🔴"หมอเบิร์ท" ประเดิม แถลงยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ป่วยเพิ่ม 369 ราย รวมสะสม 12,423 ราย
วันนี้ (18 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่า....🔻
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 369 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 12,423 ราย หายป่วยแล้ว 9,206 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 70 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 18 ม.ค. 2564 จำนวน 369 ราย มีดังนี้
1. ติดเชื้อในประเทศ 357 ราย
1.1 ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 82 ราย
1.2 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 275 ราย
2. ติดเชื้อจากต่างประเทศ คัดกรอง ณ ด่านฯ และเข้า รพ./สถานกักกันทุกประเภท 12 ราย
https://www.sanook.com/news/8339738/
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/917835
🔴อ่านโดยพลัน! เปิด 4 คลัสเตอร์แพร่โควิดระลอกใหม่ เตือนระวัง 3 จุดเสี่ยงใกล้ตัว
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564, 19.08 น.
18 มกราคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ผู้ติดเชื้อในการระบาดระลอกใหม่ เป็นคนไทย 49.88% เมียนมา 45.11% กัมพูชา 1.73% และอื่นๆ 3.28% ทั้งนี้ 4 กลุ่มก้อนสำคัญที่ระบาดในระลอกใหม่นั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อ พบว่า...✔
1.จังหวัดอื่นๆที่เชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร จำนวนผู้ป่วย 568 ราย รวม 43 จังหวัด
2.เชื่อมโยงบ่อนการพนันในภาคตะวันออก 1,491 ราย 13 จังหวัด
3.เชื่อมโยงกับสถานบันเทิง กทม. 283 ราย 10 จังหวัด
4.สนามชนไก่ จ.อ่างทอง 148 ราย 7 จังหวัด
“สำหรับกรณีพื้นที่ กทม. ขณะนี้ทรงตัวและลดระดับลง แต่ต้องมีการค้นเชิงรุกในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. เน้นการกำกับติดตามการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อจนครบ 14 วัน” นพ.โอภาส กล่าว
สำหรับสิ่งที่จะต้องระวังมากขึ้น ในสถานที่เสี่ยง 3 แห่งที่ใกล้ตัว คือ...🔻
1.ในครอบครัว ซึ่งจะต้องระมัดระวังกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ และเด็ก เพราะพบกลุ่มก้อนการติดเชื้อในครอบครัว (Family Cluster) จึงจะต้องลดการแพร่กระจายเชื่อให้ผู้สูงอายุที่มีโอกาสติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ดังนั้นลูกหลานที่ไปเยี่ยมผู้สูงอายุหรืออยู่ร่วมบ้าน จะต้องคงมาตรการป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้ไปสถานบันเทิง แต่โอกาสเสี่ยงจะติดจากลูกหลานที่ไปเที่ยว ขอให้เข้มมาตรการกันอีกระยะหนึ่ง
2.ร้านอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร และ
3.สถานที่ทำงาน ซึ่งความเสี่ยงจะอยู่ที่การใกล้ชิดกันและไม่ได้ใส่หน้ากาก โดยเฉพาะการรับประทานอาหารร่วมกันในที่ทำงาน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้ใส่หน้ากาก
https://www.naewna.com/local/546308
🔴
ง'แจงอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีควัคซีนโควิด
18 ม.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วัคซีน covid 19 อาการไม่พึงประสงค์ อาการแทรกซ้อน
การตายในผู้สูงอายุ หลังให้วัคซีน ในประเทศนอร์เวย์ จำนวน 23 ราย เป็นข่าวใหญ่ ทำให้เกิดวิตกกังวล ต่อกระบวนการให้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ หลังการให้วัคซีนของไฟเซอร์ ในประเทศนอร์เวย์ ที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจำนวนมาก
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการไม่พึงประสงค์ หลังให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีน หรือแพ้วัคซีน กรรมการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ให้หรือไม่ จะตรวจสอบอย่างละเอียด
การศึกษาวัคซีนใหม่ ถึงแม้ว่าจะผ่านระยะที่ 3 แล้ว จะต้องตามอาการไม่พึงประสงค์หลังนำไปใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อย่างเช่นในนอร์เวย์
ผมทำการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนมากว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน ผู้ที่รับวัคซีนเดินกลับบ้านไปตกท่อ จะต้องรายงานว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ และหาสาเหตุของการตกท่อ ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ให้กรรมการกลางที่ดูแลด้านความปลอดภัยมาช่วยพิจารณาด้วย เพราะวัคซีนที่ฉีด อาจทำให้เวียนศีรษะแล้วเดินตกท่อก็ได้
