะเปลี่ยนมาใช้เป็นกุ้งแดงจากทะเลเมดิเตอเรเนียนแทน ตัวกุ้งแดงจะมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มมากกว่ากุ้งลายเสือชัดเจนทานกับซอสบาวชาวรสเลิศอร่อยมากจริงๆ ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นเพราะเชฟยังนำเสิร์ฟส่วนหัวกุ้งเพิ่มมาด้วยโดยไปปรุงกับชัทนีย์มะพร้าวและ Garam masala จนหอม ครีมมี่ แนะนำให้ใช้มือหยิบขึ้นมาดูดจากหัวกุ้งโดยตรงเลย (16/20)
🎗 [Conclusion] อย่างไรก็ตามแม้ทุกคอร์สจะแฝงไปด้วยเทคนิคการปรุงระดับสูงแต่ที่ในแง่รสชาติก็มีบางคอร์สที่ดูเหมือนจะยังไม่สมบูรณ์เท่าไหร่นักเช่น World Map ที่ผงทำจากผักต่างๆด้านบนแยกเนื้อสัมผัสและดูไม่เข้ากันกับเพสท์ด้านล่างต่างจาก Lick It Up เดิมที่พูเรทุกสีรสชาติและเนื้อสัมผัสเข้ากันได้ไร้ที่ติ หรือบางเมนูอย่าง Idli Sambar, Crab Curry และของหวานทุกจานที่ดูจะเป็นรองเมื่อเทียบกับเมนูจากร้านเดิมอย่าง Chutoro Sushi, Tom Yum Kung หรือ King Crab Curry Rice Paturi ที่เราเคยทาน ในทางกลับกันเชฟ Gaggan และลูกทีมสามารถใส่ความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องสนใจรางวัลต่างๆที่การันตีเอาไว้ เรายังคงยืนยันว่าอาหารจำนวน 18 คอร์สเทียบกับราคาที่ตั้งไว้ถือว่าพอรับได้ ทุกคนที่แวะมาทานน่าจะมีความสุขกลับไปหากเข้าใจได้ว่านี่คือเส้นทางใหม่ที่เชฟเลือกเดินและไม่ใช่ Restaurant Gaggan ในซอยหลังสวนอีกต่อไป Restaurant Gaggan Anand อาจมีลุ้นดาวอย่างมาก 1 ดวงในมิชลินไกด์ปี 2022 แต่ถ้าแลกมาด้วยชีวิตส่วนตัว, ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานที่ดีขึ้น นี่อาจเป็นเส้นทางที่ถูกต้องหรือดีกว่าเดิมก็เป็นได้
📃 18-COURSE GAGGAN EXPERIENCE (5,000++/p)
Yogurt Explosion
World Map
Dum Aloo
Idli Sambar
Bhel Puri
Keema Pao
Charcoal
Ring
Brain
Rasam
Momo
Prawn Balchao (Additional 800++ for Carabinero)
Cold Curry Scallop
Aged Duck
Crab Curry Rice
Strawberry Ghevar
Pineapple Wafer
Bonsai Tiramisù
🏵 Score:
👍 ร้านอาหารของเชฟ Gaggan Anand ที่แตกต่างออกไปจากเดิม แต่ละจานยังคงแทรก Signature ของเชฟเอาไว้ได้อย่างดี
อาหาร : 14.5/20
ราคา : 🌟🌟
ความคุ้มค่า : 🌟🌟
เทคนิค : 🌟🌟🌟🌟
อัตลักษณ์ : 🌟🌟🌟🌟
บรรยากาศ : 🌟🌟🌟
บริการ : 🌟🌟🌟🌟
ความประทับใจโดยรวม : 15/20
📍 Visit: Dec 2020
🏠 Location: 68 ซอยสุขุมวิท 31, แขวง คลองตันเหนือ, เขตวัฒนา, กรุงเทพมหานคร 10110
🚗 Parking: จอดรถที่ ALIST Corporate Public Company Limited ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
🕠 Operating Time: Lunch (เฉพาะเสาร์-อาทิตย์) 11.30-14.00, Dinner (ทุกวัน) 17.30-24.00