เมื่อฉีดวัคซีนแล้วมีการตาย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก
เคยมีอาสาสมัครฉีดวัคซีนแล้วอีก 2 วันเสียชีวิต รายงานทันที ที่ได้รับทราบการเสียชีวิต ในรายนี้ถูกยิงตาย จะต้องหาสาเหตุว่าวัคซีนที่ฉีด อาจจะทำให้เกิดความก้าวร้าว ที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกยิงก็ได้
และเช่นเดียวกัน มีผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนที่ผมเคยดูแลอยู่ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็ต้องดูในรายละเอียดเพราะวัคซีนอาจจะทำให้อาการง่วงหนาว หาวนอนแล้วเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุก็ได้
การเสียชีวิตของผู้สูงอายุในนอร์เวย์ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการให้วัคซีนของประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อายุมากกว่า 80 ปี อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุส่วนมากจะมีโรคประจำตัว
ในภาวะปกติในสถานดูแลผู้สูงอายุ ก็มีการเสียชีวิตอยู่ประจำอยู่แล้ว แน่นอนเมื่อเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีน ก็ต้องพิสูจน์กันว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีนหรือไม่ หรือจากโรคชรา โรคประจำตัว จนกว่าจะมีการพิสูจน์การเสียชีวิตอย่างละเอียดทุกราย จึงค่อยว่ากันว่าเป็นสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่
การเสียชีวิตดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไหนหยุดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
ขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 40 ล้าน โดส และเป็นวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์มากที่สุด การให้วัคซีนวันละหลายล้านคนคงจะยังได้ยินข่าวแบบนี้อีกแน่นอน อาการไม่พึงประสงค์ ต้องรอสรุปจริงๆ จะต้องรอการสอบสวนอย่างละเอียดต่อไป
ของใหม่เมื่อนำมาใช้ ก็ต้องมีการระวังอาการข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์อย่างละเอียด และรอบคอบ ดูอาการไม่พึงประสงค์อาจเกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งโอกาสที่จะเกิดเป็นหนึ่งในล้าน".
https://www.thaipost.net/main/detail/90154
ขอเตือนสั้นๆค่ะ การ์ดอย่าตก!
🔴มาลาริน/18ม.ค.ไทยพบโควิด 396ราย รักษาหาย 191ราย/4 คลัสเตอร์แพร่โควิด ระวัง 3 จุดเสี่ยงใกล้ตัว/หมอ ยง แจงอาการแพ้วัคซีน
วันนี้ (18 ม.ค.) เมื่อเวลา 11.30 น. แพทย์หญิงอภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โฆษก ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ว่า....🔻
ล่าสุด สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ โควิด-19 ในไทยวันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 369 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 12,423 ราย หายป่วยแล้ว 9,206 ราย ยอดเสียชีวิตสะสม 70 ราย
รายละเอียดผู้ป่วยโควิด-19 รายใหม่ วันที่ 18 ม.ค. 2564 จำนวน 369 ราย มีดังนี้
1. ติดเชื้อในประเทศ 357 ราย
1.1 ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 82 ราย
1.2 ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 275 ราย
2. ติดเชื้อจากต่างประเทศ คัดกรอง ณ ด่านฯ และเข้า รพ./สถานกักกันทุกประเภท 12 ราย
https://www.sanook.com/news/8339738/
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/917835
🔴อ่านโดยพลัน! เปิด 4 คลัสเตอร์แพร่โควิดระลอกใหม่ เตือนระวัง 3 จุดเสี่ยงใกล้ตัว
วันจันทร์ ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2564, 19.08 น.
18 มกราคม 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ผู้ติดเชื้อในการระบาดระลอกใหม่ เป็นคนไทย 49.88% เมียนมา 45.11% กัมพูชา 1.73% และอื่นๆ 3.28% ทั้งนี้ 4 กลุ่มก้อนสำคัญที่ระบาดในระลอกใหม่นั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลผู้ติดเชื้อ พบว่า...✔
1.จังหวัดอื่นๆที่เชื่อมโยงกับตลาดกลางกุ้ง จ.สมุทรสาคร จำนวนผู้ป่วย 568 ราย รวม 43 จังหวัด
2.เชื่อมโยงบ่อนการพนันในภาคตะวันออก 1,491 ราย 13 จังหวัด
3.เชื่อมโยงกับสถานบันเทิง กทม. 283 ราย 10 จังหวัด
4.สนามชนไก่ จ.อ่างทอง 148 ราย 7 จังหวัด
“สำหรับกรณีพื้นที่ กทม. ขณะนี้ทรงตัวและลดระดับลง แต่ต้องมีการค้นเชิงรุกในพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ฝั่งตะวันตกของ กทม. เน้นการกำกับติดตามการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงระหว่างรอผลตรวจหาเชื้อจนครบ 14 วัน” นพ.โอภาส กล่าว
สำหรับสิ่งที่จะต้องระวังมากขึ้น ในสถานที่เสี่ยง 3 แห่งที่ใกล้ตัว คือ...🔻
1.ในครอบครัว ซึ่งจะต้องระมัดระวังกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ และเด็ก เพราะพบกลุ่มก้อนการติดเชื้อในครอบครัว (Family Cluster) จึงจะต้องลดการแพร่กระจายเชื่อให้ผู้สูงอายุที่มีโอกาสติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงหรือเสียชีวิต ดังนั้นลูกหลานที่ไปเยี่ยมผู้สูงอายุหรืออยู่ร่วมบ้าน จะต้องคงมาตรการป้องกันการติดเชื้อส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เนื่องจากผู้สูงอายุไม่ได้ไปสถานบันเทิง แต่โอกาสเสี่ยงจะติดจากลูกหลานที่ไปเที่ยว ขอให้เข้มมาตรการกันอีกระยะหนึ่ง
2.ร้านอาหาร สถานที่รับประทานอาหาร และ
3.สถานที่ทำงาน ซึ่งความเสี่ยงจะอยู่ที่การใกล้ชิดกันและไม่ได้ใส่หน้ากาก โดยเฉพาะการรับประทานอาหารร่วมกันในที่ทำงาน เพราะเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้ใส่หน้ากาก
https://www.naewna.com/local/546308
🔴ง'แจงอาการไม่พึงประสงค์หลังฉีควัคซีนโควิด
18 ม.ค. 64 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "วัคซีน covid 19 อาการไม่พึงประสงค์ อาการแทรกซ้อน
การตายในผู้สูงอายุ หลังให้วัคซีน ในประเทศนอร์เวย์ จำนวน 23 ราย เป็นข่าวใหญ่ ทำให้เกิดวิตกกังวล ต่อกระบวนการให้วัคซีน อาการไม่พึงประสงค์ หลังการให้วัคซีนของไฟเซอร์ ในประเทศนอร์เวย์ ที่มีผู้สูงอายุเสียชีวิตจำนวนมาก
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อาการไม่พึงประสงค์ หลังให้วัคซีนไม่จำเป็นต้องเกิดจากวัคซีน หรือแพ้วัคซีน กรรมการตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ให้หรือไม่ จะตรวจสอบอย่างละเอียด
การศึกษาวัคซีนใหม่ ถึงแม้ว่าจะผ่านระยะที่ 3 แล้ว จะต้องตามอาการไม่พึงประสงค์หลังนำไปใช้ต่อไปอีกอย่างน้อย 2 ปี อย่างเช่นในนอร์เวย์
ผมทำการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนมากว่า 30 ปี หลังฉีดวัคซีน ผู้ที่รับวัคซีนเดินกลับบ้านไปตกท่อ จะต้องรายงานว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์ และหาสาเหตุของการตกท่อ ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ ให้กรรมการกลางที่ดูแลด้านความปลอดภัยมาช่วยพิจารณาด้วย เพราะวัคซีนที่ฉีด อาจทำให้เวียนศีรษะแล้วเดินตกท่อก็ได้
เมื่อฉีดวัคซีนแล้วมีการตาย ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก
เคยมีอาสาสมัครฉีดวัคซีนแล้วอีก 2 วันเสียชีวิต รายงานทันที ที่ได้รับทราบการเสียชีวิต ในรายนี้ถูกยิงตาย จะต้องหาสาเหตุว่าวัคซีนที่ฉีด อาจจะทำให้เกิดความก้าวร้าว ที่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการถูกยิงก็ได้
และเช่นเดียวกัน มีผู้ป่วยหลังฉีดวัคซีนที่ผมเคยดูแลอยู่ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ก็ต้องดูในรายละเอียดเพราะวัคซีนอาจจะทำให้อาการง่วงหนาว หาวนอนแล้วเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุก็ได้
การเสียชีวิตของผู้สูงอายุในนอร์เวย์ ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ (วัคซีนนี้ไม่ได้อยู่ในแผนการให้วัคซีนของประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ อายุมากกว่า 80 ปี อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุส่วนมากจะมีโรคประจำตัว
ในภาวะปกติในสถานดูแลผู้สูงอายุ ก็มีการเสียชีวิตอยู่ประจำอยู่แล้ว แน่นอนเมื่อเกิดขึ้นหลังการให้วัคซีน ก็ต้องพิสูจน์กันว่าสาเหตุการเสียชีวิตมาจากวัคซีนหรือไม่ หรือจากโรคชรา โรคประจำตัว จนกว่าจะมีการพิสูจน์การเสียชีวิตอย่างละเอียดทุกราย จึงค่อยว่ากันว่าเป็นสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่
การเสียชีวิตดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ประเทศไหนหยุดการฉีดวัคซีนไฟเซอร์
ขณะนี้ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 40 ล้าน โดส และเป็นวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์มากที่สุด การให้วัคซีนวันละหลายล้านคนคงจะยังได้ยินข่าวแบบนี้อีกแน่นอน อาการไม่พึงประสงค์ ต้องรอสรุปจริงๆ จะต้องรอการสอบสวนอย่างละเอียดต่อไป
ของใหม่เมื่อนำมาใช้ ก็ต้องมีการระวังอาการข้างเคียง อาการไม่พึงประสงค์อย่างละเอียด และรอบคอบ ดูอาการไม่พึงประสงค์อาจเกิดขึ้นได้ แม้กระทั่งโอกาสที่จะเกิดเป็นหนึ่งในล้าน".
https://www.thaipost.net/main/detail/90154
ขอเตือนสั้นๆค่ะ การ์ดอย่าตก!