💰 Price: 2,000-5,000++/p
📞 Tel: 098-883-1022
🧥 Dress Code: No Dress Code
🖥 Website: https://gaggananand.com/so-far-so-good/
🥰 ฝากเพื่อนๆช่วยกดไลค์และเเชร์เพจของเรา : ตามล่า Fine Dining
👍 เพจของเราสร้างขึ้นเพื่อรีวิวร้านอาหาร Fine Dining ระดับ Michelin Guide ทั่วโลก
#MichelinPlate #MichelinGuide #MichelinRestaurant #MichelinGuideBangkok #MichelinGuideTH #MichelinStar21 #MichelinStar20 #YesMichelinGuide #มิชลินไกด์ #FineDining #AroiBKK #Bangkok #ตามล่าFineDining
🇹🇭 Gaggan Anand - กากั้น อนันด์
🍽 Michelin Plate - มิชลินเพลท
🍴 Innovative - อาหารเชิงนวัตกรรม
Gaggan Anand เกิดในครอบครัวชาวปัญจาบีที่เมืองกัลกัตตาประเทศอินเดีย ชีวิตในวัยเด็กของเขาไม่ได้ราบรื่นเท่าไหร่นักจนกระทั่งเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น Gaggan ได้เลือกเข้าศึกษาต่อเกี่ยวกับการโรงแรมและการจัดเลี้ยงที่สถาบัน IHMCT Kovalam ทั้งยังจบออกมาด้วยคะแนนยอดเยี่ยมจนได้ฝึกงานกับหนึ่งในเครือร้านอาหารที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศ แต่ด้วยปัญหาบางประการเชฟจึงลาออกมาทำอาหารสไตล์ Catering และ Home Delivery ตามลำดับ ต่อมาไม่นานมีคนเห็นแววจึงได้นำเสนองานร้านอาหารอินเดียในกรุงเทพชื่อว่า Red ให้จึงทำให้เชฟ Gaggan มีโอกาสย้ายมาตั้งรกรากเปิดประสบการณ์ใหม่ที่เมืองไทย อาหารที่ Red ทำออกมาในสไตล์ฟิวชั่นอินเดีย-อิตาเลียนจึงมีความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและกลายเป็นที่พูดถึงกันปากต่อปากในช่วงเวลานั้น กระทั่งวันหนึ่งมีลูกค้าได้แนะนำห้องอาหาร elBulli (⭐️⭐️⭐️ 3 Michelin Stars) ของมาสเตอร์เชฟ Ferran Adrià ให้กับเชฟ Gaggan ได้รู้จัก อาหารที่นั่นนำเสนอออกมาในสไตล์ Molecular Gastronomy และเป็นที่ถูกอกถูกใจ Gaggan มากจนตัวเขาเองเขียนจดหมายขอสมัครไปฝึกงานถึงแคว้น Catalonia ประเทศสเปนเลยทีเดียว เมื่อกลับมาที่เมืองไทยเชฟ Gaggan และหุ้นส่วนจึงเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเองในชื่อ Restaurant Gaggan โดยประยุกต์ใส่ความเป็นอาหารโมเลกุลเข้าไปในอาหารอินเดียซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ใหม่มากในช่วงนั้น ตัวร้านประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลายการันตีด้วยรางวัล 2 Michelin Stars ตั้งแต่ปีแรกทีมีการจัดอันดับรวมไปถึงการมีชื่อเข้าไปติดใน Asia's 50 Best Restaurant ถึง 4 ครั้ง และ 3 ครั้งจากทั้งหมดเป็นการคว้ารางวัลอันดับ 1 มาครองได้อีกด้วย
ตามต่อกันในคอมเม้นนะคะ และส
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้